เทคนิคป้องกันภัยจากไวรัส


เทศกาลวันหยุดคือช่วงเวลาของไวรัส

        ล่าสุดที่เพิ่งมีข่าวออกมาก็คือ “เวิร์มซานตาคลอส” ที่แพร่พันธุ์รับช่วงเทศกาลคริสต์มาสพอดิบพอดี โดยมันเลือกโจมตีโปรแกรมแชตสายพันธุ์ AOL, MSN และ Yahoo เป็นหลัก เจ้าเวิร์มซานตาฯ จะส่งไฟล์ไปยังคอมพิวเตอร์ของเหยื่อหรือเครื่องเป้าหมาย หากมีการเปิดไฟล์หรือเพียงแค่กดรับไฟล์ที่ส่งมา คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะติดไวรัสนี้ทันที เห็นได้ชัดว่าแฮกเกอร์เข้าใจเอาข้อมูลเกี่ยวกับซานตาคลอสมาใช้ล่อใจ เพื่อให้ผู้ใช้โปรแกรมแชตที่ตกเป็นเป้าหมายดังกล่าวเปิดไฟล์ขึ้นมา ดังนั้น ผู้ใช้งานควรระมัดระวังตัว และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ สถิติที่เกิดขึ้นทุกปีก็คือมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ และมีการระบาดอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มักจะไม่เอาใจใส่ต่อระบบความปลอดภัยในช่วงแห่งการพักผ่อนนี้ ทำให้มีการติดไวรัสคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “โซท๊อป” ไวรัสเครือข่ายที่ใช้ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จนเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อกลางเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ไวรัสโซท็อป ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น, เอบีซี และนิวยอร์ก ไทม์ส และอื่น ๆ ใช้การไม่ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านั้นไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมช่องโหว่ดังกล่าวเอาไว้


        นอกจากไวรัสที่จะสร้างภัยคุกคามในช่วงเทศกาลวันหยุดแล้ว “ฟิชชิ่ง” และ “สปายแวร์” ก็มีแนวโน้มจะออกทำงานมากขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วย เพราะมีคนจับจ่ายซื้อของผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากเป็นหลายเท่าตัว เป็นเวลาที่ของการต้มตุ๋นผ่านระบบออนไลน์อินเทอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะชอปปิงสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตในช่วงนั้นละก็แนะนำให้ระมัดระวังการใช้บัตรเครดิตของคุณบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้มากที่สุด เลือกเว็บสำหรับชอปปิงที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ส่วนภัยคุกคามอีกอย่างหนึ่งที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ได้แก่ ไวรัสมือถือ ซึ่งโจมตีผู้ใช้สมาร์ตโฟน และพีดีเอโฟน โดยในปีนี้มีไวรัสมือถือเกดขึ้นใหม่ถึง 14 ตัว เมื่อเทียบกับ 6 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ช่วงเทศกาลนี้เราจึงมีข้อแนะนำดี ๆ มาฝาก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนปลอดภัยจากไวรัสต่าง ๆ และภัยคุกคามช่วงวันหยุดพักผ่อน


เทคนิคป้องกันภัยคุกคามช่วงวันหยุด

 ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของตนอยู่ตลอดเวลา แต่ทว่ายิ่งปรับปรุงเท่าใด ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งล่อใจให้บรรดาแฮกเกอร์เข้ามาเจาะระบบมากขึ้นด้วย ทำให้พวกเขาต้องออกชุดอัพเดตเป็นรายเดือนเลยทีเดียว จึงสามารถพอจะรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ได้ สำหรับผู้ใช้ตามบ้านอย่างเรา ๆ นั้น สิ่งที่ต้องทำคือ เข้าไปตรวจสอบและอัพเดตไฟล์แพตช์จากไมโครซอฟท์บ่อย ๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีภูมิคุ้มกันมากขึ้น เข้าไปที่เมนู Tools เลือก Windows Update เพื่อลิงก์เข้าไปยังเว็บไซต์ วินโดวส์ อัพเดต ของไมโครซอฟท์ สำหรับการป้องกันภัยคุกคามจากไวรัสนั้นรามีเทคนิคเด็ด ๆ และคำแนะนำดี ๆ จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากเทรนด์ ไมโคร นำมาฝากกัน ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างละเอียดทีเดียว ดังนี้


ลำดับที่ 1 สำหรับผู้ใช้สมาร์ตโฟนที่ไม่ต้องการพลาดการติดต่อระหว่างดินทางในช่วงวันหยุด ต้องป้องกันตัวเองจากไวรัสมือถือ ที่รู้กันดีว่าเป็นต้นเหตุให้โทรศัพท์แฮงก์ ต้องปิดและเปิดเครื่องใหม่ ส่งเอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส โดยที่เจ้าของไม่รู้ หรือทำให้โปรแกรมอื่น ๆ ในเครื่องทำงานรวน แถมยังแอบลบไฟล์ในเครื่อง และอื่น ๆ อีกมากมาย ลองเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Trend Micro Mobile Security จากเว็บไซต์ www.trendmicro.com/mobilesecurityซึ่งให้คุณได้ใช้งานกันฟรี ๆ โปรแกรมดังกล่าวสามารถป้องกันกองทัพเอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส ที่ส่งผ่านจากมือถือเครื่องอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายมือถือทั่วโลก แน่นอนว่าระบบควบคุมสแปมอาจมีความหละหลวมอยู่ สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ต้องมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ของตัวเองติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยล่าสุด เพราะผู้ใช้หลายคนไม่รู้ว่า ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของตัวเองเก่าเก็บแล้ว และอาจไม่สามารถป้องกัน สปายแวร์/แอดแวร์ฟิชชิ่ง และตรวจจับการบุกรุกไร้สายได้ สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันพีซีจากภัยคุกคามทุกชนิด


ลำดับที่ 2 ควรทำการดาวน์โหลดโปรแกรมซ่อมแซมช่องโหว่ล่าสุดมาติดตั้งลงในระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อไม่ให้ภัยคุกคามจากไวรัสเครือข่ายทั้งหลายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นั้น เพราะนี่จะเป็นอันตรายอย่างที่สุด หากคอมพิวเตอร์ถูกเปิดทิ้งไว้ ขณะที่เจ้าของไม่อยู่ในช่วงวันหยุดยาว

 

ลำดับที่ 3 เนื่องจากไวรัสถูกสร้างขึ้นมาด้วยเวลาอันสั้น โดยเฉพาะไวรัสเครือข่าย คุณไม่ควรทิ้งให้คอมพิวเตอร์ และ/หรือจุดเชื่อมต่อไร้สาย (แอ็กเซสพอยท์) เปิดให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ไม่เพียงแต่เปลืองไฟเท่านั้น แต่ยังเปิดช่อโหว่ให้วายร้ายในโลกมืดที่กำลังมองหาช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายที่มีระบบป้องกันที่หละหลวม หรือไม่ได้ป้องกันเลย โดยแฮกเกอร์จะใช้การเชื่อมต่อฟรีเหล่านี้ไปกระทำการในทางไม่ดีต่าง ๆ ยิ่งกว่านั้น นอกจากไวรัสจะสามารถอัพเดตตัวเองโดยอัตโนมัติขณะที่เครื่องเปิดอยู่ได้ เวิร์มเครือข่ายตัวใหม่ ๆ อย่างเช่น แซสเซอร์ และโซท๊อป ก็ยังสามารถแพร่ติดคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมช่องโหว่ล่วงหน้า ถึงแม้ว่าในขณะนั้นเจ้าของคอมพิวเตอร์จะไม่ได้กำลังใช้งานอยู่ก็ตาม

 ลำดับที่ 4 ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ไม่สามารถหาสิ่งไหนมาทดแทนได้ การเดินทางไปพักผ่อนเป็นเวลานาน คุณควรดาวน์โหลดไฟล์รักษาความปลอดภัยเวอร์ชันล่าสุดมาติดตั้งในเครื่อง และตรวจสอบระบบทั้งหมดก่อนจะสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้ในแผ่นซีดี


ลำดับที่ 5 ผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์บลูทูธ ให้ตั้งค่า “auto-discover” เป็น OFF เพื่อป้องกันแฮกเกอร์ และอุปกรณ์มือถือของคุณ รับไวรัสผ่านทางบลูทูธ โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน แม้ยังไม่รู้แน่ว่า สามารถติดเชื้อจากโทรศัพท์ที่ไม่ใช่สมาร์ตโฟนได้หรือไม่ ? แต่การเปิด “auto-discover” ในสถานะ ON มีสิทธิ์โดนรบกวนจากข้อความจำนวนมากที่หลั่งไหลมาจากอุปกรณ์บลูทูธที่ติดไวรัส ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ได้ สำหรับผู้ใช้สมาร์ตโฟน ควรตรวจสอบไฟล์ป้องกันล่าสุด ซึ่งสามารถอัพเดตได้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผ่านทางบริการจีพีอาร์เอส


ลำดับที่ 6 คอยรับฟังข่าวสารที่แพร่ภาพผ่านทางโทรทัศน์ทั่วโลก ว่ามีการเตือนภัยการแพร่ระบาดของไวรัสตัวสำคัญ ๆ หรือไม่รวมทั้งแจ้งเพื่อนฝูง และเครือญาติที่กลับไปถึงบ้านแล้ว ให้ช่วยโทรศัพท์หรือส่งเอสเอ็มเอสมาเตือนภัยเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว เพราะจะเป็นประโยชน์กับคุณอย่างมาก เมื่อถึงเวลากลับจากท่องเที่ยวในวันหยุดแล้ว


ลำดับที่ 7 สำหรับผู้ที่ชอบท่องอินเทอร์เน็ตตามร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตในช่วงวันหยุด ต้องมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมแล้วว่า ร้านอินเทอร์เน็ตเหล่านั้น มีระบบป้องกันความปลอดภัยเข้มแข็งเพียงพอ


 
ลำดับที่ 8 หลังจากกลับมาถึงบ้านแล้ว ผู้ใช้ไม่ควรทำกิจกรรมอินเทอร์เน็ตใด ๆ หรือเริ่มใช้งานอีเมล์จนกว่าจะดาวน์โหลดและอัพเดตไฟล์ป้องกันไวรัสเวอร์ชันล่าสุดมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน

 
ลำดับที่ 9 ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยพื้นฐาน เช่น- ระวังอีเมล์ที่มาในรูปของบัตรอวยพร อีเมล์แจ้งข่าวซุบซิบ หรือมีภาพของดาราสุดเซ็กซี่ อีเมล์แจ้งดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ฟรี หรือข้อเสนอที่ดูดีและสมจริงเพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอีเมล์สแปม ซึ่งสามารถใช้ชื่ออีเมล์ปลอม หรือชื่อคุ้นเคยที่หาได้จากสมุดที่อยู่ของคุณหรือของเพื่อนด้วยเทคนิคหรือเครื่องมืออื่น ๆ- แม้ว่าอีเมล์ที่ได้รับจะเป็นของจริง และซอฟต์แวร์แนบท้ายมาด้วยนั้นจะถูกตรวจสอบแล้วว่าไม่มีไวรัสเจือปนก็ตาม แต่ควรอ่านข้อตกลงการใช้งาน (end-user licence agreement : EULA) อย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณได้รับสปายแวร์ หรือแอดแวร์- โปรดจำให้ขึ้นใจว่า ไม่มีธนาคารแห่งไหนจะขอให้ใครกรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รายละเอียดบัตรเครดิต รหัสเอทีเอ็ม รหัสผ่าน และอื่น ๆ ผ่านทางอีเมล์ ดังนั้นหากคุณได้รับอีเมล์ในลักษณะดังกล่าว ควรติดต่อกับทางธนาคารเพื่อแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้รับทราบ หากไม่แน่ใจ เพื่อความปลอดภัยให้ลบอีเมล์ฉลับนั้นทิ้ง เพราะหากเป็นเรื่องสำคัญจริง ธนาคารจะโทรหาคุณเองในภายหลัง

 

หมายเลขบันทึก: 398984เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อมูลมีประโยชน์จริง

นำไปใช้แล้วได้ผลดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท