จริงหรือไม่เด็กไทยตั้งใจเรียนน้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ เปอร์เซ็น


การศึกษา คือการพัฒนาสังคมสู่ความสันติสุข

จริงหรือไม่เด็กไทยตั้งใจเรียนน้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ เปอร์เซ็น ผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้จริง มันสะท้อนคุณภาพของการศึกษาไทยที่ไม่สามารถทำให้เด็กไทยตั้งใจเรียนได้มากกว่าที่ควรจะเป็น แต่ผมไม่ได้กล่าวโทษ ครู อาจารย์  และผู้ที่ให้การอบรมสั่งสอนเสียทั้งหมดนะครับ เพราะในความเป็นจริงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันกระตุ้นเตือนเด็กๆ รวมทั้งจ้ำจี้จ้ำไช (คำพูดที่ได้ยินตอนผมเป็นเด็ก แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ได้ยินเลย) ให้เด็กหันกลับมาเอาใจใส่เรื่องการเรียน หยุดการยั่วยุและส่งเสริมให้เด็กมุ่งไปในทางเหตุแห่งความเสื่อมทรามทั้งหลาย ซึ่งผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยกำลังกระทำอยู่ เช่น ร้านเกมส์ ร้านขายเครื่องดื่มมึนเมา (ที่แอบขายให้เด็กและเยาวชนอยู่อย่างไม่ละอาย) แหล่งยาเสพติดจำนวนมากมายที่ยังมีอยู่ (ผมเห็นมาด้วยตาตนเอง โดยเฉพาะในชุมชนแออัดทั้งหลาย) ผมก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ แจ้งไปก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แถมยังจะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงอันตรายอีกด้วย ในชุมชนใกล้ๆ ที่ผมพักอยู่ ก็ยังมีให้พบเห็นได้เป็นประจำ หน้าเศร้าใจ แทนพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครูอาจารย์ ที่ต้องไล่กวดเด็กๆ เหล่านี้กันไม่หยุดหย่อน (รู้สึกเหนื่อยแทน) ผมจึงพยายามชักจูงเด็กๆ เข้ามาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ (เท่าที่ผมมีโอกาส) แต่ก็ได้รับความร่วมมือน้อยมาก ยังถูกบางคนตำหนิอีกว่า ไม่ใช่พ่อแม่เขา ไม่ใช่ครูอาจารย์ มาทำให้เสียเวลาทำไม แต่ผมก็ไม่เคยท้อใจเลยน่ะครับ สุดท้ายจึงอยากเรียนถามท่านผู้รู้ทั้งหลาย ด้วยคำถามในตอนแรกว่า จริงหรือไม่เด็กไทยตั้งใจเรียนน้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ เปอร์เซ็น แล้วจะมีทางออกที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ไหมครับ

ด้วยความปรารถนาดีจาก

นายรักษ์ ปริกทอง

ชมรมคลังปัญญา

หมายเลขบันทึก: 386419เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2010 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Your concern is a national concern. It is a concern that parents share.

Perhaps, we should break down 'curriculum learning' into small areas and ask this question in each area. And we should the same for these 'distractions from curriculum learning'. Maybe we can characteristics that make certain areas less attractive than some others. Maybe we even see that our children learn more from what they see (adults do) around them than they learn from teachers in class.

Maybe our teachers could make this study for a '3/9' level?

อ.รักษ์ ผมไม่ค่อยแน่ใจเรื่องสถิติต่างๆ มากนัก เมืองไทยชอบอาศัยสถิติบอกเหตุบ่อยๆ ความไม่ตั้งใจเรียนนั้น อาจไม่ตั้งใจบางช่วงหรือบางวิชาก็ได้ ลักษณะนี้นับรวมในสถิติหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการเรียนการสอนของครูจะช่วยได้ครับ ถ้าเต็มที่แล้ว ผมก็ว่าไปได้ดีนะครับ

ดิฉันถูกใจกระทู้ของคุณ ขอข้อความข้างต้นไปลงโพสเด็กดีด้วยนะคะ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นได้ทราย

ขอบคุณค่ะ

อยากทราบข้อมูลhttp://www.dek-d.com/board/view.php?id=2275198

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท