การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้


การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมทั้งการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิจัยของครู และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

เรื่องการเขียนหัวข้อการวิจัย

คำถาม

 การวิจัยในชั้นเรียนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครูอย่างไร 

 ถ้าท่านจะทำการวิจัยในชั้นเรียนท่านจะทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่องอะไร

 มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร

 และมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

ถาม

การวิจัยในชั้นเรียนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครูอย่างไร 

ตอบ

การวิจัยในชั้นเรียนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู คือ

การจัดการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษา  ครูไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการสอน (Teaching)  เท่านั้น  เพราะจากพระราชบัญญัติการศึกษา  2542  ที่เน้นการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่กำหนดให้เป็นภารกิจของครูผู้สอน  3  ประการคือ

     ประการแรก  จัดกระบวนการเรียนการสอน  และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  (มาตรา 24 (5))  มุ่งให้ผู้เรียนทำวิจัยเพื่อใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  ผู้เรียนสามารถวิจัยในเรื่องที่สนใจหรือต้องการหาความรู้หรือต้องการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ได้  ซึ่งกระบวนการวิจัยจะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด  ฝึกการวางแผน  ฝึกการดำเนินงานและฝึกการหาเหตุผลในการตอบปัญหา  โดยผสมผสานองค์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง

     ประการที่  2  ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา 30)  มุ่งให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษา  วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้  วางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้  เก็บรวบรวมข้อมูล  และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ให้ผู้สอนสามารถทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่นำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้  ด้วยการศึกษา  วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้  ออกแบบแลพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  ทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้  เก็บรวบรวมข้อมูล  และวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรมนั้น  ๆ  และให้ผู้สอนสามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ด้วยการใช้เทคนิค  วิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการวิเคราะห์ปัญหา  สร้างแนวทางเลือกในการแก้ปัญหา  ดำเนินการตามแนวทางที่เลือก  และสรุปผลการแก้ไขปัญหาอันเป็นการฝึกทักษะ  ฝึกกระบวนการคิด  ฝึกการจัดการเผชิญสภาพการณ์จริง  และปรับประยุกต์มวลประสบการณ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา

    ประการที่  3  นำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน (มาตราที่  30)  เป็นการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  มุ่งให้ผู้บริหารทำการวิจัยและนำผลการวิจัยมาประกอบการตัดสินใจ  รวมทั้งจัดทำนโยบายและวางแผนบริหารจัดการศึกษาให้เป็นองค์กรที่นำไปสู่คุณภาพการจัดการศึกษา  และเป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ

++++++++

ถาม

ถ้าท่านจะทำการวิจัยในชั้นเรียนท่านจะทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่องอะไร

ตอบ

ถ้าจะทำการวิจัยในชั้นเรียนจะทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

 

+++++++

ถาม

มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร

ตอบ

เหตุผลความจำเป็นจากการสังเกตการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6เรื่องการอ่านพบว่ายังมีนักเรียนไม่สามารถอ่านคำ และสะกดตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ได้  เนื่องจากผู้เรียนขาดทักษะการอ่าน การประสมคำ  นักเรียนมีพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับชั้นอนุบาลแตกต่างกันจึงไม่ได้ฝึกพื้นฐานการอ่านเท่าที่ควร  ดังนั้นนักเรียนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข            

++++++

ถาม

และมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

ตอบ

วัตถุประสงค์

                1. .เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่นำมาใช้ฝึกทักษะการการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6  โรงเรียนบ้านนาลับแลง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

                2..เพื่อพัฒนาทักษะการการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านนาลับแลง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

.............................

 

 ขอบคุณ GURU

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 385282เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จุดเน้นสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนคือ การแก้ปัญหาในชั้นเรียน ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หรือเป็นการวิจัยประกอบแผนการจัดการเรียนรู้

เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที และให้ถือว่าการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท