แม่กับบริการปฐมภูมิ


หัวใจของปฐมภูมิ(Primary care) ประการหนึ่งก็คือ การดูแลที่เบ็ดเสร็จเป็นองค์รวมในจุดเดียว(Comprehensive Care or Holistic care)

 

       แม่ผมมีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องพบแพทย์ประจำทุกเดือน ตอนเริ่มแรกก็ไปใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประจำจังหวัด จากที่พบเพียงแพทย์จบใหม่ก็พัฒนาขึ้นเป็นแพทย์เฉพาะทาง หลังจากที่โรงพยาบาลมีนโยบายจัดตั้งศูนย์แพทย์ แม่ผมก็เปลี่ยนไปรับบริการที่ศูนย์แพทย์โดยตรวจกับแพทย์ซึ่งหมุนเวียนออกมาให้บริการ แรกๆดูเหมือนจะดี แต่ต่อมาแม่ก็ขอกลับเข้าไปรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเช่นเดิม ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า แม่ไม่ต้องรอนานที่ศูนย์แพทย์ก็ตามแต่แม่ต้องได้ไปรับยาอีกบางตัวที่โรงพยาบาลโดยมีเหตุผลว่าศูนย์แพทย์ไม่มี

บทเรียนจากแม่พบว่าถ้าหาก บริการปฐมภูมิไม่สามารถที่จะดูแลคนไข้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ อุปกรณ์ที่พร้อม และยาเวชภัณฑ์ที่ครบถ้วน ไม่เพียงแต่จะไม่ลดความแออัดในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างภาระให้กับประชาชนผู้ใช้บริการโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

หัวใจของปฐมภูมิ(Primary care) ประการหนึ่งก็คือ การดูแลที่เบ็ดเสร็จเป็นองค์รวมในจุดเดียว(Comprehensive Care or Holistic care)

คำสำคัญ (Tags): #primary care#ปฐมภูมิ#แม่
หมายเลขบันทึก: 385085เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาที่PCU ต้องมาเจาะเลือด1วัน มารรับการตรวจ และรับยาอีก1วัน

ผมเห็นว่าทีมให้บริการอาจงานมากจนลืมที่จะหาเวลาคุยกัน ระบบจึงบิดเบี้ยวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท