มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น


ขี้แดดนาเกลือจากของเหลือทิ้งกลายเป็นของมีค่าทันทีสร้างรายได้สู่ชาวนาเกลือ

R&D การเรียนนอกสถานที่ มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม  29-30 ก.ค 2553

ช่วงเช้า 29 กค. คณะนิสิตและอาจารย์เดินทางไปจ.สมุทรสงคราม  นัดพบท่านเกษตร จ.สมุทรสงคราม

ท่าน สรณพงษ์ บัวโรย เข้าสู่โรงเรียนนาเกลือ แห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่สอนการทำนาเกลือโดย “พี่โต”

 สอนจนหมดเปลือกถึงวิธีการทำนาเกลือพร้อมทั้งผลิตภัณต์ต่างๆที่ได้จากนาเกลือ เกลือชนิดต่างๆ การแปรรูปแลการนำไปใช้ การนำไปจำหน่าย แต่ที่เป็นพระเอกในวันนี้คือ ขี้แดดนาเกลือจากของเสียที่สร้างปัญหาให้แก่ชาวนาเกลือ ต้องจ้างคน ขนไปทิ้งเสียแรงงานเสียเวลา เสียเงิน เมื่อมีความคิดต่อยอดนำขี้แดดนาเกลือไปทำปุ๋ย ใช้ในการเพาะปลูก เพิ่มสารอาหารแก่พืช พบคุณประโยชน์ที่ดีคือ ผลไม้หวานหอม เก็บไว้ได้นาน  พืชผักสวนครัวก็ออกดอกดี ใบสมบูรณ์  ขี้แดดนาเกลือจากของเหลือทิ้งกลายเป็นของมีค่าทันทีสร้างรายได้สู่ชาวนาเกลือ จนไม่มีของขายแถมมีการทำปลอมแปลงและปลอมปนขึ้นอีก  อืม! ของเขาดีจริงๆ

   การเปิดโรงเรียนนาเกลือเป็นแนวทางหนึ่งพี่พัฒนาความรู้และถ่ายทอดออกมา เพื่อให้เกิดวิธีการใหม่ๆในการทำนาเกลือ สร้างผลผลิตต่อปีต่อไร่ให้สูงขึ้น ทางโรงเรียนยินดีที่จะสอนวิธีการต่างๆให้(เอ! เหมือนพี่เดชา มูลนิธิข้าวขวัญเลย)แต่ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของนาเกลือยินดีที่จะยอยรับและเรียนรู้ นำกลับไปใช้หรือไม่   หรือเจ้าของนาเกลือมีวีธีการใหม่ๆในการทำนาเกลือให้ผลผลิตต่อปีต่อไร่ให้สูงขึ้น แต่ยังไม่ได้รวบรวมและเขียนออกมาเป็นวิธีการขั้นตอน ที่จะเผยแพร่ให้กับประชาชน อันนี้อาจเป็นไปได้

       ความคิดที่นำมาต่อยอดขยายออกไปคือการที่จะสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเช่น แป้งที่ได้นั้น นำมาเติมสี กลิ่นสาร บางตัวเพื่อให้ติดนานขึ้น กลายเป็นแป้งรองพื้นในการแต่งหน้า  ครีมกันแดด แป้งฝุ่นโรยตัว   ยังทำได้ต่อไปครับ

        ช่วงบ่ายของวันไปดูการปลูกส้มโอปลอดสารเคมีที่สวนของ อ.สมทรง(ผู้ชายนะครับ)โดยมี อ.สรณพงษ์ช่วยคิดช่วยดูแล สิ่งเเรกที่ประทับใจเลยคือ ชิมส้มโอแล้ว อร่อยมาก หวาน กรอบเนื้อแห้ง กลีบใหญ่ ไม่มีเมล็ด  ยิ่งได้รับฟังเรื่องราวแนวคิดเช่น การกำจัดศัตรูพืชด้วยเทคนิคธรรมชาติ ด้วย แมงมุม แมลงปอ ตัวห้ำ ตัวเบียน มดส้ม  เทคนิคการตัดหญ้า การปลูกต้นทองหลางช่วยพรวนดิน การใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อย   ทำให้ผมทึ่งมากครับ  อ.สมทรงเป็นคนโอบอ้อมอารีย์คิดที่จะคอยช่วยเหลือเกษตรกร แก้ไขปัญหาต่างๆ รวบรวมสมาชิก เพื่อดำเนินงาน ดังนั้น จึงเกิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้นเรียกว่าครบเครื่องพอสมควรมีการพาออกชมสวน วิถีชาวบ้านในชุมชนด้วยเรียกว่า  2วัน1 คืนไม่พอ

แถมต่ออีกหน่อยด้วยเตาเผาถ่าน ประโยชน์5 ประการ ผลิตเองใช้เองความคิดเยี่ยมยอด อึ้งเลยคิดได้อย่างไรเนี่ย

คิดต่อยอดขยายให้ใหญ่ เพิ่มจำนวนเตา นำ Gasifier มาใช้ต่อยอดอีก พัฒนาหีบห่อ บรรจุภัณฑ์ ช่องทางจัดจำหน่าย

นำรายได้สู่ชุมชนอีกมากครับ

         เมื่อได้พบปะกับผู้คนมากขึ้นผมสังเกตได้ว่าท่านทำอะไรมีความสุขมากขึ้น หรือ ทำแล้วมีความสุข บอกได้เลยครับ

การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ครับ ให้วิทยาทาน ท่านจะเป็นปราชญ์(ลองหาหนังสือของ ดังตฤน อ่านดูนะครับ)

ผู้ประความสำเร็จมักจะเป็นผู้ใฝ่รู้พัฒนาความคิดและลงมือทำและ แก้ไขปัญหาได้ ครับ

         เช้า 30/7  เดินทางไปดูเรื่องการเผาถ่านไม้โกงกางของพี่ ธนู อ.ยี่สาร  ถ่ายทอดแบบหมดเปลือกเหมือนกันครับ

ยกเว้นเรื่องเตาเผาถ่าน นับวันผู้รู้เหลือน้อยลงๆ ไม่มีผู้สืบทอดวิชาแล้ว การทำอาชีพนี้จำกัดอยู่ในอำเอนี้ที่เดียวที่ยังการอนุญาตให้ตัดไม้และปลูกไม้ โกงกางในการเผาถ่านได้ โดยส่วนมากจะส่งออกมากกว่าใช้ในไทย แต่ที่น่าสนใจคือการนำเศษถ่านมาอัดแท่งขาย เป็นแนวความคิดต่อยอด โดยต้องปรับปรุงเครื่องจักร ใหม่ หีบห่อ และช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ 

การแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการนำ Gasifier มาใช้จากพี่พิชัยเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะนำมาใช้เพื่อลด ฟืนและลดโลกร้อนได้

หลังจากได้ดูโรงเรือนต่างๆแล้ว ต่อยอดด้วยการ จัดการไผ่ โดยเลือกชนิด พันธ์มาปลูกใช้งานนับเป็นงานที่สร้างอาชีพได้เลยทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 385287เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพิ่งทราบว่าขี้แดดมีประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณบันทึกนี้นะคะ

อยู่ใกล้อาจได้แวะไปเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท