อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

บัณฑิตครูควรมีคุณธรรมและความรู้อย่างไร


สิ่งที่พบมากที่สุดคือแยกแยะไม่ได้ว่าคนที่จะเป็นครูแตกต่างจากสาขาวิชาชีพอื่นอย่างไร ทั้งด้านกายภาพ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการตนเอง ศักยภาพและคุณภาพที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของความเป็นครู

การพัฒนาวิชาชีพครู ได้รับความสนใจอย่างสูงสุด

เมื่อประเทศชาติต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทย

ในอดีตเราได้คนดี คนเก่งมาเป็นแม่พิมพ์ แทบกล่าวได้ว่าได้จุดเทียนเล่มน้อย

ในทุกๆหมู่บ้าน ทุกๆตำบล

เผอิญกระบวนการผลิตครูขาดการวางแผนที่รัดกุม

ฝ่ายผลิตครูกับฝ่ายใช้ครูไม่ประสานกัน  ครูจึงล้นตลาดเพราะผลิตมากเกินความต้องการ

และจำเป็น

โดยเฉพาะเจอเหตุการณ์คุมกำเนิดประชาชนแต่ละครอบครัวมีบุตรหลานน้อยคน

ประกอบกับการบรรจุครูหนึ่งคนหนึ่งตำแหน่งกว่าจะพ้นสภาพด้วยการ

เกษียณราชการหรือลาออก  ค่อนข้างจะใช้เวลานาน อัตราบรรจุครูจึงมีน้อยลง

เรียนครูจึงไม่มีงานทำ  คนที่มีสิทธิ์เลือกหลายทาง จึงไม่เลือกจะเป็นครู

สภาพการณ์การผลิตครูจึงเปิดโอกาส ใครใคร่เรียนเรียน ใครๆก็เรียนได้

ไม่รู้จะเรียนอะไร สุดท้ายเลือกเรียนครู

เราจึงได้คนที่ไม่พร้อมจะเป็นแม่พิมพ์หรือตัวแบบให้กับสังคม

เรียนก็ไม่เก่ง ความสนใจก็ไม่มี เกเรเฉไฉ ฟัง พูด อ่านเขียนภาษาไทยยังไม่คล่อง 

สอนยากเย็นแสนเข็ญ อะไรที่เป็นวัฒนธรรมต่างชาติรับไว้ก่อนอยู่ในระดับแนวหน้า

ชักจูงได้ง่าย นุ่งห่มสั้น รัดติ้ว ไว้ทรงผมเป็นกระเชิงก็บอกว่าแนวดาราเกาหลี

ความมีระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบ  ขาดสติปัญญาที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ

ดังนั้น  บัณฑิตครูจึงขาดคุณธรรมและความรู้ที่เหมาะสม

เพราะไม่ได้ตั้งใจจะเป็นครู

สิ่งที่พบมากที่สุดคือ แยกแยะไม่ได้ว่า คนที่จะเป็นครูแตกต่างจากสาขาวิชาชีพอื่น

อย่างไรทั้งกายภาพ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการตนเอง คุณภาพและศักยภาพที่

แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของความเป็นครู

ถึงเวลาแล้วที่สังคมจะต้องเรียกร้อง ให้ฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบในการผลิตครูและฝ่ายที่

ดูแลครู ได้จัดระบบ ระเบียบหลักการและหลักเกณฑ์การพัฒนาวิชาชีพครู

โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต

ตัวอย่างที่ดีย่อมมีค่ากว่าคำสอน

การผลิตครู คือ การผลิตคนต้นแบบที่ดีให้กับสังคม

มิใช่ใครๆก็เรียนได้ มิใช่ใครๆก็เป็นครูได้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความเป็นครู
หมายเลขบันทึก: 381338เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นางสาวบัวคำ จอมใจ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์อนงค์ศิริ  วิชาลัย  หนูนางสาวบัวคำ  จอมใจ  รหัส 53224229 (ส-อ)หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วรู้สึกว่าคำพูดที่อาจารย์ได้บอกว่าตัวอย่างที่ดีย่อมมีค่ากว่าคำสอน  การผลิตคน คือการผลิตต้นแบบที่ดีให้กับสังคม  มิใช่ใครๆก็เรียนได้  มิใช่ใครๆก็เป็นครูได้  หนูเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะเพราะ ณ ปัจจุบันนี้  การที่จะได้ครูที่เก่ง มีคุณภาพและเป็นแบบอย่างทีดีนั้นยากค่ะ   จากที่ได้เรียนกับอาจารย์รู้สึกว่าอาจารย์สอนดีทั้งในเนื้อหาสาระและการปฏิบัติตนเอง  และสุดท้ายนี้หนูขอขอบใจอาจารย์เป็นอย่างมากที่แนะนำบล็อกดีที่ให้ทั้งความรู้และสาระที่ดี   ถ้าหนูว่างจะเข้ามาอ่านบทความและแสดงความคิดเห็นอีกค่ะ  สวัสดีค่ะ       

นางสาว ธัญสุดา จิตติวัฒนพงศื์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนู นางสาว ธัญสุดา จิตติวัฒนพงศ์ รหัส 53221059 (ส-อ) Sec 01

จากที่ได่อ่านบทความ รู้ได้เลยว่า การที่จะเป็นครูไม่ง่ายเลย ต้องใช้ความพยายาม อดทน ไม่ใช่ใครจะเรียนก็ได้ต้องมีความรักที่เรียนในด้านนี้ เป็นต้นแบบที่ดีของสังคม

จึงจะประสบความสำเร็จ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดิฉัน ชื่อ นางสาว กรรณิการ์ จันทร์ทิวงค์ กป 52.ค5.1

จากที่ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว ทำให้ดิฉันได้คิดตาม และมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะเห็นอยู่ในปัจจุบัน คนที่ไม่มีอะไรจะเรียน อยากเรียนก็เรียน โดยไม่คิดถึงว่าการที่เราเรียนวิชาชีพครูนั้น เราต้องเป็นแม่พิมพ์ของชาติ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน ก่อนที่เราจะสอนเขา แถมยังไม่สนใจเรียน การที่เราเลือกที่จะเรียนวิชาชีพครูนั้น เราควรทำตัวให้มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นแม่พิมพ์ของประเทศชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท