AAR : สิ่งที่ได้จากการอบรมการใช้งานลินุกซ์


Linux Ubuntu

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ

หลังจากที่อาจารย์ได้ส่งตัว ทีมโปรแกรมเมอร์เข้าร่วมอบรมหลักสูตร linux desktop + linux admin เผื่อคาดหวังในตัวพวกเราว่าจะได้อะไรกลับมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งทางทีมโปรแกรมเมอร์ของ UsableLabs ที่ประจำอยู่นั้นมีฉัน นก ต้าร์ และเก๋น้อย โดยส่งฉันกับนก ไปอบรมในรอบแรก 9-13 สิงหาคม 2553  และ ต้าร์กับเก๋น้อย ไปอบรมในรอบที่สอง 16-20 สิงหาคม 2553

เมื่อได้เข้าไปอบรมในวันแรก ก็เจอกับหัวข้ออบรมหลักสูตร linux desktop + linux admin ดังนี้ 

หัวข้อสัมมนา  linux desktop

  • ปัญหาของ PC ส่วนใหญ่มาจาก mainborad, ram และ hard disk
  • รู้จักแผ่นกู้ภัย UltimateBoot CD
  • การตรวจสอบ memory ด้วย UltimateBoot CD
  • สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์,ซอฟต์แวร์,ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่างๆ
  • สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการกระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
  • รู้จักกับซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ เช่น MS windows, ฟรีแวร์ เช่น Adobe reader และโอเพนซอร์ส เช่น linux
  • ระบบปฏิบัติการทำงานบนสื่อๆต่างได้,  MS windows จำเป็นต้องติดตั้งใช้งานบน hard disk เท่านั้น,
    แต่ linux ubuntu สามารถใช้งานบน ซีดี หรือ usb disk ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องอยู่บน hard disk
  • การตรวจสอบ memory ด้วย UltimateBoot CD
  • เรียนรู้การใช้ลินุกซ์บนดีวีดี โดยไม่ต้องติดตั้งลงบน hard disk ด้วย PSU-32 live DVD
  • การเข้าถึงข้อมูลใน usb disk และ hard disk, บน MS windows เห็น disk เป็นอักษรเช่น C: ,
    บน linux ubuntu เห็น disk อยู่ใน folder ชื่อ /media
  • ดูหนังฟังเพลงด้วย vlc, totem
  • การท่องอินเทอร์เนตด้วย firefox, empathy
  • การตรวจสอบไวรัสด้วยโปรแกรม Avast
  • การตรวจสอบ hard disk ด้วย UltimateBoot CD
  • รู้จักแผ่นลินุกซ์กู้ภัย Sysresccd
  • จัดการ partition ด้วย Sysresccd
  • การจัดเตรียม partition เพื่อติดตั้ง MS windows และ linux ubuntu บน PC เดียวกันแบบ dualboot
  • จัดให้ C: เป็น primary NTFS 30 GB boot ที่เหลือทำเป็น extended แล้วทำเป็น D: เป็น logical NTFS 50 GB ที่เหลือปล่อยว่างไว้ไม่ต้องยุ่ง
  • ติดตั้ง MS windows 7 32 bit  เพื่อใช้ทดสอบ
  • ปัญหา MS windows 7 ไม่เห็น network  ให้บูทจาก PSU32 live DVD เพื่อไปเอา network driver มาเก็บไว้ใน C:
  • ติดตั้ง network driver บน MS windows 7 ให้เรียบร้อย
  • ตั้ง network เป็นแบบ home network และ turnoff password เพื่อให้ share ได้
  • รู้จักกับรุ่นต่างๆของ linux ubuntu เช่น 32 bit, 64 bit, Desktop, Server, Alternate และ LTS
  • ติดตั้ง linux ubuntu desktop 32 bit  ใช้งานร่วมกับ MS Windows 7 บน PC เดียวกัน แบบ dual boot
  • ระหว่างติดตั้งสามารถใช้ linux ubuntu ทำงานอื่นๆได้
  • แนะนำเวบ http://opensource.psu.ac.th เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
  • รู้จัก linux จากเวบ http://th.wikipedia.org/wiki/Linux
  • รู้จัก linux ต่างๆเช่นเช่น Debian, Ubuntu,  Redhat, Fedora, Centos และ Gentoo
  • ปรับแต่ง linux ubuntu หลังติดตั้ง, sudo ntpdate pool.ntp.org, sudo apt-get update, sudo apt-upgrade
  • รู้จักกับคำสั่ง sudo
  • ปรับแต่งไม่เอา screen saver
  • ดูหมายเลข ip ไปที่ System -> Administration -> Network Tools  หรือใช้คำสั่ง ifconfig
  • การใช้โปรแกรม OpenOffice
  • ติดตั้ง software เพิ่มเติมด้วย ubuntu software center
  • การเพิ่มฟอนต์ภาษาไทย angsna เข้าไปใน linux desktop
  • การใช้ ps เพื่อดูคำสั่งของ graphic application ที่กำลังทำงาน
  • การเปิดแฟ้มด้วยคำสั่ง sudo nautilus
  • การเพิ่มให้สามารถใช้ปุ่ม ` บังคับเปลี่ยนภาษาไทยอังกฤษได้
  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส Avast
  • การ share file ใช้งานระหว่าง MS windows และ linux ubuntu
  • การติดตั้ง linux ubuntu บน usb disk จากแผ่นซีดี
  • พื้นที่ /tmp จะถูกลบทุกครั้งที่มีการบูทเครื่อง
  • การตั้งค่าให้ grub manager บูท linux หรือ windows
  • การยกเลิก grub boot manager ด้วย fdisk /mbr
  • การทำให้ grub boot manager กลับมาทำงานใหม่

หัวข้อสัมมนา linux admin basic

  • ติดตั้ง ubuntu 10.04 server แบบ 32 bit บน hard disk ทั้งลูก
  • ปรับแต่ง linux ubuntu หลังติดตั้ง, sudo ntpdate pool.ntp.org, sudo apt-get update, sudo apt-upgrade
  • ติดตั้ง sudo apt-get install ubuntu-desktop
  • ถอนโปรแกรม update-notifier ด้วยคำสั่ง sudo apt-get remove update-notifier
  • ถอนโปรแกรม network-manager-gnome ออกด้วยคำสั่ง sudo apt-get remove network-manager-gnome
  • ปิด screen saver ของ desktop ไม่ต้องให้ทำงาน System -> Preferences -> Screensaver
    ปิด power management ไม่ต้องให้ display ทำงาน System -> Preferences -> Power Management
  • ตั้งให้บูททุกครั้งเป็น text โดยแก้ไขแฟ้ม /etc/default/grub ตัวแปร GRUB_CMDLINE_LINUX_DEFAULT="text"
    แล้วสั่ง sudo update-grub
  • การตั้งค่า network ให้เป็นแบบ static ip ด้วยคำสั่ง sudo gedit /etc/network/interfaces
  • การใช้ ssh จาก linux desktop ไปยัง linux server
  • การใช้ ssh เพื่อใช้งานโปรแกรมแบบ graphic จาก linux desktop ไปยัง linux server ด้วยคำสั่ง ssh -X
  • การจัดการ linux server ให้พร้อมสำหรับการ remote desktop ด้วย vnc
  • การใช้โปรแกรม remote desktop viewer จาก linux destkop ไปยัง linux server
  • การใช้ ssh  จาก MSwindows ไปยัง linux server ด้วยโปรแกรม putty
  • การใช้ ssh  เพื่อใช้งานโปรแกรมแบบ graphic จาก MSwindows ไปยัง linux server ด้วยโปรแกรม Xming+putty
  • การใช้โปรแกรม vnc viewer จาก MSwindows ไปยัง linux server
  • การถ่ายโอนแฟ้มด้วย  filezilla จาก linux desktop และจาก MSwindows
  • แนะนำเทคโนโลยีของการจำลอง PC เสมือน virtual machine
  • ติดตั้งโปรแกรม virtualbox 3.2.8 แบบ 32 bit
  • การประยุกต์ใช้โปรแกรม virtualbox
  • การติดตั้ง guest windows บน virtualbox และใช้ windows บน virtual machine
  • การเพิ่ม vboxguest additions เพื่อให้ virtualbox ทำงานได้คล่องขึ้น
  • การสร้างแฟ้ม iso จากแผ่นซีดี ด้วยคำสั่ง dd
  • การคัดลอกแฟ้มแบบ vdi
  • การ remote desktop จาก linux และ windows เข้ามาจัดการ guest linux และ guest windows
  • การติดตั้ง guest  linux บน virtualbox และใช้ linux บน virtual machine
  • การจัดการ user บน linux
  • คำสั่งที่ควรรู้ต่างๆของ linux
  • การถ่ายโอนแฟ้มด้วยโปรแกรม filezilla
  • การติดตั้ง apache + php + mysql server
  • การติดตั้ง joomla
  • การติดตั้ง moodle
  • ค่าต่างที่บอกการใช้ทรัพยากรของ linux
  • การติดตั้ง mrtg เพื่อติดตามการใช้ทรัพยากรของ linux
  • การ backup ข้อมูลด้วย filezilla, scp และ rsync
  • การทำให้ ssh ได้โดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน
  • การแก้ปัญหาเข้า server ที่จำรหัสผ่านไม่ได้
  • การติดตั้ง vftpd server
  • การสร้าง link ให้ http และ ftp ไปที่เดียวกัน
  • การติดตั้ง shorewall เพื่อทำเป็น firewall
  • การติดตั้ง samba

อ้างอิงมาจาก http://rd-crm.cc.psu.ac.th/story/62--linux-desktop-linux-admin

เมื่อฉันได้เห็นหัวข้อ ถึงกับตะลึง!! "โอ้โห นี่เราจะรู้ขั้นตอนพวกนี้หมดเลยเหรอ" ดูเหมือนจะยาก แต่ไม่ยาก เพราะวิทยากรของเราคุณวิภัทร ศรุติพรหม เราเรียกแบบเป็นกันเองว่า "พี่วิภัทร" พี่เขาสอนพวกเราจนทำให้ดูรู้สึกว่าง่ายเพราะ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่างๆ ในเว็บไซต์ http://opensource.cc.psu.ac.th/Ubuntu ก็สามารถใช้งานได้ ซึ่งบางครั้งฉันก็ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง พี่เขาสอนตามสไตล์ของเขา แต่เข้าใจง่าย และสนุกไปกับมัน พอดีกับที่ฉันทำงานกับ OS Linux ที่ชื่อ Ubuntu อยู่แล้ว ซึ่งสาระที่ฉันได้มาก็จะมาโน๊ตไว้ในสมุดกันลืมบ้าง จดไปจดมา อบรม 5 วัน (โดยแบ่งเป็น Linux desktop 2 วัน และ Linux admin 3 วัน) จดไว้ในสมุดได้เกือบ10หน้ากระดาษ (เอ๋...หรือเราเขียนตัวใหญ่ อิอิ) พี่เขาให้แผ่นซีดีมา 5 แผ่น ส่วนรายละเอียดที่ได้อบรมไป จะมาแจ้งอีกครั้งในบันทึกถัดค่ะ

อ่อ มีอีกเรื่องนึงที่ฉันประทับใจพี่วิภัทรเป็นอย่างมากระหว่างที่อบรมไป พี่วิภัทรก็พูดขึ้นมาประมาณว่า "ผมสอนแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนที่ทำได้แล้วก็ช่วยสอนให้กับคนที่ยังทำไม่ได้ หรือทำไม่ทัน บลาๆๆ" และอื่นๆ อีกมากที่พี่เขาพูดต่อ แต่หลักๆ ที่จำมาก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้า concept เว็บไซต์ gotoknow เลย ประทับใจมากค่ะที่มีคนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน :)

ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ubuntu#อบรม linux
หมายเลขบันทึก: 389858เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2010 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เจ๋งไปเลยค่ะโปรแกรมเมอร์ของเรา เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะพี่ชิวชิว

ขอบใจมากจ้าน้องอาร์ม ไม่รู้จะไหวไหมเหมือนกัน

Amuay เอ้ย ขอบใจมากสำหรับข้อแนะนำการตอบคำถาม จึงตอบหนูทอแสงได้ แต่กลับตอบคนบอกไม่ได้ จึงมาขอบใจที่หน้านี้แทน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท