KRUJOY (ครูจ่อย)
นาย ทรงศักดิ์ เสือ ภูเก้าแก้ว

นี่แหละคน


ผลที่เกิดจากความต่าง

 

 

                               ความขัดแย้ง

 

                        ผลกระทบของความขัดแย้ง


      ธรรมดาของสรรพสิ่งย่อมมีทั้งคุณและโทษ มีแง่บวกและลบ ผลกระทบของความขัดแย้งก็เช่นกัน อาจมองได้ทั้งในเชิงลบและบวก
ผลกระทบในเชิงลบนั้น ได้แก่ เสียเวลา เกิดวามแตกแยก เพิ่มช่องว่างของความแตกต่าง หรือเกิดความรุนแรงขึ้น เป็นต้น
       ส่วนในเชิงบวกนั้น ความขัดแย้งอาจสร้างความชัดเจนในประเด็นปัญหา เกิดการหาทางออกในปัญหา นำพาบุคคลเข้ามาสู่การแก้ปัญหาที่สำคัญ เกิดการสื่อสารอย่างแท้จริง ลดความกดดันในประเด็นปัญหา สร้างการเรียนรู้ระหว่างบุคคล สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา สร้างความเข้าใจและเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
      กล่าวอย่างนี้ ดูราวกับว่า จะมีผลกระทบในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ แต่ที่กล่าวมาอาจเป็นเพียงการมองโลกในแง่ดี เพราะ ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ที่ธรรมดาย่อมเกิดขึ้นในสังคม หากสามารถป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้ง หรือยุติข้อขัดแย้งได้โดยสันติ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า

 

ความสามัคคี

 

ความสามัคคีคือพลัง 

         สามัคคีก็คือ การเห็นแก่บ้านเมืองและช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองอยู่ได้
        สามัคคีนี้ก็คือ การเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และไม่ทำลายงานของกันและกัน และทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องส่งเสริมงานของกันและกัน และไม่ทำลายงานของกันและกัน มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน อย่าเรื่องใครเรื่องมัน และงานก็ทำงานอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม...”
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๙)

         จากพระราชดำรัสดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า ความสามัคคี คือ ความสามารถจะทำงานเพื่อส่วนรวม หรือความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกันและกัน เพื่อเอื้อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งความสามัคคีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความสามัคคีของวิชาการ และความสามัคคีในจิตใจ

         ความสามัคคีวิชาการคือ การประสานความรู้ และทักษะของผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มากมาย เพื่อส่งผลสำเร็จในด้านต่าง ๆ มาสู่ประเทศ
ความ
สามัคคีในจิตใจเป็นลักษณะของการปรองดองกัน โดยเกิดจากความเมตตากรุณากันและกัน มีจิตใจผูกพันที่จะช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้งานนั้น ๆ บรรลุเป้าหมาย
        คำว่า “สามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียง ได้แก่ ความพร้อมเพรียงกันทางกายวาจา และใจ พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่บังเกิดผลเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม พร้อมเพรียงกันทำงานในหน้าที่ของตน ใครมีหน้าที่อย่างไร ก็ทำอย่างนั้น ตั้งใจทำให้เต็มกำลัง เต็มความสามารถของตน อย่างนี้เรียกว่า “สามัคคี”

        ปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดความสามัคคี คือ ความสามัคคีกลมเกลียวกัน หรือความร่วมมือและร่วมใจกัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่คนไทยทุกคน ๆ คนพึงมีอยู่ในจิตสำนึก และช่วยกันสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น พื้นฐานที่สุดของการจรรโลงความสามัคคีกลมเกลียวกันให้บังเกิดขึ้น และดำรงอยู่ต่อไปอย่างแน่นแฟ้น คือ การรู้จักหน้าที่ของตนเอง ในหมู่สมาชิกของสังคม และประเทศนั้น ๆ กล่าวคือ ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ทันเวลา โดยเต็มกำลัง ความรู้ ความสามารถ และโดยบริสุทธิ์จริงใจ ผลงานของแต่ละคนจักได้ประกอบส่งเสริมกันขึ้นเป็นความสำเร็จและความมั่นคงของชาติ

      การที่จะเกิดความสามัคคีได้ในการกระทำต้องเริ่มจากใจภายในเสียก่อน ถ้าทุกคนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ประเทศชาติย่อมคลาดแคล้วจากภัยของศัตรู และตั้งมั่นมีความสุขสมบูรณ์อยู่ได้ หากขาดความสามัคคี ไม่รักใคร่ไว้วางกัน ปราศจากความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การดำเนินงานย่อมจะไม่สำเร็จ ธรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของหมู่คณะคือ สังคหวัตถุ ๔ ประการซึ่งได้แก่

     ทาน คือ การให้ปันของแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจ และศิลปวิทยา
     ปิยวาจา คือ พูดจาปราศรัยด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไพเราะเป็นที่เจริญใจ มีวาจาที่นิ่มนวลไพเราะ อ่อนหวาน เป็นคุณ ทำให้เกิดความพอใจแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง
     อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน ช่วยเหลือกันด้วย   กำลังกาย กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ เป็นต้น 
    สมานัตตตา คือ ความเป็นผู้วางตนเหมาะสม ประพฤติปฏิบัติตามที่ควรจะเป็น วางกิริยาอัธยาศัยให้เหมาะกับฐานะ หรือตำแหน่งหน้าที่
การเสริมสร้างความสามัคคี มีแต่ได้ไม่มีเสียหาย ขอให้ปรารถนาดีต่อกันอย่างจริงจัง และปฏิบัติตามธรรม ๔ ประการ ข้างต้น เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ ความสามัคคีย่อมจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสามัคคีขึ้นแล้ว การงานทุกอย่างแม้จะยาก
สักเพียงใด ก็กลายเป็นง่าย ชีวิตมีแต่ความราบรื่น แม้จะเกิดอุปสรรคก็สามารถขจัดให้หมดสิ้นได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “สามัคคีคือพลัง”

      เพียงแต่ทุกคนดำรงชีวิตบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม ให้ทุกคนมีความรัก และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังพุทธภาษิตว่า “สุขา สงฆสส สามคี "  แปลว่า ความสามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข”

                                      .......................................................

คำสำคัญ (Tags): #สัจธรรม
หมายเลขบันทึก: 396923เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะครูพี่จ่อย

ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ หากแต่สุดท้ายต้องยึดผลประโยชน์เพื่อส่วนรวมเป็นเป้าหมายหลัก ขอส่งกำลังใจให้แนวหน้า ทำงานอย่างราบรื่น สำเร็จเพื่อบ้านเมือง ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณครับน้องpoo
  • กัลยาณมิตร G2K  "สามัคคี มีความสุข"

ขอบคุณข้อคิดของการทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคม

ชอบมากคะ

  • ขอบคุณในมิตรภาพครับคุณครูลินดา
  • มีความสุขเช่นกันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท