เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์และเศรษฐศาสตร์นโยบาย (Economic analysis and Economic policy)


            ในการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์นั้นก็เพื่อให้เข้าถึงและเข้าในทฤษฎี นำไปสู่การทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ต่อยอดไปถึงการนำเอาหลักทฤษฎีที่มีอยู่ไปปรับใช้เพื่อควบคุมหรือแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปในเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งหลักการศึกษาเศรษฐศาสตร์สามารถแบ่งกว้าง ๆ ได้ ๒ วิธี คือ

 

           ๑.เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ (economic analysis) เป็นลักษณะของการศึกษาถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อแสวงหาความรู้และความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์โดยตรง เป็นไปในลักษณะของการศึกษาเพื่อให้รู้ถึงสิ่งที่เคยเป็นมาในอดีต (what was) สิ่งที่กำลังเป็นอยู่ (what is) และสิ่งที่กำลังจะเป็น (what will be) เช่น

                          - ในการศึกษาเรื่องการผูกขาด เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ก็จะศึกษาในกรอบที่ว่า ผู้ผูกขาดนั้นมีวิธีการกำหนดราคาและผลผลิต รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนอย่างไร จึงจะบรรลุเป้าหมายของกำไรสูงสุด โดยไม่ได้คำนึงถึง การผูกขาดดังกล่าวนั้น จะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมอย่างไร

             

                เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ ไม่ได้คำนึงถึงการตัดสินใจในเชิงคุณค่า (value judgement) ว่าควรหรือไม่ควร (what ought or ought not to be) แต่จะเป็นไปในลักษณะของเครื่องมือ (tools) หรือหนทาง (means) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (target) ตามที่ต้องการเท่านั้นเอง

 

           ๒. เศรษฐศาสตร์นโยบาย (economic policy) เป็นไปในลักษณะของการศึกษาถึงผลการดำเนินงานของหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ว่าเป็นแนวทางที่พึงปรารถนาของสังคมหรือไม่ เป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น (what ought to be) เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินในทางคุณค่าว่าควรหรือไม่ควร เช่น

 

                           - ในการศึกษาถึงเรื่องการผูกขาด เศรษฐศาสตร์นโยบายก็จะศึกษาในกรอบที่ว่า การผูกขาดดังกล่าวนั้น มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและสังคมโดยรวมในด้านบวกหรือลบอย่างไร และเป็นที่พึงปรารถนาของสังคมโดยรวมหรือไม่

                           - ในการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บภาษีชนิดใดชนิดหนึ่ง เศรษฐศาสตร์นโยบายก็จะศึกษาในกรอบที่ว่า การเก็บภาษีดังกล่าวนั้น มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและสังคมโดยรวมในด้านบวกหรือลบอย่างไร และเป็นที่พึงปรารถนาของสังคมโดยรวมหรือไม่  

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 396813เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท