หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

ถอดบทเรียน "การถอดบทเรียน" (ตอน ๒)


(๒)

        ในช่วงที่ผมทำงานเป็น NGOs อยู่นั้น ผมมีโอกาสได้เรียนรู้การจัดกระบวนการเรียนรู้จาก NGOs รุ่นพี่หลายท่าน และก็เริ่มเรียนรู้ว่าการทำงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะเวทีเรียนรู้ รวมทั้งถึงการระดมความคิดเห็นที่เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกให้มากที่สุด มีบรรดาเทคนิค/เครื่องมือที่เป็นตัวช่วยจำนวนมาก

        เทคนิคแรก ๆ ที่ผมได้เรียนรู้คือ AIC ซึ่งในช่วงราวยี่สิบปีที่ผ่านมา เทคนิคนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ถ้าจำไม่ผิดผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่เทคนิคนี้คือ อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

        ผมเองก็สวามิภักดิ์กับเครื่องมือนี้มิใช่น้อย ใช้แทบทุกครั้งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม้ว่าจะเป็นกลุ่มเด็ก เยาวชน หรือกลุ่มผู้ใหญ่และผู้นำชุมชน (อยากจะสารภาพตรงนี้ว่า ผมสนุกกับการใช้เครื่องมือนี้มาก มากกว่าเป้าหมายที่จะได้จากการใช้เครื่องมือเสียด้วยซ้ำไป...)

        จนกระทั่งเริ่มมีเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาเรื่อย ๆ ผมเองก็ไม่พลาดโอกาสการเรียนรู้นั้น บางคราวต้องเก็บหอมรอมริบเพื่อเข้ารับการอบรม และทำให้มีโอกาสได้พบกับปรมาจารณ์ด้านเทคนิควิธีนี้หลายท่าน

        ถ้าจะให้ไล่เครื่องมือที่ผมเคยผ่านการอบรม และทดลองใช้ น่าจะมีดังนี้

        เริ่มจาก AIC แล้วก็ไปเรียนรู้ ZOPP Model จากรุ่นพี่นักพัฒนาคนหนึ่ง ซึ่งทำงานกับโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน เทคนิคนี้ประเทศเยอรมันเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา ในเทคนิคนี้มีเทคนิคย่อย ๆ อยู่หลายอย่าง จำได้เลา ๆ ว่า อ.ปิยะวัติ บุญหลง ก็เคยใช้เทคนิคนี้ใน สกว. ยุคแรก ๆ ด้วย

        นอกจาก ZOPP แล้ว ผมยังได้เรียนรู้เทคนิค SWOT จากรุ่นพี่คนนี้อีกด้วย

        ตามด้วย RRA ผมจำชื่อเต็มไม่ได้แล้ว แต่เรียกเป็นภาษาไทยว่าการประเมินสภาวะแบบเร่งด่วน หรืออะไรทำนองนี้ เทคนิคนี้เรียนกับลูกศิษย์ของ อ.บัณฑร อ่อนดำ ซึ่งหากจำไม่ผิดท่านน่าจะเป็นผู้นำมาเผยแพร่

        ต่อมาคือ PRA  ผมเรียนเทคนิคนี้ตอนเรียนปริญญาโทที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับความสนใจจากนักพัฒนาในยุคนั้นค่อนข้างมาก ว่ากันว่าพัฒนามาจาก RRA เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเดี่ยวกับการมีส่วนร่วม ผมได้ใช้เทคนิคนี้ในการเก็บข้อมูลในงานวิจัยของผมด้วย

        ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น ผมยังมีโอกาสได้เข้าอบรมการใช้เทคนิคต่าง ๆ อยู่อีกหลายครั้ง เช่น การอบรม meta plan จาก ดร.อุทัย ดุลยเกษม เทคนิค problem tree จาก พี่สวิง ตันอุด นักพัฒนารุ่นเก๋า การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ

        ช่วงที่ผมได้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาก ๆ เป็นช่วงที่เข้าไปร่วมกระบวนการกับการขับเคลื่อนของกองทุนชุมชน (SIF) ช่วงนี้ผมได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ อีกบางประการ เช่น FSC จาก อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

        ในช่วงท้าย ๆ ของการเห่อเทคนิคของผมนั้นคือการเข้าไปมีส่วนร่วมในงานของ สกว.ภาคเหนือ ตอนนั้นแนวคิดเรื่อง PAR (Participatory Action Research – การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

        ผมคงจะเป็นแบบที่ครูผมว่าไว้อยู่นาน คือ Action ไปเรื่อย ๆ แม้จะมี Reflection บ้าง ก็ก็กลับมา Action เหมือนเดิมตามความเคยชิน

        ผมเริ่มกลับมาทบทวนการทำงานอย่างจริงจังต่อการทำงานของผม โดยเฉพาะในแง่การจัดการกระบวนการเรียนรู้ ผมพบว่าการกระทำของตนเองลดทอนการเรียนรู้ทั้งของตัวเองและผู้คนที่เข้าร่วมเกี่ยวข้องให้เหลือเพียงระดับ “เทคนิค” เท่านั้น ก้าวไปไม่ถึงอะไรที่สูงและมีคุณค่ากว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความเป็นมนุษย์" ที่มีหัวจิต มีหัวใจ มีวิญญาณ

        เริ่มคิดได้เช่นนั้น ผมก็เริ่มเบื่อการเรียนรู้จำพวกเวทีที่ใช้บรรดาเทคนิคต่าง ๆ อย่างเข้าใส้ แล้วก็พาตัวเองออกมาจากวงการ

.....

คำสำคัญ (Tags): #ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 389485เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณมากครับพี่เกียรติศักดิ์ ...

มีบางคนที่บอกว่าเราไร้กรอบ เเล้วถามต่อว่า เราจะตอบคำถามนั้นต่อนักวิชาการท่านอื่นเเละสังคม อย่างไรเมื่อเราไม่มีกรอบ ไม่มีเครื่องมืออะไรชัดเจนเลย?... หลายคนถามผมด้วยความอคติอยู่ในคำถามเหล่านั้น จนผมสังเกตได้

บางครั้งก็ไม่อยากอธิบายครับ การทำงานกับคนนั้นซับซ้อนพอๆกับที่เรา Mixed เครื่องมือทั้งหลายเหล่านั้นลงไป เวลาอธิบายก็ต้องพูดเเนวทางกลางๆไป หากจะเค้นเอาละเอียดก็ยาก เพราะคนเเต่ละคนเราก็ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลต่างกัน เเละประณีตจนยากที่เราจะอรรถาธิบายได้ให้เข้าใจ

นักวิชาการที่เป็นสาวกของกรอบ สาวกของวิธีวิทยา พะวงเรื่องของเครื่องมือมากเกินไปกว่า ความเป็นมนุษย์ ดังนั้นเเล้ว "บทเรียน"ที่ได้จากการเค้น รีด นั้น จะมีคุณค่าจริงหรือไม่ เมื่อวิธีการที่ใช้ไม่ได้สอดคล้องกับวิถีการเต้นของหัวใจของทั้งเรา เเละผู้ร่วมสนทนา

 

ขอบคุณมากครับพี่เกียรติศักดิ์ ...

มีบางคนที่บอกว่าเราไร้กรอบ เเล้วถามต่อว่า เราจะตอบคำถามนั้นต่อนักวิชาการท่านอื่นเเละสังคม อย่างไรเมื่อเราไม่มีกรอบ ไม่มีเครื่องมืออะไรชัดเจนเลย?... หลายคนถามผมด้วยความอคติอยู่ในคำถามเหล่านั้น จนผมสังเกตได้

บางครั้งก็ไม่อยากอธิบายครับ การทำงานกับคนนั้นซับซ้อนพอๆกับที่เรา Mixed เครื่องมือทั้งหลายเหล่านั้นลงไป เวลาอธิบายก็ต้องพูดเเนวทางกลางๆไป หากจะเค้นเอาละเอียดก็ยาก เพราะคนเเต่ละคนเราก็ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลต่างกัน เเละประณีตจนยากที่เราจะอรรถาธิบายได้ให้เข้าใจ

นักวิชาการที่เป็นสาวกของกรอบ สาวกของวิธีวิทยา พะวงเรื่องของเครื่องมือมากเกินไปกว่า ความเป็นมนุษย์ ดังนั้นเเล้ว "บทเรียน"ที่ได้จากการเค้น รีด นั้น จะมีคุณค่าจริงหรือไม่ เมื่อวิธีการที่ใช้ไม่ได้สอดคล้องกับวิถีการเต้นของหัวใจของทั้งเรา เเละผู้ร่วมสนทนา

 

ผมยังศรัทธาในวิธีการถอดความรู้ของคุณหนานเกียรติ ได้ร่วมงานกันครั้งสองครั้งก็พบว่าวิธีการเก็นองค์ความรู้นั้นเกิดจากการทำจริง

แล้วกลั่นกรองเป็นองค์ความรู้ บางที่การถอดแบบความรู้น่าจะใช้วงจรคุณภาพของเดมิงก็คงไม่แปลก ช่วงไปอบรมผู้บริหารตามโครงการไทยเข้มแข็ง ๙ วัน เขาพาถอดความรู้โดยใช้จิตปัญญาศึกษา การฟังอย่างสุนทรีย์ จะได้รับองค์ความรู้ที่เกิดตามธรรมชาติของสภาวะจริงครับ กระบวนการ AIC รู้สึกจะใช้ช่วงปี ๔๑ ถ้าจำไม่ผิดครับ สบายดี ร่ำรวยน้ำใจเช่นเคยนะครับ

เจริญพร พี่หนาน

แวะมาแอ่วหา ดีใจที่ได้อ่านการแบ่งปันที่งดงาม

ขอเจริญพร

ปี้ๆๆ ไปอ่าน SHA ภูพิงค์ โตย เจ้า...

  • สวัสดีครับท่านหนานเกียรติและหลานเฌวา
  • หลานเฌวาตัวน้อย ๆ คงโตขึ้นมากแล้วนะครับ
  • คงสบายดีนะครับ  ขอบคุณที่เข้าไปทักทาย
  • สวัสดีเจ๊า หนานเกียรติ
  • แวะมาอ่านเทคนิคการถอดบทเรียน
  • ยังไงๆก็ขอให้อยู่ในแวดวงทางวิชาการต่อไป
  •  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาทักทายให้กำลังใจคนทำงาน ยามเช้าของวันอังคารค่ะ

เด็กรุ่นใหม่ที่เก่ง คล่อง มาเห็นการทำงานของระบบราชการเมืองไทย เขาอยู่ไม่ได้ค่ะ

ผละออกไปเหมือนคุณหนานเกียรตินี่เอง

ระบบมันเป็นอย่างนี้ พัฒนาแล้ว พัฒนาอีก ก็ไม่รู้จะไปถึงไหน

ทำตัวของเราให้ดีที่สุดก็แล้วกันนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

เรียนท่านหนานเกียรติที่นับถือ

    ช่วงนี้รอถ่ายเอกสารค่ะ เลยแวะมาทักทายและเรียนรู้การถอดบทเรียนด้วยคนค่ะ ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท