มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

สิ่งที่อยากเห็นในงานสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุระดับประเทศ


idea ปิ๊งแว้ป ยังไม่ได้เรียบเรียงนะคะ

  1. เน้นสหสาขา ไม่ทำงานแยกแต่เฉพาะทันตบุคคลากร (multidisciplinary team) เน้นการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้สูงอายุ
  2. พยายามรวมนโยบายหรือแผนงานเรื่องสุขภาพช่องปากเข้าไปกับแผนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอยู่แล้วหรือที่กำลังจะเกิดขึ้น ศึกษานโยบายและแผนงานที่มีอยู่แล้วแล้วหาทาง inject งานสุขภาพช่องปากเข้าไปร่วมด้วย (เริ่มที่ มส.ผส. แล้วต่อไปได้ทั้ง network)
  3. ครอบคลุมงานส่งเสริมป้องกันและการรักษา (งานส่งเสริมป้องกันไม่ใช่แค่ prevention ที่ทำโดยบุคคลากรสาธารณสุขในรูปแบบของ clinical treatment เช่น การใช้ topical fluoride แต่เป็นงาน health promotion ที่จัดการกับ determinants ในชุมชน โดยใช้หลัก common risk factors จัดการกับ อาหาร สุรา ยาสูบ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ/ทางสังคมที่เอื้อหรือขัดขวางกับพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปาก และ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ/ทางสังคมที่เอื้อหรือขัดขวางการเข้าถึงบริการทันตกรรม)
  4. ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรของผู้สูงอายุ ทั้งที่ยังแข็งแรงดี มีโรคเรื้อรังแต่ยังดูแลตนเองได้ และกลุ่ม long-term care ที่ต้องการความช่วยเหลือระดับต่างๆ ถ้าทางแพทย์และพยาบาลรุกถึง palliative care, respite care ก็ควรมีทีมงานทันตกรรมร่วมด้วย
  5. มีทั้งระบบตั้งรับที่สถานบริการ และ การเยี่ยมบ้านเชิงรุก
  6. ไม่ยัดเยียดแต่พร้อมเสมอที่จะอยู่ดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชน ไม่ว่าจะทำอะไร ให้ระลึกเสมอว่าเราทำไปเพื่อ "คุณภาพชีวิต" ของผู้สูงอายุ ไม่ได้ทำไปเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่ได้ทำไปเพื่อสุขภาพที่ดี เพราะไม่ว่าจะสุขภาพช่องปากหรือสุขภาพ มันก็เป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้คนเรามีคุณภาพชีวิตที่ดี มันเป็นทางผ่านที่จะนำพาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้อง perfect แต่มีความสุข ไม่เจ็บไม่ติดเชื้อ ต้องนึกถึงความพึงพอใจและพอเพียงเสมอ
  7. ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องไม่เพียงแต่ "รอให้ผู้ป่วยมาหา" ถ้าเรารอให้ผู้ป่วยมาหา เราก็ต้องพยายามให้เค้าเห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปาก ซึ่งเค้าอาจจะไม่เห็น หรือเห็นแต่ว่าไม่สามารถสู้รบกับปัจจัยต่างๆรอบตัวได้ เราต่างหากที่ต้องจัดระบบเฝ้าระวัง ให้มี annual check-up แบบเชิงรุก งานนี้ทำได้แน่ถ้าจัดระบบเยี่ยมบ้านที่ดี (ซึ่งมีแผนแห่งชาติเรื่อง home health care อยู่แล้ว) การตรวจทำได้ง่ายๆโดยใช้เครื่องมือ screen เช่น Oral Health Assessment Tool (OHAT) ที่ทำมาเผื่อตรวจผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ทำได้โดยไม่ต้องใช้ทันตแพทย์ พยาบาล อสม. หรือ บุคคลากรสาธารณสุขเช่นนักกายภาพ นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้เช่นกัน  
  8. ระบบเบิกจ่ายต้องคลอบคลุมงานเยี่ยมบ้าน ต้องทำ fee guide ของงานผู้สูงอายุให้ครบลักษณะงานที่จะทำและ define role and responsibility งานทันตสาธารณสุขให้ชัดว่าใครจะทำงาน clinical prevention เช่น ทา topical fluoride ได้บ้าง ในหลายประเทศแพทย์ พยาบาล หรือ ผู้ช่วยทันตแพทย์ ทำได้
  9. ส่วนงานบริการใน clinical setting นั้นต้องมีเครื่องมือ transfer ผู้ป่วย หรือมีเจ้าหน้าที่ที่รู้เทคนิกการอุ้มและ transfer ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ประตูต้องกว้างพอสำหรับรถเข็นเข้า ทางลาดให้รถเข็นหรือเตียงเข้าออกได้
  10. คิดค้นนวัตกรรมที่จะมาช่วยงานผู้สูงอายุโดยที่ไม่ต้องนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศเช่น transfer lift, เครื่องกรอ portable ที่เล็กกว่า mobile unit ปัจจุบัน, portable x-ray machine แบบมือถือ, ระบบ online dental chart and database สำหรับงาน domicillary, saliva substitute, fluoride 5000ppm, non-alcohol NaF rinse, foam mouth prop, fluoride vanish, average valued articulator,  home health care dental product ต่างๆ ที่ใช้ในผู้สูงอายุและคนไข้มะเร็ง ฯลฯ
  11. จัดระบบขนส่งที่คล้ายกับระบบ HandyDart รับส่งผู้สูงอายุและผู้พิการ อาจจะทำในรูปแบบสหกรณ์ก็ได้ โดยขอบริจาครถที่สามารถให้รถเข็นขึ้นได้
  12. ทำงานทั้งหมดอาจไม่ต้องพึ่งงบประมาณแผ่นดินเสมอ ให้ใช้หลัก social business ของ Prof. Yunus ทำโครงการเหมือนงาน eye care ที่บังคลาเทศก็ได้
  13. งานทั้งหมดทันตแพทย์ GP ทำได้ บุคลากรสาธารณสุขหลายสาขาต้องช่วยกัน เน้นที่ ฝ่ายเวช พยาบาล กายภาพ กิจกรรมบำบัด แพทย์ อสม และ อบต. ต้องลงมารับรู้และมีส่วนร่วม
  14. ทำงานต้องใช้หลัก evidence-based ต้องมี ethical consideration ให้มากในประชากรกลุ่มนี้
  15. ทำงานให้ sustainable อย่าให้เป็นพายุพัดผ่านมาแล้วก็จากหายไป
หมายเลขบันทึก: 391145เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท