ใบงานที่ 2


คอมพิวเตอร์ คืออะไร
ใบงานที่ 2
นางสาวเจียรนัย    จันขุนทด  เลขที่ 12 
นักศึกษาปริญญาโท  รุ่น  3 ศูนย์สระบุรี
1.คอมพิวเตอร์  คือ ประกอบด้วย 2 ส่วน สำคัญ    ได้แก่

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 

การที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญต่อไปนี้ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากร (People ware)
1. Hard Ware (ฮารด์แวร์)   คือ  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เราจับต้องได้ และมองเห็น ดังนั้น อุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์ หรือ เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็น Hard Ware ทั้งสิ้น โดยจะแบ่งอุปกรณ์ Hard Ware ออกเป็น 3 หน้าที่  คือ
1.1. Input Unit  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard ), เม้าส์ ( Mouse)
1.2. Processing Unit  คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผล ได้แก่ CPU (Central Processing Unit)
1.3. Output Unit   คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา ได้แก่ จอภาพ (Monitor)  , เครื่องพิมพ์ (Printer)  , สแกนเนอร์ (Scanner) , ลำโพงเสียง  (Speaker) , โปรเจคเตอร์ (Projector)  เครื่องฉายภาพ
ในขณะเดียวกัน ยังมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง Input Unit และ Output Unit ได้ด้วย เช่น เครื่องบันทึก/อ่าน แผ่นดิสก์ (Disk Drive) , เครื่องบันทึก/อ่าน แผ่นซีดี (CD Read/Writer) , เครื่องถ่ายภาพระบบดิจิตอล Digital Camera
2. Soft Ware (ซอฟท์แวร์)  คือ  โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นชุดคำสั่ง ที่ถูกเขียนขึ้นมาจาก ภาษาทางคอมพิวเตอร์ (Computer Language) เพื่อสั่งให้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ Soft Ware แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
                2.1 System Soft Ware คือ โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (OS = Operating System) เช่น บนเครื่อง Main Frame Computer ก็จะใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า UNIX , บนเครื่อง Mini Computer ก็จะใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า OS/2 , บนเครื่อง Micro Computer หรือ PC ก็จะใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า DOS , หรือในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมากคือ Microsoft Windows นั่นเอง ซึ่ง โปรแกรมวินโดวส์นี้ ก็มีหลายเวอร์ชั่น (Version) ออกมา เช่น Windows 3.11 , Windows 95 , Windows 98 , Windows 2000 , Windows ME และล่าสุดตอนนี้ก็คือ Windows XP
                2.2 Application  Soft Ware คือ โปรแกรมประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาทางคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทั่ว ๆ ไป ได้แก่
                Microsoft Word เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับงานพิมพ์ทั่ว ๆ ไป
Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับงานด้านการคำนวณ , ตาราง , สถิติ , กราฟ
Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับการทำสไลด์ , งานนำเสนอ Presentation
Microsoft Access เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับฐานข้อมูล (Data Base Management)
ปกติโดยทั่วไปเราจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 4 ชื่อนี้ในที่ทำงานต่าง ๆ โดยเรียกรวมว่า Microsoft Office
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้งานอีก อาทิ เช่น
                Microsoft Publisher เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการทำนามบัตร , ป้ายประกาศต่าง ๆ , การ์ด ต่าง ๆ
AutoCAD เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบ
Photo Shop เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ
3D Studio เป็นโปรแกรมทำภาพเคลื่อนไหว Animation
Page Maker เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับโรงพิมพ์ เป็นต้น
3. People Ware (พีเพิลแวร์) คือ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ทำงานในงานทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานทางคอมพิวเตอร์นั้น ก็จะแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ เป็นตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
                BOSS คือ  ตำแหน่งของผู้บริหารสูงสุด เช่น เจ้าของบริษัท Microsoft คือ Bill Gate เป็นต้น
Admin คือ  ตำแหน่งของผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโปรแกรม Word เป็นต้น
System Analysis คือ  ตำแหน่งของนักวิเคราะห์ และออกแบบระบบ
Programmer คือ  ตำแหน่งคนเขียนโปรแกรม (ถือว่าตำแหน่งนี้สำคัญที่สุด)
Operator คือ  ตำแหน่งผู้ดูแลระบบเครื่องต่าง ๆ คล้าย ๆ กับช่างคอมพิวเตอร์
Users คือ  ตำแหน่งของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
Data Entry คือ  ตำแหน่งของผู้ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
 
 
 
 
 
 
 
2. รูปแบบของระบบสารสนเทศ   แบ่งเป็น 2 รูปแบบ  ได้แก่อะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศ สามารถจัดการได้เป็น 2 รูปแบบ    คือ
                                1. จัดการตามหน้าที่ของงานในองค์กร  (Function – Base System) ตัวอย่างเช่น ภายใต้งานหลักขององค์กร ได้แก่ การเงิน การบัญชี การขาย การตลาด งานบุคคล การผลิต มีการใช้ระบบสารสนเทศกับการตรวจสอบสินค้าคงคลัง หรือเพื่อการคิดเงินเดือนลูกจ้าง หรือการทำบัญชี เป็นต้น ดังนั้นฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นและผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะใช้เฉพาะงานนั้นๆ เท่านั้น
                                2. จัดการในรูปของระบบผสมผสานเบ็ดเสร็จหรือบูรณาการ (Integrated System) นั่นคือ ข้อมูลสารสนเทศจะถูกจัดเป็นฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน
                                การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ : การที่เราสร้างระบบสารสนเทศก็เพื่อจะเรียกใช้ สารสนเทศที่ต้องการอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อมีระบบฐานข้อมูลช่วยจัดการข้อมูล / สารสนเทศ ให้อยู่ในระบบระเบียบง่ายแก่การเข้าถึงแล้ว เรายังสามารถเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจนั้น
การเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูลในที่นี้ คือการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ (data entry) ผู้ใช้สามารถส่งผ่านทาง terminal ที่เป็นเครื่อง PC ของระบบสารสนเทศและประมวลผลข้อมูลและประมวลผลข้อมูลได้ 2 วิธี คือ
                                1. Batch processing   คือ  การประมวลผลข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมไว้เป็นกลุ่มข้อมูล แล้วส่งเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อนำไปประมวลผลเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่น การคิดเงินเดือนพนักงาน ฝ่ายบุคคลจะเก็บรวบรวมข้อมูลลูกจ้างที่ทำงาน (รายวัน, รายสัปดาห์ หรือรายเดือน) เช่น จำนวนชั่วโมง อัตราค่าจ้าง จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา (ถ้ามี) ตามรอบเวลาการทำงาน (เช่น รายวัน, รายวันสัปดาห์, รายเดือน) แล้ว จึงส่งข้อมูลที่รวบรวมไว้นี้เข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อคำนวณเงินเดือนหรือค่าจ้างของทุกคนต่อไป
                                2. Transaction-oriented processing คือ การประมวลผลข้อมูลทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อสินค้าทุกครั้งที่มีลูกค้าสั่งซื้อ (ในเวลาทำการ) ข้อมูลลูกค้าและรายการสินค้าที่สั่งจะถูกส่งเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล ได้แก่ เปรียบเทียบจำนวนสินค้าในโกดัง ตรวจสอบราคา และตอบลูกค้าได้ทันทีว่าสินค้าที่สั่งนั้นมีหรือไม่ ส่งแล้วหรือรอส่งของจากผู้ผลิต จำนวนเงิน วันกำหนดส่ง เป็นต้น เป็นการตอบรับทันที ไม่เหมือน batch processing ที่จะต้องรอรวบรวมข้อมูลก่อน

 รูปแบบของระบบสารสนเทศ

                ระบบสารสนเทศโดยคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งตามรูปแบบของการจัดการข้อมูล / สารสนเทศ

ได้ 5 ประเภท ดังนี้
          2.2.1. Data Processing Systems เรียกย่อๆ ว่า ระบบ DP
          2.2.2. Management Information Syastems เรียกย่อๆ ว่า ระบบ MIS
          2.2.3. Decision Support Systems เรียกย่อๆ ว่า ระบบ DSS
          2.2.4. Executive Information Systems หรือ Executive’s DSS เรียกย่อๆ ว่า ระบบ EIS
          2.2.5. Expert Systems หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ เรียกย่อๆ ว่า ระบบ ES

2.2.1. Data Processing Systems (DP)
          ระบบ DP คือ การประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมขึ้นในแต่ละงานขององค์กร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล (file) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นลักษณะงานประจำ ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวัน แยกตามประเภทสินค้าเป็นต้น เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการใช้ในการตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานประจำต่างๆ แต่ละงานในแต่ละวัน

 2.2.2. Management Information Systems (MIS)
                                ระบบ MIS หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล / สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP เพื่อให้สามารถเรียกใช้ในลักษณะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ แสดงการไหลของข้อมูล / สารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการ ตัดสินใจ มิใช่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของงานใดงานหนึ่งเท่านั้น
                                ระบบ MIS มีข้อแตกต่างจากระบบ DP ดังนี้คือ : ระบบ MIS ประกอบด้วยฐานข้อมูลที่เป็น Integrated Database กล่าวคือ มีการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร มาจากระบบ DP ต่าง ๆ ภายใต้งานหลักเฉพาะหน่วยงานขององค์กร) ภายในองค์กรร่วมกัน ดังนั้นผู้บริหารทุกระดับสามารถใช้ Integrated Database เพื่อเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้สะดวกกว่าระบบ DP ซึ่งจะรายงานเฉพาะหน่วยงาน ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือโยงไปยังข้อมูล / สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันได้

          ระบบ MIS มีคุณลักษณะดังนี้
                1. ระบบ MIS รวบรวมและประมวนผลข้อมูล / สารสนเทศที่เกิดขึ้นตามงานต่าง ๆ ภายในองค์กร และจัดเก็บข้อมูล / สารสนเทศในลักษณะที่สามารถแบ่งปันได้
                2. ระบบ MIS ใช้ฐานข้อมูลแบบบูรณการ หรือ Integrated Database นั่นคือ ฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นตามงานต่าง ๆ สามารถนำมาติดต่อเชื่อมถึงกันได้หรือสร้างฐานข้อมูลใหญ่ในลักษณะศูนย์กลางข้อมูล / ข่าวสารเพื่อให้ผู้ใช้ทุกระดับทุกงานสามารถเรียกใช้ข้อมูล / สารสนเทศร่วมกัน
                3. ระบบ MIS มีกลไกที่ทำให้ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูงสามารถเข้าถึงสารสนเทศภายในองค์กรได้อย่างสะดวก เป็นการประหยัดเวลาของผู้บริหาร ทั้งนี้ข้อมูล / สารสนเทศเหล่านี้มาจากการดำเนินงานที่มีรูปแบบหรือโครงสร้างที่ชัดเจนภายในองค์กร
                4. ระบบ MIS สามารถให้ผู้ใช้เพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงข้อมูล / สารสนเทศให้ทันสมัยเสมอ ดังนั้นจึงสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารทุกระดับ
                5. ระบบ MIS มีกลไกในการสร้างระบบความปลอดภัยของข้อมูล กล่าวคือสามารถกำหนดการเข้าถึงสารสนเทศได้ในระดับต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น สารสนเทศงบประมาณขององค์กรหรือบัญชีงบดุลที่นำเสนอเฉพาะผู้บริหารระดับสูง สามารถจัดให้อยู่ในแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้เฉพาะผู้มี รหัสผ่านเท่านั้น

2.2.3. Decision Support Systems (DSS)
                ระบบ DSS หรือ  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้และตอบโต้ ทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่สามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ระบบ DSS จึงเป็นการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกหาได้จากระบบ MIS กับสารสนเทศที่คาดว่าผู้บริหารต้องการจากภายนอกองค์กร แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยออกมาในรูปของ กราฟฟิก แผนงาน หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจนอกเหนือไปจากงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบ DSS จะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจในงานหลายๆ ด้านพร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เรียกใช้ได้ทันที ซึ่งต่างกับระบบ MIS ที่แม้จะแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้ แต่สารสนเทศต่าง ๆ ก็ถูกจัดไว้สำหรับแต่ละงาน

          ระบบ DSS มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
          1. ระบบ DSS ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
          2. ระบบ DSS ได้รับการออกแบบเพื่อสนองการแก้ปัญหาแบบ semi structured และ unstructured problems
          3. ระบบ DSS ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารทุกระดับ แต่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
          4. ระบบ DSS เป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับระบบและง่ายต่อการใช้งาน ผู้บริหารที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ได้โดยสะดวก
          5. ระบบ DSS เสนอเครื่องมือช่วยการตัดสินใจในรูปของแบบจำลอง แบบทดสอบและเครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถานการณ์
          6. ระบบ DSS สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการใช้สารสนเทศในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
          7. ระบบ DSS สามารถใช้งานกับฐานข้อมูลภายในองค์กรได้
          8. ระบบ DSS ไม่ประมวลผลข้อมูลในลักษณะงานประจำ เช่น การจัดตารางการผลิตสินค้าในรอบสัปดาห์และรายงานผลการผลิตต่อสัปดาห์

ภายในระบบ DSS จึงประกอบด้วยเครื่องมือ (tools) ดังต่อไปนี้
          1. Applications development เป็นส่วนที่ช่วยสร้างงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ให้สามารถส่งข้อมูลเข้าประมวลผล จัดเก็บและแสดงผลลัพธ์ตามลักษณะของงานที่กำหนด
          2. Data management เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดเก็บ บำรุงรักษา และเรียกใช้ สารสนเทศเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกัน โดยดึงออกมาจากฐานข้อมูลภายในซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ data warehousing ซึ่งจะสร้างฐานข้อมูลแบบ relational database โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากฐานข้อมูลในระบบ MIS ออกมาจัดการ จัดเก็บ เรียกใช้ และบำรุงรักษา ต่างหาก
          3. Modeling เป็นการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์มาคำนวณและคาดคะเนความน่าจะเป็นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง
          4. Statistical analysis เป็นการใช้หลักการวิเคราะห์ทางสถิติช่วยในการคำนวณเพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์หรืออัตราส่วนของการพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ
          5. Planning เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่ช่วยคำนวณสถานการณ์ในอนาคต โดยให้ผู้ใช้ (ผู้บริหาร) ตั้งคำถามประเภท what-if เช่น ถ้าต้องการจะทำยอดขายให้ถึง 120 ล้านในปีหน้า จะต้องเพิ่มงบประมาณด้านการโฆษณาเท่าไร
          6. Graphics เป็นการใช้โปรแกรมทางกราฟิกเพื่อช่วยแสดงผลลัพธ์ในรูปของแผนภูมิ (chart) ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้งาน นั่นคือเมื่อผู้ใช้เห็นแผนภูมิในลักษณะ pie chart แสดงยอดขายรายเดือนแล้วยังเรียกดูกราฟแสดงยอดขายรายอาทิตย์ของเดือนนั้นได้ด้วย
          7. Consolidations เป็นเครื่องมือในระบบ DSS ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือกลุ่มเดียวจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น รวมรายงานงบประมาณจากสำนักงานสาขาหลายสาขาให้เป็นรายงานงบประมาณรวมของบริษัท
          8. Application-specific DSS capabilities เป็นส่วนของระบบ DSS ที่ใช้สร้างงานเฉพาะด้านในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น การวิเคราะห์การเงิน และการควบคุมคุณภาพสินค้า

     2.2.4. Executive Information Systems หรือระบบ EIS
          เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบ DSS แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการ ตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร ดังนั้นแหล่งสารสนเทศภายนอกต่างๆ เช่น สำนักข่าว CNN, ROUITER, ตลาดหุ้น, ห้องสมุด ฯลฯ จะได้รับการโยงเข้าสู่ระบบ EIS เพื่อให้ผู้บริการสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงต้องการสารสนเทศจากภายนอกองค์กรที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจประเภทนี้อยู่ในลักษณะ unstructured decision making เพื่อวางแผนระยะยาวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย

 2.2.5. Expert Systems
          ระบบ ES หรือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ   จัดเป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่นำวิทยาการของปัญหาประดิษฐ์เข้ามาใช้จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศที่เป็น “ความรู้” (knowledge) ในเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้าน ดังนั้นระบบผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างฐานความรู้ (knowledge base) และกลไกในการตั้งคำถามและหาคำตอบ (จาก knowledge base) ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการถามและตอบสิ่งที่ถามเสมือนหนึ่งคุยกับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ทั้งนี้ระบบผู้เชี่ยวชาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่น ใช้ในงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยทางการแพทย์ การขุดเจาะน้ำมัน การวางแผนการเงิน การจัดทำภาษี การวิเคราะห์ทางเคมี การผ่าตัด การซ่อมเครื่องยนต์ การพยากรณ์อากาศ การซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งสัญญาณดาวเทียม ปฏิบัติการเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ การวางรูปแบบหนังสือพิมพ์ การตีความกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าระบบผู้เชี่ยวชาญจะได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ระบบสารสนเทศประเภทนี้ก็ไม่สามารถมาแทนที่มนุษย์ได้

2.3 Software Agents หรือ Intelligent agents

          เป็นการใช้วิทยาการปัญญาประดิษฐ์อีกรูปแบบหนึ่งในการเสนอสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ โดยที่ผู้ใช้แสดงเจตจำนงไว้ว่าต้องการให้ทำอะไร ในวันไหน เวลาใดบ้าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ก็จะจัดการตามที่สั่ง เช่น เตรียมของขวัญวัดเกิดให้คุณแม่และเพื่อน ๆ สนิท ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จัดงานปาร์ตี้และออกจดหมายเชิญแขก ฯลฯ มีข้อสังเกตคือ Software Agents จะทำเฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้กำหนดหรือมอบหมายไว้เท่านั้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ปัจจุบันมีให้เลือกใช้บนอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนผู้รับใช้ส่วนตัวรายใหม่ของยุคสารสนเทศ

 
 
หมายเลขบันทึก: 397238เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท