เราต้องการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว !!!


อันที่จริงกระแสความตกต่ำของการเรียนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวไม่ได้มีเฉพาะในประเทศเราหรอกครับ ขนาดในประเทศต้นแบบ อย่าง แคนาดา ยังมีปัญหาเลยครับ ลองอ่านดู

       ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศของเราควรจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมากขึ้น ให้มีสัดส่วนต่อแพทย์เฉพาะทางอื่นๆควรเป็น ๕๐:๕๐ เหมือนประเทศ แคนาดา อังกฤษ หรือแถบยุโรป และยิ่งกว่านั้น ผมยังเห็นด้วยอีกว่าการผลิตแพทย์กลุ่มนี้ควรมี ชุมชนเป็นฐาน ไม่ใช่มหาวิทยาลัยอย่างเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นโครงการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดยมี โรงพยาบาลชุมชนเป็นสถาบันสมทบ(หรือสถาบันร่วมผลิต)ผมจึงเห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามมีบางประเด็นที่ผมมีความเห็นต่างในโครงการนี้

        ประการแรก คุณสมบัติ ผู้สมัครเรียน ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดไว้เฉพาะแพทย์ที่ยังไม่มี วุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตร ใดๆมาก่อน การกำหนดเช่นนี้เป็นการปิดกั้นแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานที่มีความสนใจอยากเข้ามาสู่วิชาชีพทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งหากสำรวจดีๆจะพบว่ามีไม่น้อย และแพทย์กลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่มีวุฒิภาวะหลายด้านดีกว่าน้องๆแพทย์จบใหม่บางคนทำเวชปฏิบัติแบบเวชศาสตร์ครอบครัวแล้วด้วยซ้ำเพียงแต่ขาดการยอมรับ(ทั้งทางสังคมและเพื่อนร่วมวิชาชีพ) การมุ่งเน้นต้องการได้เฉพาะแพทย์จบใหม่ซึ่งวุฒิภาวะยังไม่มีมากพอ อีกทั้งยังมีความฝัน ความหวังตามเพื่อนตามสังคมยากที่จะหันมาสนใจงานเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างจริงจังครับ และการที่เปิดโอกาสให้แพทย์ที่มี อว.หรือ วว. สาขาอื่นเรียนได้จะเป็นโอกาสได้พัฒนาวิชาการและความมั่นใจมากขึ้น ประเด็นที่จะทำให้สูญเสียแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น อย่าได้กังวลเลยครับเพราะดีกว่าเสียเขาไปทำอาชีพอื่นนอกเหนือจากการเป็นแพทย์ หรือเกาะอยู่ในระบบโดยไม่ได้ปฏิบัติงานสาขาที่ตนเองเรียนมาอย่างเต็มที่ ลองนึกดูครับเรามีแพทย์ทั้งประเทศเกือบๆ ๔๐,๐๐๐ คน แต่อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือผิดสาขา ควรจะดึงกลับมา

          ประการที่สอง ในทางนโยบายต้องกำหนดให้ชัดเจนถึงการเรียนการสอนแบบนี้ว่าเป็นงานแยกพิเศษแพทย์กลุ่มนี้ต้องได้รับการคุ้มครองเรื่องการใช้งาน รูปแบบต้องให้ ระดับ นายแพทย์ สสจ. หรือผู้ตรวจราชการรับทราบ จะไม่มีการปรับเกลี่ยกับจำนวนแพทย์ปกติ ที่ต้องย้ำเช่นนี้เพราะในปัจจุบันแพทย์ในชนบทขาดแคลน แนวคิดของผู้บริหารทุกระดับปัจจุบันต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องระดมกำลังมาช่วยกันตรวจ OPD ให้เสร็จก่อน ใครไม่ทำจะถูกกล่าวหาว่ากินแรงและแล้งน้ำใจ

          อันที่จริงกระแสความตกต่ำของการเรียนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวไม่ได้มีเฉพาะในประเทศเราหรอกครับ ขนาดในประเทศต้นแบบ อย่าง แคนาดา ยังมีปัญหาเลยครับ ลองอ่านดู

 

"    The reality is that, as the volume of medical information increased and technology flourished, the prestige spotlight in medical schools focused on subspecialists and their research. Academic family physicians were left with the less glamorous chores of teaching interview and basic clinical skills. Teaching these clinical skills affords little opportunity to describe any of the disciplines of family medicine to students. Since family medicine is mostly community based, there is little visibility of family doctors in teaching hospitals, where the "real action" is for medical students. The result is that the unique methods used by family doctors to approach diagnosis are not well understood, both by students and by their subspecialist colleagues. The scientific basis for watchful waiting — a strategy to separate common nonspecific complaints from significant disease — is rarely discussed in medical schools.2 Thus most medical students buy into the myth that family medicine is an amalgam of all specialties and is impossible to practise competently given the overwhelming information load. These misunderstandings lead to negative comments about family physicians and their style of work.3 Although academic family medicine has led much of the educational innovation in medical schools, research has not evolved as rapidly in family medicine as it has in most specialties. University promotion policies that favour research over teaching leave large departments of family medicine with few full professors or associate professors.

Students hear complaints from family physicians themselves about physician shortages, excessive workloads, increased difficulty "keeping up" and declining financial rewards compared with those of specialists.4 Governments talk about reforming the primary care system and produce schemes to address the maldistribution of family doctors by forcing young family doctors into remote, rural or "underserviced" practice locations. Unfortunately, these are not myths, they are realities. "

 

The decline of family medicine as a career choice

Walter W. Rosser

 

 

วางจาก <http://www.cmaj.ca/cgi/content/full/166/11/1419>

 

 

หมายเลขบันทึก: 385092เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเสริมประเด็นความพร้อมผู้สอนด้วยครับ ในหลาย center อาจไม่พร้อมสอนเนื่องจากประเทศเราเอง family medicine academic ยังไม่เข้มแข็ง หากไม่ทำ learninig network ที่ดีผมว่าคนเรียนอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ อาจเป็นปัญหาที่แก้ยากระยะยาว ผมยังคงมองวิธีการไปตามความพร้อมแต่ยั่งยืน

หมุนเกลียวการเรียนรู้ไปพร้อมกันได้มั๊ยครับ..อาจารย์โรจน์

ขอแสดงความเห็นคะ

ประการแรก : เริ่มมีแนวคิดที่สอดคล้องกับที่คุณหมอสีอิฐกล่าวมา คือ "เราต้องเสริมกำลังให้คนที่มีใจ ไม่ใช่พยายามสร้างคนมีใจ" เรื่องเป้าหมาย ทัศนคติ ความต้องการของคนนั้น multifactorial เกินกว่าที่ Intervention อันใดอันหนึ่งจะเปลี่ยนคนได้

แต่มีความเห็นเพิ่มจากคุณหมอสีอิฐอีกเล็กน้อย ว่า อะไรคือสาเหตุของการเรียนสาขาหนื่ง แล้วทำงานอีกแบบหนึ่ง

ที่เรียกว่าผิดที่ผิดทาง ?

เพราะ trainee ได้รับข้อมูลก่อนเข้าอบรมไม่พอเพียงหรือไม่? ถึง career path, job market หากเป็นเพราะเหตุนี้ การแนะแนวน้องๆ แพทย์ Extern จะช่วยได้หรือไม่

น่าคิดระหว่าง "เพิ่มจำนวน" กับเพิ่ม "คุณภาพ" อันไหนน่าจะดีกว่ากัน

โดยส่วนตัวแล้ว มี role model แบบ อาจารย์บุญส่ง อาจารย์โรจน์ และหมอสีอิฐ ดีกว่า มี rip-off model เยอะๆ คะ

เราจะร่วมกัน ร่าง และผลักดัน Career Path ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกันอย่างไรดีครับ เริ่มเขียนในมุมมองของพวกเราก่อนก็ได้ แล้วค่อยหาแนวร่วมและผลักดันสู่วงกว้างต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท