shukur2003


ฉันใดฉันนั้น การเพิ่มขึ้นของความรุนแรงในสังคม จะสะท้อนให้เห็นว่ามีปัญหาในสังคมที่ไม่ได้รับการแก้ไข แต่การจะไปแก้ที่คนก่อความรุนแรงอย่างเดียวนั้น ก็เป็นเพียงการแก้ที่ปลายเหตุและปล่อยให้ต้นเหตุจริงๆของปัญหายังคงอยู่

นิรโทษกรรม : มุมมองที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อสันติภาพที่ภาคใต้

www.prachathai.com


โดย อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์  ดินอะ  (อับดุลสุโก  ดินอะ)  ด้วยพระนามของอัลลอฮ์  ผู้ทรงเมตตากรุณา ปราณี เสมอ ขอความสันติมีแด่ศาสดามูฮัมหมัด  ผู้เจริญรอยตามท่าน และสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน จากคำสารภาพของ 16 ผู้ต้องหา คดีฆ่าโหดพระวัดพรหมประสิทธิ์ ที่ว่าถูกหลอกใช้ หรือ คนอื่นๆ(บางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด) ที่ออกมาก่อความไม่สงบและถูกปั่นหัวให้เกลียดเจ้าหน้าที่รัฐนั้น นัยหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่มีอุดมการณ์ที่ต้องการสถาปนารัฐที่เขาใฝ่ฝันคือปัตตานีหรือปตานี เมื่อดูประวัติผู้ก่อการก็จะพบว่ามิใช่น้อยที่มาจากเด็กดีและเรียบร้อยอีกทั้งความรับผิดชอบสูง แน่นอนกลุ่มหรืองค์กรใดหากต้องการความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากคุณสมบัติของสมาชิกยิ่งองค์กรที่เคลื่อนไหวใต้ดิน ยิ่งต้องคัดสรรสมาชิกย่างละเอียดทั้งทางด้านวิชาการและความรับผิดชอบ เรื่องที่ผู้ก่อการใต้เข้าใจ...แต่ฝ่ายรัฐอาจจะไม่เข้าใจ
โสภณ สุภาพงษ์ กรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ได้ให้ทัศนะว่าผู้ก่อการในภาคใต้นั้นเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ไฟใต้นั้นจะลุกลามจนแบ่งแยกดินแดนได้นั้นจะต้องประกอบด้วยอะไร

ผู้ก่อการใต้นั้น เข้าใจดีว่า ธรรมชาติของไฟน้ำมันที่ลุกไหม้อย่างรุนแรงได้นั้น ต้องมีส่วนประกอบครบ 3 ประการ ประการแรกคือประกายไฟ ประการที่ 2 คือน้ำมัน ประการที่ 3 คือ อากาศ ไฟน้ำมันนั้นไม่สามารถดับด้วยน้ำ จะดับได้ด้วยการกันน้ำมันออกจากไฟ หรือกันอากาศ ไม่ให้รวมตัวกับไฟเท่านั้น

การดับไฟน้ำมันที่รุนแรงนี้จึงต้องใช้โฟมฉีดปกคลุมไฟเพื่อกันอากาศออกจากกองไฟ หรือกันน้ำมันจากกองไฟ ไฟจึงจะดับ

ประกายไฟ หรือไฟ นั้นเปรียบเสมือนผู้ก่อการ และกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนต่างๆ

อากาศนั้น เปรียบเสมือนชาวมุสลิมทั่วโลก 1,400 ล้านคน กลุ่มประเทศมุสลิมทั่วโลก เช่น โอไอซี มาเลเซีย ศาสนาอิสลาม

น้ำมันนั้นเปรียบเสมือนการถูกดูถูก การถูกหยามเหยียด การถูกกดขี่ ข่มเหง อุ้มฆ่า จากเจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่เป็นทั้งมุสลิมและพุทธ

ชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิม เปรียบเสมือนวัสดุที่กำลังถูกไฟน้ำมันลุกท่วม

เมื่อปี 2524 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งเป็นเสมือนโฟมที่กันน้ำมันและอากาศออกจากไฟ ศอ.บต.กันการถูกกดขี่ (น้ำมัน) ออกจากผู้ก่อการใต้ (ไฟ) โดยมีประธานที่มีศีลธรรมและมีบารมีที่จะส่งเสริมเจ้าหน้าที่ที่ดี

ได้ลงโทษและโยกย้ายเจ้าหน้าที่ที่กดขี่ข่มเหงหลายพันคน ส่งเสริมให้มีผู้นำทางศาสนาเข้าร่วมแก้ไขปัญหา ปราบปรามโจรต่อเนื่อง ขจัดการดูถูกหยามเหยียดศาสนาอิสลามและคนมุสลิมจากรัฐ

ชาวพุทธได้รับการดูแลมีชีวิตที่ปลอดภัย ชาวบ้านสามัคคี ด้วยการดำเนินการที่ถูกต้องในช่วงปี 2524 ถึง 2544 ทำให้ประเทศไทยสามารถกันประเทศมุสลิม (อากาศ) ออกจากโจร (ไฟ) ได้ โดยประเทศไทยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกลุ่มประเทศมุสลิมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศมาเลเซีย

มีข้อมูลที่ทำให้รู้ว่า มีสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบางคนไปร่วมฝึกกับนักรบมูจาฮิดีนที่ชายแดนปากีสถานและอัฟกานิสถาน ซึ่งรัฐบาลอเมริกันฝึกให้เพื่อใช้ก่อการร้ายต่อรัสเซียในช่วงปี 2528 และการประชุมกลุ่มเจไอในมาเลเซีย ได้เสนอที่จะใช้ความรุนแรงในประเทศไทย แต่ได้รับการคัดค้านจากกลุ่มมูจาฮิดีนนอกประเทศ

ก่อนปี 2544 ผู้ก่อการใต้ เข้าใจดีว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่สามารถเติบโตได้ เพราะไม่ได้รับความสนับสนุนจากมาเลเซีย กลุ่มประเทศมุสลิม โอไอซี โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ได้รับการเห็นด้วยจากมุสลิมที่ยึดมั่นในศาสนา

ศอ.บต.ได้ทำหน้าที่เป็นโฟม ป้องกันการหยามเหยียด กดขี่ (น้ำมัน) และกลุ่มประเทศมุสลิมมาเลเซีย (อากาศ) ออกจากการรวมตัวกับโจร (ไฟ) ไฟใต้ค่อยๆมอดลงเรื่อยๆ

ในปี 2544 เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้ามา สิ่งแรกที่นายกฯทักษิณทำ คือยุบศอ.บต.ทิ้ง ชาวบ้านบอกว่า เจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่กำลังถูกศอ.บต.ลงโทษ กลับมาแก้แค้นชาวบ้านที่ให้ข่าวกับทางราชการ มีการอุ้มฆ่ากดขี่ข่มเหงโดยผู้ร้ายที่ไม่รู้ว่าคือใคร

ตัวอย่างความไม่เข้าใจที่สร้างปัญหา เช่น หลักความศรัทธาที่สำคัญ 1 ใน 6 หลัก ของอิสลามที่มุสลิม 1,400 ล้านคนศรัทธา คือ ความศรัทธาในโลกหน้าและการเกิดใหม่ในวันพิพากษาผู้ที่ทำดีจะได้รับรางวัล ผู้ทำชั่วจะได้รับการลงโทษ

คาดว่าด้วยความไม่เข้าใจในเรื่องนี้ นายกฯทักษิณได้เคยพูดคำว่า ผมจะทำให้สำเร็จในโลกนี้ได้โดยไม่ต้องไปรอโลกหน้า และอื่นๆอีกบางประการหรือ การบอกว่าจะสอนเรื่องรอมฎอนให้ชาวบ้านมุสลิม จึงเป็นเรื่องขมขื่นต่อชาวบ้าน ที่เลยจากการหัวเราะไปมาก น้ำมันได้ถูกใส่เข้าไปในไฟโดยไม่เข้าใจ

สำหรับผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แม่ทัพและรองแม่ทัพภาค 4 รวมทั้งแม่ทัพบกนั้นเข้าใจปัญหาดี แต่ผู้ก่อการใต้ได้อาศัยให้นายกฯทักษิณออกมาเติมน้ำมันให้เรื่อยๆ

สำหรับประเทศมาเลเซียซึ่งก่อตั้งจากการรวมรัฐอิสระต่างๆ 13 รัฐ เข้ามารวมกันนั้น มีการสู้รบและความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ คุกรุ่นต่อเนื่องมายาวนาน กษัตริย์มาเลเซียต้องหมุนเวียนผลัดกันดำรงตำแหน่งจากรัฐต่างๆทุก 5 ปี มีความขัดแย้ง และต้องมีกฎหมายพิเศษเฉพาะรัฐในการบริหารประเทศ

นายกรัฐมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียนั้นกังวลปัญหาในประเทศไทย ไม่ใช่เพราะรักประเทศไทย แต่เพราะห่วงว่า ถ้าผู้ก่อการใต้ในประเทศไทยแข็งแรงขึ้น กลุ่มที่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระในประเทศมาเลเซียมากมายก็จะก่อตัวขึ้นเช่นกัน

อันที่จริง ดร.มหาธีร์ มูฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะเป็นผู้มีประสบการณ์ช่วยเหลือเราได้ และเราต้องเอาเขาเป็นพวกให้ได้

ผู้ก่อการใต้เข้าใจดีว่า รัฐบาลมาเลเซียจะไม่สนับสนุนโจร และถ้ามาเลเซียช่วยประเทศไทย ก็จะปราบโจรได้

แต่นายกฯทักษิณ กำลังไปทะเลาะกับรัฐบาลมาเลเซียเสียแล้วแทนที่จะใช้นโยบายทางการทูตย่างชาญฉลาด
(โปรดดูhttp://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03pub01271048&day=2005/10/27)
ความรุนแรง: เปรียบเทียบในบริบทแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory)
(ผู้ขียนดัดแปลงจากบทความเรื่องอ่านให้ทะลุเหตุการณ์จลาจลวัยรุ่นในฝรั่งเศส โดย อ.ณรุจน์ วศินปิยมงคล  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากบทความของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 768 ในwww.midnightuv.org)

ผู้เขียนจะนำเสนอการวิเคราะห์การก่อการนาคใต้ที่กลายมาเป็นความรุนแรงในมุมของ ลูอิส โคเซอร์ (Lewis A. Coser) นักสังคมวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน(1) ซึ่งมีมุมมองไปในแนวทางทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) และได้เสนอทฤษฎีหน้าที่ในทางสังคมของความรุนแรง (Social Functions of Violence)
 โคเซอร์ได้เสนอแนวความคิดว่าความรุนแรง (Violence) ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นปัญหาและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แท้ที่จริงแล้วมีหน้าที่ (Function) ที่สำคัญยิ่งในทุกสังคม นักทฤษฎีในแนวขัดแย้งนี้เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งปกติ (Normal) และไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) ก็ตาม  ในงานเขียนของโคเซอร์ เขายกตัวอย่างการมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นของคนที่เคยถูกปฏิเสธความเท่ากัน (เช่น คนผิวสี) ก่อนจะเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ในยุคทศวรรษที่ 1960 - 70 ในสหรัฐอเมริกา ในยุคนั้นถือว่าเป็นยุคเปลี่ยนของสถาบันหลักของหลายๆสังคมทั่วโลกทีเดียวในทัศนะของโคเซอร์ ความรุนแรงมีหน้าที่ในทางสังคมดังต่อไปนี้  1) เป็นเครื่องมือหรือเส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ (Road to Achievement)
2) แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการใช้ความรุนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือน (Warning Signal) ว่ากำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสังคม
3) การใช้ความรุนแรงอาจนำมาซึ่งความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียว (Solidarity) ของกลุ่มหรือชุมชน
 ความรุนแรง: อาจเป็นถนนสู่ความสำเร็จ
หน้าที่แรกของความรุนแรงในสังคม น่าจะเป็นสิ่งที่กลุ่มราชการโดยเฉพาะกลุ่มผู้นำทหารไทยบางกลุ่มในอดีตเข้าใจในประสิทธิภาพดี นั่นก็คือ การใช้ความรุนแรงในการเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และสำหรับผู้มีอำนาจเหล่านี้ความสำเร็จก็คือ "อำนาจ" ที่มากขึ้นและเด็จขาด และนี่คือลักษณะการใช้ความรุนแรงของผู้ที่เข้มแข็ง (The Strong)  แต่การใช้ความรุนแรงของผู้ที่อ่อนแอ (The Weak) เป้าหมายของการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่กลับไม่ได้เป็นอำนาจ แต่บางครั้งเป็นแค่ การเรียกร้อง (Demand) การประท้วง (Protest) การแสดงความไม่เห็นด้วย (Disagreement) หรือการอยากให้สังคมรับรู้ (Recognition) ในจลาจลในฝรั่งเศส เป้าหมายของผู้เข้าร่วมชุมนุมมีหลายอย่างแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงการเรียกร้อง การประท้วง และการอยากให้สังคมรับรู้ปัญหาของผู้ที่มีส่วนในการก่อความรุนแรงในครั้งนี้

หากถามว่าผู้ที่มีส่วนในการจลาจลที่ฝรั่งเศสในครั้งนี้ต้องการอะไร?
- ซิลล่า (Sylla) 18 (ตัวเลขหมายถึงอายุ) บอกว่า "พวกเราเผา (รถนับพันคัน) เพราะมันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ (ข้อเรียกร้องของพวกเรา - ผู้เขียน) เป็นที่ได้ยิน"(2)
- เอชบี (HB) 17 ที่มีพ่อแม่มาจากแอลจีเรียให้สัมภาษณ์ว่า "พวกเขา (ตำรวจ) กำลังท้าทายพวกเราโดยการก่อกวนพวกเราซะอย่างนั้นเอง พวกเราจะไม่หยุดจนกว่าซาร์โคซี่ (รมว. มหาดไทย) จะลาออก"(3)
- เด็กผู้หญิงชาวมุสลิมคนหนึ่ง บอกว่า "พวกเราแค่อยากให้พวกเขา (ตำรวจ, รัฐ) หยุดโกหกได้แล้ว ยอมรับมาเลยพวกเขาได้ทำมันและขอโทษพวกเราด้วย"(4)
 เนื่องจากหน้าที่แรกของความรุนแรงนี้ มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ที่สองของการใช้ความรุนแรงในสังคม ผู้เขียนจึงคิดว่า สมควรอยู่ที่จะเริ่มถกถึงหน้าที่ในทางสังคมอันที่สองของความรุนแรง ซึ่งกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของการใช้ความรุนแรงนั้น สะท้อนถึงความไม่เป็นปกติหรือปัญหาในสังคม  ความรุนแรง: สัญญาณเตือนภัย
หน้าที่ที่สองของความรุนแรงในทางสังคมตามแนวทางของโคเซอร์คือ แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการใช้ความรุนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสังคม หากการเพิ่มขึ้นของความรุนแรงสะท้อนปัญหาบางอย่างของสังคมจริง การใช้ความรุนแรงในภาคใต้สะท้อนถึงอะไร?  เมื่อเปรียบเทียบการใช้ความรุนแรงภาคใต้กับการใช้ความรุนแรงของชนกลุ่มน้อยในฝรั่งเศสผู้เขียนขอนำทรรศนะของ นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวฝรั่งเศส อลัน ทูเรน ได้ทำนายไว้ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 แล้วว่าฝรั่งเศสจะต้องเกิดการจลาจลครั้งใหญ่ขึ้น(5) แต่ปัญหามันติดอยู่ที่ว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อใดเท่านั้นเอง ปัญหาที่ส่งผลให้เกิดการลุกฮือขึ้นของชนกลุ่มน้อยในฝรั่งเศสมีหลายอย่าง และเกี่ยวพันกันอย่างซับซ้อนพอสมควร  ชาวฝรั่งเศสที่เป็นชนกลุ่มน้อยนี้ ส่วนใหญ่มีรากเหง้าหรืออพยพมาจากประเทศอาหรับ หรือประเทศในแถบแอฟริกาตอนเหนือที่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เช่น ประเทศแอลจีเรีย โมร็อกโก หรือตูนิเซีย ซึ่งมีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด(6) หรือ ประมาณ 7 ล้านคน ในขณะที่ในประเทศสหรัฐฯที่มีการใช้กฎหมายที่เรียกว่า Affirmative Action ที่มุ่งจะส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น ของประชากรต่างสีผิวและต่างเพศ ผ่านกฎหมาย ระเบียบ และความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งจากรัฐและเอกชน ประเทศฝรั่งเศสกลับเข้าไปจัดการกับผู้อพยพหรือชนกลุ่มน้อยโดยใช้หลักการที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งในการปกครอง ซึ่งเกิดมาพร้อมๆกับการเกิดของรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 18 คือ การที่รัฐบาลฝรั่งเศสถือว่าทุกคนในฝรั่งเศสเป็นคนฝรั่งเศส ไม่ว่าจะมาจากไหน ผิวสี หรือ ศาสนาอะไร คนฝรั่งเศสทุกคนมีความเป็นคนฝรั่งเศส (French-ness) เท่าๆกัน(7)  ในขณะที่หลักการตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในหลักประชาธิปไตยแบบถึงแก่น ที่ฟังแล้วน่าชื่นชม แต่ในความเป็นจริง มันกลับปฏิเสธความเป็นจริงในสังคมไปอย่างน่าเสียดาย การที่รัฐไม่จัดเก็บข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ทำให้ภาพความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของคนกลุ่มนี้ ไม่ปรากฏอย่างประจักษ์(8) และการส่งเสริมกลุ่มชนในทางชาติพันธุ์ (Ethnic Groups) ที่ด้อยโอกาสให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองก็เป็นไปอย่างจำกัดภายใต้หลักการนี้ การกีดกันทางสีผิวและเชื้อชาติในสังคมฝรั่งเศส ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ชาวฝรั่งเศสกลุ่มนี้ประสบปัญหาอย่างมากในการหางาน ชาวอาหรับที่ยังใช้ชื่อที่ยังคงเค้าของบรรพบุรุษตนไว้ จะประสบปัญหานี้มากในตอนสมัครงาน ใบสมัครที่มีชื่อเหล่านี้อยู่จะมีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม เมื่อถามวัยรุ่นที่เข้าร่วมการจลาจลคนหนึ่งถึงเรื่องงาน เขาเล่าว่า "งานก็พอจะมีอยู่หรอกนะที่สนามบินและที่โรงงานของซีตรอง แต่ถ้าคุณชื่อว่าโมฮัมเมด นั่นเหรอ อย่างลองไปสมัครเลยดีกว่า"(9)  แม้ฝรั่งเศสจะมีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีมากและให้บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา และบ้านพักให้กับชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้และคนยากจน แต่ใช่ว่าความรู้สึกไม่พอใจต่อสังคมโดยส่วนรวมนั้นจะน้อยลงไป ในทางการเมือง คนกลุ่มนี้อาจจะเรียกว่าเป็นพวกประชาชนชั้นสอง (Second-class Citizen) หรือพลเมืองชั้นล่างสุด (Underclass) เลยก็ว่าได้ และการที่คนไม่มีงานทำนั้นใช่ว่าจะเกี่ยวข้องเพียงแค่เรื่องปากเรื่องท้องอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวพันไปถึงการมีความมั่นใจ (Self-confidence) และเคารพในตัวเอง (Self-esteem) และการมีพื้นที่ในสังคม (Social Position) ระดับกว้างอีกด้วย นอกจากนั้น การที่ชาวมุสลิมจำนวนมากกลุ่มนี้ไม่สามารถหางานทำได้ ก็เริ่มหันเข้าหาศาสนามากขึ้น ซึ่งก็ทำให้รัฐเริ่มมีความกังวลในแนวโน้มของคนกลุ่มนี้มากในระยะหลัง (10)  ความระแวงในศาสนาอิสลามโดยปกติก็จะพอมีอยู่แล้วในสังคมชาวคริสต์ เนื่องจากประวัติศาสตร์ที่เคยต่อสู้กันมา แต่ความกังวลนี้เริ่มมีมากขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 และความระแวงนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการที่มีการก่อการร้ายในหลายๆประเทศในยุโรป ทำให้เริ่มมีความเข้มงวดในการเข้าไปตรวจสอบประชาชนกลุ่มนี้ จากการรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ ตำรวจท้องถิ่นที่ความรับผิดชอบดูแลประชาชนตามเขตชานเมืองกลุ่มนี้ที่เป็นเขตยากจน มักจะเป็น พวกที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีอุปกรณ์ที่พร้อม และยังไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ซึ่งทำให้ตำรวจกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มที่อย่างดีก็เรียกว่าซุ่มซ่าม หรืออย่างเลวก็เรียกว่าเหยียดผิวเลยก็ได้(11)  และก็เป็นที่รู้กันของคนที่อาศัยในละแวกนี้ว่าพฤติกรรมของตำรวจเหล่านี้นั้นมีปัญหาขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจค้นหรือจับกุมอย่างไม่มีเหตุผล การข่มขู่ ก่อกวน และหากใครโดนจับก็อาจจะต้องถูกกักอยู่ที่โรงพักหลายชั่วโมงทีเดียวหากไม่พบหลักฐาน สิ่งนี้ทำให้ผู้คนกลุ่มนี้มีความเกลียดชังตำรวจท้องถิ่นมาก นอกจากนั้น การที่รัฐยอมให้มีการขยายของชุมชนแออัด (Ghettoization) ตามชานเมืองอย่างกว้างขวางที่เป็นศูนย์รวมของ คนกลุ่มน้อย (Ethnic Minority) คนจน (Poor) ตกงาน (Unemployed) ที่มีถึง 40 เปอร์เซ็นต์(12) ซึ่งคิดแล้วสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 3 เท่า(13) การเข้าไปอยู่รวมกันของประชาชนจำนวนมากที่มีสภาพย่ำแย่เช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากการผลักคนที่มีความไม่พอใจในสิ่งเดียวมาไว้รวมกัน ซึ่งก็คือรัฐที่เป็นตัวแทนของสังคมฝรั่งเศสโดยรวมนั่นเอง  ที่ทำให้แย่ไปกว่านั้นคือ ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของคนที่อยู่ในชุมชนเหล่านี้อายุต่ำกว่า 20(14) ที่เป็นลูกหลานรุ่นที่ 2 หรือ 3 ของผู้อพยพมาจากประเทศอาหรับหรือแอฟริกา ลูกหลานของชาวฝรั่งเศสกลุ่มนี้ ต้องเผชิญปัญหาไม่น้อยไปกว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกเขาเลย แม้หลายๆคนจะได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนแบบฝรั่งเศส แต่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบสังคมฝรั่งเศสได้เต็มตัว ในขณะที่คนรุ่นพ่อแม่ของพวกเขายังมีสายใยและความผูกพันกับประเทศแม่ของตนอยู่ วัยรุ่นพวกนี้กลับไม่อาจหาชาติพันธุ์ของตัวเองอย่างชัดเจน วัยรุ่นคนหนึ่งบอกว่า "ผมไม่ใช่ส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสอย่างที่เป็นของซาร์โคซี่ (รมว. มหาดไทย) หรือนายกเทศมนตรีที่ผมไม่เคยเห็น แต่พอผมได้กลับไปเยี่ยมหมู่บ้านของพ่อแม่ผมในแอลจีเรีย ผมก็ไม่รู้สึกว่านั่นเป็นบ้านของผมเช่นกัน"(15)  นี่คือหนึ่งในหลายๆตัวอย่างของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่ไม่อาจหาอัตลักษณ์ของตัวได้ ปัญหาเรื่ออัตลักษณ์ของวัยรุ่นกลุ่มนี้ก็เลยกลายมาเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ในการระเบิดความโกรธกริ้วออกมาอย่างรุนแรงหลังจากที่วัยรุ่น 2 คน ซาเยด เบนนา 17 (Zyed Benna) ที่มีเชื้อสายตูนีเซียและโบนา ทราวเร่ 15 (Bouna Traore) ที่เกิดในมอริทาเนียถูกไฟช๊อตจนเสียชีวิต และเชื่อกันว่าเหตุนั้นเป็นเพราะการที่วัยรุ่นทั้ง 2 คนนี้พยายามจะหลบตำรวจท้องถิ่นที่คอยก่อกวนเด็กๆเหล่านี้เป็นประจำ  ปัญหาและสภาพเหล่านี้เองที่ผสมผสานทำให้เกิดความรู้สึกอัดอั้น กดดันและไม่พอใจตำรวจ รัฐ และสังคมฝรั่งเศสโดยรวมที่ไม่ให้ความสนใจกับปัญหาต่างๆที่ชนกลุ่มน้อยพวกนี้ประสบ การจลาจลที่เริ่มจากชานกรุงปารีส จึงขยายไปยังเมืองต่างๆที่ประสบปัญหาเดียวกันอย่ารวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง ความรุนแรง: การสร้างความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียว หน้าที่ที่สามทางสังคมของความรุนแรงที่โคเซอร์เสนอไว้คือ การใช้ความรุนแรงอาจนำมาซึ่งความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียว (Solidarity) ของกลุ่มหรือชุมชน ในกรณีที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นภาคใต้หรือผู้ก่อการนี้  ความรุนแรงที่ถูกใช้โดยรัฐผ่านเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในอดีต   ทั้งที่เป็นความรุนแรงแบบที่ใช้กำลัง (Physical Violence) เช่นการจับกุม ข่มขู่ ต่างๆนานา หรือการใช้กำลังผ่านระบบหรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม (Structural Violence) เช่น การตรวจค้นแบบไม่มีเหตุผล การแสดงความประพฤติในแนวดูถูกเชื้ชาติหรือศาสนา หรือมองผู้ก่อการหรือผู้ต้องหาไม่ใช้คนไทย เหล่านี้ล้วนเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐต่อสังคมโดยรวม และนี่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้มีชะตากรรมร่วมกัน  ความรู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ยังเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบหรือการที่ชาวบ้านโดนถล่มด้วยาวุธสงครามพร้อมความรู้สึกจากชาวบ้านว่าทหาร ตำรวจเป็นคนทำเพราะชาวบ้านจะเอาอาวุธสงครามมาจากไหนในท่ามกลางทหารและตำรวจเต็มพื้นที่เกือบทุกตารางนิ้ว หลายๆครั้งคนระดับเสนาบดีของรัฐเคยใช้ด้วยถ้อยคำที่ ความรุนแรงและดูถูกคนในพื้นที่ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ ความรุนแรงในทางคำพูด (Verbal Violence) ดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังตอกย้ำสะท้อนให้เห็นถึงระยะห่างระหว่างชาวบ้านและรัฐที่นับวันจะยิ่งแย่ลงอีกด้วย  สุดท้าย ความรุนแรงในการปราบปรามในอดีตแบบเวี่ยงแห  อคติต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอีกชนวนที่ทำให้ความรุนแรงนั้นขยายตัว  ที่สำคัญความขัดแย้งขยายวงไปสู่กรอบของศาสนาด้วยเพราะรัฐส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธและประชาชนส่วนเป็นมลายูมุสลิม และปัจจัยเหล่านี้เอง ก็ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น  ทั้งที่ฝ่ายรัฐอาจจะมองว่าปัจจุบันรัฐประสบความสำเร็จในการเชิญชวนผู้ก่อการมามอบตัว 137 คน (พิธีรับรายงานตัวกลุ่มผู้ร่วมเสริมสร้างสันติสุข  ที่ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคารศาลากลางจังหวัดยะลาต่อหน้ารมว.มหาดไทย วันที่10/12/48)และเข้าอบรมหากมองอย่างผิวเผินและบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้อยู่ในขบวนการและมีความคิดเห็นสอดคล้องและสนันสนุนขบวนการก็เป็นสิ่งที่ดีแต่หากส่วนหนึ่งมิใช่ปัญหาบานปลายแน่

 

และจากรายงานที่แท้จริงมีดังนี้(จากศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) พิธีรับรายงานตัวกลุ่มผู้ร่วมเสริมสร้างสันติสุข  ที่ห้องประชุมศรียะลา ชั้น 3 อาคารศาลากลางจังหวัดยะลา ซึ่งมี พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย เป็นประธาน และเปิดแถลงข่าวอย่างใหญ่โตนั้น กลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนทุกแขนงต่างให้ความสำคัญ เพราะตัวเลขของผู้ที่สมัครใจเข้ารายงานตัวในครั้งนี้ ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากทางจังหวัดมีถึง 163 คน  อย่างไรก็ดี เมื่อเริ่มพิธี ปรากฏว่าจำนวนชาวบ้านที่เข้าร่วมรายงานตัวลดลงเล็กน้อย เหลือ 137 คน แยกเป็น จ.ยะลา 62 คน และ จ.ปัตตานี 75 คน  ที่สำคัญ ทั้งหมดไม่ได้เป็นแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ไม่ได้มีคดีหรือหมายจับติดตัว แต่เป็นเพียงบุคคลที่ทางการมองว่าเป็น กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกชักจูงหรือชักชวนจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี เพื่อให้เข้าใจผิดต่อแนวนโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ ทางจังหวัดจึงปิ๊งไอเดียจัดงานรับรายงานตัวกลุ่มผู้ร่วมเสริมสร้างสันติสุขขึ้นมา เพื่อชิงดึงคนเหล่านี้ไปเข้าร่วมฝึกอบรมในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข โดยใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถึง 1 เดือน ก่อนที่จะถูกกลุ่มผู้หวังดีชักจูงไปเป็นแนวร่วม ซึ่งหากฟังโดยเหตุและผลแล้ว ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ดี น่าสนับสนุน  ทว่า ความวุ่นวายเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพิธีการรับรายงานตัว ได้สะท้อนให้เห็นถึงเบื้องหลังการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในแบบ “Behind the scene”  อย่างหมดเปลือก  ที่สำคัญยังสามารถตอบข้อกังขาของสังคมที่มีต่อคาราวานผู้เข้ารายงานตัวต่อทางราชการอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาว่า เป็น ของจริงหรือแค่ ภาพลวงตา รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับแล้วนั้น ที่แท้เป็นเช่นไร... โดยภายหลัง พล.อ.อ.คงศักดิ์ กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้ารายงานตัวพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ได้เดินทักทายชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธี  เมื่อเดินผ่านไปถึงกลุ่มชาวบ้านที่มาจาก อ.รามัน จ.ยะลา ปรากฏว่า นายมะซอบือลี เจ๊ะแย อายุ 37 ปี ได้ตะโกนร้องเรียนด้วยเสียงอันดังกับ พล.อ.อ.คงศักดิ์ ว่า เขาเพิ่งได้รับหนังสือเรียกตัวให้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง และทางอำเภอก็พยายามบังคับให้มา ทั้งๆ ที่ทางบ้านกำลังอพยพข้าวของหนีน้ำท่วม  ที่บ้านผมน้ำท่วมหนัก ผมทำฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อกว่า 5,000 ตัว ต้องช่วยกันอพยพไก่หนีน้ำ เมื่อคืนนี้ทั้งคืนยังไม่ได้นอน แต่ทางอำเภอกลับบังคับให้มารายงานตัว ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยทำความผิดอะไร ผมเสียใจมากที่มีชื่ออยู่ในบัญชีของทางราชการ และเป็นห่วงทางบ้านที่ยังต้องขนของหนีน้ำกันอยู่นาย
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39937เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท