หัวใจนะโม และการบูชาพระราหู


พระราหู

หัวใจนะโม และการบูชาพระราหู 

ในหัวใจของผู้ใดมีธรรม ๕ ประการตั้งอยู่ คือ ศรัทธา ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา หรือหมั่นศึกษาธรรม ๕ ประการ คือ ใคร่ครวญอยู่เนื่อง ๆ ผู้นั้นจะเป็นผู้ถึงคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นเจ้าของ หัวใจ นะโม นี้โดยชอบ เพราะผู้นั้นมีโอกาศถึงความเป็นอริยะบุคคลในอนาคตกาลเป็นแท้
เมื่อยังไม่บรรลุมรรคผล มีชีวิตอยู่อย่างกัลยาณชน จะเป็นผู้ปลอดภัยจากมนุสภัย อมนุสภัย และภัยอันเกิดจากธรรมชาติ ไม่เกิดโรคร้ายแรง ไม่ตายโหง

๑. บริกรรมอยู่ ขณะป่วยโรคจะหายเร็ว
๒. ตายมีสติ ไม่ตกนรก
๓. เสกข้าว น้ำ ยา กินขจัดและป้องกันโรคร้าย
๔. ค้าขายทำกินจุดธูปหอมดุสิต ๘ ดอก บูชาค้าขายดี ทำกินอาชีพเจริญมั่นคง (เว้นผู้มิจฉาอาชีวะ)
๕. มีเทวดารักษาดูแล ไม่ว่าจะอยู่จะไปในที่ใด
๖. ใส่บาตรเสมอ ตรวจน้ำให้อาจารย์ทั้ง ๕ คือ

๑. สาตาคียักโข
๒. ท้าวจาตุมหาราช ทั้งสี่
๓. พระอินทร์
๔. พระราหู
๕. พระพรหม

จะถึงความร่ำรวยในชาตินี้ เพราะพระอาจารย์ทั้ง ๕ (แปด) องค์นี้ ท่านเป็นผู้ตั้ง นะโม ขึ้นในโลกทั้งสามก่อนเทวดาและมนุษย์อื่นๆ จึงควรได้รับการบูชาอยู่เสมอ ในฐานะเป็น อาจารย์ ของอาจารย์ทั้งหลาย

ผู้กล่าว นะโม ครั้งแรกในโลก
๑. นะโม (สาตาคียักโข)
๒. ตัสสะ (อสุรินทรราหู)
๓. ภควโต (จาตุมหาราช "เปล่งเสียงพร้อมกันทั้งสี่องค์")
๔. อรหโต (สักโกเทวราชา)
๕. สัมมาสัมพุทธัสส (สหัมบดีพรหมา)

รวมเป็น นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ผู้ใดจะทำการให้ศักดิ์สิทธิ์ ต้องตั้ง นะโม ก่อนเสมอ) ถอดเป็นหัวใจ นะโม ใช้บริกรรมภาวนาสั้น ๆ ว่า น. ต. ภ. อ. ส. อาจารย์ ส. สัจจญาณ ถอดหัวใจนะโม และมนุษย์แปดพวก หัวใจมนุษย์แปดพวกคือ ทุ กะ ภะ กรุ อะ ระ ขุ สะ นำมาใช้เป็นพระคาถาบูชาพระราหูโพธิสัตย์ที่จะมาตรัสรู้เป็นอันดับที่ ๕ นับจากพระศรีอริยเมตตรัยเป็นต้นไป

พระราหูเป็นบรมครูโหราจารย์ในภาคเทวดา มีหน้าที่ควบคุมเวลา คือ อายุ มนุษย์ สัตว์โลก และเทวดาทั้ง ๗ องค์ ที่ประจำทักษาและตรวจตราเยี่ยมเยือนเทวดาทั้ง ๗ นั้นอยู่เสมอ และมีอำนาจสั่งให้ลงโทษ มนุษย์ผู้มีมิจฉาอาชีวะ สนับสนุนพิทักษ์รักษามนุษย์ผู้ประกอบสัมมาอาชีวะ และผู้ตั้งอยู่ ในธรรมห้าประการดังกล่าวแล้ว ในเรื่องหัวใจนะโมนั้นผู้ใดจะบูชาพระราหู คือ พระโพธิสัตย์ผู้มุ่งสร้างบารมี เพื่อการ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นองค์ที่ห้า นับจากพระศรีอาริยะเมตตรัย นั้นควรบูชาด้วย ดอกไม้ แปดสี มีดอกดาวเรืองและบานไม่รู้โรยเป็นประธาน และดอกไม้อื่นให้ครบแปดสี และเครื่องบูชา มี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด น้ำเปล่าสะอาด ทองคำเปลว ใบมะขาม ดอกบัวขาว ผลไม้ ธูปที่ใช้ควรใช้ธูปหอมดุสิตด้วยพระคาถาต่อไปนี้

พระคาถาบูชาพระราหู

นะ ตะ ภะ อะ สะ ทุ กะ ภะ กรุ อะ ระ ขุ สะ ชนะใจมนุษย์ ทั้งบุรุษสตรี สมณะพราหม์ชี มีเมตตากรุณัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิวาจัง สิทธิชัยยัง สัพพะปาปัง สัพพะศัตรู วินาศสันติ สิทธิลาภัง ภวันตุเมฯ

การใช้ธูปหอมดุสิต


๘ ดอก หาลาภ ค้าขาย อาชีพอื่น ๆ
๙ ดอก ทำมงคลต่าง ๆ
๑๐ ดอก บำเพ็ญกุศลบารมี
๑๖ ดอก เจริญสมาธิบารมี
๓๒ ดอก รักษาโรคแก้โรค
๓๖ ดอก ปราบปรามศัตรู แก้คดี ลอยเคราะห์ ปล่อยสัตว์ กระทำอโหสิกรรมเท่าอายุ ประกอบกุศลต่ออายุ บอกเมื่อจะเปลี่ยนอาชีพ
๑๐๘ ดอก บำเพ็ญกุศลใหญ่ และการบูชาเทวดานพพระเคราะห์ ว่า พระคาถาดังนี้

ตัสสะ อสุรินโท โส โพธิสัตโต สัมมาสัมพุทโธ อนาคเต

สวดบูชาอยู่เสมอ ชีวิตจะรุ่งเรือง คำว่า ตัสสะ บริกรรมเสมอ ป้องกันภัยทั้งปวงในเวลาเดินทาง หรือขณะอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว บริกรรมภาวนาขณะเดินทางไม่จำเป็นต้องใช้ธูป 

หมายเลขบันทึก: 380878เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท