เล่าสู่กันฟังเรื่องผลการวิจัยนมแม่ 6 เดือน


     ในช่วงปีนี้ที่หายไปก็ไปทำวิจัยเรื่องนมแม่ 6 เดือนมาค่ะ ก็นิเทศงานคนอื่นมา ก็ย้อนกลับมาคิดทบทวนตัวเองกันในฐานะที่งานโรงเรียนพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งของคณะฯสายใยรัก ก็เลยอยากจะรู้ซักทีว่ารพ.เราเองเนี่ยทำไม? เกิดอะไรขึ้น? ทำกิจกรรมเต็มรูปแบบมากๆ เรียกได้ว่าครบวงจร ทั้งตรวจนม สอนและฝึกในโรงเรียนพ่อแม่ มีคลินิกนมแม่มีมีสนมแม่แก้ปัญหา หลังคลอดทีมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดก็ถูกให้ความรู้ ถูกฝึก ปรับทัศนะคติในเรื่องนมแม่ แล้วยังมีการตามเยี่ยมอีก แถมใน WCC ยังตามเรื่องการให้นมแม่อีก เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้อย่างเดียวใน 6 เดือน แล้วทำไมผลลัพธ์มันไม่สวยงามมากๆ อย่างที่ตั้งใจกัน (คือใจอยากได้เกิน 50%)  ก็เลยด้วยความที่อยากรู้บวกกับเบื่อเสียงบ่นและเล่าอ้างกัน...เลยชวนกันกับทีมว่าทำวิจัยกันดีกว่าโดยให้หมอบาส..กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวเรื่องนมแม่เป็นหัวแรงใหญ่ในการทำวิจัย

   ผลการวิจัยออกมาก็คุ้มค่าเหนื่อยค่ะ...เราพบว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนได้แก่

  • ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดา
  • อาชีพมารดาในระยะ 0 – 6 เดือนหลังคลอด
  • ลักษณะการทำงาน  ...ไปกลับ,อยู่ต่างจังหวัด,ทำงานด้วยเลี้ยงลูกด้วยที่บ้าน ฯลฯ
  • ระยะเวลาในการพักงานหลังคลอด
  • ระยะเวลาที่เคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ให้นมผสม และอาหาร(ในกลุ่มมารดาที่เคยเลี้ยงลูกมาก่อน)
  • ความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในครรภ์นี้
  • ความเชื่อ ทัศนคติของมารดาในเรื่องนมแม่เหมาะสมกับทารกใน 6 เดือนแรก,นมแม่ทำให้ลูกมีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด,นมแม่ช่วยลดโอกาสป่วย
  • ความมั่นใจของมารดาว่าบีบเก็บน้ำนมแม่ได้ถูกต้อง
  • ความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจเต้านมระยะตั้งครรภ์,การสอนบีบประคบเต้านมที่หลังคลอด
  • ทารกได้รับนมผสมที่หลังคลอดระหว่างอยู่โรงพยาบาล
  • การได้รับความรู้ในเรื่องฝึกท่าอุ้มให้นม,วิธีบีบเก็บน้ำนมแม่,วิธีเก็บรักษานมแม่ที่บีบเก็บได้,วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อแม่ต้องไปทำงานนอกบ้าน

  ถ้าสนใจรายละเอียดก็รอซักนิดให้สรุปรูปเล่มสมบูรณ์แบบ ก็จะส่งfile ไปให้ได้ค่ะ ตอนนี้รอคุณหมอบาสเขียนบทคัดย่อก่อน  หลังจากที่คุณหมอบาสได้อภิปรายและสรุปผลการวิจัยเสร็จแล้วเมื่อวันก่อน...เพราะเราเก็บหลายเรื่องเรื่องที่เราเจอตรงกับที่ รศ.ดร.กรรณิการ์ กันธะรักษา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่จาก ม.ช.บอกเราก็คือ การแก้ปัญหานมแม่ตอนตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีผลแต่อย่างใด แล้วหลายๆวิจัยก็เจอว่าอายุแม่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องผลลัพธ์ในการให้นมแม่เลย..เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเพ่งเล็งคุณแม่วัยรุ่นนะคะ ว่าจะให้นมแม่ไม่ได้...มกก. (ไม่เกี่ยวกัน)  ทำวิจัยก็สนุกดีนะ น่าลองดูเพราะทีมเรากางตำราทำกัน แล้วก็เข้าหาที่ปรึกษาไปเรื่อยๆ คะ ทั้งที่ปรึกษาในระบบและนอกระบบ

หมายเลขบันทึก: 397106เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 04:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้วยังไงเนี่ย รณรงค์ให้มารดาเรียนหนังสือให้สูง ๆ ใช่เปล่า ลองดูว่ามีปัจจัยที่มันเกี่ยวข้องกันหรือไม่ เดี๋ยวจะ bias นะ ลองดูที่ colleration ก่อนว่าปัจจัยมันสัมพันธ์กันเองหรือไม่

  • แหะๆๆ ที่ปรึกษา ทพ.ก้อง ตามมาเม้นท์ใน blog ด้วยล่ะ คือปรึกษาประธานโครงการว่าเราคงไประดับที่ปรึกษาแนะนำไม่ไหวในปีนี้  เราเลยใช้แค่สถิติเด็กๆก่อน หาความสัมพันธ์ก่อนค่ะ ส่วนหาว่าสัมพันธ์แบบบวก หรือลบไม่ได้ทำค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท