ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๓ วิชาภาษาไทย ๑ ตอนที่ ๑


ให้นักเรียนที่สอบไม่ผ่านศึกษา สอบแก้ตัว ส่งเฉพาะกระดาษคำตอบ (มี ๒ ตอน)
การสอบวัดผลปลายภาค                
   ภาคเรียนที่ ๑                       ปีการศึกษา  ๒๕๕๓ 
วิชาภาษาไทย ๑ รหัส  ท ๓๑๑๐๑    เวลา  ๖๐  นาที
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง         ๑.  ข้อสอบทั้งหมดมี ๒  ตอน 
                     ๒.    ตอนที่ ๑  มี  ๖๐ ข้อ ให้เลือกตอบข้อที่ถูกที่สุด โดยตอบในกระดาษคำตอบ
                             ตอนที่  ๒  ให้เขียนตอบในกระดาษคำตอบที่แนบมา
ตอนที่ ๑      สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๔ 
จากข้อที่ ๑ ถึงข้อที่  ๕ ในแต่ละข้อข้อใดความหมายต่างจากข้ออื่น
๑.            ๑.  จำศิล               ๒.  จำใจ               ๓.  จำยอม            ๔.  จำเป็น
                ๒.          ๑.  กำปั้น              ๒.  กำมือ              ๓.  กำหมัด           ๔.  กำหนด
          ๓.           ๑.  สายใจ             ๒.  สายสมร        ๓.  สายใย             ๔.  สายสวาท
                ๔.           ๑.  สาวแก่            ๒.  สาวไส้           ๓.  สาวสวย         ๔.  สาวเจ้า
                ๕.           ๑.  หลักทรัพย์     ๒.  หลักประกัน ๓.  หลักฐาน        ๔.  หลักเกณฑ์
                   จากข้อที่ ๖  ถึงข้อที่  ๑๐ ข้อใดเมื่อแปลความแล้วความหมายไม่เหมือนกัน
                ๖.                            ๑.  เพ็ญ  รัชนี                     ๒.โสม ศศิธร      
๓.  เดือน ดารา                    ๔.  รัตติกร แข
                ๗.                           ๑.  วิมาน ทิวา                      ๒.  อัมพร โพยม               
๓.  นภากาศ นภา               ๔.  ทิฆัมพร คัดนางค์
                ๘.                           ๑.  สุริยา ทิพากร                 ๒.  ประภาคาร รวี
                                                ๓.  ตะวัน ทินกร                 ๔.  ภานุมาศ  อังศุมาลี
                ๙.                            ๑.  กัญญา  นงเยาว์             ๒.  วนิดา  นารี
                                                ๓.  นงคราญ กานดา          ๔.  วิไล  ลาวัณย์
                ๑๐.                         ๑.  วารี  ชล                          ๒.  คีรี  สิงขร
                                                ๓.  อุทก  ชลาลัย                 ๔.  สมุทร  ชโลทร
                ๑๑.         ข้อใดมีความหมายตรง
                                                ๑.  สมชายกินอิฐกินปูน                    ๒.  สมหวังเป็นเสือผู้หญิง
                                                ๓.  สมเจือชอบกินขนมจีน               ๔.  สมฤทัยเป็นดาวของโรงเรียน
                ๑๒.        “สวย” ในข้อใดเป็นคำกริยา
                                                ๑.  ชนกกานต์สวยมาก                      ๒.  ความสวยเป็นคุณสมบัติของผู้หญิง                                         ๓.  สวยเป็นผู้หญิงที่มีคุณธรรม             ๔.  งานนี้ไปได้สวย
               
 
 
๑๓.        คำในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกัน
                                                ๑.  ห่วง  หา                                         ๒.  ขึ้ง  เคียด
                             ๓.  เกรง  เข็ด                                      ๔.  หวาด  พลาด
๑๔.        “หัว”ในข้อใดที่หมายถึงมีสติปัญญาดี
                                ๑.  หัวหมอ                                                          ๒.  หัวสูง
                                ๓.  หัวรั้น                                                             ๔.  หัวแหลม
๑๕.        “เสียงดนตรีปี่พาทย์ครวญจิตหวนให้             หยาดน้ำตาตกในเกินไขขาน
                โอ้แม่จ๋าลาลับไปกับกาล                                    กระแสชนดั่งสายธารน้อมวันทา”
                คำประพันธ์ข้างต้นสื่อความในเรื่องใด
                   ๑.  ลูกรักแม่มาก                                                 ๒.  ผู้ตายมีบารมี
                                ๓.  ลูกเศร้าโศกแต่ภูมิใจในตัวแม่                   ๓.  แม่เป็นผู้มีเกียรติ
๑๖.         ข้อใดเป็นการกระทำที่เกินตัว เกินฐานะของตนเอง
                                ๑.  หวีผมพอเกล้า กินเหล้าพอเมา                  ๒.  มัดเหลือแบก แสกเหลือตัว
                                ๓.  นกน้อยทำรังแต่พอตัว                                ๔.  ซื้อจากมุงทุ่ง
๑๗.        สำนวนว่า “อย่าถือท้ายเรือรั่ว” สอนเรื่องใด
                                ๑.  อย่าเอาเรือผุไปใช้                                         ๒.  อย่าเข้าข้างคนผิด
                                ๓.  อย่าไว้ใจคน                                                  ๔.  อย่าไปตามหลังคนไม่ดี
๑๘.        ข้อใดไม่ใช่ค่านิยมที่ให้เรามีสัมมาคารวะผู้ใหญ่
                                ๑.  อย่าเล่นเชี่ยน                                                 ๒.  อย่าข้ามหัวฤๅษี
                                ๓.  อย่าทำเฒ้า                                                     ๔.  ใหญ่เพร้า เฒ่าลอกอ
๑๙.         “ไก่ตัวหนึ่ง เที่ยวเขี่ยอาหารกิน ไปพบพลอยมีราคาเข้าเม็ดหนึ่ง ไก่จึงพูดกับพลอยว่า ถ้าเจ้าของมาพบท่านไม่ใช่เราพบ เขาคงเอาท่านไปฝังไว้ในที่ท่านเคยอยู่แต่ก่อน แต่เรามาพบท่านไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเราได้ข้าวโพดสักเม็ดหนึ่ง ยังดีกว่าได้พลอยหมดทั้งโลก”
          นิทานเรื่องนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร
                                ๑.  คนไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่มีค่า                    ๒.  สิ่งมีค่าอยู่ที่ผู้รู้จักใช้
                                ๓.  สิ่งที่ให้ประโยชน์กับเราสิ่งนั้นจะมีค่า    ๔.  ทุกสิ่งใช่ว่าจะมีค่าต่อเรา
๒๐.        “คนจน คนไม่มีเงินทอง เมื่อเกิดเรื่องทุกข์ใจเดือดร้อน ก็ไม่มีใครสนใจดูแล ผิดกับคนรวย มีแต่คนคอยดูแลเป็นธุระช่วยเหลือให้ตลอดเวลา ไม่ต้องร้องขอเขาก็พากันมาช่วย เหมือนที่ว่าช่วยคนรวยได้หน้า ช่วยขี้ข้า (คนจน) ได้บุญ เรื่องบุญเป็นเรื่องได้ดีในชาติหน้ายังอยู่ไกลนัก เรื่องได้หน้าอยู่ใกล้ตัว โดยมากคนจึงชอบได้หน้า ได้เป็นข่าว”
ข้อความข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด
๑.  เราควรทำบุญเอาไว้                                      ๒.  คนชอบได้หน้ามากกว่าได้บุญ
๓.  ควรช่วยเหลือคนทุกข์ยาก                          ๔.  ชาติหน้ามีจริง
สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๖พากันมาช่วย เหมือนที่ว่าจเดือดร้อน ก็ไม่มีใครสนใจดูแล  ผิดกับคนรวย มีแต่คนคอยดูแลเป็นธุระช่วยเหลือให้ตลอดเวลา ไ
๒๑        ข้อไดไม่ใช่จดหมายกิจธุระ
๑.  จดหมายลาครู                                                ๒.  จดหมายทวงหนี้จากบริษัท
๓.  จดหมายบอกขายสินค้า                              ๔.  จดหมายจากโรงเรียนถึงผู้ปกครอง
๒๒.       จดหมายกิจธุระที่ส่งถึงสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันเป็นจดหมายตามข้อใด
                                ๑.  จดหมายธุรกิจ                                               ๒.  จดหมายราชการ
                                ๓.  จดหมายเปิดผนึก                                         ๔.  จดหมายส่วนตัว
๒๓.                             ตราครุฑสำหรับจดหมายราชการ  มีความสูงเท่าไร
                                ๑.  ๒  ซ.ม.                                                          ๒.  ๒.๕  ซ.ม.
                                ๓.  ๓  ซ.ม.                                                         ๔.  ๓.๕  ซ.ม.
๒๔.       ข้อใดไม่ใช่ขั้นความเร็วของจดหมาย
                                ๑.  ปกติ                                                                 ๒.  ด่วน
                                ๓.  ด่วนมาก                                                        ๔.  ด่วนที่สุด
๒๕.       ข้อใดเขียนถูกต้อง
                ๑.  วันจันทร์ที่  ๒๐  กันยายน  พ.ศ. ๒๕๕๕๓          ๒.  ๒๐  กันยายน  ๒๕๕๓
                ๓.  วันที่  ๒๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๕๓                       ๔.  ๒๐  ก.ย. ๕๓
๒๖.        รหัสพยัญชนะใดที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าของเรื่อง
                                ๑.  ที่  กษ                                                              ๒.  ที่  ศธ
                                ๓.  ที่  กศ                                                             ๔.  ที่  ศก
๒๗.       ควรใช้คำขึ้นต้นถึงพระสงฆ์ว่าอย่างไร
                                ๑.  เรียน  เจ้าเจ้าอาวาส                                      ๒.  เจริญพร  ........
                   ๓.  นมัสการ  ........                                           ๔.  กราบเรียน  ..............
๒๘.       ข้อใดเป็นภาคเหตุ
                                ๑.  ด้วยโรงเรียนสตรีทุ่งสงได้กำหนดการประชุมผู้ปกครองนักเรียน............
                                ๒.  จึงขอเชิญผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วมประชุม..................
                                ๓.  จึงเรียนมาเพื่อทราบและ........................
                                ๔.  กำหนดการการประชุมผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีทุ่งสง
๒๙.        ถ้าต้องการขอสนับสนุนเงินทุนการศึกษาให้กับนักเรียนควรเขียนภาคสรุปตามข้อใด
                                ๑.  ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเงินทุนการศึกษา.......
                   ๒.  จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการ
                                ๓.  จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์และสนับสนุนเงินทุนการศึกษา....
                                ๔.  จึงเรียนมาเพื่อบอกบุญ
๓๐.        คำลงท้ายในจดหมายราชการทั่วควรใช้ตามข้อใด
                                ๑.  ขอแสดงความนับถือมาด้วยความเคารพ ๒.  ขอแสดงความนับถือ
                                ๓.  ขอแสดงความนับถืออย่างสูง                                    ๔.  ขอเจริญพร
สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๘
๓๑.          ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการฟังและการดูเพื่อการสื่อสาร
๑.  พูดกับคุณพ่อตอนทานข้าวเย็น                  ๒. เล่าอาการป่วยให้หมอฟัง
๓.  แม่บอกช่วยซ้อปลาทูมา ๒ เข่ง                ๔.  ฟังสองผัวเมียข้างบ้านทะเลาะกัน
๓๒.       ข้อใดไม่เป็นการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
                                ๑.  ฟังกลุ่มคนเสื้อสี...ชุมนุมประท้วง           ๒.  ฟังเพลงลูกเทวดา
                                ๓.  นั่งชุมหนังตะลุง                                         ๔.  ครูสมเกียรติเล่านิทานให้ฟัง
๓๓.       ข้อใดเป็นการฟังและดูเพื่อจรรโลงใจ
                                ๑.  ฟังพระแสดงธรรมในงานศพ                   ๒.  ฟังครูสอนในชั้นเรียน
                                ๓.  นั่งชมละครโทรทัศน์                                  ๔.  พูดกับเพื่อนทางโทรศัพท์
๓๔.       เหตุการณ์ใดเป็นการฟังในกลุ่มขนาดเล็ก
                ๑.  ชมรายการตลกจากโทรทัศน์                      ๒.  ฟังการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนฯ
                ๓.  สนทนากับครอบครัวตอนทานข้าว          ๔.  ครูสอนในชั้นเรียน  
๓๕.       ข้อใดเป็นการฟังอย่างเป็นทางการ
                ๑.  ฟังข่าวประจำวัน                                          ๒.  ฟังการประชุมสัมมนา
                ๓.  ชมละครเวทีของนักเรียนชั้น ม.๕           ๔.  ฟังประกาศคณะปฏิวัติ
จากข้อ ๓๖ – ๔๐ ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ให้เลือกตอบข้อ ๑ ถ้าเป็นข้อคิดเห็น ให้เลือกตอบข้อ ๒
๓๖.       เมื่อมั่งมีมากมายมิตรหมายมอง                                                 เมื่อมัวหมองมิตรมองเหมือนหมูหมา                             เมื่อไม่มีมิตรหมางเมินไม่มองมา                              เมื่อมอดม้วยหมูหมาไม่มามอง     
๓๗.         ผมดำขลับกลับขาวราวดอกอ้อ                                   หน้าเคยหล่อสวนใสมาไฝฝ้า                                          ขาเคยแกร่งแรงหมดถดถอยล้า                                    พระท่านว่าอนิจจังไปทั้งนั้น 
๓๘.        ไม่อยากเป็นศรีใจคนหลายรัก                                   ไม่อยากจักเป็นเพชรเหมือนเศษหิน                               ไม่อยากเป็นดอกฟ้าค่าเพียงดิน                                                ขอเป็นปิ่นฤทัยคนใจเดียว    
๓๙.         ร่างเขานอนอยู่ในใต้ผ้าขาว                                   ยื่นมือน้าวโน้มลงตรงปากขัน                
   แต่แบออกเหมือนบอกย้ำความสำคัญ               ว่าเงินนั้นฉันมิได้นำไปเลย  
๔๐.          สองมือแม่ผลัดไกวเปลปากเห่กล่อม                   สองขาค้อมขัดตักให้พักหนุน                                       สองตาแม่อาทรอ่อนละมุน                                          สองถันอุ่นพันผูกเลี้ยงลูกรัก      
อ่านคำประพันธ์ข้างล่างแล้วทำข้อสอบข้อที่  ๔๑ – ๔๔
                                สาวขึ้นคานบ้านใต้ใจแช่มชื่น                          ลืมตาตื่นสู้ยิบตาเพราะกล้าหาญ
                 ใครข่มเหงต้องหลบไปกบดาน                                       ใครเหลือขอคิดต่อต้านต้องซานซม 
คำที่พิมพ์สีเข้มเป็นคำอุปลักษณ์มาจากพฤติกรรมและเหตุการณ์ของ สัตว์สิ่งของ ตามตัวเลือกต่อไปนี้
๑.  ไก่                                   ๒.  ช้าง                                 ๓.  เรือ                                  ๔.  จระเข้
๔๑.        ขึ้นคาน
๔๒.       สู้ยิบตา
๔๓.       กบดาน
๔๔.       เหลือขอ
จากข้อ ๔๕ – ๔๘ มีชื่อดอกไม้ อันเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายตามตัวเลือกต่อไปนี้
นำไปตอบในข้อที่ ๔๕ – ๔๘
                                ๑.  ความต่ำศักดิ์                                                  ๒.  ความมั่นคง ยั่งยืน
                                ๓.  ความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี         ๔.  ความเจริญรุ่งเรือง
๔๕.                                       ชั้นมอหนึ่งไร้เดียงสาดุจผ้าขาว        ชั้นมอสองรวมดาวพราวแสงสี
                                ชั้นมอสามวิชาการเชี่ยวชาญดี                         ชั้นมอสี่กีฬาเหนือกว่าใคร
                                ชั้นมอห้ากิจกรรมทำได้หมด                            ชั้นมอหกอนาคตสุขสดใส
                                ชาวดอกรักอนาคตผูกพันใจ                              แม้นจากไปฟ้าขาวเฝ้ารอคอย
๔๖.                                        ดอกหญ้าต้นข้างกายปลายหักพับ    ซบยอดกับโคนต้นคอยคนย่ำ
                                เพราะอ่อนแอจึงเข็ญเป็นประจำ                      ค่าความช้ำระหว่างเรามีเท่ากัน
๔๗.                                       โอ้ว่าดอกดาวเรืองงามเฟื่องฟุ้ง       วิชาชีพโรจน์รุ่งสมมุ่งหมาย
                                ค่าของครูสอนเด็กเล็กมากมาย                         เกียรติกำจายเหลืองสะพรั่งทั้งแผ่นดิน
๔๘.                                       หมู่เมฆหมอกมัวหม่นพ้นสมัย        เลือนลับไกลเกินกล่าวมาก้าวก่าย
                                มอบดอกบานไม่รู้โรยโปรยเรียงราย               นิมิตหมายวันเกิดเทิดบูชา
๔๙.                                        สักวาหมาขี้ดีดีหน่อย                          เบ่งค่อยค่อยบรรจงให้ลงถัง
                                อย่าทำเปรอะเละลามตามลำพัง                        โปรดเห็นใจคนข้างหลังยังมีนะ
          คำ “หมา” เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อตามข้อใด
                                ๑.  ความดุร้าย                                                      ๒.  ความเลว ความชั่ว
                                ๓.  ความต่ำทราม                                               ๔.  ความโง่เง่า
๕๐.                                        อยู่อย่างหงส์ทรงศักดิ์อัครฐาน          แต่สันดานใฝ่ต่ำทำบัดสี
                                ชอบเล่นหูเล่นตาปากพาที                 จนสามีจับได้ไล่ลงเรือน
                คำ “หงส์” เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อตามข้อใด
                                ๑.  คนดี ผู้สูงศักดิ์                                               ๒.  ความเจ้าเล่ห์
                                ๓.  ความเจ้าชู้                                                      ๔.  คนสวย
สาระการเรียนรู้ข้อที่ ๑๐
๕๑.                                        “กระเหว่าเสียงเพราะแท้                  แก่ตัว
                                หญิงเลิศเพราะรักผัว                                          แม่นหมั้น
                                นักปราชญ์มาตรรูปมัว                                       หมองเงื่อน  งามนา
                                เพราะเพื่อรสธรรมนั้น                                       ส่องให้เห็นงาม”
                คำประพันธ์ข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด
                                ๑.  ควรเลี้ยงนกดุเหว่า                                                       ๒.  ผู้หญิงควรรักสามี
                                ๓.  คนมีปัญญาแม้ขี้เหร่งามได้ด้วยคุณธรรม               ๔.  ธรรมย่อมคุ้มครองคนดี
๕๒.                                       “หนูครวญใคร่พ้นจั่น                        จำไกล
                                นกก็เหนื่อยหน่ายใจ                                           จากแร้ว
                                มัจฉาชาติกลัวภัย                                                 เพียรหน่าย  แหแฮ
                                คนผิดคิดใคร่แคล้ว    
ต่อตอนที่ ๒ (มีกระดาษคำตอบ)    
คำสำคัญ (Tags): #ให้โอกาส
หมายเลขบันทึก: 398156เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2010 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ศิริลักษณ์ ศรีสุวรรณ

ยากจังเลยอาจารย์

อาจารย์คับ แล้วกระดาษคำตอบผมจะเอาจากไหนอะ??? งงมากเรยย ทำตอนเปิดเทอมหรือยังไงคับบ???

กระดาษคำตอบ อยู่ตอนที่ ๒ ด้านบน

กระดาษคำตอบ

ภาษาไทย ๑ ท ๓๑๑๐๑ (แก้ตัว)

ชื่อ................................................................................ ชั้น ม. ๔/....... เลขที่..................

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อ ๑ ๒ ๓ ๔ ข้อ ๑ ๒ ๓ ๔

๑ ๓๑

๒ ๓๒

๓ ๓๓

๔ ๓๔

๕ ๓๕

๖ ๓๖

๗ ๓๗

๘ ๓๘

๙ ๓๙

๑๐ ๔๐

๑๑ ๔๑

๑๒ ๔๒

๑๓ ๔๒

๑๔ ๔๔

๑๕ ๔๕

๑๖ ๔๖

๑๗ ๔๗

๑๘ ๔๘

๑๙ ๔๙

๒๐ ๕๐

๒๑ ๕๑

๒๒ ๕๒

๒๓ ๕๓

๒๔ ๕๔

๒๕ ๕๕

๒๖ ๕๖

๒๗ ๕๗

๒๘ ๕๘

๒๙ ๕๙

๓๐ ๖๐

อาจารยืงงงงงทาเรยนิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท