บอกเล่าเรื่องปาล์มน้ำมัน


มาตรฐานการจัดการรองรับผลผลิต

             ในขณะนี้จะเห็นว่าพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้ขยายเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นแหล่งผลิตเดิมหรือพื้นที่ใหม่   อาจสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐตามโครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อทดแทนพลังงานหรือโครงการส่งเสริมของจังหวัด  เพื่อต้องการขยายพื้นที่ให้ได้ตามจำนวนพื้นที่ที่กำหนด   จนมีคำถามตามมาว่าบางพื้นที่หรือบางจังหวัดเหมาะสมหรือไม่    ขณะที่เราถกเถียงกันอยู่เกษตรกรเดินหน้าปลูกกันไปไม่รู้ไปกี่ร้อยกี่พันไร่แล้ว    เมื่อต้นปี2549  การปลูกปาล์มน้ำมันเริ่มชะลอตัวลงการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับต้นกล้าปาล์มน้ำมันเริ่มซบเซา   ราคายางพาราก็แผ่รัศมีมาบดบังมาประจวบกับราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ  แว่วมาว่าสาเหตุเกิดจากผลผลิตปาล์มน้ำมันออกล้นตลาดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทำให้เราฐานะนักส่งเสริมเริ่มตระหนักว่า  นับจากนี้หากไม่มีมาตรฐานการจัดการรองรับผลผลิตที่ชัดเจนปัญหาผลผลิตล้นตลาดก็จะตามมาอีก  ผมได้มีโอกาสพูดคุยพบปะเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยส่วนใหญ่ จะมาตัดพ้อว่า  สวนปาล์มน้ำมันของเขาลงทุนดูแลบำรุงรักษาอย่างดี เพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพและทยอยออกสม่ำเสมอ  เมื่อมาประสบภาวะราคาตกต่ำก็รู้สึกท้อเพราะต้นทุนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div align="left" style="text-align: center">                 การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรที่ให้ได้คุณภาพและมาตรฐานเป็นการผลิตให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐไม่ใช่หรือ  ถ้าหากเป็นไปได้ในอนาคตน่าจะมีการดูแลในเรื่องการซื้อขาย ผลผลิตแบบคัดเกรดจากเปอร์เซนต์น้ำมันเป็นไปด้วยความยุติธรรมและไม่เป็นข้ออ้างของโรงงานเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มได้มีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ยั่งยืนต่อไป</div> <div align="left" style="text-align: center"></div> <div align="left" style="text-align: center"></div> <div align="left" style="text-align: center"><div style="text-align: center"></div></div></p><div style="text-align: center"></div>

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรชุมพร#km
หมายเลขบันทึก: 38588เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พูดกันตรง ๆ ผมไม่เคยเชื่อมั่นในการจัดการด้าน Demand Side ของรัฐบาลเลย เป็นข้อสรุปส่วนตัวด้วยซ้ำว่า อะไรที่ภาครัฐว่าดี ส่งเสริมให้ปลูกกันมาก ๆ หันกลับไปทำทางด้านตรงกันข้าม แบบมีทิศทาง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นอย่างดี น่าจะเป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า
  • ดังนั้น เมื่อเห็นจังหวัด โดยการชี้นำของรัฐบาลระดมกำลังกันส่งเสริมการปลูกปาล์มมาก ๆ ก็รู้สึกหวั่นอยู่ในใจลึก ๆ ว่า มันจะดีจริงหรือ? ดีถึงระดับที่แข่งขันกับมาเลเซียได้หรือเปล่า?
  • ในฐานะของตัวแทนที่มาจากหอการค้าฯ เวลาใครถามเรื่องนี้ จะตอบแบบเป็นกลางว่า ผมเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขยายตัวเติบโตแน่ ๆ เพราะมีผู้เล่นเยอะขึ้น Supply Side โดยกลุ่มเกษตรกรปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นมาก ลานปาล์มก็เกิดขึ้นมาก ฯลฯ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง เพราะผลผลิตมีมาก งานนี้โรงงานก็ต้องยิ้ม เพราะมีการแข่งขันกันสูง ราคาก็จะมีแนวโน้มต่ำลง
  • จะรอให้เกิดการเติบโตทางด้าน Demand Side เอาไปทำไบโอดีเซล อีกเมื่อไหร่ถึงจะเกิดและมีผลต่อตลาดได้จริง รอให้ชัดเจนกว่านี้อีกสักนิดน่าจะปลอดภัยกว่า ถ้าทิศทางมันไปได้จริง ๆ รับรองว่าไม่มีวันสายเกินไป
  • ที่สำคัญคือเกษตรกรจะได้ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงกันมากขนาดนี้
  • คงจะต้องช่วยกันหาทางออกที่เหมาะสมกันต่อไป.

 

  • เห็นด้วยทุกประเด็น และคิดว่าน่าจะมีแนวทางที่ดีในการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน
  • เป็นโจทย์ในงานส่งเสริมการเกษตรมากที่เดียวในเรื่องนี้ ในฐานะที่มีส่วนในการแสดงความเห็นเมื่อมีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดชุมพร ปี 47 ได้มีการกำหนดแนวทางพัฒนาปาล์มน้ำมันไว้ตลอดสายตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และได้มีการขับเคลื่อนมาตลอด
  • ช่วงเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน การตัดสินใจของเกษตรกรเริ่มเปลี่ยน ขาดความมั่นใจ ประกอบกับนโยบายของส่วนกลางในการขับเคลื่อนไบโอดีเซลช้ามาก
  • ด้วยภารกิจของพวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรก็ต้องชี้แนะทางเลือกที่ดีให้กับเกษตรกร หากพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรเป็นที่นาร้าง พืชที่เหมาะสมก็คงจะเป็นปาล์มน้ำมัน  สำหรับจังหวัดชุมพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท