comorbid of Diabetic


การให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ต้องมองให้ลึกทั้งด้านจิตสังคม และร่างกาย
คลินิก ผู้ป่วยเบาหวานนาหว้า  

           การให้บริการในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลนาหว้า   สังเกตพบว่าในจำนวนกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน  เช่น  กลุ่มที่มีแผลเรื้อรัง  กลุ่มที่มีภาวะระดับน้ำตาลสูง   บางรายต้องเข้ารักษาในผู้ป่วยใน  ซึ่งจากการเข้าไปสนทนาในกลุ่มนี้   พบว่า  บางรายเคยมีความคิดทำร้ายตัวเองเพื่อไม่ต้องรักษาอาการและแผลเรื้อรัง  บางรายแยกตัวเอง  อารมณ์รุนแรงหงุดหงิดง่าย  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยในจะพบอาการเหล่านี้  ในผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังหรือในรายที่ต้องตัดอวัยวะ    ซึ่งจากการทบทวนรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับเบาหวานและโรคซึมเศร้า     1Anderson และคณะ (2001)   2Akker และคณะ (2004) จากการศึกษาวิจัย ทั้ง 2 เรื่อง พบว่า โรคซึมเศร้าและโรคเบาหวาน เป็นการเจ็บป่วยร่วมกัน (Comorbid) ซึ่งหากผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และให้การช่วยเหลือบำบัดรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นการเพิ่มโรคให้ผู้ป่วยอีกโรคหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ (WHO,2005)  ดังนั้นในการให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือโรคเรื้อรัง   คงต้องมองให้ลึกในด้านของภาวะจิตสังคมของผู้ป่วยร่วมด้วย และในการให้ความรู้แก่ครอบครัว   ผู้ดูแลผู้ป่วยในการดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที  ซึ่งผู้ป่วยในความดูแลที่มีภาวะเสี่ยงมีสองท่านที่มีภาวะ  Hyperglycemia  มาตลอด  และอีกท่านมีแผลเรื้อรังที่ต้องตัดอวัยวะ  ที่มีภาวะซึมเศร้าแต่อยู่ในระดับต่ำมีการติดตามและให้คำปรึกษาทุกครั้งที่มารับบริการ    ปัจจุบันผู้ป่วยทั้งสองท่านสามารถดูแลตนเองและคนในครอบครัวก็เข้าใจและให้ความใส่ใจผู้ป่วยมากขึ้น  อัตราการ  Readmit  ลดลง แล้วที่โรงพยาบาลท่านเป็นอย่างไรบ้าง ลองใช้แบบประเมินในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานหรือกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง  ถ้ายังไงอย่าลืมแลกเปลี่ยนด้วยนะค่ะ

1. Akker M., Schuurman A., Metsemaker J.,& Buntinx F.(2004). Is depression related to subsequent Diabetes mellitus?. Acta Psychiatrica Scandinavica, 110(3), 178-183

2.Anderson R.J., Freedland K.E., Clouse R.E., & et. Al. (2001). The prevalence of co morbid  Depression in adults with diabetes : ameta analysis. Diabetes Care, 24(6), 1069-1078.  
หมายเลขบันทึก: 38167เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 04:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ต้องขอบคุณพี่โหน่ง -วัลยา  ที่หนองคายมากนะค่ะ ที่จุดประกายโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวาน  และงานวิจัยทั้งสองเรื่องด้วย เอาใจช่วยในการทำวิทยานิพนธ์  สู้ๆๆนะค่ะ
ดีครับ มีประโยชน์
ได้ข้อสรุป หรือรูปแบบ จากการศึกษาแล้ว นำมาเล่าอีกนะครับ  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท