shukur2003


ความรุนแรงแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาในสังคมใดๆก็ตาม แต่มันก็มีหน้าที่ในสังคมที่สำคัญมาก เฉกเช่นเดียวกับความตายที่ไม่มีใครพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัวหรือคนที่ตัวเองรัก แต่ความตายนั้นกลับมีหน้าที่ที่สำคัญยิ่งในทางสังคมและชีววิทยา ในทางสังคม ความตายนั้นเป็นการสร้างความสมดุลและความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม ส่วนในทางชีววิทยา หากไม่มีใครตายแล้วนี่ ไม่นานมนุษย์ก็คงล้นโลก และจะไปเบียดเบียนสัตว์โลกชนิดอื่นอย่างที่เราเริ่มจะทำอยู่ในปัจจุบันนี้
  และจากรายงานที่แท้จริงมีดังนี้(จากศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) พิธีรับรายงานตัวกลุ่มผู้ร่วมเสริมสร้างสันติสุข  ที่ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคารศาลากลางจังหวัดยะลา ซึ่งมี พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย เป็นประธาน และเปิดแถลงข่าวอย่างใหญ่โตนั้น กลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนทุกแขนงต่างให้ความสำคัญ เพราะตัวเลขของผู้ที่สมัครใจเข้ารายงานตัวในครั้งนี้ ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากทางจังหวัดมีถึง 163 คน  อย่างไรก็ดี เมื่อเริ่มพิธี ปรากฏว่าจำนวนชาวบ้านที่เข้าร่วมรายงานตัวลดลงเล็กน้อย เหลือ 137 คน แยกเป็น จ.ยะลา 62 คน และ จ.ปัตตานี 75 คน  ที่สำคัญ ทั้งหมดไม่ได้เป็นแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ไม่ได้มีคดีหรือหมายจับติดตัว แต่เป็นเพียงบุคคลที่ทางการมองว่าเป็น กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกชักจูงหรือชักชวนจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี เพื่อให้เข้าใจผิดต่อแนวนโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ ทางจังหวัดจึงปิ๊งไอเดียจัดงานรับรายงานตัวกลุ่มผู้ร่วมเสริมสร้างสันติสุขขึ้นมา เพื่อชิงดึงคนเหล่านี้ไปเข้าร่วมฝึกอบรมในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข โดยใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถึง 1 เดือน ก่อนที่จะถูกกลุ่มผู้หวังดีชักจูงไปเป็นแนวร่วม ซึ่งหากฟังโดยเหตุและผลแล้ว ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ดี น่าสนับสนุน  ทว่า ความวุ่นวายเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพิธีการรับรายงานตัว ได้สะท้อนให้เห็นถึงเบื้องหลังการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในแบบ “Behind the scene”  อย่างหมดเปลือก  ที่สำคัญยังสามารถตอบข้อกังขาของสังคมที่มีต่อคาราวานผู้เข้ารายงานตัวต่อทางราชการอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่า เป็น ของจริงหรือแค่ ภาพลวงตา รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับแล้วนั้น ที่แท้เป็นเช่นไร... โดยภายหลัง พล.อ.อ.คงศักดิ์ กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้ารายงานตัวพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ได้เดินทักทายชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธี  เมื่อเดินผ่านไปถึงกลุ่มชาวบ้านที่มาจาก อ.รามัน จ.ยะลา ปรากฏว่า นายมะซอบือลี เจ๊ะแย อายุ 37 ปี ได้ตะโกนร้องเรียนด้วยเสียงอันดังกับ พล.อ.อ.คงศักดิ์ ว่า เขาเพิ่งได้รับหนังสือเรียกตัวให้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง และทางอำเภอก็พยายามบังคับให้มา ทั้งๆ ที่ทางบ้านกำลังอพยพข้าวของหนีน้ำท่วม  ที่บ้านผมน้ำท่วมหนัก ผมทำฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อกว่า 5,000 ตัว ต้องช่วยกันอพยพไก่หนีน้ำ เมื่อคืนนี้ทั้งคืนยังไม่ได้นอน แต่ทางอำเภอกลับบังคับให้มารายงานตัว ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยทำความผิดอะไร ผมเสียใจมากที่มีชื่ออยู่ในบัญชีของทางราชการ และเป็นห่วงทางบ้านที่ยังต้องขนของหนีน้ำกันอยู่นายมะซอบือลี กล่าวอย่างเคร่งเครียด น้ำตาคลอเบ้า  เมื่อ พล.อ.อ.คงศักดิ์ ได้ฟัง ก็พยายามพูดปลอบโยน และบอกให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการไปยังอำเภอ เพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือครอบครัวของนายมะซอบือลีทันที  จากนั้น รมว.มหาดไทย ก็เดินทางกลับ และขณะที่กลุ่มผู้สมัครใจร่วมสร้างสันติสุขกำลังเช็คชื่อและนั่งรอขึ้นรถเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมนั้น ปรากฏว่าได้มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง เข้าไปขอสัมภาษณ์นายมะซอบือลีอีกรอบ คราวนี้ นายมะซอบือลี เล่าให้ฟังอย่างละเอียดว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2548 ทางอำเภอรามันได้เรียกเขาไปแสดงตนยังที่ว่าการอำเภอ และให้เซ็นชื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งเขาก็ยินยอมโดยดี  ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. คือเมื่อวานนี้ กำนันได้นำหนังสือจากทางอำเภอมาให้ และแจ้งให้ทราบว่าจะต้องมารายงานตัวต่อ รมว.มหาดไทย ในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 10 ธ.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดยะลา  ผมไม่อยากมาเลย เพราะที่บ้านกำลังน้ำท่วม ผมทำฟาร์มไก่เนื้อ มีไก่อยู่ 5,000 ตัว ลงทุนไป 2 แสนกว่าบาท แต่ทางอำเภอก็ย้ำว่าต้องมา ไม่มาไม่ได้ ผมก็เลยจำใจมา ตอนนี้ผมเป็นห่วงที่บ้านมาก เพราะต้องไปเข้าอบรมอีก 20 วัน ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรนายมะซอบือลี กล่าวอย่างเคร่งเครียด  อย่างไรก็ดี ระหว่างที่นายมะซอบือลี กำลังให้สัมภาษณ์อยู่นั้น เจ้าหน้าที่ของทางจังหวัดได้เดินเข้ามาซักถาม และพยายามขอร้องให้หยุดพูดคุยกับผู้สื่อข่าว ก่อนจะซักถามเรื่องราว และสุดท้ายก็รับปากว่า จะอนุญาตให้นายมะซอบือลีกลับบ้านไปก่อน แล้วค่อยตามมาอบรมใหม่ในภายหลัง  อาการทะลุกลางปล้องต่อหน้า รมว.มหาดไทย ของนายมะซอบือลี ทำให้ชาวบ้านอีกหลายคนที่อยู่ในอาการจำใจเดินทางมาร่วมรายงานตัว ยอมเปิดปากให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าว  นายรอซาดี ชาวบ้าน อ.รามัน จ.ยะลา กล่าวว่า เขาเพิ่งได้รับหนังสือแจ้งจากทางอำเภอเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.นี้เอง ให้มาร่วมกิจกรรมที่ศาลากลางจังหวัด ทั้งๆ ที่เขาเองก็มีภาระทางบ้าน และต้องทำงานขนส่งสินค้า  เมื่อต้องมาร่วมกิจกรรมแบบนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าใครจะทำงานแทนผม ทางอำเภอก็บอกแต่ว่า จะได้เบี้ยเลี้ยงวันละ 100 บาท แต่ก็ต้องอยู่เกือบเดือน ผมเป็นห่วงทางบ้าน ไม่รู้ว่าผมทำผิดอะไรถึงต้องเรียกให้ผมมารายงานตัวและฝึกอบรม นายรอซาดี บอกด้วยว่า ก่อนได้รับหนังสือแจ้งจากทางอำเภอเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. เขาและคนในหมู่บ้านเคยถูกนายอำเภอเรียกไปประชุมยังที่ว่าการอำเภอมาแล้ว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และทางอำเภอก็แจ้งว่าจะต้องไปรายงานตัวที่ศาลากลางอีกครั้งหนึ่ง โดยทางการจะพาไปเที่ยว  ผมไม่อยากไป ก็เลยยกมือขึ้นถามนายอำเภอว่า ไม่ไปได้มั้ย นายอำเภอก็บอกว่าไม่ได้ ไม่อย่างนั้นอาจจะถูกออกหมายจับนายรอซาดี กล่าว  จากนั้น นายรอซาดี ยังได้โชว์หนังสือของทางอำเภอที่เรียกพวกเขาให้มารายงานตัวในวันนี้ต่อผู้สื่อข่าว  โดยหนังสือดังกล่าว ตีตราประทับ ด่วนมากมีเนื้อหาระบุว่า กอ.สสส.อ.รามัน รับแจ้งจาก กอ.สสส.จ.ยะลา ถึงกำหนดการฝึกอบรมของโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข ในเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549  เพื่อให้การฝึกอบรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อ.รามัน จึงขอเชิญท่านเข้ารับการอบรม โดยเตรียมสัมภาระของใช้ส่วนตัว และไปพร้อมกันในเวลา 10.00 น. ลงชื่อ.... นายอัสลัน อายุ 22 ปี ชาวบ้าน ต.เนินงาม อ.รามัน กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจะมีการอบรมโครงการเสริมสร้างสันติสุข 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ก็ได้รับหนังสือจากทางราชการ ซึ่งมีชื่อของเขาปรากฏอยู่ในเอกสาร โดยแจ้งว่าให้ไปรายงานตัวที่ศาลากลางจังหวัดยะลา จึงรู้สึกตกใจและยอมเดินทางมารายงานตัว ช่วงเดือนที่ผ่านมาผมเคยถูกเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นบ้าน ทั้งที่ผมไม่เคยมีส่วนร่วมในการก่อเหตุรุนแรง  ผมไม่เคยทำความผิดอะไรเลย แต่พอมีหนังสือจากทางราชการส่งไปที่บ้าน ก็เลยต้องยอมมา เพราะกลัวว่าถ้าไม่ยอมมารายงานตัว เดี๋ยวจะมีความผิดและถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วม อีกอย่างคือถ้าไม่มาก็กลัวว่าจะถูกหมายจับ ด้าน นายมะ ชาวบ้านจาก อ.เบตง จ.ยะลา กล่าวว่า เมื่อราวๆ 2 เดือนก่อน นายอำเภอได้เรียกตัวเขาไปประชุมพร้อมกับเพื่อนบ้านในตำบลเดียวกัน เพื่อให้ความรู้เรื่องพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากนั้นก็ให้ลงชื่อไว้  กระทั่งเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. กำนันนำหนังสือมาแจ้งว่า ต้องมารายงานตัวที่ศาลากลางจังหวัดยะลา เพราะที่เคยเรียกประชุมและลงชื่อไว้นั้น ยังไม่เรียบร้อย ถ้ามาวันนี้และเข้าฝึกอบรมครบ 20 วัน จึงจะลบชื่อออกจากบัญชีให้ ผมก็งงเหมือนกันว่าทำไมต้องมา เพราะผมไม่เคยทำความผิด ไม่เคยถูกค้นบ้าน และไม่เคยถูกเรียกตัวไปสอบสวน แต่ปลัดอำเภอย้ำว่า ไม่มาไม่ได้ ผมก็เลยมานายมะ กล่าว ส่วนผู้เข้ารายงานตัวซึ่งเป็นชายไทยมุสลิมอีกรายหนึ่ง จาก อ.เบตง กล่าวว่า สาเหตุที่ตัดสินใจมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ เนื่องจากปลัดอำเภอมาติดต่อขอความร่วมมือให้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติสุข โดยแจ้งว่าจะมีการอบรมวิชาชีพและส่งเสริมความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่  บ้านผมอยู่ใกล้ๆ กับที่ว่าการอำเภอ และเคยรู้จักกับปลัดอำเภอ เขาก็เลยชวนมา ผมไม่ได้เป็นแนวร่วม และคนส่วนใหญ่ที่มาด้วยกันก็ไม่ใช่แนวร่วมหรือผู้ก่อการร้าย เพราะมีทั้งโต๊ะอิหม่าม  และผู้นำชุมชน ซึ่งทางการเขาบอกว่าให้มาฝึกอบรมเสริมสร้างสันติสุข ก็เลยอยากมา เผื่อจะได้ความรู้ใหม่ๆ บ้าง และทั้งหมดนี้คือมุมที่ไม่เคยแถลงข่าว ของการรายงานตัวเพื่อร่วมสร้างสันติสุข!http://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=451&Itemid=47 การที่รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความรุนแรงใน4  จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลนำมาใช้ คือ การจัดให้มีพิธีรับมอบตัวเยาวชนเสริมสร้างสันติสุขที่มีเยาวชนเข้าร่วมกว่าร้อยคน แต่ปรากฏว่ากลุ่มเยาวชนจำนวนหนึ่งออกมาระบุว่าไม่ได้มีส่วนร่วม หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงจะก่อความไม่สงบ หากรายงานข่าวชิ้นนี้ข่าวชิ้นนี้เป็นจริง ผู้เขียนมีความเป็นห่วงว่าอาจก่อให้เกิดเงื่อนไขใหม่ขึ้นมาอีก       จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีความพยายามจากเจ้าหน้าที่บางส่วนในการเข้าไปนำเยาวชนที่รัฐบาลคิดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อเหตุรุนแรงมาเข้ารับการอบรมโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม แม้จะเข้าใจได้ว่ารัฐบาลมีความเป็นห่วงไม่ให้คนกลุ่มนี้ไปก่อเหตุจึงป้องกันไว้ก่อน แต่อยากให้รัฐบาลตระหนักว่าอย่านำบุคคลกลุ่มที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธีการดังกล่าว  และคนในพื้นที่เป็นการสร้างภาพให้ผู้ใหญ่ได้เห็นผลงาน นักวิเคราะห์สถานการณ์มีทรรศนะว่า         หากรัฐบาลไปเอาคนที่ไม่เกี่ยวข้องมา คนเหล่านี้จะเป็นกระบอกเสียงทางลบของรัฐบาลที่จะแพร่กระจายความรู้สึกด้านลบไปสู่มวลชน จะทำให้การทำงานช่วงชิงมวลชนในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น รัฐบาลต้องระวังสั่งการเจ้าหน้าที่ไม่ให้จัดฉาก อย่าเอาคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามารวมกับคนเกี่ยวข้อง   อย่าหวังปริมาณ ให้หวังคุณภาพขณะนี้รัฐบาลโดยเฉพาะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินมาถูกทางแล้วในการแก้ไขปัญหา จึงไม่อยากให้มีอะไรมาทำให้การแก้ปัญหาสะดุด หรือยืดเยื้อ อย่าให้เป็นเรื่องจัดฉากและสร้างภาพและอาจจะสร้างความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้ก่อการกับกลุ่มเสี่ยงและชาวบ้านในพื้นที่   วิธีพิจารณาพิเศษและนิรโทษกรรม    2 มุมมองที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบแนวคิดของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ยุติธรรม ที่จะยกร่างกฎหมายลดโทษให้กับแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบที่เข้ามอบตัวและรับสารภาพกับทางราชการนั้น หนึ่งถูกมองอย่างไม่ไว้วางใจจากนักกฎหมาย เพราะเกรงว่าจะเป็นการซ่อนปมนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเมิดสิทธิชาวบ้านในคดีสลายม็อบตากใบ และอุ้มทนายสมชาย และสองนักรัฐศาสตร์มองต่างมุมว่า จะเป็นผลดีในแง่การเมืองเหมือนนโยบาย 66/23 ทรรศนะที่หนึ่งนักกฎหมาย นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การออกกฎหมายเพื่อลดโทษให้กับผู้กระทำความผิดมีอยู่ 2 แนวทางที่ต้องทำความเข้าใจ  คือ 1.แนวทางอภัยโทษ กับ 2.แนวทางนิรโทษกรรม ซึ่งบางทีฝ่ายบริหารเองก็ยังสับสนว่าจะใช้แนวทางไหน เพราะแต่ละแนวทางมีผลทางกฎหมายแตกต่างกัน  สำหรับแนวทางอภัยโทษนั้น หมายความถึงผู้กระทำความผิดที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้ว อาจจะถูกจำคุก หรือประชารชีวิต เมื่อถึงโอกาสสำคัญของบ้านเมือง ก็จะออกกฎหมายอภัยโทษให้ ซึ่งจะส่งผลคือความผิดที่กระทำไปแล้วนั้นยังถือเป็นความผิดอยู่ แต่รัฐไม่เอาโทษ พูดง่ายๆ ก็คือถ้าติดคุกอยู่ ก็ให้ปล่อยตัวออกมา ส่วนแนวทางนิรโทษกรรม แปลตรงตัวว่า กรรมหรือการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำลงไป ไม่ถือเป็นความผิด ไม่ว่าผู้กระทำการนั้นจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้วหรือไม่  กฎหมายนิรโทษกรรมเคยออกมาแล้วหลายฉบับ ที่สำคัญๆ ก็เช่น หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็มีการออกกฎหมายให้การกระทำที่เกิดขึ้นในวันนั้นไม่เป็นความผิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกระทำหรือฝ่ายผู้ถูกกระทำก็ตาม เช่นเดียวกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 อย่างไรก็ดี นายปรีชา ตั้งข้อสังเกตว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรม มักอ้างการยกโทษให้กับฝ่ายผู้ถูกกระทำ คือประชาชน แต่ส่วนใหญ่จะซ่อนนัยเพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ และทหาร ให้รอดพ้นจากการกระทำที่เป็นความผิด ดังนั้นจึงเป็นเงื่อนงำที่ต้องตรวจสอบให้ดีว่ารัฐบาลจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมในลักษณะไหนกันแน่  ถ้าออกกฎหมายนิรโทษกรรมจริง เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการอุ้มฆ่าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือแม้แต่คดีอุ้มทนายสมชาย (นายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม) และเจ้าหน้าที่รัฐที่ร่วมกันสลายม็อบตากใบ จนมีผู้เสียชีวิตถึง 85 คน ก็จะพ้นผิดไปด้วย เขาบอกอีกว่า อย่าลืมว่าเหตุการณ์ตากใบมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองร่วมอยู่ในเหตุการณ์ และถูกตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจสลายม็อบด้วย และคดีนี้อายุความยังเหลืออีกเกือบ 20 ปี หากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อาจมีการรื้อคดีขึ้นมาใหม่ก็ได้ ดังนั้นถ้าออกกฎหมายนิรโทษกรรมในวันนี้ การกระทำทุกอย่างก็จะไม่เป็นความผิด ไม่สามารถรื้อคดีขึ้นมาได้อีกต่อไป  ส่วนที่รัฐบาลออกมาเน้นย้ำว่า จะออกกฎหมายเพียงแค่ลดโทษให้กับบรรดาแนวร่วมที่ยอมสารภาพผิดกับทางราชการ โดยไม่ใช่การนิรโทษกรรมนั้น นายปรีชา กล่าวว่า ก็ต้องขีดวงให้ชัด แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ทำเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพราะต้องการให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐได้ประโยชน์ไปด้วย  รัฐบาลมักอ้างว่าออกกฎหมายเพื่อลดโทษให้ผู้ที่ยอมมอบตัวและรับสารภาพ โดยไม่รวมถึงผู้ที่มีหมายจับในคดีอาญาร้ายแรง ผมก็อยากจะถามว่า ถ้ายังไม่มีหมายจับ ไม่มีการกล่าวโทษ แล้วคนพวกนั้นเขามีความผิดอะไรถึงจะต้องไปออกกฎหมายลดโทษให้เขา ที่สำคัญแม้แต่ผู้ต้องหาที่มีหมายจับชัดเจน เมื่อฟ้องร้องคดีสู่ศาล ศาลก็พิพากษายกฟ้องเกือบทุกราย แสดงว่าพยานหลักฐานของฝ่ายเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะเอาผิดอยู่แล้วนายปรีชา กล่าว  ทรรศนะที่สองนักรัฐศาสตร์         ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) กล่าวเรื่องเดียวกันว่า หากมองในแง่รัฐศาสตร์ แนวคิดนี้ถือเป็นมิติใหม่ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะจะแสดงถึงความใจกว้างของรัฐบาล และเป็นการเปิดพื้นที่ให้มีการประนีประนอมกันมากยิ่งขึ้น ผมมองว่าเป็นการส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ของรัฐบาล เพื่อแสดงให้เห็นถึงท่าทีที่เปิดเผยมากขึ้น โดยหันมาใช้วิธีประนีประนอมกับฝ่ายก่อเหตุ ลดหย่อนโทษให้กับผู้หลงผิดที่มาสารภาพผิดกับทางการผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว  และว่า ข้อดีอีกประการหนึ่งหากมีการออกกฎหมายลักษณะนี้จริง ก็คือจะเป็นช่องทางให้ผู้ก่อการในอดีต ซึ่งปัจจุบันอายุมากแล้ว และส่วนใหญ่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ได้กลับมาใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตที่บ้านเกิด เพราะคนเหล่านี้ก็คงอยากกลับประเทศไทย และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในระยะหลัง  แนะศึกษาโมเดล 66/23 ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวอีกว่า ในอดีตที่ผ่านๆ มา ก็เคยมีการออกกฎหมายในลักษณะนิรโทษกรรมมาบังคับใช้แล้วหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของการเมืองไทยที่ยอมให้อภัยกับฝ่ายตรงข้าม อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความไม่เข้าใจของประชาชนนอกพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาจมองแบบแบ่งแยกว่าไม่ควรให้อภัย ดังนั้นรัฐบาลต้องทำการศึกษาอย่างรอบคอบ โดยยึดแนวทางของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 นั้น เปิดโอกาสให้ปัญญาชน นิสิต นักศึกษาที่เข้าป่าไปร่วมอุดมการณ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์เดือนตุลาคม ออกมาร่วมพัฒนาชาติไทย  โดยไม่ถือเป็นความผิด ซึ่งผมคิดว่านโยบายดังกล่าว น่าจะเป็นต้นแบบให้รัฐบาลศึกษาเพื่อปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.ศรีสมภพ ย้ำว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ จะต้องศึกษาอย่างรอบคอบ เพราะปัญหาภาคใต้ถือเป็นกรณีพิเศษ เป็นปมขัดแย้งที่เกิดจากเชื้อชาติ ศาสนา และชาติพันธุ์ ซึ่งแตกต่างกับความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จุดที่จะต้องเตรียมการไว้ให้ดีก็คือ การจัดการหลังการมอบตัวว่าจะทำอย่างไร จะให้คนเหล่านั้นอยู่อย่างไร ซึ่งต้องเน้นความเป็นธรรม และลดความหวาดระแวง รวมทั้งต้องพิจารณาด้วยว่า จะจัดตั้งองค์กรรูปแบบพิเศษขึ้นมารองรับหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวในตอนท้าย (โปรดดูhttp://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=445&Itemid=47) ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ยอมรับว่า แนวคิดของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ยุติธรรม ที่จะให้ยกร่างกฎหมายเพื่อลดโทษให้กับแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ออกมามอบตัวหรือให้ความร่วมมือทางราชการนั้น เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะส่งผลกระทบหลายด้านในกระบวนการยุติธรรม  นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า  แนวคิดในเรื่องนี้มีมานานแล้ว ตั้งแต่ช่วงก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ด้วยซ้ำ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนที่หลบหนีข้ามไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เพราะกลัวจะถูกทางการจับกุม  เราอยากให้เด็กๆ และเยาวชนพวกนี้กลับมา เพราะบางคนก็ไม่ได้ทำความผิดอะไรมากมาย สาเหตุที่หลบหนีไปก็เพราะกลัว ทาง กอส.เองก็เคยตั้งวงหารือเรื่องนี้กันหลายหน และท่านชิดชัย ก็เป็นกรรมการอยู่ใน กอส.ด้วย ก็หารือกันมานาน แต่รูปแบบที่จะยกร่างเป็นกฎหมายยังไม่ลงตัว เพราะสามารถทำได้หลายรูปแบบ นายชาญเชาวน์ อธิบายต่อว่า ประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาในการยกร่างกฎหมายลักษณะนี้มีหลายประการ ขึ้นอยู่กับขอบเขตและรูปแบบว่าจะลดโทษหรือนิรโทษกรรมให้แค่ไหน  และแต่ละรูปแบบ ก็จะกระทบกับขอบเขตอำนาจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ฉะนั้นจึงต้องมีความชัดเจนกันพอสมควร  เขายกตัวอย่างว่า หากจะออกกฎหมายเพื่อยกเลิกคดีความของผู้ที่ออกมามอบตัวกับทางราชการ ก็ต้องพิจารณาด้วยว่า ดุลยพินิจของอัยการในการสั่งฟ้องจะเป็นอย่างไร ถ้าการกระทำของผู้ต้องหาครบองค์ประกอบความผิด ยังจะต้องสั่งฟ้องหรือไม่ หรือหากมีหมายจับอยู่แล้ว จะยกเลิกหมายจับหรือเปล่า เป็นต้น   อย่างไรก็ดี หากคดีเข้าสู่อำนาจศาล ซึ่งหมายถึงคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลแล้ว ฝ่ายบริหารคงเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้ ฉะนั้นกฎหมายที่ยกร่างออกมา จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในส่วนนี้  อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ในต่างประเทศมีใช้อยู่หลายรูปแบบ ซึ่งไม่ได้มีขอบเขตกว้างขวางถึงการนิรโทษกรรม เช่น กฎหมายต่อรองคำรับสารภาพ และกฎหมายชะลอการฟ้อง เป็นต้น ทว่าขณะนี้ นโยบายของ พล.ต.อ.ชิดชัย ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ใช้รูปแบบใด จึงต้องรอความชัดเจนก่อน  ผมอยากจะขอร้องสื่อมวลชนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ฉะนั้นการจะนำเสนอข่าวต้องระมัดระวัง และควรรอให้มีความชัดเจนเสียก่อน เพราะปัจจุบันนี้ เวลาที่สังคมรับรู้ข่าวสารอะไรไปแล้ว จะฝังใจในเรื่องนั้นไปเลย ฉะนั้นหากไปเสนอข่าวในเชิงลบ นโยบายในเรื่องนั้นๆ ก็จะเสียไป ขณะที่นักกฎหมายก็ไม่ควรใจร้อนให้ความเห็นในเรื่องนี้เร็วเกินไปนายชาญเชาวน์ กล่าวhttp://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=446&Itemid=47 สำหรับผู้เขียนอยากเสนอแนะเพิ่มเติมคือสำหรับผู้ก่อการที่เขาทำเพราะอุดมการณ์และสำนึกผิดน่าจะมีกระบวนการใช้วิธีการพิจารณาพิเศษในการควบคุมตัวเพราะถึงแม้เขาจะมีความผิดร้ายแรงขนาดไหนมันก็ยังต่างจากคดีความอาชญากรรมทั่วไปที่ผู้กระทำรู้ว่ามันผิดแต่ผู้ก่อการภาคใต้ทำไปเพราะความเชื้อทางอุดมการณ์ว่ามันถูกที่สำคัญบุคคลเหล่านี้อาจเป็นบุคลากรสำคัญในการแก้ปัญหาใต้เพราะเข้าใจธรรมชาติของคนที่กำลังหลงผิดที่ทำเพื่ออุดมการณ์ ส่งท้าย ความรุนแรงแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาในสังคมใดๆก็ตาม แต่มันก็มีหน้าที่ในสังคมที่สำคัญมาก เฉกเช่นเดียวกับความตายที่ไม่มีใครพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัวหรือคนที่ตัวเองรัก แต่ความตายนั้นกลับมีหน้าที่ที่สำคัญยิ่งในทางสังคมและชีววิทยา ในทางสังคม ความตายนั้นเป็นการสร้างความสมดุลและความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม ส่วนในทางชีววิทยา หากไม่มีใครตายแล้วนี่ ไม่นานมนุษย์ก็คงล้นโลก และจะไปเบียดเบียนสัตว์โลกชนิดอื่นอย่างที่เราเริ่มจะทำอยู่ในปัจจุบันนี้  นอกจากนั้น หลายๆครั้ง ความรุนแรงก็เป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล หาได้เกิดมาจากความบังเอิญไม่ ดังนั้น การเกิดของความรุนแรงจึงมีสาเหตุ และสาเหตุนั้นเองจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพิจารณา หาใช่ที่ตัวความรุนแรงไม่ ความรุนแรงนั้นหากเปรียบไปแล้วเป็นเหมือนความเจ็บปวดที่มนุษย์ต้องเผชิญ หากร่างกายไม่ปกติ เช่น หากนาย ก. ปวดฟัน ความเจ็บปวดก็จะทำหน้าที่บอกนาย ก. ว่าตอนนี้ฟันของนาย ก. ไม่ปกติแล้ว หากนาย ก. ต้องการจะรักษา นาย ก. ต้องไปหาหมอฟันและถอนหรืออุดฟันซี่นั้นเสีย หาใช่การกินยาแก้ปวดฟันอย่างเดียวไม่ ดังนั้น ความเจ็บปวด แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็มีประโยชน์ เพราะหาก นาย ก. ไม่ปวดฟัน นาย ก. ก็คงไม่รู้ว่าตัวเองฟันผุ และหากปล่อยไปอาการก
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39938เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท