แบบอย่างที่ข้าพเจ้ายึดถือปฏิบัติและเป็นผู้ชี้แนะแก่ข้าพเจ้า(1)


 แบบอย่างที่ข้าพเจ้ายึดถือปฏิบัติและเป็นผู้ชี้แนะแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่เป็นนักเรียนของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ภาควิชาศิลปกรรม

 

 

ในส่วนนี้อาจารย์ยังเป็นผู้ผลักดันให้เหล่าลูกศิษย์เหล่าคณาจารย์ผู้สอนศิลปะได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยการรวบรวมผลงานจัดทำเป็นนิทรรศการ"๖๘ ดวงใจ ถวายพระพร ธ ผู้ทรงครองใจไทยทั่วหล้า"ของกลุ่มMini Painting Exhibition ครั้งที3 ณ โรงแรมแม่น้ำ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช มีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำความปลาบปลื้มมาสู่ครูผู้สอนศิลปะทุกๆคนค่ะ...

 

คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 384467เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

การเป็นครู บุคคลที่ควรบูชา สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนนั่นคือ...สิ่งที่ครูของเราสั่งสมให้เรามารุ่นต่อรุ่น..นั่นคือ ความรักใน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ในเรื่องของจิตใจให้ทุกผู้ทุกนามได้เสพความสุขจากงานเขียนจากจินตนาการ การเลียนแบบธรรมชาติ หรือทัศนศิลป์ด้านอื่นอย่างสุขใจ...เราก็มีความสุขใจเป็นที่สุด เราชาวศิลปะ  ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น เปรียบคล้ายๆกับ นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา....

 

คนจำนวนไม่น้อยที่ยังข้องใจอยู่ว่า วลีนี้มีที่มาอย่างไรกันแน่ ขณะที่บางคนก็เชื่อชนิดปักใจว่า อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านเอื้อนเอ่ยออกมาเป็นคนแรก

ชาวศิลปากร นักศึกษาศิลปะ หรือบรรดา Artist ทั้งหลาย ที่เข้าใจวลีนี้ลึกซึ้งกันแล้ว ก็อย่าเพิ่งทำหน้าเหยเกไปเลย ถือว่าคราวนี้เป็นการเล่าสู่ให้คนที่ยังไม่ทราบและสนใจอยากทราบฟังแล้วกัน

คราวหนึ่ง ฉันเคยถามเอากับ 'สิงห์สนามหลวง' หรือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ให้ช่วยท่านไขให้ฟัง ในฐานะที่ท่านเป็นผู้รอบรู้ และมีคนยกให้ท่านเป็นเอ็นไซโคพีเดียทางด้านวรรณกรรม แม้ว่าท่านจะเพิ่งแบ่งใจจากงานด้านวรรณกรรมมาให้กับงานด้านทัศนศิลป์ได้ไม่นานก็ตามที

"ผมเคยอ่านมาจากอาจารย์เจตนา ท่านบอกว่า ไอ่คำว่าชีวิตสั้น ศิลปะยาว ความหมายที่ศิลปินแต่ก่อนรับรู้ก็คล้ายกับว่า ต้องเร่งทำงานศิลปะ เพราะว่าชีวิตคนเรามันสั้น แต่ชิ้นงานจะอยู่ต่อไป หลังจากที่เราตายไปแล้ว ท่านไปอ่านมาจากไหนก็ไม่ทราบ ท่านบอกว่ามันเป็นคำกรีก หรือคำลาตินไม่ทราบ"
เมื่อเร็วๆนี้ ฉันเพิ่งวางหนังสือเล่มหนึ่งลง หลังจากที่อิ่มเต็มกับความรู้สึกเมื่อได้อ่าน และอยากจะแนะนำให้คนอื่นได้อ่านด้วย เล่มที่ชื่อ 'ศิลปวิจารณ์ ในทัศนะ ส.ศิวรักษ์' ซึ่งพิมพ์ขึ้นครั้งแรก ในปี 2547 นี้ โดย สำนักพิมพ์สยาม

ขณะที่บทความและทัศนะทั้งหลายเคยตีพิมพ์กระจัดกระจายในที่อื่นๆ เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ล้าสมัยที่จะนำมาอ่าน ณ เวลานี้

ไม่ว่าจะเป็น...ศิลปะตามความเข้าใจของสามัญชน,สุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับอิสตรี,สังคมกับศิลปวัฒนธรรม,เสรีภาพทางวัฒนธรรมในสังคมไทย,อนาคตของราชบัณฑิตยสถาน,จิตรกรรมฝาผนังในปัจจุบัน และอีกหลายเรื่องที่พาให้รู้สึกและรื่นไหลไปกับทัศนะของท่านผู้นี้

หลายอย่างน่ารับฟังเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่บางอย่างต้องนำมาขบคิดใหม่ กับความเป็นจริงที่สายตาตัวเองได้แลเห็น

ในบทความแรกที่ชื่อ 'ศิลปะตามความเข้าใจของสามัญชน' (ตีพิมพ์ครั้งแรก ฉลองปริญญาศิลปะบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2508 และพิมพ์รวมใน ลายสือสยาม สำนักพิมพ์แพร่พิทยา พ.ศ. 2510) แค่ขึ้นต้นท่อนแรกที่ว่า

"ออกจะเป็นการแปลกสักหน่อย ที่ศิลปินสมัยนี้ มักพากันถือว่าตนเป็นอัจฉริยะไปตามๆกัน และมักดูถูกว่าช่างฝีมือต่ำช้า หาเทียมเทียบ 'ศิลปิน' เช่นตนได้ไม่..."

เพียงเท่านี้ก็ทำให้อยากจะอ่านต่อไปให้จบในคราวเดียว ขณะที่ตอนท้ายของบทความนี้ ได้ช่วยตอบที่มาของภาษิตที่นักศึกษาศิลปากร วลีที่ว่า "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" ไว้ว่า

ฮิปโปกราตีส แพทย์ชาวกรีก ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง 99 ปี และเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.182 เป็นคนกล่าวขึ้น แต่สลับที่หน้าหลังและฟุ่มเฟือยคำไปอีกหน่อยว่า 'ชีวิตนี้สั้น แต่ศิลปะอายุยืนยาว' (Ho Bios Brachus,the de Techne Makre)

ความจริงแล้วเมื่อฮิปโปเกรติสเอ่ยวลีนี้ ท่านหมายจำเพาะเจาะจงถึงศิลปะทางการแพทย์!!..

แต่แล้ววันหนึ่ง เซนเนก้า กวีมีชื่อของกรุงโรม ก็ได้นำเอามาแปลงเป็นภาษาละติน ให้ใช้ได้ทั่วถึงศิลปะทุกสาขาว่า Ars longa vita brevis ขณะในหนังสือ De Bre vitatae Vitae เซนเนก้ากล่าวไว้ว่า คำๆนี้ได้มาจากผู้ที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าแพทย์ทั้งปวง ท่านว่า ชีวิตนี้สั้น แต่ศิลปะอายุยืนยาว
แต่เห็นด้วยกันไหมว่า จะใครเป็นคนกล่าวขึ้นก่อนก็ตาม สิ่งสำคัญมากกว่าและแน่แท้ที่สุด นั่นคือ เราทำอะไรที่มีคุณค่าทั้งต่อใจเราและผู้อื่น ฝากไว้บนแผ่นนี้บ้างไหม ขณะที่เวลาของชีวิตเราสั้นลงเรื่อยๆ


อ้างอิงจาก

นักวิทยาศาสตร์โลก
http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0054/6411/index.html


ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
http://www.mew6.com/composer/art/history/life_shot.php

ขอบคุณที่มา...http://dek-d.com/board/view.php?id=1511466

สรไกร สุขโพธิ์เพ็ชร์

อาชีวะศึกษานครปฐม แหล่งอบรมอาชีพมีงานทำ ศิลป์ พาณิต คหกรรม ร่วมเสิญสร้าง สร้างสรรญพัฒนา (เราชาวศิลปกรรม จะเครารพคุณครูศิลป์ทุกท่าน)

ยินดีมากๆจ้าที่ได้ยินคำนี้

ขอคารวะและรำลึกถึงท่านอาจารย์เทียนชัยด้วยคนนะครับ อาจารย์ไม่เพียงจะเก่งและเป็นครูมากๆ
แต่เป็นผู้นำความริเริ่มหลายอย่างในวงการศิลปะของประเทศนะครับ

สวัสดีครับครู อ้อยเล็ก เคยเห็นงานศิลป์ของสิงห์สนามหลวง ครั้งไปงาน"ช่อการะเกด"

ไอ่คำว่าชีวิตสั้น ศิลปะยาว อ่านเรื่องก่อนโลกจะขานรับ ของวิลเลี่ยม ซอมเมอร์เซ็ท มอห์ม ที่เขียนจากชีวิต จิตกรนามก้องโลก พอล โกแกง พอเข้าใจความหมายนี้

ขอบคุณครูอ้อยเล็กที่ ทำให้นึกถึงวรรณกรรมเล่มนี้ ยามที่ฝนตกไม่มีอะไรทำในวันหยุด ได้หยิบมาอ่านซ้ำ(ความเรืองโรจน์บนโศกนาฎกรรมของศิลปินผู้ยิ่งทรนง"

Ico32...ค่ะพี่อาจารย์..อาจารย์ท่านจะเกษียณต.ค.54...แต่ท่านก็ยังมีไฟในการทำงานอยู่เป็นอย่างมากค่ะ

Ico32...ค่ะท่านวอญ่า..ไม่เคยเสียใจเลยที่เลือกเรียนศิลปะ..ในสมัยนั้นใครเรียนศิลปะนี่เขาดูถูกเอานะคะ..ว่าฉลาดน้อย....แต่กาลเวลาก็ยืนยันในศักยภาพของคนที่ว่า...รู้อะไร รู้อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิด จะเกิดผล อาจจะชักเชิดชูฟูสกุล เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย...เราอยากบอกว่าคนศิลปะรักอะไรรักจริง ทำอะไรทำจริง และขยันจริงๆ ขี้เกียจทำงานศิลปะไม่ได้ค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท