คันโช้งปลอดภัย ห่างไกลไข้เลือดออก โครงการคว่ำกะลาห้าโมงเย็น


คันโช้งปลอดภัย ห่างไกลไข้เลือดออก โครงการคว่ำกะลาห้าโมงเย็น

 


นิสิตแ พทย์  ม.นเรศวร และ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกปี 5 
วิชา Com Med, Family Med, Occ Med (CFOM-2) 

จำนวน 9 คน ชาย 4 หญิง 5 นำเสนอผลงานต่อท่าน สาธารณสุขอำเภอคันโช้ง
พี่จ้อน คุณโจ้ หัวหน้า สอ.คันโช้ง บ่ายวันนี้ ที่ห้องประชุม รพ.วัดโบสถ์
ท่านสาธารณสุขอำเภอคันโช้ง (มีลูกเรียนแพทย์ด้วยเช่นกัน แต่ว่าอยู่ทางภาตใต้) 
คนที่ท่านผู้ตรวจ ถามว่าอาวุโสทีสุด ของ สสอ. เมื่อตรวจราชการปกติรอบ 1 จ.พิษณุโลก
 
"คันโช้งปลอดภัย ห่างไกลไข้เลือดออก"
  
"โครงการคว่ำกะลาห้าโมงเย็น"
  
คือสอนเรืองไข้เลือดออกให้กับ
นักเรียนประถมตอนกลางวัน 
แล้วก็ให้ไปคว่ากะลาตอน 5 โมงเย็น

เป็นการจัดการเรียนการสอน ให้นิสิตได้เรยนรู้จากชุมชน เรียนรู้จากผู้ป่วย

โดยจัดให้นิสิตแพทย์ ไปพักที่สถานีอนามัยคันโช้ง อ.วัดโบสถ์ 

เป็นเวลา 4 สัปดาห์

วัตถุประสงค์
Care Giver, Communicator, Community Leader, Decision maker, Manager
และ Live Long Learner, Humanistic Health care

กิจกรรมคือ Community Project, Family visit
Follow the patient และ Good Medical Practice

นิสิตรุ่นนี้ไม่ได้มี กิจกรรม Follow the patient 

แต่มีงานเด่น คือการทำประชาคมคัดเลือกปัญหาสาธารณสุข
คือกิจกรรม คว่ำกะลาห้าโมงเย็น และคันโช้งปลอดภัยห่างไกลไข้เลือดออก

 

 โครงการคันโช้งปลอดภัยห่างไกลไข้เลือดออก

1.1 ศึกษาปัญหาของชุมชมโดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ
1.2 กำหนดหัวข้อปัญหาที่เป็นปัญหาสำคัญ 5 อันดับของหมู่บ้านบ้านคันโช้ง
1.3 กำหนดวันทำประชาคมเพื่อให้ชาวบ้านมาร่วมกันแสดงความเห็นกับปัญหาในชุมชน
1.4 ประกาศ นัดแนะ เชิญชวนคนในชุมชนร่วมทำประชาคม
1.5 ร่วมกันทำประชาคมกับชาวบ้านเพื่อสรุปปัญหา ที่จะนำมาดำเนินทำโครงการ

2.1 จัดทำแบบการประเมิน ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ
ต่อโรคไข้เลือดออกกับชาวบ้านในชุมชนก่อนเริ่มทำโครงการ( PRE-KAP survey )
2.2 จัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนทัศนคติ
และแนะนำวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยจัดกิจกรรมดังนี้

2.2.1 จัดอบรมและทำกิจกรรม ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว
ต่อโรคไข้เลือดออก กับชาวบ้านในชุมชน
2.2.2 จัดอบรมและทำกิจกรรม ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว
ต่อโรคไข้เลือดออก กับนักเรียนโรงเรียนวัดคันโช้ง
2.2.3 กิจกรรมเชิญชวนชาวบ้านร่วมกันออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
2.2.4 กิจกรรมให้ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว ต่อโรคไข้เลือดออก
กับชาวบ้านในชุมชนผ่านทางเสียงตามสายของหมู่บ้านทุกๆวันตอนเย็น

2.3 จัดทำแบบการประเมิน ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ต่อโรคไข้เลือด
ออกกับชาวบ้านในชุมชน หลังจากดำเนินโครงการ( POST -KAP survey )

2.4 สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ
1. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 1,000 บาท
2. ค่าอุปกรณ์ 500 บาท
3. ค่าอื่นๆ 200 บาท
รวม 1,700 บาท
1. ประเมินผลการเปรียบเทียบแบบทดสอบความรู้
ทัศนคติและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ก่อน-หลังทำโครงการ

2. ประเมินจากการสังเกต

3. ประเมินจากการเก็บค่าสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกภายหลังการดำเนินโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติ และการปฏิบัติตัว
ต่อโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
ไม่มีอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของชุมชนหรือเกิดลดลงจากปีที่มีการระบาดหนัก
ชาวบ้านในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

 

 

จากการทำ Family Visit
นิสิตได้เขียน Reflection คือการสะท้อนความคิดไว้ดังนี้


ความรู้สึกของผู้ป่วยเมื่อเราไปถึงที่บ้านของเขา
เขาต้อนรับเราเป็นอย่างดี รู้สึกดีใจที่มีคนเข้าไปเยี่ยม
มีความเต็มใจอยากเล่าปัญหาต่างๆให้ฟัง
อยากให้มีหมอมาเยี่ยมเขาอีก

เนื่องจากบางครั้งการเดินทางไปรักษาที่อนามัยหรือโรงพยาบาลทำได้ยากลำบาก
เพราะปัญหาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย สมาชิกภายในครอบครัวไม่มีเวลา
ปัญหาค่าใช้จ่าย
ซึ่งการที่มีหมอเข้าไปเยี่ยมโดยตรงถึงบ้านแบบนี้ทำให้แก้ปัญหาในจุดเหล่านี้ได้

ได้การติดตามและประเมินผู้ป่วย ทั้งในด้าน bio-psycho-social-spiritual
เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและบุคคลากรทางการแพทย์
แสดงให้เห็นว่าสังคมเราไม่มีการทอดทิ้งกัน

ผู้ป่วยได้พูดคุยเล่าประสบการณ์ และได้ระบายความรู้สึก
ได้รับการช่วยเหลือทั้งด้านกาย (ยาและการสอนกายภาพบำบัด) และด้านจิตใจ

ได้ฝึกทักษะการเยี่ยมบ้าน ( INHOMESSS )
ฝึกทักษะการสื่อสาร และการค้นหาความเจ็บป่วย[illness]

ดูแลผู้ป่วยแบบ Holistic care อย่างเป็นรูปธรรม และดูแลผู้ป่วยครบทั้ง 4
ด้านได้แก่ bio-psycho-social-spiritual
ได้ประสบการณ์และทักษะในการซักประวัติและตรวจร่างกาย
รับทราบถึงปัญหาที่แท้จริงในการรักษาโรค
เรียนรู้ถึงความคาดหวังของผู้ป่วย ต่อบุคลากรทางการแพทย์

เป็นโอกาสในการเรียนรู้เรื่องโรคที่ผู้ป่วยเป็นและการดูแลรักษาผู้ป่วย
การได้เยี่ยมบ้านผู้ป่วยในครั้งนี้ได้เปิดมุมมองของพวกเรา

ตอนแรกเราคิดว่าการเป็นหมออยู่ที่โรงพยาบาลก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ไม่มีความจำเป็นต้องไปเยี่ยมบ้านอีก

เป็นความรับผิดชอบของผู้ป่วยที่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอง
แต่จากการไปเยี่ยมบ้านทำให้ได้เห็น มุมอื่นของชีวิตผู้ป่วย มุมที่เห็นคุณค่าของคน

มุมที่อาจค้นพบผู้ป่วยอีกรายที่ติดค้างอยู่ภายในบ้านก็ได้ ทำให้เรารู้ว่า

บางครั้งคนที่ป่วยที่สุดอีกรายอาจไม่ใช่คนที่ไปโรงพยาบาล
แต่เป็นญาติของคนป่วยที่ไม่สามารถไปโรงพยาบาลเองได้

... 


==============================================================

O L E

จากที่ท่านอาจารย์ ศ.นพ.วราวุธ ได้แนะนำไว้
จัดให้เรียนอะไร จัดการเรียนการสอนอย่างไร และรู้ได้อย่างไรว่านิสิตได้เรียนรู้แล้ว

Learning Objective
(7 Outcomes) Care Giver, Communicator, Decision maker,
Community Leader, Manager
และ Live Long Learner, Humanistic Health care 

Learning Experiance
จัดให้นิสิตแพทย์ไปพักที่ สอ. หรือที่ โรงพยาบาลชุมชน
เรียนรู้จากชุมชน เรียนรู้จากผู้ป่วย จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ
แพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่ สอ.

Assessment
Portfolio, Rubric Scoring (90%)
ให้คะแนนโดยทีมผู้สอนจาก โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
พัฒนา Rubric Scorng โดยทีมงานของโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 8 แห่ง
ของจังหวัดพิษณุโลก โดยท่านอาจารย์ ศ.นพ.ทองจันทร์ เมื่อหลายปีก่อนนี้
และ นพ.นภดล  กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช
สอบ MEQ (10%)

 

หมายเลขบันทึก: 390635เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วารสารระบาดวิทยา จ.พิษณุโลก
ปีที่ 5 ฉบับที่ 55 สิงหาคม 2553

ด้วยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศ
ในปีนี้มีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 57,948 ราย
เมื่อคิดเป็นวันแล้วพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มเฉลี่ยวันละ 240 ราย
และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 70 ราย

โดยเมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์การระบาด
ในปี 2553 กับปี 2552 พบว่าปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก
โดยมีการระบาดเพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันถึงร้อยละ 83

สำหรับจังหวัดพิษณุโลกปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยแล้ว 448 ราย
โดยเฉพาะเดือนนี้พบผู้ป่วยไปแล้ว 110 ราย (เฉลี่ยวันละ 5 ราย)
และในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยในทุกอำเภอรวม 60 ราย

…..สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
จึงขอความร่วมมือทุกบ้าน "ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย"
ซึ่งเป็นวิธีลดปริมาณยุงที่ดีที่สุด โดยสามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาช่วย
เช่น...การใช้ลูกมะกรูดผลดิบ มาใส่ในภาชนะที่มีน้ำขัง, การใช้ปูนที่กิน
กับหมากพลูมาปั้นให้เป็นก้อนแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
นำมาใส่ในภาชนะใส่น้ำแทนทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
หรือ การใช้ปลากินลูกน้ำ....เป็นต้น

 

ปลัด สธ.ขอความร่วมมือ นพ.สสจ./ผอ.รพ.ทั่วประเทศ เข้มมาตรการควบคุมป้องกันโรคอย่างจริงจัง มั่นใจ 1 เดือน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ลดลง

วันนี้(23 กันยายน 2553) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และมอบนโยบายการทำงานแก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ ตาก พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมได้รับรายงานว่าการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข มีความก้าวหน้าเป็นไปตามลำดับ ทั้งในเรื่องโครงการไทยเข็มแข็ง การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงทางการเมือง การพัฒนาโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่เพื่อคนไทยมีรอยยิ้ม รวมถึงการพัฒนายกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่สิ่งที่เน้นให้ปฏิบัติคือการควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาทั่วประเทศ จึงขอความร่วมมือให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเข้มข้นจริงจัง เข้าไปแก้ปัญหาให้ตรงจุด มั่นใจว่าภายใน 1 เดือน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดใหญ่ จะลดลงแน่นอน

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับโรคไข้เลือดออก มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานเรื่องโรคนี้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านการป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล ในส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขมีจุดแข็งในเรื่องการควบคุมป้องกันโรค ใช้หลักการจัดการให้เชื้ออยู่กับที่โดยใช้วิธีการคัดกรองผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยให้หยุดพักอยู่บ้าน หยุดเรียนหรือหยุดทำงาน หากจำเป็นต้องเดินทางให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวในตอนท้ายว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนั้น ขณะนี้ประชาชนมีความต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ขอให้เร่งประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีน ให้ครอบคลุมทั้งหมด เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต ส่วนในกลุ่มประชาชนทั่วไปขอให้เน้นมาตรการป้องกันตนเองเป็นหลัก โดยการหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในที่คนแออัดชุมนุมกัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ

........................................... 23 กันยายน 2553

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท