รายละเอียดงบประมาณ อาคารบ้านโนนวัด


การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 งบประมาณ จำนวน 6,100,000 บาท ผ่านทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา

การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโนนวัด ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 8 ปี      ทำให้ได้ปริมาณข้อมูลทางวัฒนธรรมต่อเนื่องในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่ ยุคสำริด และยุคเหล็กสู่ปัจจุบัน เชื่อมโยงความเป็นมาของอารยธรรมเขมรโบราณได้ชัดเจนขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุประมาณ 4500 ปี นับได้ว่ามีความเก่าแก่กว่าบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีถึง 1,000 ปี  และจากการส่งเสริม ผลักดันจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้นำองค์ความรู้พัฒนาไปพร้อมกับภาคีพัฒนาท้องถิ่น นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 งบประมาณ จำนวน 6,100,000 บาท ผ่านทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดีที่บ้านโนนวัด กระบวนการขุดค้นทางโบราณคดี สิ่งที่ค้นพบ และหลุมการขุดค้นทางโบราณคดีจำลองที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นบนพื้นที่และได้ปิดหลุมไปแล้ว นอกจากนั้นยังจัดแสดงถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่บ้านโนนวัดจากอดีตถึงปัจจุบัน

 

รายละเอียดงบประมาณ

 

รายละเอียด

งบประมาณ

1. ค่าตอบแทนที่ดิน (นักวิจัยได้จัดหาสถานที่และติดต่อเจ้าของที่ดินไว้แล้ว)

 

100,000 บาท

2. ค่าจัดสร้างศูนย์ข้อมูลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 1 หลัง อาคาร 1 ชั้นครึ่ง ขนาด 12 x 16 เมตร พื้นที่ใช้สอย 192 ตารางเมตร พร้อมใช้งานได้

2,000,000 บาท

3. ค่าจัดสภาพภูมิทัศน์ รอบอาคารจัดแสดงพื้นที่ 800 ตารางเมตร

1,000,000 บาท

4. ค่าจัดแสดงนิทรรศการถาวร และตกแต่งภายใน

3,000,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งหมด

6,100,000 บาท

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บ้านโนนวัด
หมายเลขบันทึก: 397677เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บางครั้ง การที่คนเราได้ขุดค้นและเจอเรื่องราวความเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ หรือ รากทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักและความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมมีจิตใจที่ห่อเหี่ยวได้เหมือนกันนะคะ

เราเอาเวลาส่วนใหญ่ไปทุ่มกับประวัฒิศาสตร์สมัยอยุธยา สมัยสุโขทัย แต่เรากลับไม่สนใจประวัฒิศาสตร์ในยุค B.C กันเลย ประวัฒิของเราเก่าแก่กว่าของจีน และ อียิปต์อีก ทำไมสิ่งที่จะทำให้เรายืนและยืดอกได้ต่อชาวโลกว่า บ้านเรา เมืองเรานั้น เจริญและเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ชาติอื่น (อาจจะ) เอาไปลอกเลียนแบบได้ ในขณะนี้ ดูเหมือนว่า เราจะพอใจในการที่มีประเทศเพื่อนบ้านรอบตัวมาบอกว่า รากเง้าและความเจริญของเรา มันมาจากประเทศเค้า...ศึกษาประวัฒิศาสตร์ให้ดีกันเถิดค่ะ ถ้าเราไม่มองว่ารากเง้าเรามาจากไหน เราก็จะกลายเป็นคนที่ช่วยเบี่ยงเบนความเจริญทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้อย่างแน่แท้ที่สุด

แก้ : ในยุคก่อน B.C

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท