การเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ


การรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และการเรียนรู้ด้วยใจที่เปิดกว้าง

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลายเพื่อทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งผู้เขียนรับผิดชอบได้มีโอกาสนำวิธีการตามแนวคิดหลักของจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการพัฒนานักเรียน 
      สาเหตุที่ได้นำวิธีการนี้เกิดจากแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการทำกิจกรรมโดยผอ.จัดให้ อีกสาเหตุ คือ จากการสังเกตบรรยากาศการเรียนการสอน เห็นว่านักเรียนเริ่มขาดความกระตือรือร้น ขาดความใส่ใจในการเรียน ความรับผิดชอบในการทำงานส่งลดลงอันเนื่องมาจากการที่ครูไปราชการ เข้ารับการอบรมบ่อยครั้ง ทำให้การพบปะนักเรียน น้อยลงการเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง ความรู้สึกไว้วางใจศรัทธาต่อครูลดลง         
      วิธีการ เมื่อตัดสินใจว่าจะต้องเรียนศรัทธาและความตั้งใจเดิมของนักเรียนกลับมาก่อนการสอนในเนื้อหาต่อผู้เขียนจึงใช้วิธีการให้นักเรียนจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด จากข้อคำถามที่ครูกำหนด ด้วยวิธีการรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การเรียนรู้ด้วยใจที่เปิดกว้าง บนพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะได้สัมผัสชีวิตของตนเองและผู้อื่นอย่างจริงใจ ด้วยความอ่อนน้อม เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางความคิด เป็นการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และการละวางตัวตนของตนเอง     

        ก่อนการทำกิจกรรม ครูต้องโน้มน้าวใจด้วยการถามตั้งข้อสังเกต หรือบอกความรู้สึกที่ครูสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลง เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนักเรียนและครูไม่ได้ยกตัวเองเหนือนักเรียน แล้วแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมัครใจกลุ่มละ 3-5 คนเป็นขนาดที่พอเหมาะ (ข้อแนะนำการจัดกลุ่มให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนั่งห่างกันพอสมควร) 
         1. อธิบายวิธีการรับฟังอย่างลึกซึ้ง Deep Listening
         2. กำหนดกติกา เวลา ในการพูดคนละไม่เกิน 2 นาที
         3. กำหนดหัวข้อในการพูด โดยในผู้เขียนกำหนด หัวข้อที่จะพูด คือ
            - ความตั้งใจแรกก่อนเรียนต่อ ม.4
            - ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันของตัวเอง
         4. นักเรียนจะได้พูดทุกคน โดยมีเพื่อนรับฟังอย่างตั้งใจ อาจให้จดบันทึกไว้
         5. เมื่อหมดเวลา ทุกคนพูดจบ ครูตั้งคำถามสุดท้ายให้นักเรียนช่วยกันแสดงความคิด วิเคราะห์ สาเหตุที่ทำให้เป็นอย่างนั้น รวมทั้งข้อเสนอแนะแก้ไข
         6. นักเรียนส่งตัวแทนออกมาสรุปจากการรับฟังและแนวทางแก้ไขของกลุ่ม 

          สิ่งที่ได้นักเรียนได้กลับไปทบทวนตัวเองเข้าใจตัวเองด้วยการพิจารณาภายในใจตัวเองและเข้าใจคนอื่น เกิดความกระตือรือร้นอีกครั้ง สัญญากับตัวเอง เพื่อน และครูกลับมาตั้งอยู่บนพื้นฐานความตั้งใจเดิม พัฒนาตัวเองจากการเรียนรู้ความคิดของเพื่อน บนข้อตกลงของกลุ่ม
         เป็นหน้าที่สำคัญของครู ๆ นะคะ เมื่อนักเรียนกลับมาแล้ว เรากลับมาทำหน้าที่ที่แท้จริงของครูหรือยัง???  ตั้งใจสอน ไม่ทิ้งห้องเรียน เอาใจใส่นักเรียน ให้เต็มที่ เต็มเวลา เต็มความสามารถ ภายใต้กำลังใจที่เต็มเปี่ยม

 

    

    

หมายเลขบันทึก: 393497เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  • ดีจ๊ะ...
  • เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ 
  • แวะเอาภาพคนน่ารักมาฝากคะ
  •  
  • และภาพทีมงานทั้งคณะด้วยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท