สัมมนาการปฏิรูปประเทศไทยของสภาที่ปรึกษาฯ เวทีภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-5 สิงหาคม 255


การพัฒนาคน การพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีจิตสำนึกสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ พัฒนาทักษะฝีมือของตนเองตลอดชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ผมเพิ่งกลับจากการจัดสัมมนาการปฏิรูปประเทศไทยของสภาที่ปรึกษาฯ เวทีภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-5 สิงหาคม 2553 ครับ


ตอนไปเดินทางโดยรถตู้ของสำนักงานฯ ออกจากกรุงเทพฯ 08.05 น. ของวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ผ่านจังหวัดชัยนาท เห็นเขาโฆษณาเรื่องสวนนก ถ้ามีโอกาสยังอยากแวะไปดูเลยครับ ถึงเชียงใหม่ 17.00 น. วันเดียวกับ ขากลับในวันที่ 6 สิงหาคม 2553 รถไฟฟ้าออกเวลา 08.45 น. ถึงสถานีหลักสี่ตอนสองทุ่มกว่าๆ ครับ ฝนตกตลอดเส้นทาง บรรยากาศดีมากครับ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือป่าไม้ถูกทำลาย เพื่อปลูกข้าวโพด ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างก็คือชาวบ้านไปปลูกบ้านบริเวณทางน้ำ ตามไหล่เขา ซึ่งดูแล้วน่ากลัวทั้งจากน้ำป่า และดินถล่มครับ เสียดายที่ไม่มีกล้องดิจิทัลไปด้วย จะได้ถ่้ายภาพมาฝากครับ

สำหรับเวทีภาคเหนือ ในการสัมมนาเ้มื่อวัีนที่ 4-5 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว กลุ่มย่อย การปฏิรูปด้านสัีงคม ที่ผมเป็นผู้สรุปผลการสัมมนาพบว่า ข้อเสนอในการปฏิรูปจากเวทีภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ด้านหลักๆ คือ 
• การปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบตั้งแต่หลักสูตรการศึกษา การเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย หน้าที่พลเมืองที่ดี ศีลธรรม การจัดการเรียนการสอน การสอบ การสอบเข้าศึกษาต่อ คุณภาพของนักเรียน คุณภาพของครูผู้สอน ตำราแบบเรียนของนักเรียนต้องไม่มากเกินไปโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา การลดสถาบันกวดวิชาลง ลดความเครียดของเด็กในการศึกษาจนไม่มีเวลาพักผ่อน การปฏิรูปการศึกษาจะต้องให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสำคัญ
• การพัฒนาคน การพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีจิตสำนึกสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ พัฒนาทักษะฝีมือของตนเองตลอดชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน การเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคนร่วมกับคนในท้องถิ่นนั้นๆ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณหรือองค์ความรู้จากรัฐบาล รวมถึงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้
• การปฏิรูปสื่อ โดยสื่อในฐานะฐานันดรที่ 4 ของสังคมจะต้องดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา รักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อไม่เลือกข้าง หรือเป็นเครื่องมือทางการเมือง ธุรกิจหรือกลุ่มผลประโยชน์ใดกลุ่มผลประโยชน์หนึ่ง สื่อจะต้องมีบทบาทในการชี้นำและให้ปัญญาแก่ประชาชนเพื่อลดความขัดแย้ง สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ให้มีสำนึกรักชาติและร่วมมือกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

หมายเลขบันทึก: 382883เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท