ครู ศรช. ปรับสภาพเป็นพนักงานราชการได้ต้องทำงานประจำ กศน.ตำบล


 

        ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ นี้ สิ่งที่ดีเข้ามาแก่ครู ศรช. ที่กำลังรอปรับสภาพเป็นพนักงานราชการ งานนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผ่านนายกรัฐมนตรีที่มีราชการของ กศน. ครั้งนี้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจในการบริหารสั่งการด้วยเห็นความสำคัญของคนทำงาน กศน. มในกรณีนี้เองที่ครู ศรช.ต้องไปอยู่ที่ กศน.ตำบลอย่างแท้จริง และสร้างงานให้ปรากฏในการบริการประชาชน เพราะ กพร.สามารถยกเลิกอัตราพนักงานราชการที่หมดความจำเป็นได้ ในระหว่างการทำงานต่อไปนี้หากมีเสียงร้องเรียนจากประชาชนว่า กศน.ตำบลไม่มีครูอยู่บริการเป็นที่ทำการที่รกร้างว่างเปล่า ก็ถึงคราวต้องเป็นการจบสิ้นของอัตราพนักงานราชการ กศน.ตำบล ทั้งนี้ กพร.สามารถสุ่มติดตามประเมินการทำงานของพนักงานราชการและสามารถยกเลิกอัตราได้ซึ่งมีปรากฏแล้วในอดีตที่ยกเลิกพนักงานราชการของหน่วยงานอื่น

           สำหรับหลักเกณฑ์ในการปรับสภาพครู ศรช.ให้เป็นพนักงานราชการนั้น กพร.กำลังดำเนินการอยู่ ยังไม่ได้แจ้งให้ กศน.ทราบ ต้องรอไปก่อน ฉะนั้นเพื่อความพร้อมในการจัดทรัพยากรบุคคลให้เกิดผลการสร้างงาน กศนตำบลต่าง ๆ ให้ กศน.อำเภอจัดองค์การใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ให้ครู ศรช.ไปประจำ กศน.ตำบล คนที่จะอยู่ประจำสำนักงาน กศน.อำเภอคือข้าราชการครู ครูอาสา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น เริ่มตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป และในกรณีที่ ครู ศรช.ที่มีไม่ครบตำบล คนหนึ่งรับผิดชอบหลายตำบลโดยมีตำบลหลักและตำบลรอง ต้องมีการติดประกาศที่ กศน.ตำบลว่าหัวหน้า กศน.ตำบลคือใคร เบอร์โทรติตต่อได้อย่างไร และระบุให้ชัดเจนว่าวันไหนปรระจำอยู่ตำบลใด ให้หัวหน้า กศน.ตำบลรายงานการปฏิบัติงานทุกวันผ่านทางเว็บบล็อก ซึ่งจะมีการจัดระบบรายงานกันต่อไป ใครที่ยังไม่มีศักยภาพจะถูกนำมาพัฒนาให้เป็นหัวหน้า กศน.ตำบลที่สมบูรณ์ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #กศน.ตำบล#ครู ศรช.
หมายเลขบันทึก: 398789เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ครู ศรช.ต้องไปอยู่ที่ กศน.ตำบลอย่างแท้จริง และสร้างงานให้ปรากฏในการบริการประชาชนในตำบลให้มากที่สุด ทำให้ กศน.ตำบลมีชีวิต  เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

ต้องเป็นจริงอย่างที่ ผอ.ว่านั้นแหละครับ..ครู ศรช. ต้องติดดินและลงพื้นที่จริง..สร้างงานให้เป็นรูปธรรมชัดเจน...แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นคงต้องอยู่ที่ผู้บริหารอำเภอส่วนหนึ่ง....ครับ ผอ.

- ขอบคุณครับท่าน ผอ. พวกผมได้รับข้อมูล ข่าวสาร ที่ทันเหตุการณ์ จากบล๊อกของท่านเป็นประจำครับ

- จริง ๆ แล้ว ต้องเป็นอย่างที่ท่าน ผอ.ว่า ครู ศรช.ต้องประจำอยู่ที่ศูนย์ กศน.ตำบล

- แต่บางอำเภอ กศน.ตำบล ยังหาสถานที่ไม่ได้เลย ต้องให้ครู ศรช.วิ่งหาที่อยู่เอง งบประมาณ ก็ไม่จัดสรรค์ให้ น่าเห็นใจ

- งบประมาณที่จะถึงนี้ ควรกำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะจัดสรรค์งบประมาณลง กศน.ตำบล อะไร อย่างไรบ้าง

อ.อรุโณทัย กศน.พระยืนครับ

จุดแตกหักอยู่ที่ ผอ.กศน.อำเภอด้วยครับในการดำเนินการอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้ กศน.ตำบลเข้มแข็ง งานนี้ต้องช่วยกันตั้งแต่จังหวัดมาเลยครับ.

อ.ประยุทธ ครับ

น่าเห็นใจสำหรับบางแห่งยังหาสถานที่ไม่ได้ก็เอาใจช่วยกันต่อไปครับ

สำหรับงบประมาณนั้นตามหลักการต่อไปจะใช้ฐานจากตำบลครับ

สัวสดีค่ะ

เรียน ท่าน ผอ.

ดิฉันมีข้อสงสัยว่า...แล้วบรรณารักษ์อัตราจ้างทั่วประเทศ จะมีสิทธิที่จะได้เป็นพนักงานราชการบ้างมั๊ยค่ะ? เพื่อนที่อยู่ ห้องสมุดประชาชนอำเภออัมพวา ทราบข่าวว่า ครู ศรช.จะปรับเป็นพนักงานราชการ เพื่อนเลยสนใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ Lek

ตอนนี้ยังไม่มีการเสนอเรื่องให้บรรณารักษ์อัตราจ้างเป็นพนักงานราชการครับ แต่อนาคตก็ต้องขึ้นอยู่กับทางสำนักงาน กศน.จะคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ

กระผมในนาม ครู กศน.ตำบลขามป้อม ให้ด้วยกับนโยบายของท่าน ผอ.ที่จะให้ ครู ศรช.ต้องไปอยู่ที่ กศน.ตำบลอย่างแท้จริง และสร้างงานให้ปรากฏในการบริการประชาชน เพราะจะทำให้ประชาชนได้รับบริการอย่างแท้จริง ไม่ว่าความรู้ด้านอาชีพ ระยะสั้น

การเรียนรู้ได้ ICT การรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ตลอดจนการส่งเสริมการอ่านของ กศน.ตำบล ซึ่งการส่งเสริมการอ่านเป็นภารกิจที่สำคัญที่จะต้องจัดให้กับประชาชนทุกคนที่ต้องการ ไม่ว่าเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ดอยโอกาสท่งการศึกษา

ขอขอบคุณท่าน ผอ. ที่มีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นประชาชนเป็นสคัญ

เอาใจช่วยนะครับ ชาวครูกศน.ตำบลขามป้อม จ.ร้อยเอ็ด

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.

อย่างในส่วนของตัวเองอยากเรียนถามท่านผอ.ว่าในส่วนของตำบลหลักคือ กศน.ตำบลเกาะเรียน และตำบลรองคือ กศน.ตำบลคลองสวนพลู จำเป็นไหมว่าเวลาสมัครเรียนแล้วจะให้มาเรียนที่ กศน.ตำบลเกาะเรียนที่เดียวได้ไหมในส่วนของ กศน.ตำบลคลองสวนพลูจะเปิดเป็นกลุ่มอาชีพอย่างเดียวจะได้ไหมค่ะ

เรียนถามท่าน ผอ. คะ

ได้ข่าวว่าเทอมที่ 2 / 2553 เป็นต้นไป แต่ละตำบลต้องมีนักศึกษา 80 คนต่อครู 1 คน และนักศึกษาต้องมาสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 อยากเรียนถามท่าน ผอ. ว่า

ตำบลที่เป็นตำบลเล็กๆ มีประชากร พันหน่อยๆ มีไม่กี่หมู่บ้าน จำนวนนักศึกษาไม่ถึง 80 จะทำอย่างไรคะ

เพราะ 1 ขอย้ายตำบลไปตำบลใหญ่แล้วไม่ได้ผล เพราะได้คำตอบว่าที่เก่านะ เกิดการพัฒนาแล้ว ก็เกิดด้านอื่นๆถูกต้องคะ แต่ จำนวนนักศึกษา ไม่ถึงเกณฑ์สักทีคะ

2. จะรอหวังพึ่งยอดนักศึกษาจากตำบลใหญ่ๆ ที่เกินเกณฑืแล้วก็อยากคะเพราะว่าต่างคนต่างทำตามเกณฑ์ของตนเองคะ

เรียนท่าน ผอ.ค่ะ จากที่ครู ศรช. ได้สอบถามมาว่าครูต้องมี นศ. 80 คนต่อครู 1 คน และต้องมาสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 เป็นจริงหรือเปล่าค่ะ จะได้หา นศ.เพิ่มจากเดิมเพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 คนนะค่ะ ช่วยตอบด้วยนะค่ะ ขอขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท