รธน.มาตรา 67 วรรคสองกับความขัดแย้งจากโครงการพัฒนา


มติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมติ ครม.ที่ให้ประกาศโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเพียง 11 จากข้อเสนอเดิม 18 ประเภท และให้บางโครงการที่เห็นว่าไปไม่รุนแรงไปทำ EIA แทน จึงชวนให้สงสัยว่าผู้มีอำนาจประกาศประเภทโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรงเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างไร

 

ความขัดแย้งจากการพัฒนา นอกจากจะเป็นพวงของการแย่งชิงทรัพยากร และปัญหาการจัดการกับผลกระทบของนโยบายสาธารณะที่มีมาอย่างยาวนานแล้ว
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ ยังมีอย่างจำกัด เช่น ระบบ EIA ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องคุณภาพของรายงานและการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนต่างๆ และการทำประชาพิจารณ์ (Public hearing) ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และบางกรณีได้ทำประชาพิจารณ์เมื่อภาครัฐได้ทำข้อตกลงผูกพันทางกฎหมายกับเจ้าของโครงการ หรือตัดสินใจดำเนินโครงการไปแล้ว การใช้เครื่องมือการมีส่วนร่วมโดยการทำประชาพิจารณ์ จึงเป็นการดำเนินการเพียงเพื่อแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือทำให้ครบตามข้อกำหนดเพียงเพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำเนินโครงการเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้เกิดความระแวงสงสัยและไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน
รัฐธรรมนูญ ปี 40 มาตรา 56 วรรคสอง และรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 วรรคสอง มีเจตนารมณ์สำคัญก็เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ แต่เมื่อกลับไปทบทวนดูข้อเสนอของกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุด กับมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมติ ครม.ที่ให้ประกาศโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเพียง 11 จากข้อเสนอเดิม 18 ประเภท และให้บางโครงการที่เห็นว่าไปไม่รุนแรงไปทำ EIA แทน จึงชวนให้สงสัยว่าผู้มีอำนาจประกาศประเภทโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรงเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างไร หรือคิดว่าประกาศให้น้อยประเภทเข้าไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและเพื่อให้การพัฒนาเดินหน้าไปได้
ความเข้าใจเช่นนั้นอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ไม่ได้ต้องการต่อต้านการพัฒนา แต่เพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น เพิ่มมุมมองในการตัดสินใจให้รอบด้านมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนามุ่งไปสู่ความยั่งยืน และลดความขัดแย้งของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่มุ่งทะยานไปท่ามกลางความขัดแย้งของรัฐกับประชาชน ความขัดแย้งของประชาชนกับเจ้าของโครงการ และความขัดแย้งของคนในชุมชนเดียวกันที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย แม้กระทั่งระหว่างญาติพี่น้องกันเอง

 

ความขัดแย้งจากการพัฒนา นอกจากจะเป็นพวงของการแย่งชิงทรัพยากร และปัญหาการจัดการกับผลกระทบของนโยบายสาธารณะที่มีมาอย่างยาวนานแล้ว 
เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ ยังมีอย่างจำกัด เช่น ระบบ EIA ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องคุณภาพของรายงานและการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนต่างๆ และการทำประชาพิจารณ์ (Public hearing) ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และบางกรณีได้ทำประชาพิจารณ์เมื่อภาครัฐได้ทำข้อตกลงผูกพันทางกฎหมายกับเจ้าของโครงการ หรือตัดสินใจดำเนินโครงการไปแล้ว การใช้เครื่องมือการมีส่วนร่วมโดยการทำประชาพิจารณ์ จึงเป็นการดำเนินการเพียงเพื่อแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือทำให้ครบตามข้อกำหนดเพียงเพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำเนินโครงการเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้เกิดความระแวงสงสัยและไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน 
รัฐธรรมนูญ ปี 40 มาตรา 56 วรรคสอง และรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 67 วรรคสอง มีเจตนารมณ์สำคัญก็เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ แต่เมื่อกลับไปทบทวนดูข้อเสนอของกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุด กับมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมติ ครม.ที่ให้ประกาศโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเพียง 11 จากข้อเสนอเดิม 18 ประเภท และให้บางโครงการที่เห็นว่าไปไม่รุนแรงไปทำ EIA แทน จึงชวนให้สงสัยว่าผู้มีอำนาจประกาศประเภทโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรงเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างไร หรือคิดว่าประกาศให้น้อยประเภทเข้าไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและเพื่อให้การพัฒนาเดินหน้าไปได้ 
ความเข้าใจเช่นนั้นอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ไม่ได้ต้องการต่อต้านการพัฒนา แต่เพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น เพิ่มมุมมองในการตัดสินใจให้รอบด้านมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนามุ่งไปสู่ความยั่งยืน และลดความขัดแย้งของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่มุ่งทะยานไปท่ามกลางความขัดแย้งของรัฐกับประชาชน ความขัดแย้งของประชาชนกับเจ้าของโครงการ และความขัดแย้งของคนในชุมชนเดียวกันที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย แม้กระทั่งระหว่างญาติพี่น้องกันเอง
หมายเลขบันทึก: 391488เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท