ลักษณนาม ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย


ลักษณนาม ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย

  ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะประการหนึ่งคือมีการใช้ลักษณนาม  ซึ่งจะนอกจากจะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับนามนั้น ๆ แล้ว  ยังต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะแก่บริบทอีกด้วย  คำนามบางคำมีหลายความหมาย  คำนามบางคำจึงใช้ลักษณนามได้หลายอย่าง  จึงขอประมวลลักษณนามที่มักจะใช้สับสนเพื่อช่วยให้ใช้ลักษณนามได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

กระบอก  ใช้กับ      ปืน  ข้าวหลาม กระบอกสูบ  กระบอกพลุ  ไฟฉาย  ไฟพะเนียง

ตน            ใช้กับ     ฤๅษี ยักษ์  ผีเสื้อสมุทร  ผีเสื้อยักษ์  ภูตผี  คนธรรพ์  กินนร  กินรี  กระสือ กระหัง  โยคี  นางไม้  นักสิทธิ์  เซียน  เปรต

รูป            ใช้กับ      นักบวช  นักพรต  นักบุญ  พระสงฆ์  พระคณาจารย์  สมี (โบราณใช้เป็นคำเรียกพระภิกษุ)  สมภาร  สามเณร  บาทหลวง

ดวง          ใช้กับ     ดาว  ผีพุ่งใต้  แสตมป์  วิญญาณ  ดวงตา  ดวงใจ  หัวใจ  โคม  ชวาลา

ตัว            ใช้กับ      สัตว์  เข็มกลัด  เข็มหมุด  ขิม  ขื่อ  ตะขอ  เก้าอี้  เกี๊ยว  เกี้ยมอี๋  กีตาร์  กระต่ายขูดมะพร้าว  ตัวอักษร  ตัวโน้ต 

เล่ม       ใช้กับ     เกวียน  หนังสือ  เข็ม  ทวน  หอก  ดาบ  ตาลปัตร  ตะหลิว  ไม้ตะพด  ตะไบ  เคียว  ไม้พาย  ไม้พลอง          เทียน  กรรไกร  หวี

หลัง       ใช้กับ     สัปคับ  เกี้ยว  เก๋ง  กุฏิ  กูบ  กระต๊อบ  กระท่อม  บ้าน  ตู้  ตำหนัก  จักรเย็บผ้า  จวน  ยุ้ง

คัน        ใช้กับ     ร่ม  ช้อน  ส้อม  เบ็ด  คันชั่ง  คันไถ  ซอ  โชงโลง  ตราชู  ตะเฆ่  แร้ว  ยอ  ธนู  ทัพพี รถ  มอเตอร์ไซค์  แทรกเตอร์  พิณ

เครื่อง      ใช้กับ       เครื่องซักผ้า  เครื่องบันทึกเสียง  เครื่องยนต์  เครื่องบิน  คอมพิวเตอร์  ชิงช้าสวรรค์  พัดลม  เฮลิคอปเตอร์

บาน       ใช้กับ     หน้าต่าง  บานเลื่อน  บานประตู  กระจกเงา  บังตา  บานกระทุ้ง  บานตู้ 

ดอก       ใช้กับ     ดอกไม้  เห็ด  ธูป  ลูกหน้าไม้  ลูกหนู  ลูกธนู  ลูกกุญแจ  ลูกเกาทัณฑ์  พลุ  ดอกไม้ไฟ 

หัว        ใช้กับ     หัวก๊อก  หัวปลี  หัวเทียน  สมุดข่อย  สมุดไทย  เผือก  มัน  กลอย  ขนมจีน

สาย       ใช้กับ     สายสร้อย  สายรุ้ง  แม่น้ำ  รัดประคด  ระโยง  น้ำพุ  ทางด่วน  ทางหลวง  ถนน

ลูก         ใช้กับ     กระถาง  กระติบ  กระทะ  กระบุง  กะละมัง  ขีปนาวุธ  ภูเขา  ครก  คลื่น  จรวด  บอลลูน 

ฉบับ      ใช้กับ     สัญญา  จดหมาย  เช็ค  สนธิสัญญา  สลากกินแบ่ง  วุฒิบัตร  วารสาร  วิทยานิพนธ์  พันธบัตร ใบรับรอง  ใบลา โฉนด  ใบสุทธิ  ใบหุ้น  ใบเสร็จ  ปฏิทิน  ประกาศนียบัตร  นิตยสาร

อัน          ใช้กับ       กรอบรูป  บันได  เข็มทิศ  ตะบอง  นาฬิกาทราย  นาฬิกาน้ำ  ปรอท  ปลั๊กไฟ  ปิ่น  แปรง  ฟันยาง  ไฟแช็ก  ไม้กางเขน  ไม้เท้า  ไม้เรียว  รัดเกล้า  แร็กเกต  ลูกบิด  สามตา    

คำนามที่ใช้ลักษณนามเฉพาะที่ควรจดจำ

งาช้าง                      ใช้ลักษณนามว่า                      กิ่ง

แคน                         ใช้ลักษณนามว่า                      เต้า

หอยสังข์                 ใช้ลักษณนามว่า                       ขอน

แห อวน                   ใช้ลักษณนามว่า                      ปาก

เลื่อย                        ใช้ลักษณนามว่า                      ปื้น

แม่ชี                         ใช้ลักษณนามว่า                      คน

สวน                         ใช้ลักษณนามว่า                       ขนัด

ลูกคิด                       ใช้ลักษณนามว่า                      ราง

รุ้งกินน้ำ                   ใช้ลักษณนามว่า                      ตัว

ข้าวเม่าทอด             ใช้ลักษณนามว่า                      แพ

นาฬิกาแดด             ใช้ลักษณนามว่า                      เรือน

นาฬิกาทราย            ใช้ลักษณนามว่า                      อัน

นางฟ้า                     ใช้ลักษณนามว่า                      องค์

นางอัปสร                ใช้ลักษณนามว่า                       นาง

 ทดสอบความเข้าใจ

 1. ข้อใดใช้ลักษณนามไม่ถูกต้อง

ก.      น้องสาวฉันเป็นผู้หญิงสวย  ที่บ้านจึงมีกระจกเงาหลายบานไว้ให้ส่อง

ข.      เขาเป็นคนความจำดี  อาขยานกี่บท ๆ ก็สามารถท่องจำได้หมดในเวลาไม่นาน

ค.      คุณไปเที่ยวงานแสดงสินค้าเห็นไม้เท้าสวย ๆ ช่วยซื้ออันใหม่มาฝากคุณปู่ด้วย

ง.       มหาวิทยาลัยจะจัดประกวดคำขวัญเนื่องในวันสถาปนา  ใครจะส่งกี่ชิ้นก็ได้

 เฉลย  คำตอบที่ถูกต้องคือ  ง.

            คำขวํญ  ใช้ลักษณนามว่า  คำขวัญ 

            ส่วน ชิ้น  ใช้กับ  ขนมเค้ก  คุกกี้  ผ้า  โมเสก  ผ้าอนามัย  ผ้ากอช  ผ้าพันแผล  ปาร์เกต์ 

 2.  คำนามข้อใดใช้ลักษณนามผิด

  ก.  ข้าวหลาม-กระบอก  ลูกกรง-ซี่  ร่ม-คัน  ประตู-บาน

  ข.  ก้านธูป-ก้าน  ฉัตร-คัน  เหล็ก-แท่ง  แห-ปาก

  ค.  พลุ-กระบอก  ฟัน-ซี่  กรอบรูป-บาน  ข้าวโพด-ฝัก

  ง.  เบ็ด-คัน  ก้านพลู-ก้าน  โพงพาง-ปาก  ตะกั่ว-แท่ง

เฉลย  คำตอบที่ถูกคือข้อ  ค. 

          พลุ  ใช้ลักษณนามว่า  ดอก หรือ ลูก (แต่ถ้าเป็นพลุที่บรรจุอยู่ในกระบอกใช้ลักษณนามว่า กระบอก)

          กรอบรูป  ใช้ลักษณนามว่า กรอบ หรือ อัน

หมายเลขบันทึก: 389402เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างมาก ให้เกียรติแกภาษาอื่นที่เรานำมาใช้ เปรียบเทียบกับภาษาลาวเขาอ่านคล้ายเราแต่ไม่คงรูปภาษาอื่นให้เห็น

สวัสดีค่ะ  คุณ pap2498

         ยินดีมากค่ะที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน         

ขอบคุณมากๆค่ะ  หนูทำแบบฝึกหัดเรื่องนี้ได้คำตอบพอดีเลย  ขอให้คุณครูนำเสนอเรื่องดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

 ขอบคุณมากสำหรับความรู้ใหม่ๆที่มีประโยชน์และขอวิเคราะห์ส่วนนี้ด้วยครับ

ลูก  ใช้กับ   กระทะ 

หัว   ใช้กับ   สมุดข่อย  สมุดไทย    ขนมจีน

ขอบคุณ :) ค่ะหนูทำงานส่งครูได้ถูกตอ้งเลยค่ะ

พอดีคุณพ่อจะติว หนังสือให้คุณลูกเลยได้เข้ามาหาความรู้ดีมากเลยครับ

 

เหอะๆ มีนิดเดวค่ะ

คือว่า จะเชื่อได้มั้ยเรี่ยย

เป็นวิทยาทานแก่เด็ก ๆ โดยแท้เลยครับ

ทำไหมช้อนถึงมีลักษนามว่าคันคะ ใครเป็นคนกำหนดและมีที่มายังงัยคะ

สวดยอดครูบอกว่าหางานนี้จากไหนบอกว่าครูแป๊ว ครูตอบว่า เธอได้ไปเลย20คะแนน

 

ได้สาร่ะมากๆเลย

ได้ข้อมูลทำการบ้านส่งครูทันเวลาเลยค่ะ

แล้วลักษณะนามของพระที่นั่งล่ะคะเรียกว่าอะไร

ขอถามเรื่องคำลักษณะนามดังนีัค่ะว่าใช้คำว่าอะไร1. แว่นตา2. ลอดช่อง2. ข้าวเกรียบปากหนม้อขอบคุณล่วงหน้ามากค่ะ

สอบถามหน่อยครับ ลักษณะนามของเค้กหนึ่งก้อน ที่ทำงานให้เรียก ชิ้นหรืออัน …..ตามที่ตัวเองเข้าใจเรียกว่า1ปอนด์ หรือ1ก้อน เพราะเค็กมีขนาดใหญ่ ถ้าเค้กถูกตัดหรือแบ่งควรเรียกว่าชิ้น ถ้า 1 อัน น่าจะใช้กับเค้กขนาดเล็กที่ใส่กล่องมาเช่นเค้กโบราณหนึ่งกล่องมี10 อัน ก็เลยงงถกเถียงกันอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท