สิ่งที่ลดทอนไม่ได้


เรื่องเล่าทางการแพทย์ นี้เอง จึงทำให้มิติทางด้านจิตใจ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นโดดเด่นออกมา

บรรยากาศในยามนี้ที่สวนสามพรานชุ่มฉ่ำด้วยสายฝนที่โปรยปรายอย่างไม่ขาดสาย ต้นไม้ใบหญ้าที่เรียงรายในสนามแกว่งไกวโยกย้ายกิ่งใบ รับสายฝนราวอย่างเริงร่า

ไม่นานสักเท่าไหร่เลย ที่แม่ต้อยได้เคยมานั่งร่วมประชุมกับน้องๆโรงพยาบาลในโครงการ SHA รุ่นที่๑ เพื่อฝึกฝนการเป็นนักเขียนทางด้านการแพทย์ หรือ Narrative Medicine ที่สรพ.ได้จัดเป็นพิเศษสำหรับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการSHA

ไม่นานสักเท่าไหร่เลย.. วันนี้แม่ต้อยได้มาอยู่ที่นี่อีกครั้งพร้อมกับน้องๆจากรพ.SHA รุ่นที่2 แล้ว ช่วงรวดเร็วเสียจริง..

แม่ต้อย ได้รับรู้และเห็นว่า คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้ทุ่มเทในการฝึกฝนให้ความรู้อย่างเต็มที่สำหรับผู้ที่เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ จนทำให้แม่ต้อยรู้สึกเสียดายแทนสำหรับโรงพยาบาลที่ไม่ได้ส่งคนเข้ามาอบรม เสียจริงๆ

 

การที่แม่ต้อยอยากที่จะให้มีการเรียนรู้เรื่อง Narrative Medicine ในโครงการ SHA นั้นก็เพราะว่า เรื่องราวบางเรื่องในการทำงานในระบบสุขภาพนั้น บางครั้งผลงานในด้านคุณภาพนั้นไม่อาจที่จะนำเสนอในเชิงปริมาณได้เพียงมิติเดียว แต่ทว่ายังมีคุณภาพในมิติทางด้านจิตใจ ความดี ความเสียสละ เพื่อเพื่อนมนุษย์ หรือความดีงามของคนที่มำงานในระบบคุณภาพที่ได้ปฎิบัติต่อผู้ป่วย

เรื่องเล่าทางการแพทย์ นี้เอง จึงทำให้มิติทางด้านจิตใจ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นโดดเด่นออกมา

 

หรือ เรื่องราวของ ความดี ความงาม และจิตวิญาณนั้น ไม่สามารถนำเสนอได้เพียงตัวเลขแต่อย่างเดียวได้

ที่สำคัญ เรื่องราวเหล่านี้ สามารถเยียวยาได้ทั้งผู้ให้บริการและทั้งผู้ป่วย หรือ ที่รู้จักกัน  ว่า Hearing... Healing การได้เล่า กับการได้ฟัง เป็นการเยียวยา

ราวกับปาฏิหารย์  ในช่วงเวลาอันสั้นๆ แม่ต้อยได้ค้นพบว่าน้องๆหลายๆคน มีพรสวรรค์ มีเรื่องราวที่ดีดี และสามารถถ่ายทอดเป็นภาษาได้อย่างงดงาม ชวนติดตามอย่างน่าทึ่ง

 

ทุกช่วงเวลาของการเรียนรู้ อาจารย์ โกมาตร สร้างบรรยากาศที่แสนสนุก อารมณ์ขันของอาจารย์ ทำให้น้องๆทุกคนคลายความกังวล และ มีความกล้าที่จะแสดงออกอย่างเต็มที่ ไม่มีความหวาดกลัว  หรือ เพียงแต่เป็นผู้ฟังฝ่ายเดียว ดังเช่นที่พบเห็นในหลักสูตรอื่นๆ

 

 

อาจารย์ โกมาตร ได้คุยกับแม่ต้อยก่อนที่จะเปิดการอบรมว่า

“ แม่ต้อยมาหรือเปล่า คราวนี้”

“ มา...มาสิ “  แม่ต้อยรีบตอบระหว่างนั่งรถมาที่สวนสามพราน

“ ไม่เบื่อหรือ..”

แม่ต้อยอยากจะบอกว่า ไม่ว่าจะสักกี่ครั้งที่แม่ต้อยได้ฟังอาจารย์ โกมาตรบรรยาย แม่ต้อยไม่เคยเบื่อเลย ยิ่งฟังยิ่งชอบ  เรียกว่าเป็นแฟนพันธ์แท้ ที่เทียวเชียว

และที่อยากจะบอกเพิ่มเติมด้วยอีกว่า อาจารย์ โกมาตรเป็นวิทยากร เพียงไม่กี่คนที่แม่ต้อยสามารถฟังได้อย่างซ้าๆโดยไม่มีเบื่อ

และคิดว่าน้องๆ ก็คงเช่นกัน  เพราะว่าเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนานมีต่อเนื่องไม่ขาด ตลอดระยะเวลาการเรียนรู้ร่วมกัน และที่แน่นอนกว่านั้นคือ ผลงานที่ออกมานำเสนอนั้นเฉียบขาดจริงๆ

การเขียนเรื่องเล่าทางการแพทย์นั้น มีรายละเอียดมากมาย  เพราะว่าที่แท้จริงแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะเป็นการนำเสนอในมิติด้านจิตใจ ที่ศาสตร์ด้านอื่นยังไม่สามารถดึงออกมาได้

การอ่านเรื่องเล่ามีพลังที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคิด เปลี่ยนแปลงการทำงานได้ คนที่อ่านจะมีจินตนาการได้อย่างไม่หยุดยั้ง

แต่จะทำอย่างไร? ที่จะทำให้คนอื่นเล่าเรื่องดีดีให้เราฟังได้  อันนั้นก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญ และนักเขียนเรื่องเล่าจำเป็นต้องฝึกฝนด้วย

ทักษะนั้นคือ การฟังที่ดี หรือ Deep listening นั่นเอง แม่ต้อยว่าพวกเราคงคุ้นเคยกันอยู่มากแล้ว

ความหมายสั้นๆของการฟังแบบลึกซึ้งคือ การฝึกภาวนา ในยามที่เราฟังคนอื่นๆ หรือ” ฝึกความไม่มีอารมณ์” ให้เกิดขึ้นให้ได้

 

บทแรกที่อาจารย์ โกมาตรให้อ่านเรื่องอีเมลดา และแสดงความรู้สึกนั้น แม่ต้อยว่า น้องๆเริ่มไต่ระดับจากคนปกติเป็นเทพน้อยๆละคะ ฮ่าๆๆ

 

ยิ่งเริ่มให้ฝึกการเขียนฉาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เราจะนำคนอ่านเข้าสู่โลกของเรื่องราว ซึ่งนักเขียนจะต้องบรรยายรายละเอียดของแกนั้นๆให้ครบผัสสะทั้ง๕

เปรียบเทียบคล้ายกับเป็นการเปิดฉากละคร เราต้องมีเวทีที่พร้อม เพื่อการแสดงในตอนต่อไปนั่นเอง  และเป็นกิจกรรมที่ดีดีเสียด้วยในการที่เราจะลำดับการเขียนในตอนต่อไป

ในหัวข้อนี้แม่ต้อยว่าน้องๆ สนุกสนานและผ่อนคลายมากๆ

และที่น่าทึ่ง แทบไม่น่าเชื่อคือ น้องๆหลายคนได้แจ้งเกิดในงานนี้แล้วแน่นอน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อละคะ

เชื่อแล้วละคะ ว่าน้องๆที่สุดยอดจริงๆ

แต่แม่ต้อย อยากจะบอกสิ่งที่ หลายๆคนอาจจะยังไม่มีใครรู้

ในช่วงสี่วันนี้ ทั้งอาจารย์ โกมาตร และทั้งแม่ต้อย ล้วนแล้วแต่ป่วยด้วยกันทั้งคู่

วันแรกแม่ต้อยถึงกับต้องไปนอนพักในช่วงบ่าย ส่วนคุณหมอโกมาตร นั้นสอนไปป่วยไป กลางคืนต้องทานยาอย่างเต็มที่ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน

ด้วยจิตวิญญาณของคนที่เป็น “ ผู้ให้” จึงไม่มีวี่แววของความเจ็บป่วยแม่แต่น้อย ยามที่ยืนในห้องเรียนกับพวกน้องๆ

ทุกครั้งที่หยุดพัก แม่ต้อยต้องเข้าไปถามตลอดเวลาว่า

“ ไหวไหมคะ? ...พี่ช่วยอะไรไหมคะ..

แม้ว่าใบหน้าจะซีดเซียว แต่แววตายังเป็นประกายระยิบระยับ

“ ไม่เป็นไรครับ.. ทานยามาแล้ว “

แม่ต้อยต้องขอขอบพระคุณในน้ำใจที่งดงามของคุณหมอโกมาตรมาในโอกาสนี้อย่างที่สุด

ขอขอบคุณจริงๆคะ

สวัสดีคะ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 386410เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2010 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับแม่ต้อย...

มาชื่นชมยินดีครับ

ทำงานหนัก รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

แหะ แหะ วันหลังมีกิจกรรมทำนองนี้ขอโควต้าไปนั่งเรียนด้วยคนนะครับแม่ต้อย

...

มาแจ้งข่าวแม่ต้อยครับว่าที่เชียงใหม่ผมไปมิได้แล้ว

เพราะภรรยามีคำสั่งให้เฝ้าบ้านเลี้ยงลูกครับ

แบบว่าต้องเชื่อฟังเขาหน่อยหนะครับแม่ต้อย...

สวัสดีครับ  คนที่เป็นคนแบ่งปันนี่ใจสู้จริง ๆครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

P
หนานเกียรติ
เมื่อ พฤ. 19 ส.ค. 2553
แม่ต้อยกำลังจะทำหนังสือเชิญพอดีเลยนะคะ
ที่จริงใกล้ๆกันนะคะ  พาน้องไปด้วยดีไหมคะ
30
นาย ธนา นนทพุทธ
เมื่อ พฤ. 19 ส.ค. 2553 @ 22:18
ขอบคุณมากคะ ยินดีมากๆคะ

วันที่ ๒๗ ไม่มีคนอยู่บ้านเลยครับ

ต้องดูแลทั้งเด็ก (เฌวา) และคนแก่ (ตาเฌวา)

โทษฐานที่ออกจากบ้านบ่อยที่สุด ทั้งบ้านเลยมีมติให้ผมอยู่หนะครับ

อยากไปมาก ๆ ครับ แต่ทุกคนที่บ้านมีธุระที่หลบไม่ได้ผมเลยต้องเสียสละครับ

P
หนานเกียรติ
เมื่อ พฤ. 19 ส.ค. 2553
แม่ต้อยก็คงบอกว่าเสียดาย
เอาไว้ที่กทม.นะคะ ประมาณเดือนธันวาคมคะ
มาเล่าเรื่องกันดีกว่านะคะ
30
นาย ธนา นนทพุทธ
เมื่อ พฤ. 19 ส.ค. 2553 @ 22:18
ขอบคุณมากคะ ยินดีมากๆคะ

ได้กลับไปนั่งอ่าน Imelda อีกครั้ง ทั้งต้นฉบับและแปล

วันนั้น (7 มค.) ไปประชุมที่ศิริราช ได้ฟัง​ "เรื่องเล่า" Imelda เป็นครั้งแรกจากพี่โกมาตร ตอน break ออกมา เข้าไปหาก็เลยได้หนังสือต้นฉบับมา กลับบ้านอดรนทนมิได้ต้องนั่งแปล ส่วนหนึ่งก็คงได้แรงมาจากตอนฟัง อีกส่วนหนึ่งก็คือความช่างพรรณนาของริชาร์ด เซลเซอร์

เมื่อคืน chat คนโน้นคนนี้ ตอนเช้าเกิดแรงบันดาลใจ เพราะไปนั่งฟังพี่ฟ่ง (พี่กานดาวศรี ตุลาธรรมกิต รังสีรักษา ม.อ.) เล่าเรื่องราว palliative care ให้ชาวชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ฟัง ผมเลยเขียนออกมาได้เรื่องหนึ่ง "เรื่องเล่า... ทำไมต้องเล่า" ครับ

P
Phoenix
เมื่อ ศ. 20 ส.ค. 2553 @ 00:37
สวัสดีคะ
อาจารย์ นอนดึกจังคะ  ได้เข้าไปอ่านเรื่องเล่าของอาจารย์ แล้ว ยิ่งมีความละเอียด และเห็นคุณค่าของการเล่าเรื่องมากขึ้น
ในโครงการ SHA แม่ต้อย พยายามให้ทักษะเรื่องนี้เป็นองค์ ประกอบที่สำคัญ ด้วยคะ
ขอบพระคุณคะ ในความรู้อันมีค่าอย่างนี้
หยดน้ำ...พยาบาลไร้หมวก

สวัสดีแม่ต้อย

ประทับใจมากค่ะ

ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ

อบรมสนุกมากเลยค่ะ

ได้เข้าใจคำว่า"คุณภาพ"มากขึ้น HA+++SHA

หยดน้ำ...พยาบาลไร้หมวก

เมื่อ ศ. 20 ส.ค. 2553

สวัสดีคะ

แม่ต้อยเพิ่งกลับถึงบ้านคะ ยังประทับใจในบรรยากาศมากมาย โดยเพาะประทับใจน้องหยดน้ามากๆคะ

ระลึกถึงเสมอคะ

สวัสดีครับแม่ต้อย อ่านเรื่องเล่าและอ่านภาพประกอบ เห้ฯสุขในงานการเรียนรู้ แต่ทำไมบางคนพูดถึง ฮา และชา ถึงได้ทุกข์ขนาด

P
วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
เมื่อ ศ. 20 ส.ค. 2553 @ 22:18
สวัสดีคะ
อ้าว..ไงเป็นงั้นละคะ สงสัยที่ปากพะยุนมั้ง อิอิ
SHA ที่เข้าใจจริงๆไม่น่าทุกข์มากมาย น่า ( แอบกระซิบ ดังๆสิคะ ว่าใครน้าที่ยังทุกข์)

สมัครสมาชิกเข้ามาดูบล็อคนี้โดยเฉพาะ

ขอบคุณแม่ต้อย อ.โกมาตร และพี่หยดน้ำติ๋งๆ มากสำหรับ 3 วันที่ผ่านมาค่ะ

ประทับใจจริงๆค่ะเเม่ต้อย กุ้งโชคดีมากที่ได้เข้า WS นี้ ทุกอย่างลงตัว ถ้าเเม่ต้อยจัดเร็วกว่านี้กุ้งก็ไม่มีโอกาส เป็นบุญจริงๆค่ะ

กำลังจะเรียบเรียงบันทึก ลง blog มีหลายสิ่งมากมายที่ได้เรียนรู้เเละความรู้สึกที่อยากจะบอก รออ่านในบันทึกนะคะ เเม่ต้อย เเต่บันทึกเเม่ต้อยบรรยายได้เห็นภาพ มากค่ะ คาดว่าตอนนี้เเม่ต้อยก็เข้าขั้นเทพนักเขียนเเล้ว เห็นมั๊ยคะ อยู่ใกล้เทพนานๆ บ่อยๆ อาจารย์โกมาตร กุ้งนับถือจริงๆค่ะ เนี่ย ! เกาะติดมาตั้งเเต่สร้างโลกใบใหม่ .....สร้างเเรงบันดาลใจจากเรื่องเล่า ........... สถานที่สุดยอด รูปเเบบการอบรมต้องอย่างงี้ค่ะ เเม่ต้อย เเต่กลุ่มนี้มีส่วนร่วมเยอะจริงๆ ต่างมุมมองทำให้เราได้เรียนรู้หลากหลาย แฮ่ ๆ เเต่อยากจะบอกเเม่ต้อยว่ากุ้งเกือบตกเครื่องค่ะ เฉียดฉิวเเค่ไม่กี่นาที เครื่องออก 18.15 ไปถึงสนามบินก็วิ่งเลยค่ะ ครั้งเเรกที่วิ่งขึ้นเครื่องเเบบนี้

รถติดมากขาออกมา ตอนเเรกก็ตายใจว่าสองชั่วโมงทันอยู่เเล้ว ขอบพระคุณเเม่ต้อยค่ะที่ทำให้เกิดเรื่องดีดีเเบบนี้

วันนี้ต้องรีบเกลา เรื่องเล่าเเล้วจะรีบส่งนะคะ กลัวไม่ได้ประกาศนียบัตร เอ๊ย ! กลัวมีจดหมายถึง ผอ. อิอิ

30
หนูอ้น
เมื่อ ศ. 20 ส.ค. 2553 @ 23:40
สวัสดีคะ หนูอ้น
เพียงแค่ชื่อแม่ต้อยก็ใจอ่อน เสียแล้ว น่ารักมากคะ
ใส่รูปด้วยสิคะ คิดถึงคะ
ขอบคุณมากๆคะที่ว่า เพื่อบล้อกนี้โดยเฉพาะ  ตัวลอยๆๆ เลยค่า
P
กุ้งนาง สุธีรา
เมื่อ ส. 21 ส.ค. 2553
สวัสดีคะ น้องกุ้งนาง
ขอบคุณสำหรับของฝากที่น่ารักนะคะ  แม่ต้อยจะพาไปทุกแห่งเลยคะอิอิ
การประชุมสนุกมากคะ แม่ต้อยว่าน้องๆเก่งเหลือเกิน ภูมิใจมากๆคะ
30
หนูอ้น
เมื่อ ศ. 20 ส.ค. 2553 @ 23:40
สวัสดีคะ หนูอ้น
เพียงแค่ชื่อแม่ต้อยก็ใจอ่อน เสียแล้ว น่ารักมากคะ
ใส่รูปด้วยสิคะ คิดถึงคะ
ขอบคุณมากๆคะที่ว่า เพื่อบล้อกนี้โดยเฉพาะ  ตัวลอยๆๆ เลยค่า

สวัสดี ครับ แม่ต้อย

ผมกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย ขับรถกลับพิษณุโลกคนเดียว ฝนตกหนักมากเมื่อวาน รถก็ติด ระหว่างทางมีเวลานั่งคิดเพลิน ๆ ว่า มาอบรมครั้งนี้ได้อะไรบ้าง อะไรจึงดลใจให้ผมต้องมา มันคงต้องมีคำตอบในท้ายที่สุด คำตอบ ก็คือ ผมได้ดี หมายถึง อาจารย์ดี วิชาที่ดี เพื่อนที่ดี พี่ที่ดี มิตรภาพดีๆ ได้ฟังเรื่องที่ดีดี บรรยากาศดี ค้นพบว่าเราก็มีดี เป็นช่วงเวลาที่ดี และรู้ว่าเราต้องทำอะไรดีดี จึงจะมีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นได้ในโลกใบนี้

เพราะเราคือหนึ่งในผู้สร้างเรื่องราวของโลกใบนี้ เหมือนดังคำที่อาจารย์ท่านว่าไว้

ขอบคุณแม่ต้อยที่ให้ความรักและเมตตาที่ดี ตลอดการอบรม และทีมงานสรพ.ทุกคนที่เป็นกันเอง

สุดท้าย ขอให้แม่ต้อยและอาจารย์ สุขภาพแข็งแรงนะครับ แล้วผมจะส่งเรื่องที่เขียนให้เร็วๆนี้ และพบกันอีกครั้งที่เชียงใหม่นะครับ

30
สันทัศน์ [IP: 203.156.68.88]
สวัสดีคะ น้องสันทัศน์คะ
แม่ต้อยอยากให้การแลกเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในความทรงจำ และระลึกว่าเรามีเพื่อนที่ร่วมเส้นทางในการทำความดีมากมาย
น้องสันทัศน์ เป็นเพชรเม้ดงามที่แม่ต้อยได้ค้นพบเมื่อสองปีที่ผ่านมา
เจอกันที่เชียงใหม่นะคะ
และที่อุดร เราจะมานั่งคุยกันแบบสบายๆ เรื่องยา SHA นะคะ
ณี ตากใบ(ภรรยาตัวจริง)

สวัดดีค่ะ แม่ต้อย

ขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ อนุญาตให้เข้าฟัง การอบรมครั้งนี้ ไม่ทราบว่าจะมีโอกาสดีๆแบบนี้อีกหรือไม่  สุดคุ้มจริง ถึงแม้ไม่ได้เที่ยวเลยก็ตาม  กลับถึงบ้านด้วยความปลอดภัยท่ามกลางสายฝน  แม่ต้อยหายดีหรือยังค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

อีกท่านที่จะลืมไม่ได้คือ ปรามาจารย์ขั้นเทพของเรา สุดยอดจริงๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท