วัตถุประสงค์และแบบแผนการวิจัย (Research design) (ครั้งที่ 8)....


แบบแผนการวิจัย ก็เปรียบเสมือน การเดินหมากรุก....


ภาพการเดินหมากรุก

แบบแผนการวิจัย

        แบบแผนการวิจัย (Research Design) หมายถึง แผนหรือโครงสร้างของการศึกษาสืบหาเพื่อจะทำให้ได้รับคำตอบของคำถามการวิจัย ซึ่งแผนในที่นี้ก็หมายถึงการที่ผู้วิจัยได้วางแผนว่าจะทำวิจัยอย่างไร นับตั้งแต่การตั้งปัญหาในการวิจัยจนกระทั่งถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการวิจัย
            จากความหมายข้างต้นนี้จะเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าแบบแผนการวิจัยนั้น จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
            1. ส่วนที่เป็นลักษณะความสำคัญของตัวแปรที่ยังมีข้อสงสัยเพื่อค้นหาคำตอบ ซึ่งในส่วนนี้ คือ ส่นของปัญหาในการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย
            2. เป็นส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการที่ใช้ทำการศึกษาค้นหาข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อนำมาใช้ตอบคำถามการวิจัย

วัตถุประสงค์และแบบแผนการวิจัย
            แบบแผนการวิจัยมีขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ
            1. เพื่อจัดเตรียมคำตอบให้กับคำถามการวิจัย
            2. เพื่อควบคุมความแปรปรวน

            จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อมีปัญหาการวิจัยแล้วนักวิจัยก็จะต้องวางแผนว่าจะทำการศึกษาสืบหาข้อมูลอะไร จากที่ไหน ด้วยวิธีการใด และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วควรจะวิเคราะห์และสรุปผลอย่างไรจึงจะทำให้ตอบคำถามการวิจัยได้อย่างมีความตรง (Validity) มีความเป็นปรนัย (Objective) มีความแม่นยำ (Accurately) และมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ (Economically) มากที่สุด
            จากที่กล่าวมาผู้เขียนสามารถนำมาสรุปอย่างกระชับได้ว่า แบบแผนการวิจัยมีขึ้นเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถทำวิจัยให้เกิดความตรงของการวิจัย (Research Validity) นั่นเอง
            ความตรงในการวิจัยนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นความตรงภายในและความตรงภายนอก ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายในหัวข้อนี้ในครั้งต่อไปนะครับ [โปรดติดตามชมในครั้งต่อไป]

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551) ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย
ภาพอ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/data/moonfleet/picture/1256567727.jpg

หมายเลขบันทึก: 392694เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจมากเลย

อ่านแล้วเข้าใจคะ แต่ก็เกิดคำถามขึ้นมาให้ชวนตอบคะ

- แบบแผนการวิจัย (Research Design) ที่ผุเขียนได้กล่าวถึงนี้ หมายถึงในภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมดใช่หรือไม่คะ แล้วอยากทราบคะว่า งานวิจัยในเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยเชิงทดลองนี้ มีแบบแผนการวิจัยที่เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ ถ้าแตกต่างกัน แตกต่างอย่างไรคะ

- จากวัตถุประสงค์และแบบแผนการวิจัย ข้อที่ 2 เพื่อควบควมการแปรปรวน หมายถึงอย่างไรคะ (ใช่ตัวแปรสอดแทรก แทรกซ้อนหรือไม่คะ)

- แบบแผนการวิจัย มีผลต่อเวลาของการวิจัยหรือไม่คะ

ตอบคุณ verara Iam-cham ครับ

ก่อนอื่นต้องขอบคุณสำหรับคำถามนะครับ

- แบบแผนของงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพก็จะมีแบบแผนที่เหมือนกัน แต่วิธีการอาจจะต่างกันครับ

- ความแปรปรวนก็คือ สิ่งที่ทำให้งานวิจัยของเราไม่ได้ผลที่เป็นจริงครับ อาจกล่าวได้ว่ามีตัวแปรที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นระหว่างงานวิจัยก็เป็นได้ (ซึ่งในเรื่องต่อไปจะกล่าวถึงความตรงภายในและความตรงภายนอกครับลองเข้าไปอ่านดูนะครับ)

- เวลาของการวิจัยน่าจะขึ้นอยู่กับประเภทของการวิจัยมากกว่านะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท