ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ


นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการสัมมนาเชิงวิชาการผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศธ. โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายด้านการศึกษา ๘ ข้อ ซึ่งมีจุดเน้น ๓ ด้าน ดังนี้

  • การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งการดำเนินงาน ๖ เดือนที่ผ่านมา ศธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และวางระบบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างชัดเจน และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ซึ่งได้นำเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาดำเนินการ ขณะนี้มี Road Map แผนปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
  • ครู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ศธ.ได้วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตครู ซึ่ง กนป.ได้อนุมัติให้ผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ อัตรา ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ศธ.จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ คน การพัฒนาครูทั้งระบบ ซึ่ง สพฐ.ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการทดสอบสมรรถนะครู อบรมหลักสูตรของครู และของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การสร้างครูต้นแบบ Master Teacher และให้แรงจูงใจ ในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สำหรับการใช้ครูนั้น ศธ. ได้คืนครูให้กับโรงเรียน โดยจ้างพนักงานธุรการและตำแหน่งอื่น เช่น บรรณารักษ์ มาแทนครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้กลับสู่ห้องเรียน และ ศธ.ยังได้เพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบด้วย
  • ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา คือ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๕๐ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ ๓ ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดย ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา และบรรจุการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ในรายจ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยกองทุนมีงบประมาณเริ่มต้น ๕ ล้านบาท และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน

รมว.ศธ.ได้ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ขับเคลื่อนนโยบาย ๓ เรื่องให้เป็นรูปธรรม ดังนี้

  • ยกระดับพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา Ned Net โดยทุกองค์กรหลักของ ศธ.ต้องให้ความร่วมมือภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังด้านงบประมาณ ด้านการใช้ และด้านบุคลากร ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว หากสามารถรวบรวมได้อย่างเป็นระบบ โครงข่ายก็จะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (Education Information System) จัดให้มีข้อมูลนักเรียน สถานศึกษาที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลของโรงเรียนเอกชน และต้องการให้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ให้ได้รับประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างว่า ข้อมูลผิดพลาด นักเรียนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการคำนวณตัวเลขไม่ชัดเจนทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ฝากให้ช่วยคิดว่าจะทำให้เกิดระบบศูนย์กลางสารสนเทศในระดับชาติได้อย่างไร เพราะข้อมูลสารสนเทศกับโครงข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
  • ยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ศธ.มีศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ETV, มีรายการ Student Channel ออกอากาศทาง NBT, มีรายการ Teacher TV ที่จะขอออกอากาศทาง Thai TV หาก ศธ.สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาว่า ต้องมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ. ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในอนาคตต้องการให้เป็น free TV ต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยคิดว่า จะสามารถนำรายการที่มีอยู่มารวมกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดพลังความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและเครื่องมือ นำไปสู่การยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป.

ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/287.html

                                             

คำสำคัญ (Tags): #ict
หมายเลขบันทึก: 392377เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณค่ะ ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยคะ หนูยังบอกต่อให้เพื่อนที่ทำงานได้อ่านด้วย ขอบคุณนะคะอาจารย์

อาจารย์คะ ถ้ายกระดับ ict เป็นวาระแห่งชาติเด็กๆจะได้มีความสุขในการเรียน ได้ใช้คอมพิวเตอร์กันครบ ไม่ต้องนั่ง 1 เครื่อง 3 คน เป็นข่าวดีจริงๆค่ะ

สวัสดีครับ

เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ

จีรวรรณ โพธิ์เอี่ยม

อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยคะ หนูยังบอกต่อให้เพื่อนที่ทำงานได้อ่านด้วย ขอบคุณนะคะอาจารย์

อ่านแล้วทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นค่ะและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ค่ะ

ถูกใจตรงที่ "ศธ.มีนโยบายเพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู

และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบ "นี่แหละค่ะ 555+

ขอบคุณอาจารย์ที่มุ่งมั่นให้ความรู้แก่ครู และจะรอคอยความเปลี่ยนแปลง ICTตามนโยบายดังกล่าวมาสู่สถานศึกษา คงจะพัฒนาการศึกษาด้านครูและผู้เรียนได้มากค่ะ

อ่านหลายรอบแล้วค่ะ เพิ่งได้แสดงความคิดเห็น ค่ะถ้า ศธ.ยกระดับ ICT เป็นวาระการศึกษาแห่งชาติ ถือว่าเป็นโชคดีของเด็กที่อยู่ห่างไกลความเจริญ โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสในสถานศึกษาหลายแห่งคงมีโอกสในการศึกษาที่ดีขึ้นมาก ๆ

ICT จะเป็นประโยชน์ ก็ต่อเมื่อ

ครู มีความสามารถในการจัดการ

และจัดบทบาทของ ICT ให้เหมาะสมครับ

(อย่าลืมว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด...เลือกให้เหมาะ)

ตอบ อ. แฟรงค์

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อ. แฟรงค์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ต้องใช้อย่างเหมาะสมครับ

แต่ครู ที่มีความสามารถในการจัดการ และจัดบทบาทของ ICT จะเหมาะสมกับทุกสถานนะการณ์

ขอบคุณครับ

เอกพรต

เข้ามาอ่านก็หลายรอบแล้วคะอาจารย์ แต่ก็ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเลย

แต่ที่สงสัยคือ สถานศึกษาที่มีการยกระดับ ICT น่ะคะ สำหรับทุกโรงเรียนรึเปล่า

หรือมีเกณฑ์อะไรในการจัดสรรคะ

ตอบ ลาภิสรา

ถ้าการยกระดับ แปลว่า " ทำให้ดีกว่าเดิม " ก็ควรทำทุกโรงเรียน ใช่ไหม ครับ

แต่ จะยกระดับ มากน้อย คงขึ้น อยู่กับบริบท และความสามารถของ บุคลากร ของโรงเรียน แต่ละ โรงเรียนครับ

ส่วนเรื่อง จะใช้เกณฑ์อะไรในการจัดสรรคะ ก็ยังไม่ทราบเหมือนกันครับ

เอกพรต

ตรงกับข้อสอบที่สอบนักศึกษาเลยค่ะ ก้อได้ประโยชน์มากค่ะถ้าทำได้ ปัญหามันอยู่ที่จะจัดการยังไรด้วยค่ะ ยากนะค่ะความเป็นจริง

ทุกวันนี้ ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในทางที่ถูกต้องน้อยมากค่ะ

ตอบ คุณประภาภรณ์

คงไม่ตรงซะทีเดียวนะครับ เพราะข้อสอบ ถามในเชิงปฎิบัติ ระดับ โรงเรียนครับ

เอกพรต

สวัสดีค่ะ อาจารย์ แวะมาทักทายค่ะ

และเห็นด้วยกลับ อ แฟรงค์ "ไม่มีวิธีสอนใดที่ดีที่สุด"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท