ความรู้ คือ


ความรู้

ความรู้ คือ อะไร?

                คำว่า ความรู้ (Knowledge) นั้น ในทัศนะของฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็นได้ หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก ด้วยเหตุนี้ การจำได้จึงถือว่าเป็น กระบวนการที่สำคัญในทางจิตวิทยา และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ใช้ความคิดและความ สามารถทางสมองมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนความเข้าใจ (Comprehension) นั้น ฮอสเปอร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นขั้นตอนต่อมาจากความรู้ โดยเป็นขั้นตอนที่จะต้องใช้ความสามารถของสมองและทักษะในชั้นที่สูงขึ้น จนถึงระดับของการสื่อความหมาย ซึ่งอาจเป็นไปได้โดยการใช้ปากเปล่า ข้อเขียน ภาษา หรือการใช้สัญลักษณ์ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลได้รับข่าวสารต่าง ๆ แล้ว อาจจะโดยการฟัง การเห็น การได้ยิน หรือเขียน แล้วแสดงออกมาในรูปของการใช้ทักษะหรือการแปลความหมาย

ต่าง ๆ เช่น การบรรยายข่าวสารที่ได้ยินมาโดยคำพูดของตนเอง หรือการแปลความหมายจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยคงความหมายเดิมเอาไว้ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อสรุปหรือการคาดคะเนก็ได้

                Davenport & Prusak ได้ให้นิยามความรู้ว่า "ความรู้คือส่วนผสมที่เลื่อนไหลของประสบการณ์ที่ได้รับการวางโครงร่าง, เป็นคุณค่าต่างๆ, ข้อมูลในเชิงบริบท, และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ชำนาญการ ซึ่งได้นำเสนอกรอบหรือโครงร่างอันหนึ่งขึ้นมา เพื่อการประเมินและการรวบรวมประสบการณ์และข้อมูลใหม่ ๆ มันให้กำเนิดและถูกประยุกต์ใช้ในใจของบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ในองค์กรต่าง ๆ บ่อยครั้ง มันได้รับการฝังตรึงไม่เพียงอยู่ในเอกสารต่าง ๆ หรือในคลังความรู้เท่านั้น แต่ยังอยู่ในงานประจำ, กระบวนการ, การปฏิบัติ และบรรทัดฐานขององค์กรด้วย"

                ในหนังสือ “Working Knowledge: How Organization Manage What They Know”  โดย  ดาเวนพอร์ต ที เอ็ช และ แอล พรูสัก (Davenport, T. H., และ L. Prusak, Boston: Havard Business School Press) อ้างถึงใน องค์กรแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ  หน้า 17 ของ รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ ว่า ความรู้ คือ “กรอบของการผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง ซึ่งจะเป็นกรอบสำหรับประเมินค่า และการนำประสบการณ์สารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมด้วยกัน”  

                ยังมีผู้ให้ความหมายและคำจำกัดความอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้ จากสัดส่วนความรู้ในองค์กรจะพบว่า ความรู้ประเภท Tacit ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากทักษะและประสบการณ์ที่อยู่ในตัวคนมีถึงร้อยละ 80 ส่วนความรู้ประเภท Explicit  ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นเหตุและเป็นผลที่สามารถจะบรรยาย ถอดความ ออกมาในรูปของทฤษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือ หรือในรูปฐานข้อมูล ความรู้ประเภทนี้มีเพียงร้อยละ 20  (ในบางแนวคิดได้แบ่งความรู้ออกเป็น4 ประเภท 1.Tacit 2. Implicit    3. Explicit  4. Embedded )

                ความรู้ที่เกิดขึ้นเกิดจากการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีผู้รู้ที่ศึกษาด้านนี้ และเปรียบเทียบในลักษณะของการหมุนเกลียวการเรียนรู้ (Knowledge Spiral) ซึ่งคิดค้นโดย IKUJIRO NONAGA และ TAKRUCHI ดังรูป 1 ที่แสดง ขออธิบายดังนี้ จากรูป Knowledge Spiral จะเห็นว่ากระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้

             1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge   จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่                               

            2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และ  เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit   Knowledge

       

        รูป 1  แสดงลักษณะการเรียนรู้ Knowledge Spiral

 

          3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit    Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit   Knowledge ใหม่ ๆ

          4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit   Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge  ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ใน  ชีวิตประจำวัน

สัญญา

ปัญญา

 

Wisdom

Knowledge

Information

Data

จำได้ หมายรู้

อ่านมาก - ฟังมาก

เห็นมาก - รู้มาก

สุตมยปัญญา

กำหนดได้ หมายรู้

วิเคราะห์ได้ (Analysis)

ใช้ทฤษฎี (Theory)

มีประสบการณ์ (Experience)

จินตามยปัญญา

แก้ปัญหาได้

รู้แจ้ง – เห็นจริง

(Insight)

ภาวนามยปัญญา

 

Good Knowledge is Power

กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการคิด

อย่างต่อเนื่อง

สรรพสิ่งที่เป็นจริง

ความเป็นจริงที่รู้

เปิดใจสู่การรับรู้

 

                               รูป 2 แสดงกระบวนการเกิดองค์ความรู้

 

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล ในสมองของแต่ละคน มาจากประสบการณ์ จากการศึกษาที่สั่งสมมา หรือจากพรสวรรค์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สัมผัสไม่ได้ (Intangible Intellectual Asset) โดยปกติแล้วจะยากต่อการแปลความหรือเขียน ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  หากจะเปรียบเทียบระหว่าง Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge แล้ว Tacit Knowledge ของการเหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้ตึง หลับตา แล้วค่อย ๆ เลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูกได้อย่างถูกต้อง จะเรียนรู้มาจากประสบการณ์ และความคุ้นเคยของบุคคล หากต้องการแปลงจาก Tacit Knowledge นั้นให้เป็น Explicit Knowledge ในที่นี้จะเป็นอธิบายเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาว่า ควรใช้ความคิดอย่างไร เลื่อนนิ้วชี้อย่างไร กะตำแหน่งปลายจมูกอย่างไร จึงสามารถเลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูก ได้อย่างถูกต้อง  การรับเอาความรู้ที่อยู่ในรูป Tacit Knowledge ของผู้เชี่ยวชาญจึงมักเป็นการเข้าไปคลุกคลีกับเขา เรียนรู้จากการพูดคุย ฝึกปฏิบัติ จนสามารถทำได้ด้วยตนเอง

Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร หนังสือ ฯลฯ  ถ้าเป็น Explicit Knowledge ในองค์กรก็เช่น  ISO9000 Procedure, Work Instruction, คู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ  เป็นต้น  ส่วน Tacit  Knowledge คือความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน  เกิดจากการเรียนรู้และการสั่งสมประสบการณ์  เช่น การเจียรไนเพชร  เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนกว่า 20 – 30 ปีกว่าจะเป็นช่างฝีมือที่เก่งและมีความสามารถสูง  ถ้าเราพิจารณาสัดส่วนของความรู้ทั้ง 2 ประเภท จะพบว่าความรู้ที่ใช้อยู่ในองค์กรส่วนใหญ่เป็นความรู้ประเภท Tacit  มากกว่าความรู้ประเภท Explicit ในอัตราส่วนถึง 80: 20    อย่างไรก็ตาม ความรู้ก็มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้ และ หายไปได้   ในกรณีที่พนักงานลาออก หรือ ถูกซื้อตัวไป  ความรู้ก็จะหายไป (แถมไปอยู่กับบริษัทคู่แข่งได้เสียด้วย)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ใบหม่อน
หมายเลขบันทึก: 389394เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท