๒.UKM18 : มิติจัดการความรู้ที่ให้ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมแก่เด็กๆ


เวทีเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ ๑๘ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในหัวข้อ คุณภาพการศึกษาสู่การเรียนรู้และพัฒนาชุมชนครั้งนี้ มีการนำผู้เข้าประชุมไปเรียนรู้ชุมชน สาธิต นำเยี่ยมชมกิจกรรมและโครงการงานที่ดำเนินการขึ้นโดยโรงเรียน เด็ก และชุมชน ทำให้เด็กๆมีบทบาทอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ของคณาจารย์และกลุ่มผู้ใหญ่จากแหล่งต่างๆทั่วประเทศ

 

นอกจากนำกลุ่มผู้ใหญ่เดินเรียนรู้ฐานกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนแล้ว เด็กๆลูกหลานของเราจากชนบทก็มีความตื่นตัว สนใจ และผสมผสานตนเองอยู่ในกลุ่มกิจกรรมต่างๆด้วยความหยากรู้อยากเห็น เป็นการสร้างประสบการณ์ทางสังคมและก่อเกิดการเรียนรู้จากความมีประสบการณ์ด้วยตนเองต่อกิจกรรมที่มีการเลือกสรรและผ่านการออกแบบมาดีแล้ว

เด็กๆได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ไปด้วยกัน รวมทั้งเป็นโอกาสในการได้แสดงออก พัฒนาความเชื่อมั่นในชีวิตและความวางใจต่อสังคมรอบข้างที่กว้างขวางกว่าวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมในชุมชนของตน การจัดการความรู้เพื่อออกแบบชุมชนให้เป็นฐานการเรียนรู้และมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆไปเรียนรู้จากเด็กๆและชุมชน ในความหมายหนึ่งจึงเป็นขั้นบันไดประสบการณ์ให้เด็กๆได้งอกงามและเติบโต

ความรู้เป็นจำนวนมากที่มาจากโลกภายนอก อาจทำให้เด็กๆลูกหลานชาวอีสานอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ ทว่า ในด้านการแสดงออกทางภูมิปัญญา ตลอดจนการสะท้อนความเป็นวิถีชีวิตและการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่สร้างสุขภาวะของสังคมอีสานมาอย่างยาวนานนับพันนับหมื่นปีแล้ว เด็กๆกลับจะมีความเป็นผู้นำเสมือนกับสิ่งเหล่านี้อยู่ในสายเลือดและแสดงออกมาจากจิตวิญญาณของตนเลยทีเดียว

ร่วมกิจกรรมสาธิตการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพในการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนอย่างบูรณาการ.

............................................................................................................................................................................

บันทึก UKM-18 มีทั้งหมด ๑๐ ตอน ตอนที่ท่านอ่านและชมนี้ เป็น ตอนที่
ตอนที่ ๑  คุณภาพการศึกษาสู่การเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน
ตอนที่ ๒  มิติจัดการความรู้ที่ให้ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมแก่เด็กๆ
ตอนที่ ๓  จัดการความรู้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเสริมพลังภูมิปัญญาปฏิบัติ
ตอนที่ ๔  โอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง : Life-Long Learning Space ในที่พักผู้ร่วมเวที
ตอนที่ ๕  เพิ่มโอกาสเข้าถึงและบ่มสร้างการมองโลกด้วยศิลปะ
ตอนที่ ๖  จัดการความรู้สร้างแหล่งเรียนรู้ปูมเมืองและมุมสร้างประสบการณ์ภายใน
ตอนที่ ๗  ถ่ายรูป Documentation ยุค Digital/Computer-Based ต้องพัฒนาแนวคิด ปฏิรูปความรู้และวิถีปฏิบัติ
ตอนที่ ๘  เครือข่ายจัดการความรู้กับทางรอดและโอกาสพัฒนาของสถานศึกษาขนาดเล็กในชุมชน
ตอนที่ ๙  ทำหน่วยประสบการณ์ชุมชนให้เป็นฐานการเรียนรู้บูรณาการอย่างเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ ๑๐ สรุปบทเรียนและการสะท้อนความคิด พลังเครือข่ายจัดการความรู้มหาวิทยาลัยไทย

หมายเลขบันทึก: 382238เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2010 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นเด็กๆมาต้อนรับ แสดงไปยิ้มไป น่าชื่นชมครับ

  • ผมนั้น นอกจากชื่นชมแล้วก็ขำและกลั้นหัวเราะแทบแย่ครับอาจารย์ 
  • เจ้าสาวน้อยสองคนแรก เขารำสวย ดูปราดเปรียว คล่องแคล่ว แต่เวลาย่อตัวลงขาเขาสั่นพั่บๆแล้วเขาก็งับปากกลั้นหัวเราะกัน คงจะซ้อมอย่างไม่ได้หยุดและก่อนแสดงก็คงยังซ้อมอยู่เพื่อกันลืม เลยแทบจะเป็นนางฟ้าพังพาบไปกับพื้น
  • เจ้าสองหนุ่มน้อยนั่นก็เล่นเอาผมขำแทบแย่เช่นกัน เนื่องจากพอคุณครูแนะนำว่าเจ้าหนูทั้งสองจะมาโชว์เพลง ทุกคนก็ตั้งใจรอคอยฟัง
  • แต่พอเล่น เขาเล่นเพลงสรรเสริญพระบารมีครับ ทุกคนเลยต้องลุกกันพรึ่บพรั่บถวายความเคารพพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น ก็ตามด้วยเพลงชาติ แหม๊..!!!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท