การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม2


การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม2

การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม2

ขี้แดดนาเกลือ   ข้อมูลโดย

คุณสรณพงษ์   บัวโรย   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับชำนาญการ  สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม

คุณบุญปรอด  เจริญฤทธิ์ (พี่โต)  เจ้าของนาขี้แดดนาเกลือและมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม

ข้อมูล

  • พื้นที่ทำนาเกลือทั้งหมด 32 ไร่ มูลค่าที่ดิน 320 ล้านบาท
  • มูลค่าก่อสร้างมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ล้านบาท
  • นาเกลือทำหน้าร้อนเกลือเค็มหน้าฝนเกลือจืด
  • ดินมีลักษณะคล้ายหนังหมาเรียกว่าขี้แดด
  • ราคาขายขี้แดด 2 บาท/Kg
  • นาอันตากมีความเค็ม 15-16 ดีกรี
  • ขนาดการใช้ขี้แดดนาเกลือ 3-4 Kg/ต้น ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 เดือน
  • ขี้แดดนาเกลือต้องค้างไว้ 1 ปี
  • อาจารย์สมทรง ใช้เกลือดำและกากน้ำตาลใส่ในต้นมะพร้าวและส้มโอเพื่อทำให้หวาน
  • นาอันเชื้อ จะมีโซเดียม ทำการไล่น้ำออกจากเกลือเรียกว่าสตุโดยการคั่วด้วยไฟจะได้แป้งเกลือจืด
  • นาอันปรงมีความเค็ม 23-24 ดีกรี
  • เกลือสปา ขนาด 90 กรัม/ 70 บาท
  • เกลือปั่นไอศกรีมเรียกว่าเกลือดำ
  • เกลือตัวผู้มีความแหลมคมใช้ทำทีกรีดปากมดลูกในช่วงทำคลอดโดยหมอตำแยสมัยก่อน
  • ฝุ่นเกลือใช้พอกไข่เค็ม
  • 20 ดีกรี มีค่าเท่ากับ 200 ppt

ระบบการทำนาเกลือ

  1. น้ำเข้า 1 ไร่ ( 1 อัน/1 กระทง) ความเค็ม 0-2 ดีกรี เราเรียกว่าวังจะมี กุ้งและปลาหมอเทศ
  2. นาอันตาก หรือนาไล่ตาก ความเค็ม 3-4 ดีกรี จะอาศัย แดดและลมช่วยให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้น
  3. นาอันเชื้อ หรือนารองเชื้อ ความเค็ม 20-21 ดีกรี
  4. นาอันปรง ความเค็ม 22-23 ดีกรี จะใช้ความชำนาญโดย
  • ใช้ลิ้นชิม
  • มองด้วยตาเปล่า
  • นำกิ่งไม้หรือข้าวสุกมาลอย
  • .ใช้ปรอทวัดความเค็ม
  • บดกลิ้งให้แข็ง
  • ได้เกสรเกลือและดอกเกลือ
  1. นาอันปรง ความเค็ม 27-28 ดีกรี จะได้ดีเกลือใช้ทำยาระบาย และยาถ่าย ประกอบด้วยMgCl2
  2. ทั้งวงจรใช้เวลา 4 เดือน

ประวัติความเป็นมาการทำขี้แดดนาเกลือ

  • นายสรณพงษ์   บัวโรย   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับชำนาญการ  สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม 
  •  ก่อนฤดูทำนำเกลือประมาณเดือนพฤศจิกายนของ จ.สมุทรสงคราม และ จ.สมุทรสาคร ชาวนาเกลือจะต้องขูดขี้แดดในนาอันและนาเชื้อทิ้งทุกปี  และจะได้ขี้แดดนาเกลือจำนวนมาก  และไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไร  แต่ถ้าไม่ขูดทิ้งก็จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำนาเกลือกล่าวคือขี้แดดนาเกลือจะคอยบังแสงแดด  ทำให้น้ำเค็มเปลี่ยนเป็นเกลือได้ช้ากว่าปกติ และขี้แดดนาเกลือจะปนเปื้อนทำให้เกลือไม่สะอาด จึงจำเป็นต้องขูดทิ้งปีละหลายพันตัน
  • ขี้แดดนาเกลือจะเกิดในช่วงฤดูฝนที่พักการทำนาเกลือ โดยช่วงที่ชาวนาเกลือหยุดพักการทำนาเกลือคือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคมของทุกปี  น้ำฝนที่ขังอยู่ในนาเกลือจะทำให้เกิดพืชชั้นต่ำที่เรียกว่าสาหร่ายและตะไคร่น้ำเกาะอยู่ในนาเกลือ  เมื่อหมดช่วงฤดูฝนชาวนาเกลือจะปล่อยน้ำทิ้ง สาหร่ายและตะไคร่น้ำ รวมทั้งจุลินทรีย์เหล่านั้นก็จะแห้งจับตัวกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลเข้ม ตกสะเก็ดอยู่ในนาเกลือจำนวนมากและชาวนาเกลือจะขูดทิ้งในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมของทุกปี
  • สำหรับปริมาณขี้แดดในนาเกลือที่เกิดขึ้นในนาอันตากน้ำและนาอันเชื้อ เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ จะมีถึง 500-1,000 กิโลกรัม  จ.สมุทรสงคราม มีการทำนาเกลือประมาณ 3-4 พันไร่  ก็จะมีขี้แดดนาเกลือปีละประมาณ 1-2 พันตัน  เมื่อขี้แดดนาเกลือเกิดมีประโยชน์ มีคุณค่าและมีราคาดี   ส่งผลให้ชาวนาเกลือได้เงิน 2 ต่อ คือ ได้จากการขายเม็ดเกลือและได้จากการขายขี้แดดนาเกลืออันเป็นผลพลอยได้ที่กำไรดี

ประโยชน์ของขี้แดดนาเกลือ

มีชาวนาเกลือนำเมล็ดแตงโม-แตงไทยโยนทิ้งไว้ในกองขี้แดดนาเกลือ พบว่าต้นอ่อนแตกยอดออกช่อเจริญงอกงาม  เติบโตและติดดอกออกผลดี  ที่สำคัญคุณภาพของแตงโมเนื้อจะแน่น  สีแดงสด รสชาติหวาน ส่วนแตงไทย ผลใหญ่เนื้อนุ่ม มีรสหวานอร่อยมาก  ชาวนาเกลือบางรายจึงนำขี้แดดนาเกลือค้างปีไปใช้ในการปลูกละมุด พุทรา  กล้วยน้ำว้า   ทับทิม และผักบางชนิด เช่น บวบ  มะเขือ  พริกต่างๆ พบว่าเจริญเติบโตดีมากและผลผลิตออกมามีคุณภาพดี และจากการศึกษาทดลองนำขี้แดดนาเกลือเก่าเกิน 6 เดือนไปใช้กับผลไม้ใหญ่ ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่  แก้วมังกร  ชมพู่ ขนุน ฝรั่ง ปรากฏว่าทำให้ส้มโอรสชาติหวานน้ำหนักดี เปลือกบาง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค  และมีเกษตรกรผู้สนใจนำขี้แดดนาเกลือไปใช้พัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายชนิดก็ได้ผลดีเช่นกัน นอกจากนี้ยัง พบว่าการใช้ขี้แดดนาเกลือในการปลูกกะเพรา  โหระพา งอกงามดีมาก และยังนำไปใช้เลี้ยงนกและไก่ชน ไก่พื้นบ้าน โดยให้กิน ทำให้ไก่ไม่จิกกันเองและเจริญเติบโตดีมาก ส่วนสัตว์น้ำใช้ขี้แดดนาเกลือไปเลี้ยงปลาหมอเทศ เสริมการให้อาหารรำข้าว ก็เจริญเติบโตได้ดี แต่ข้อควรระวังในการใช้ขี้แดดนาเกลือ  คือ ต้องเป็นขี้แดดนาเกลือที่สาหร่ายน้ำหนักเบา  ไม่ใช่ดินธรรมดาในนาเกลือ และต้องเป็นขี้แดดนาเกลือเก่าที่ผ่านการตากแดดตากฝนไว้นานเกิน 6 เดือนมาแล้ว ปริมาณที่นำไปใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพให้ใส่ในจำนวนน้อยๆ ไปก่อนแล้วสังเกตผลผลิตที่ได้ จึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณให้เหมาะสมกับสภาพของดิน ประโยชน์ของขี้แดดนาเกลือ ทำให้กลายเป็นของดีมีค่า สร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้ชาวนาเกลือ ปัจจุบันขี้แดดนาเกลือสามารถขายได้ กก.ละ 1 บาท และหากนำไปบดก่อนจำหน่าย จะตกราคา กก.ละ 2-3 บาท

หมายเลขบันทึก: 396154เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับสาระดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท