ลัทธิสโตอิก


ลัทธิสโตอิก

ลัทธิสโตอิก

ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) คือแนวคิดทางปรัชญาแห่งเฮลเลนิสติก ก่อตั้งโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ เซโน แห่ง ซิติอุม (Zeno of Citium พ.ศ. 210 - พ.ศ. 279) ในเอเธนส์ ซึ่งได้แพร่หลายเป็นอย่างมากไปทั่วกรีก และจักรวรรดิโรมัน

เนื้อหา

ลัทธิสโตอิก สอนว่าการควบคุมตนเองให้ปลอดจากการเกาะติดและจากอารมณ์กวนใจ บางครั้งแปลได้ว่าเป็นเส้นแบ่งความพอใจเท่ากันในความปีติหรือความเจ็บปวดที่เป้นการช่วยให้คนกลายเป็นนักคิดที่โปร่งใส เสมอต้นเสมอปลายไม่ลำเอียง ข้อดีของลัทธิสโตอิกได้แก่การช่วยปรับปรุงสภาพจิตของตัวบุคคลให้ดีขึ้น

คุณธรรม เหตุผลและกฎธรรมชาติ เป็นตัวชี้นำสำคัญ ลัทธิสโตอิกมีความเชื่อว่า ความเชี่ยวชาญในการควบคุมกัมมภาวะ (passion) และอารมณ์สามารถเอาชนะความไม่ร่วมแนว(discord) ของโลกภายนอกและจะได้รับความสุขสันติในตัวของบุคคลนั้นๆ เอง ลัทธิสโตอิก เชื่อว่ากัมมภาวะเป็นตัวบิดเบือนความจริง และว่าการมุ่งค้นหาความจริงคือคุณธรรม นักปราชญ์ชาวกรีก เช่นคลีนเทส ชรายซิบปุส และนักปราชญ์ชาวโรมันในสมัยต่อมาเช่น ซิเซโร,มาร์คัส ออเรลิอุส, คาโตผู้เยาว์, ดิโอ ชรายโซสตอม และอีปิเตตุส ทีช่วยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลัทธิสโตอิก ในกรณีของซิเซโร ควรเน้นให้เห็นว่าในขณะที่เขาใช้ลัทธิสโตอิกร่วมในบางส่วน แต่เขาก็ไม่ใช่ชาวสโตอิกแต่เป็นพวกคตินิยมสรรผสาน (ecletics) ปรัชญาสโตอิกจะมีความเปรียบต่างกับลัทธิบูชาความสำราญ (Epicureanism) อย่างเห็นได้ชัด

ลัทธิสโตอิก กลายเป็นปรัชญญาที่ได้รับความนิยมอยู่ในแนวหน้าระหว่างพวกปัญญาชนผู้มีการศึกษาในสมัยจักรวรรดิเกรโก-โรมันถึงระดับที่ "ผู้สืบทอดของอเล็กซานเดอร์ยอมสารภาพว่าตนเองเป็นพวกสโตอิก" ตามคำกล่าวของกิลเบิร์ต เมอร์เรย์

คำสำคัญ (Tags): #เนื้อหาดีๆๆ
หมายเลขบันทึก: 398301เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2010 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท