ซากาตฟิตเราะฮฺ


ซากาตฟิตเราะห์

ความสำคัญ และประโยชน์ของการจ่ายซะกาต

 1.ซากาตนั้นเป็นหนึ่งในหลักการอิสลาม 5 ประการ 2.อัลลออฮฺ ได้ใช้คำว่าซะกาตในอัลกรุอานทั้งหมด 58 ครั้ง โดยที่32 ครั้ง กล่าวถึงซะกาตเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ อีก 26 ครั้ง กล่าวรวมกับการละหมาด  3.ในกีตาบซอเฮียะห์บุคอรีย์ มีปรากฏหะดีษเกี่ยวกับซะกาตถึง 172 หะดีษ ในขณะที่ซอเฮียะห์มุสลิมมีปรากฏถึง17 ะดีษ 4.การจ่ายซะกาตเป็นภารกิจเหนือมุสลิมทุกๆคนที่จำเป็นจะต้องจ่ายซะกาต 5.การจ่ายซะกาตเป็นการดูแล และเป็นการให้สวัสดิการแก่สังคม 6.ซะกาตเป็นสิทธิของคนจนในสังคมที่พึงได้รับจากคนรวย 7.ซะกาตเป็นระบบการช่วยเหลือซึ่งกัน และกันในสังคม 8.ซะกาตเป็นแหล่งรายได้แรกของอิสลามที่จะมาแก้ปัญหาความยากจน และปัญหาต่างๆในสังคม 9.ซะกาตยังทำหน้าที่กระจายความร่ำรวยของประชาชา ติให้ทุกคนมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยแม้ในหมู่คนยากจน 10.ซะกาตจะเป็นตัวชำระล้างความโลภ และขจัดความร่ำรวยจนเกินไป  11.ซะกาตเป็นระบบการกระจายรายได้ในสังคม 12.ทำให้ทรัพย์สินมีความอุดมสมบูรณ์ และมีบะรอกัต (ความจำเริญ) มากขึ้นอัลลอฮฺ ตรัสความว่า “อัลลอฮฺ ทรงทำให้ดอกเบี้ยหร่อยหรอลง (ขาดบะรอกัต) และทรงทำให้ทานบริจากเพิ่มพูนขึ้น (มีบะรอกัต)” 13.การจ่ายซะกาตจะช่วยบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ 14.การจ่ายซะกาตจะขัดเกลาจิตใจของบุคคลไม่ให้มีความตระหนี่ และไม่ให้มีความละโมบให้รู้จักค่ำวา “พอ” และมีจิตเมตตา 15.ทรัพย์ซะกาตจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และความอดอยากของผู้ที่ขัดสนผู้ประสบภัยพิบัติ และช่วยเสริมสร้างฐานะ ศักดิ์ศรี และความมั่นคงให้แก่ศาสนาอิสลาม และมุสลิม 16.ซะกาต คือ หลักประกันสังคมซึ่งมีรากฐานมาจากความเห็นอกเห็นใจ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่การมีเมตตาของผู้ที่ร่ำรวยต่อผู้ที่ยากจน 17.ระบบซะกาตเป็นหนทางหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินหมุนเวียนอยู่เฉพาะผู้ที่มีความร่ำรวย พ่อค้า และนายทุนทั้งหลาย โดยไม่กระจายไปสู่ผู้ที่ยากจน 

ซากาตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.ซากาตที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 2.ซากาตที่เกี่ยวกับร่างกาย ซากาตที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ซากาตที่จำเป็นจะต้องจ่ายสำหรับคนที่มีทรัพย์สินครบตามพิกัดที่ต้องจ่ายซากาต ซากาตที่เกี่ยวกับร่างกาย หมายถึง ซากาตฟิเราะฮฺ ซากาตที่จำเป็นจะต้องจ่าย หลังจากถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน(วายิบ)ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เพศชาย หรือเพศหญิง เป็นคนมีอิสระ หรือเป็นทาส 

 


หมายเลขบันทึก: 380994เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2010 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท