วิธีเลือกเนื้อ(โปรตีน)เพื่อถนอมสายตา


'AARP Bulletin' ออนไลน์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Best food for eye health' = "อาหารดีที่สุดสำหรับสุขภาพตา", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ AARP ]

...

คนที่มีอายุ ยืนยาวมีโอกาสเป็นโรคจอตาส่วนกลาง (เรตินาส่วนกลาง = แมคูลา เป็นที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะภาพสี) เสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ำทำให้ตาบอดในโลกตะวันตก (ฝรั่ง)

โรคนี้เรียกว่า 'AMD (age-related macular degeneration)', พบบ่อยในคนอายุเกิน 60 ปี, วิธีคิดง่ายๆ คือ ถ้าเราคิดว่า อายุเราน่าจะเกิน 60 ปี... การป้องกันโรคนี้ไว้น่าจะดีทีเดียว

...

การศึกษากลุ่ม ตัวอย่างชาวออสเตรเลียอายุ 58-69 ปี จำนวน 6,700 คน ติดตามไป 4 ปี และตรวจตาซ้ำที่ 13 ปี (ตีพิมพ์ใน Am J Epidemiology: April 1, 2010) พบว่า

การกินเนื้อแดง (red meat) หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว หมู แพะ แกะ ฯลฯ สัปดาห์ละ 10 ส่วนบริโภค/สัปดาห์ขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงโรคจอตาเสื่อมสภาพ AMD = 50% เมื่อเทียบกับคนที่กินเนื้อแดงน้อย คือ ไม่เกิน 5 ส่วน/สัปดาห์

...

ขนาด 1 เสิร์ฟ (servings / Sv) หรือ 1 ส่วนบริโภคของเนื้อ = 80 กรัม= ขนาดข้าวสวยที่ซุย (คุ้ยให้ไม่แน่น) แล้ว ขนาด 1 ทัพพีเล็ก และหนาประมาณ 1 ข้อปลายนิ้วก้อยผู้หญิงผู้ใหญ่

ตรงกันข้าม, คนที่กินไก่ 3 ครั้ง/สัปดาห์ ลดเสี่ยงโรค AMD ลง 50%

...

นักโภชนาการนิยมเรียกเนื้อสัตว์เล็ก (ที่ไม่ใช่เนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่) เช่น สัตว์ปีก (เป็ด ไก่ ฯลฯ) ว่า "เนื้อขาว (white meat)"

กลไกที่เป็นไปได้ คือ เนื้อแดงมีธาตุเหล็กสูงกว่าเนื้อขาว และมีสารที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพ เช่น ไขมันอิ่มตัว ฯลฯ สูงกว่า ทำให้จอตาส่วนกลางเสื่อมได้มาก

...

อ.นพ.พอล เบิร์นสไตน์ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ สหรัฐฯ กล่าวว่า การลดเนื้อลง เพิ่มผลไม้ทั้งผล (whole fruits - ไม่ใช่น้ำผลไม้), ผัก อาหารที่มีโอเมกา-3 เช่น ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ฯลฯ น่าจะดีกับสุขภาพตา

การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง (ตีพิมพ์ใน Archives of Ophthalmology, May 2010) พบว่า การกินปลา เมล็ดพืชเปลือกแข็ง (nut - นัท เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), น้ำมันมะกอก อาหารที่มีโอเมกา-3 (เช่น เมล็ดพืช ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด ฯลฯ) น่าจะช่วยลดเสี่ยงโรค AMD

...

การศึกษา อีกรายงานหนึ่ง (ตีพิมพ์ใน Ophthalmology) พบว่า คนที่กินอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ (low-glycemic diets) มีส่วนช่วยลดเสี่ยงโรค AMD เช่นกัน

อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาล-ข้าวขาว-ขนมปังขาว-อาหารทำจากแป้งขัดสีน้อย, เปลี่ยนอาหารขัดสีเป็นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ฯลฯ, ...

...

และมีผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้ - น้ำตาลในน้ำผลไม้ดูดซึมได้เร็วกว่าผลไม้ทั้งผลมาก เนื่องจากขาดเส้นใย), เมล็ดพืช, โปรตีน (ปลา ถั่ว ไข่ เนื้อ นมไขมันต่ำ เต้าหู้ โปรตีนเกษตร) พอประมาณ 

หลักหนึ่งในการกินอาหารเพื่อถนอมสายตา คือ ควรกินอาหารจากพืชให้มีสีสันหลากหลายเป็นประจำ ซึ่งดีที่สุด คือ ครบสีรุ้ง (7 สี), ดีรองลงไป คือ 5 สี (สีจราจร - แดง เหลือง เขียว, ขาว เช่น หอม กระเทียม เครื่องเทศ ฯลฯ, ดำหรือม่วง เช่น หอมแดง ถั่วแดงหลวง)

...

ข่าวร้ายนิดหน่อย คือ แครอทนั้นดีกับสุขภาพสายตา ทว่า... ไม่พบว่า เบต้าแคโรทีนในแครอทช่วยป้องกันโรค AMD

โรคตาที่ป้องกันได้สำหรับคนในซีกโลกตะวันออก เช่น ไทย ฯลฯ ที่สำคัญ คือ ต้อกระจก (ลดเสี่ยงได้ด้วยการหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า และป้องกันเบาหวาน), จอตาเสื่อมสภาพจากเบาหวาน-ความดันเลือดสูง (ป้องกันได้ด้วยการรักษาน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน - ออกแรงออกกำลังเป็นประจำ - นอนให้พอ)

...

และโรคที่ควรตรวจคัดกรองในคนที่อายุมาก (ถ้าทำได้) คือ ตรวจว่า เป็นต้อหินหรือไม่

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank [ AARP ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 23 สิงหาคม 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 387581เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท