อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

มานุษยวิทยาการแพทย์


มานุษยวิทยาการแพทย์

มานุษยวิทยาการแพทย์

       มานุษยวิทยาการแพทย์ (Medical Anthropology) เป็นสาขาย่อยแขนงหนึ่งของมานุยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม (Social and cultural anthropology) มานุษยวิทยาการแพทย์ก่อตัวขึ้นมาจากงานวิจัยของนักมานุษยวิทยา ที่พยายามหาความสัมพันธ์ของกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงไปสู่ภาวะสุขภาพ (Health) ความเจ็บป่วย (illness) และการดูแลรักษาสุขภาพ (care)
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยได้เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาโทและเอก วิชานี้มีขอบเขตการศึกษากว้างขวาง โดยนำความรู้สาขามานุษยวิทยากายภาพ สาขาแพทย์ศาสตร์และสาขามานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ทางด้านสรีระ ประเพณี วัฒนธรรม และการแพทย์พื้นบ้านของคนแต่ละสังคมกับการแพทย์สมัยใหม่
คำเรียกขานของมานุษยวิทยาการแพทย์ มีแตกต่างกันออกไป เช่นในยุโรปบางมหาลัยใช้คำว่า "Anthropology of medicine", "Anthropology of health" หรือ บางแห่งใช้คำว่า "Anthropology of illness" แต่ที่รับรู้กันทั่วไป และใช้กันอย่างแพร่หลายคือ "Medical Anthropology"
        
                 
      ชีววิทยามนุษย์ ( Human biology) เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นชีววิทยา, มานุษยชีววิทยา และแพทยศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่มนุษย์ มีความเกี่ยวข้องกับชีววิทยาของไพรเมตและสาขาอื่นๆ อีกมาก
การวิจัยทางชีววิทยามนุษย์เกี่ยวข้องกับ
  • ความแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation) ระหว่างประชากรมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • ความแปรผันทางชีววิทยา (Biological variation) ที่สัมพันธ์กับสภาพอากาศและปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอื่นๆ
  • การประเมินความเสี่ยงของโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อในประชากร
  • การเจริญเติบโตของมนุษย์
  • ชีวประชากรศาสตร์ (Biodemography)
เนื่องจากขอบเขตของวิชานี้ยังไม่แน่ชัด ชีววิทยามนุษย์แตกต่างจากการวิจัยทางการแพทย์ทั่วไปในแง่ที่เน้นไปยังมุมมองต่อสุขภาพในระดับประชากร และเป็นสากล และเน้นที่วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรับตัว และพันธุศาสตร์ประชากรมากกว่าการวินิจฉัยเป็นรายบุคคล
  
หมายเลขบันทึก: 390628เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 02:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท