โครงการ Hard Talk, Thailand FM.90.5 MHz.


สวัสดี ลูกศิษย์ และชาว Blog ทุกท่าน

         ผมได้มีโครงการ โครงการ Hard Talk, Thailand

เวลา                          ทุกวันเสาร์ เวลา  15.00 – 16.00  น. ทาง FM. 90.5 MHz.

การรายงาน                ช่วง  สรุปข่าวสำคัญ    ประมาณ  15  นาที

                                 โดย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และ

                                         คุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ 

  • ช่วง  Hard Talk เจาะลึก บุคคลที่เป็นที่ยอมรับ
  • เรื่องต่างๆ เช่น  การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม 
  • NGO
  • นักวิชาการ
  • การศึกษา
  • สิ่งแวดล้อม
  • ต่างประเทศ
  • สื่อทั้งในและต่างประเทศ

ประมาณ  35  นาที

ตัวอย่างใน 4  สัปดาห์แรก

ครั้งที่ 1  เสาร์ที่ 3  สิงหาคม 2553    คุณปานเทพ  กล้าณรงค์ราญ ประธาน ปปช.

                                                แต่เนื่องจากครั้งนี้ท่านติดภารกิจ

                                                จึงต้องขอเลื่อนไปก่อน

ครั้งที่ 2                                     ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ครั้งที่ 3                                     ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ครั้งที่ 4                                     นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ

ครั้งที่ 5                                     อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ครั้งที่ 6                                     ดร.จรัส สุวรรณเวลา

                                               นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครั้งที่ 7                                     หม่อมราชวงศ์ปรีดียาธร เทวกุล         

ครั้งที่  8                                   คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

ครั้งที่ 9                                    คุณสุวิทย์ คุณกิตติ

ครั้งที่ 10                                  คุณกิตติรัตน์  ณ ระนอง

ครั้งที่  11                                 คุณถวิล เปลี่ยนสี

                                               เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                                   

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ได้สรุปข่าวให้คนไทยได้เห็นว่าอะไรเกิดขึ้น ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  2. ได้เจาะลึกประเด็นต่างๆ
  3. ทำการสรุปประเด็นสำคัญ แจกให้กับโรงเรียนต่างๆ หรือบุคคลที่สนใจ
  4. มี Web ของตัวเอง และ Face back จัดร่วมกัน จะมี Team สัญจร ต่างจังหวัด

 

 

คำสำคัญ (Tags): #hard talk thailand
หมายเลขบันทึก: 379842เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดี ลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

ตามที่ผมได้แจ้งไปในครั้งที่แล้ว วันที่ 3 สิงหาคม คุณปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ปปช. ที่ติดภาระกิจ ไม่สามารถมาออกในรายการได้ จึงได้ตอบยืนยันมาในครั้งนี้ วันที่ 8 สิงหาคม 2553 เวลา 15.00 - 16.00 น.

ซึ่งครั้งนี้ผมจะมีประเด็นในการสัมภาษณ์หลักๆ ดังต่อไปนี้

1. จากงานพัฒนาประเทศ โครงการพระราชดำริ มาเป็น ประธาน ปปช. ต้องปรับตัวอย่างไรบ้างประสบการเหล่านั้นช่วยหรือไม่?

2. style การทำงานของท่านเน้นอะไร บริหารแบบมีส่วนรวมหรือบริหารแบบมอบอำนาจหรือวิธีอื่นๆ

3. นโยบายการป้องกันทุจริต พูดกันมาก แต่จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

4. การร่วมมือกับภาคประชาชนมีอะไรบ้างที่ทำไปแล้วสำเร็จ มีอะไรบ้างที่ยังไม่สำเร็จ

5. ภาระเรื่องงานมากมาย เน้นการบริหารเจ้าหน้าที่ให้ทำงานอย่างรวดเร็วและได้ผลมีความสุขและสมดุลในชีวิตได้อย่างไร

6. ได้รับการร่วมมือจาก อนุกรรมเป็นมาก จะบริหาร Network เหล่านี้ให้ดีขึ้นอย่างไร เลือกอนุกรรมการอย่างไร ปัจจุบันสรุปว่ามีกี่กลุ่ม

7. ทำงานวันละกี่ชั่วโมงแบ่งแต่ละวันต้องทำอะไร ประชุมกี่ชั่วโมง ยกตัวอย่าง

8. กรรมการ 9 ท่านแบ่งงานกันอย่างไร?

9. จัดประชุมระดับนานาชาติเน้นอะไร

10. มีหลักสูตรของ ปปช. ระดับผู้นำคล้ายๆ วปอ.ต้องการเน้นอะไร?

สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าไปรับฟังได้ ที่ คลื่น 90.5 MHz. เวลา 15.00 - 16.00 น. ทุกวันเสาร์ครับ

ณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์

ถึง ชาว blog ทุกท่าน

คนเข้มแข็งขึ้นมา  บ้านเมืองก็ฟื้นตัวทันที

เสียงสะท้อนของคนหลากหลายวงการในสังคมเมืองไทย ขณะนี้ เบื่อการเมือง เสียงคนพูดบ่นเหมือนว่า บ้านเมืองนี้ยังไม่น่าไว้ใจ  วันก่อน  เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง คุณ สุภวัส วรมาลี  (บิ๊ก) ทำงานอยู่ที่การบินไทย และ เป็นพิธีกร TGNของช่อง5ได้ นำหนังสือ กรรมของคนไทย  ทำกันไว้เอง ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์( ป.อ.ปยุตโต) มาให้  ซึ่งดิฉันอ่านแล้วมีหลายเรื่อง น่าสนใจมาก เช่น คนเข้มแข็งขึ้นมา  บ้านเมืองก็ฟื้นตัวทันที ก็เลยนึกถึงศจ.ดรจีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านพยายามที่จะให้ปัญญากับสังคมตลอดมา  อยากให้คนไทยเข้มแข็งไม่ถูกหลอก เป็นสังคมการเรียนรู้สอดคล้องกับหนังสือท่าน( ป.อ.ปยุตโต)  ที่ว่าถ้าคนในสังคมป่วยทางปัญญา นับว่าแย่ ดูทีวี/ฟังข่าววิทยุ เห็นหน้าคนได้ยินเสียงนายนั้นนั้นนายนี้ เห็นเหตุการณ์บ้านเมืองแล้วหดหู่ นี่คือความรู้สึกซบเซาหรืออารมรณ์ฝ่อ ซึ่งไม่มีกำลัง มันปิดกั้นปัญญาลองไปหาอ่านดูนะค่ะ อีกอย่างหนึ่งอยากแนะนำให้ เพื่อนชาว blog ลอง ฟังรายการใหม่ที่ดิฉันเชื่อว่าเป็นสื่อทางเลือกใหม่ที่ช่วยเยียวยาสังคมป่วยทางปัญญาของท่านพระอาจารย์ป.อ.ปยุตโตได้ตรงประเด็นให้ปัญญาและความจริงในมุมลึก แบบโป๊ะเช้ะ!!!!  ของ ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์  ในรายการ Hard Talk Thailand   ทางคลื่น fm. 90.5   เวลา  15.00 น. – 16.00 น.  ทุกวันเสาร์ เป็นรายการท่านอาจารย์ จีระจะเล่าให้ฟัง สัมภาษณ์ดูในมุมลึก ชัดเจน เจาะหาความจริงกับคนที่เกี่ยวข้องตรงประเด็นข่าว ในแวดวงสังคม การเมือง / เศรษฐ / การศึกษา และอื่นๆ ซึ่งท่านอาจารย์จีระอยากให้คนไทย เป็นสังคม การเรียนรู้ ในมุมลึก   และ ตรงประเด็น  ซึ่งท่านพระอาจารย์ ปยุตโต ก็ บอกต่อไปว่า  คนไทยจะต้องมีปัญญา ที่เข้มแข็ง  จะมองเรื่องอะไร ต้องมองให้ชัด จะศึกษา อะไรต้องให้รู้ เข้าใจชัด มองให้ลึก เรียนรู้อะไร   ชัดเจน  ให้เกิดปัญญา ที่แท้จริง แล้วเราก็จะช่วยกันแก้ปัญหา สร้างสรรค์ สังคมได้จริง สังคมก็จะเดินหน้าได้ รายการนี้เริ่มไปแล้วนะค่ะเมื่อเสาร์ที่31ก.ค.53  ปิดท้ายนิดหนึ่งมีผู้ฟังหลายสายที่โทรศัพท์เข้ามาฝากไว้กับโปร์ดิวเซอร์คุณวันชัยFM90.5 เยอะมากที่อยากให้ท่านอจ.จีระเล่าเรื่องการเมืองมากๆ เสาร์นี้อย่าลืม ติดตามฟังนะค่ะ   เพื่อนชาว blog   สามารถมีส่วนร่วมกับทางรายการ Hard Talk Thailand   ส่งประเด็นที่  อยากรู้เรื่องลึก ตรงประเด็นชัดเจน  มาที่ Blog นี้ หรือที่ [email protected] หรือ แฟกซ์0-2273-0181

รายการ Hard Talk Thailand ทาง FM 90.5 MHz

ครั้งที่ 2 เสาร์ที่ 7 ส.ค. 53 : 15.00 – 16.00 น.

ศ.ดร.จีระ สัมภาษณ์ คุณปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ศ.ดร.จีระ .- หลังจากที่ทำงานโครงการพระราชดำริ (คปร.) มา แล้ว มาเป็นประธาน ป.ป.ช. ต้องปรับตัวอย่างไรบ้างในการทำงาน

คุณปานเทพ.- ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน งาน (คปร.) ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนองพระราชดำริพระองค์ท่าน ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด นอกจากนั้น ยังใช้หลัก เศรษฐศาสตร์ที่เรียนกับอาจารย์ (อจ.จีระ) ด้วย โดยเฉพาะการวิเคราะห์โครงการ และ งบประมาณ

ส่วนงาน ป.ป.ช. เป็นงานด้านกฎหมาย ยอมรับว่าหนัก โดยเฉพาะการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น หลักการทำงานจะเน้นที่การสร้างความเข้าใจ การสร้างเครือข่าย รวมทั้งการวิจัยปัญหา

ศ.ดร.จีระ .- ถือว่าประสบการณ์งาน ครป. ช่วยได้เยอะ

คุณปานเทพ.- ใช่ครับ.. โดยเฉพาะการประสานงาน แต่งานที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง คือ งานด้านการปราบปราม หมายถึงการใช้กฎหมายในการวินิจฉัยความผิดต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์ ข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมายต่างๆ

ศ.ดร.จีระ .- ตัวท่านประธาน (ปานเทพ) ก็ไม่ได้จบกฎหมาย

คุณปานเทพ.- ไม่ได้จบกฎหมายครับ ต้องอาศัยคณะกรรมการ และเราต้องศึกษากฎหมายพอสมควร โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น

ศ.ดร.จีระ .- คนพูดกันมาก ว่า ป.ป.ช. ต้องดูแลทั้งเรื่องการวินิจฉัยคดีต่างๆ ขณะเดียวกัน ต้องดูแล และการป้องกันการทุจริต ท่านมีนโยบายอย่างไร

คุณปานเทพ.- นโยบายหลักเลย คือ การป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ชื่อก็บอกแล้วว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ ซึ่งการป้องกันการทุจริตนั้น กำหนดอยู่ในหลักยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าด้วยการสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ วินัยของคนในชาติ เราใช้วิธีการทำโครงการต่างๆ มากมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อย่างที่ อาจารย์ (ศ.ดร.จีระ) ทราบ ว่า การป้องกันเป็น “นามทำ” ไม่ค่อยหวือหวาเหมือนกับการปราบปราม

ศ.ดร.จีระ .- แบ่งการทำงานอย่างไร การป้องกัน กี่เปอร์เซ็นต์ การปราบปราม กี่เปอร์เซ็นต์

คุณปานเทพ.- ต้องขอพูดถึงงบประมาณ และ โครงการ ให้ 50 กับ 50 เลย คณะกรรมการชุดนี้ เราเน้นมาก

ศ.ดร.จีระ .- เผอิญผมเป็นอนุกรรมการด้านทรัพยากรมนุษย์ของ ป.ป.ช.ด้วย มีการพูดกันถึง “ค่านิยม” .ใช้คำว่า “สุจริตวิถี” ซึ่งมีการพูดกันมากในการสัมมนา ว่า สังคมไทยเห็นคนรวยมักไม่ค่อยถาม ว่า รวยมาอย่างไร ไม่มีการต่อต้านทางสังคม ค่านิยม คือขอให้รวยแล้วนับถืวันนี้จะขอความร่วมมือประชาชนอย่างไร เพื่อให้เกิด “สุจริตวิถี”

คุณปานเทพ.- ขอบพระคุณครับ คือ อย่างที่อาจารย์ (ศ.ดร.จีระ) รับทราบแล้ว เรื่องการป้องกันต่างๆ ยังไม่ประสบความสำเร็จ เหตุที่ไม่ประสบความสำเร็จคือ เรื่องของทัศนคติค่านิยมของประชาชนต่างๆ ของประชาชนโดยทั่วไป ที่เห็นคล้ายว่า ว่าการทุจริตเป็นเรื่อง “ปกติ” ยิ่งค่านิยมที่บอกว่า “ทุจริตไม่เป็นไร ขอให้ทำความเจริญก็แล้วกัน” อันนี้ยอมรับว่าลำบากมาก

ศ.ดร.จีระ .- อย่างนี้ก็น่ากลัว

คุณปานเทพ.- ก็ต้องช่วยกันทั้งหมด คือต้องปรับ แก้ เรื่องทัศนคติ ให้เป็นจิตสำนึกลงไปเลยว่า เรื่องการต่อต้านการทุจริตเป็นภารกิจของคนทั้งชาติ ต้องสร้างสม และต้องใช้เวลา ซึ่งต่างประเทศเขาใช้เวลาอย่างมาก ตอนนี้ ป.ป.ช. จะทำโครงการลงไปในกลุ่มต่างๆ ในเรื่องการปรับทัศนะคติ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน เราให้ความสำคัญอย่างมาก พยายามติดต่อกับกระทรวงศึกษานะครับ เรื่องของการปรับเปลี่ยนหลักสูตรแทรกเข้าไป ตรงนี้สำคัญมาก

และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ไม่ใช่เฉพาะหลักสูตรระดับประถม มัธยม แม้แต่ชั้นอุดมศึกษาก็สำคัญ ต้องแทรกเข้าไป

ศ.ดร.จีระ .- ถ้าสังคมไทย โดยเฉพาะสื่อมวลชนเอาจริงกับเรื่องนี้ และ ป.ป.ช. ก็ต้องทำต่อไป โดยเฉพาะท่านประธาน ป.ป.ช. ที่ประชาชนยอมรับว่ามีธรรมาภิบาล มีความเป็นกลาง ปัญหาการทุจริตก็คงจะค่อยๆ หมดไป

วันนี้ ประชาชน ท่านผู้ฟังคนจะทราบว่า ป.ป.ช. ไม่ใช่มีหน้าที่ด้านปราบปรามเท่านั้น ต้องทำหน้าที่ป้องกันการทุจริตด้วย ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างหนักของ ป.ป.ช. ทั้ง 9 ท่าน อยากทราบว่า ท่านแบ่งเวลาทำงานอย่างไร

คุณปานเทพ.- การทำงาน เวลาเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนใหญ่ไปทำงานตั้งแต่เช้า จะใช้เวลาให้กับผู้ที่อยากมาปรึกษาหารือ และจะมี “มอร์นิ่งทอล์ก” อย่างไม่เป็นทางการด้วย อย่างน้อยก็สัปดาห์ละครั้ง สองครั้งกับผู้บริหาร

ศ.ดร.จีระ .- เวลาที่ใช้เวลาในการตัดสิน อย่างอาทิตย์ มีเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ป.ป.ช.ใหญ่กี่เรื่อง

คุณปานเทพ.- สัปดาห์เราประชุม 2 วัน วันอังคาร กับ วันพฤหัสบดี ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 – 6 ชั่วโมง ซึ่งแล้วแต่วาระ บางวาระ ใช้เวลานานกว่านั้น นอกจากนั้น ต้องแบ่งเวลาให้กับงานข้างนอกด้วย เช่น งานสัมมนา งานอภิปราย โดยเฉพาะงานป้องกันในต่างจังหวัด ซึ่ง ป.ป.ช. ไปทำโครงการต่างๆ ไว้มาก เพื่อให้เห็นว่า เราให้ความสำคัญด้านการป้องกันด้วย

ศ.ดร.จีระ .- การทำงานด้านนี้ ต้องมีทั้งผู้ชอบ และ ไม่ชอบ ท่านหนักใจไหม

คุณปานเทพ.- ตอนแรกๆ ก็ลำบากใจ เพราะเราไม่เคยทำงานด้านนี้ แต่ตอนนี้ 4 ปีแล้ว เคยชินแล้ว กรรมการทุกท่านก็ชินแล้ว หลักก็คือว่า ต้องทำงานโดยยึดหลักของความถูกต้อง ยุติธรรม การตัดสิน วินิจฉัยคดีความต่างๆ ก็อาศัยความถูกต้อง ยุติธรรม เป็นหลัก และต้องให้ผู้ที่ถูกกล่าวหามีโอกาสโต้แย้ง

ศ.ดร.จีระ .- บางกลุ่มมองว่า ป.ป.ช. มี 2 มาตรฐาน

คุณปานเทพ.- ก็พยายามสร้างความเข้าใจ เช่นการแถลงข่าว โดยมอบให้ อาจารย์กล้าณรงค์ โฆษกกรรมการ ป.ป.ช. อธิบายให้สังคมเข้าใจ ว่า การตัดสิน ป.ป.ช. ยึดหลักอะไร อีกเรื่อง ก็คือ ให้สื่อเข้ามาดูงาน แต่สื่อไม่ค่อยสนใจเรื่องการป้องกัน ส่วนใหญ่สนใจเรื่องของคดีความ

ศ.ดร.จีระ .- ทราบว่า จะมีการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต

คุณปานเทพ.- ครับ การประชุมจะจัดในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ระหว่างวันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน 53 มีผู้นำระดับประเทศมาร่วมด้วย ทั้งประธานาธิบดี และ นายกฯ 4 – 5 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ จะเชิญ ประธานาธิบดีโอมาบา จากสหรัฐ ด้วย

ศ.ดร.จีระ .- ใน 2 – 3 เดือนข้างหน้า มีคดีอะไรที่คนไทยน่าจะให้ความสนใจเป็นพิเศษที่ ป.ป.ช.จะมีมติออกมา

คุณปานเทพ.- ก็มีหลายเรื่อง อาทิ การสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ช่วงที่ 2 เรื่อง SMS ของนายกฯ รวมถึงเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งต้องยอมรับว่า มีความสลับซับซ้อนมาก

ศ.ดร.จีระ .- สุดท้าย มีอะไรจะฝากถึงประชาชน

คุณปานเทพ.- เรียนว่า เรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ประเทศไทยเรา ถือเป็นปัญหาเลยทีเดียว ขณะนี้ภาพลักษณ์ในเรื่องนี้ ไม่ดีเลยทีเดียว เราต้องช่วยกันป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ต้องถือเป็นหน้าที่ เป็นภารกิจของคนในชาติ ซึ่ง ป.ป.ช. เจะทำหน้าที่ของเรา โดยยึดหลักซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคดีความทำหมด ยากง่าย ล่าช้า ขึ้นอยู่กับความยุ่งยากของคดี ซึ่งเป็นเรื่องของพยานต่างๆ แต่ทุกคดี เราดำเนินการ และให้ความสำคัญ ให้ความยุติธรรมเท่ากัน

ศ.ดร.จีระ .- ครับ ท่านผู้ฟังคงจะเข้าใจ ป.ป.ช.

Hard Talk Thailand

ครั้งที่ 3  On Air 14/08/53

ช่วงแรก ....  วันนี้ หงส์ลดารมภ์ และ คุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ คุยข่าวสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา อาทิ เรื่องพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2554 ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การจัดสรรงบประมาณกระจุกตัว ขณะที่การจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นเอื้อประโยชน์ต่อการเมืองมากกว่าการพัฒนาประเทศ

 

ศ.ดร.จีระ ฟันธง ดังนี้  ข่าวที่ออกมา ไม่มีข่าวอะไรที่พูดถึงงบประมาณแผ่นดิน ว่า จะช่วยประเทศให้ก้าวหน้าแค่ไหน มีแต่ข่าวว่า งบฯ จะผ่านหรือเปล่า ถ้าท่านผู้ฟังคิดให้รอบคอบ การเมืองในประเทศไหนก็ตาม คนที่เป็นนักการเมือง ก็ต้องคิดถึงการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ  แต่ปรากฏว่า ข่าวที่ออกมา สภาล่มบ้าง  สงสัยคุณเนวิน ไม่เอาด้วย รวมถึงเหตุแกนนำพรรคภูมิใจไทยออกมาขู่ว่า อาจจะไม่ยกมือโหวดให้ร่าง พรบ.งบประมาณในวาระ 2 – และ 3 เพื่อประท้วงที่ ครม. ไม่ผ่านโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี. 4,000 คัน หรือ ข่าว สส. (งูเห่า) ย้ายพรรค ถ้าท่านผู้ฟัง ฟังข่าวแต่พวกนี้เรื่อยๆ ก็จะเครียด

 

จริงๆ แล้ว เราควรมาศึกษา  ว่างบประมาณแผ่นดินปีนี้ จะทำให้ประเทศของเราก้าวหน้าไปถึงไหน เพราะเม็ดเงิน 2 .7 ล้านล้านบาท เป็นงบฯ ที่ไม่ใช่น้อย และคนที่ดูแลงบฯ ก็เป็นนักการเมืองมืออาชีพ  คำว่า “มืออาชีพ” ในที่นี้ หมายถึง มือหางบประมาณอาชีพ ไม่ได้เป็นมืออาชีพที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปข้างหน้า ผมก็เลยเห็นว่า เราไม่ควรให้เวลากับข่าวที่ไร้สาระมากเกินไป

 

เราน่าจะมาดูว่า งบประมาณรายจ่ายปี 2554 (รัฐบาลกำหนด 2.07 ล้านล้านบาท เป็นงบประมาณแบบขาดดุลประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยรายได้จำนวน 1.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบรายจ่างประจำ 1.6 ล้านล้านบาท  ชดเชยเงินคงคลัง 30,000 ล้านบาท งบชำระเงินกู้ 67,000 ล้านบาท และงบประมาณลงทุน 341,000 ล้านบาท หรือประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณรวม : กรุงเทพธุรกิจ 17 ส.ค. 53) มันมีอะไรน่าสนใจ  ที่น่าสนใจ คือ งบประจำ เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมด เอาไปทำอะไรไม่ได้เลย เพราะเป็นงบผูกพันที่ต้องใช้อยู่แล้ว เช่น เงินเดือนข้าราชการ เหลืออยู่เป็นงบลงทุน 3 แสนกว่าล้าน ซึ่งเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมด ท่านผู้ฟังลองคิดดู จะนำไปทำอะไรคงไม่ได้มาก  ถ้าเราจะทำรถไฟความเร็วสูง หรือ จัดงานเวิล์ดเอ็กซ์โป 2020 ก็คงไม่ได้

     

และถ้าเรามองว่างบฯ  3 แสนกว่าล้านมันเยอะ มันก็ต้องไปเปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี หรือ ไต้หวัน  ว่างบประมาณแผ่นดินของเราเป็นอย่างไร และประเด็นที่สอง ก็คือ งบประมาณของเรา เป็นงบฯ ขาดดุล ประมาณ 4 แสนล้าน ก็ยังดีเมื่อเทียบกับ จีดีพี. ของเราคงไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว เราก็ยังประเทศที่การคลังดี  ซึ่งปีนี้เราเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น แต่ในระยะยาว ท่านผู้ฟังก็คงทราบเราจะมีงบประมาณที่จะผูกไว้กับเรื่องสวัสดิการ ซึ่งปีนี้ยังไม่มี ถ้าปีต่อไป รัฐบาลต้องใช้เงินในเรื่องรัฐสวัสดิการ เงินที่มีอยู่ก็ไม่พอ ก็ต้องกู้เขามา

 

ประเด็นที่สำคัญ คือ อยากให้คนไทยดูงบประมาณ ว่าเงินใช้ไปได้ประโยชน์อะไร และสิ่งหนึ่งเราต้องยอมรับ คือ งบลงทุน ส่วนหนึ่งก็หายไปกับการเมือง อาจ 10 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่ประเทศไทยเรา ต้องระมัดระวัง เพราะว่างบประมาณแผ่นดินของเรา  ก็เหมือนกับ “เงินหลวง ก็คือ เงินฉัน”  หรือ สมัยที่คุณทักษิณเขาเรียก “ผลประโยชน์ทับซ้อน”  เมืองถึงมีคนอยากเป็นนักการเมืองกัน ก็จะได้ร่ำรวย ซึ่งไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช่ผม “ไม่เข้าใจ”  หรือ “งี่เง่า” ผมก็เข้าใจ และอยากให้ท่านผู้ฟังใช้เวลาศึกษางบประมาณฯ ลึกๆ

 

ส่วนกรณีที่คุณณัฐปภัสร์ ตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณ อาจไม่ผ่านสภา เพราะขัดแย้งกับพรรคร่วม (บางพรรค)   และนายกฯ ประกาศยุบสภา  มีความเป็นไปได้ไหม ศ.ดร.จีระ เห็นว่า ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ยังมีการช่วงชิงอำนาจกัน ทางฝ่ายคุณทักษิณ ก็เล่นหลายเกมส์  เกมส์เสื้อแดง เผาเมือง ท่านก็แพ้ไปแล้ว ขณะนี้ท่านก็ต้องมาเล่นในสภา วันก่อนก็เล่นเกมส์เลือกตั้ง ส.ส. กทม. ให้คุณกอบแก้วมา ก็แพ้ไปแล้ว มาถึงเกมส์ซื้อ ส.ส. ให้คว่ำงบประมาณฯ ผมก็เชื่อว่า คุณทักษิณ คิดเรื่องนี้แน่นอน เพียงแต่ว่า เป็นจังหวะที่ ส.ส. เองมองแล้วว่า รับเงินไปแล้ว ถึงคว่ำรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว หรือ ยุบสภา ฟอร์มรัฐบาลใหม่ ก็ลำบาก และก็น่าจะยาก

 

ผมมีความมั่นใจอย่างหนึ่ง ว่า กระแสของคุณทักษิณในสายตาของคน ทั้งในกรุงเทพ ในต่างจังหวัด หรือภาคอีสาน ไม่ดีกว่าเดิม ไม่งั้นจะมี ส.ส.เพื่อท้ายย้ายพรรคมาอยู่กับคุณเนวินทำไม ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนให้เห็น  และผมเห็นว่า การเผาบ้านเผาเมือง และการใช้ความรุนแรง มีผลกระทบต่อการเมืองมากน้อยแค่ไหน ซึ่งวันนี้ยังไม่มีใครรู้ อยากไรก็ตาม ในที่สุดแล้วเชื่อว่างบประมาณ จะผ่าน และก๊วนคุณเนวินก็จะได้ประโยชน์จากงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณไทยเข้มแข็ง ถึงจะมีการต่อรองกันบ้าง ในที่สุดแล้วก็ผลประโยชน์ร่วมกัน ให้จับตาดู รถเมล์ 4,000 คัน  เพราะที่เลื่อนออกไป ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วย แต่เลื่อนเพราะให้ไปแก้ไข

 

 

 

 

ช่วงที่สอง ....  ศ.ดร. จีระ และ คุณณัฐปภัสร์ ร่วมกันสัมภาษณ์ นักธุรกิจ 2 ท่านที่ร่วมโครงการ Network Development of Trade Associations in ASEAN+6 Countries visit to Shanghai

 

คนแรก คือ คุณลำเพราพรรณ ลีรพันธุ์ ผู้แทนกลุ่มนวัตกรรมไทยเพื่อความปลอดภัย

 

ศ.ดร.จีระ .– เป็นไง ที่ไปร่วมโครงการ Network Development of Trade Associations in Countries visit to Shanghai  ที่ประเทศจีนครั้งนี้

 

คุณลำเพราพรรณ .- ค่ะ ในนามกลุ่มนวัตกรรมไทยเพื่อความปลอดภัย เป็นสมาคมการค้าใหม่ ก็เป็นโอกาสที่ดีได้ไปร่วมโครงการสร้างเครือข่ายทางการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นโครงการใหม่ และเป็นโครงการที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการสร้างโอกาสทางการค้ากับกลุ่มประเทศ ASEAN+6 ซึ่งรวมกันแล้วเศรษฐกิจประมาณครั้งโลก ซึ่งเป็นสมาคมเล็ก ๆ เราก็ดีใจ ที่ได้มีโอกาสไปเปิดตลาดใหม่ ใหญ่ขนาดนั้น ได้เรียนรู้ความต้องการสินค้าของตลาด และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ รวมถึงขั้นตอนการติดต่อ และ การเจรจาต่างๆ

 

ศ.ดร.จีระ .– ในส่วนของสินค้าที่นำไปเปิดตลาด ASEAN+6

คุณลำเพราพรรณ .- เพิ่งมีโอกาสออกไปเปิดตลาดสินค้าเพื่อความปลอดภัย “หน้ากากป้องกันควันไฟ” อย่างจริงๆ จังๆ ซึ่งเป็นมิติใหม่ของสังคมและโลกในอนาคต เวลานี้ต่างประเทศตื่นตัวกันมากเรื่องอุบัติภัย (ไฟไหม้) เพราะเป็นเรื่องที่เกิดใกล้ตัวที่สุด และทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุด คงจำกันได้คำขวัญไทย  “โจรปล้น 7 ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ 1 ครั้ง” ซึ่งอุปกรณ์ (หน้ากากฯ) จะช่วยไม่ให้สำลักควันไฟได้

 

คุณณัฐปภัสร์.- เนื้อๆ หลักๆ การไปเปิดตลาดครั้งนี้ คุณได้อะไร

คุณลำเพราพรรณ .- ได้พบกับหลายๆ ฝ่าย ซึ่งผู้แทนการค้าในเซียงไฮ้ เขาจัดให้พบกับผู้แทนการค้าใน ASEAN+6  และ เมืองเซี่ยงไฮ้ เราก็ได้มีโอกาสแนะนำสินค้าของเรา ซึ่งเป็นนวัตกรรมไม่เหมือนกับที่ไหนในโลก ซึ่งเขาก็สนใจมาก โดยเฉพาะตัวแทนของนครเซี่ยงไฮ้ เขาเชิญเราไปออกบูธงานป้องกันอุบัติภัย เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ด้วย

 

ศ.ดร.จีระ . กล่าวเสริมว่า วัตถุประสงค์การไปครั้งนี้ก็คือ ให้เกิดการทำสัญญาทางธุรกิจกัน เชื่อมโยงธุรกิจของเรา ทั้งในนครเซี่ยงไฮ้ และ ASEAN+6 รวมถึงเกิดการเชื่อมโยงสินค้าซึ่งกันและกัน (ด้านวัตถุดิบ)  ซึ่งนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้เน้น และให้การสนับสนุนเรื่องนี้มาก

 

คุณณัฐปภัสร์.- ทางจีนจะได้อะไร และเราจะได้อะไร

คุณลำเพราพรรณ .-  เป็นการสร้างพันธมิตรกันก่อน เพราะจีน และ ASEAN+6 เป็นตลาดที่ใหญ่ เราไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด เราจึงต้อง จอยท์เวนเจอร์ทางธุรกิจกัน ( Business Joinventure) และเป็นการปกป้องทางทรัพย์สินทางปัญหาของเราด้วย

 

ศ.ดร.จีระ .- กล่าวเสริมว่า รัฐบาลมองไทยดี รู้ว่าไทยกับจีน พื้นฐานมีความใกล้ชิดกันมาก ทั้งเชื้อชาติ ประวัติศาสตร์ คนจีนคนไทยเป็นพี่น้องกัน และการทำธุรกิจก็ต้องจับมือกัน ถ้าโลกในอนาคตแข่งขันกันอย่างเดียว ก็อยู่ไม่ได้ อย่างกลุ่มประเทศยุโรปก็จับกันเป็นตลาดเดียว และ เราก็จับมือกันเป็นกลุ่มอาเซียน + 6 ด้วย ซึ่งจะทำให้เรามีศักยภาพสู้เขาได้

 

จากนั้น คุณสุรินทร์ พิชัย นายกสมาคมมันสำปะหลังไทยภาคเหนือ ให้สัมภาษณ์ถึงการไปเจรจาธุรกิจกับคู่เจรจาที่เซี่ยงไฮ้ ว่า  ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากนักธุรกิจของจีน ได้มีการทำ และทำข้อตกลงร่วมกันในการช่วยเหลือสมาชิกทั้งฝ่ายไทย และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะทำให้มีความสัมพันธ์ ติดต่อธุรกิจมันสำปะหลังต่อไป

 

คุณสุรินทร์ ยังบอกด้วยว่า จีนเป็นตลาดมันสำปะหลังใหญ่ของเรา โดยเฉพาะมันเส้น ซึ่งผลิตจากหัวมันสด จาก จ.กำแพงเพชร  และการที่เราไปครั้งนี้ก็ได้พบปะกับผู้ซื้อโดยตรง (ปัจจุบันต้องผ่านคนกลาง) และเราได้นำเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการ ก็จะทำให้มูลค่าขายสินค้าเพิ่มขึ้น และยังสามารถกลับมาพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรของเราต่อไปในอนาคตได้

 

ศ.ดร.จีระ .- หลังจากเจอผู้ซื้อโดยตรง มีโอกาสขยายการค้าบ้างไหม

คุณสุรินทร์.- ก็มีผลตอบรับที่น่าพอใจ หลังจากที่เราได้เสนอตัวอย่างสินค้ากับเขาไป (มันเส้น – มันบด) ซึ่งเขาให้ความสนใจ และติดต่อกับมาถามรายละเอียด ปริมาณ และ ราคา ยอดซื้อ ที่เราสามารถจะจัดส่งได้ ซึ่งจะต้องมีการประสานต่อไป และถือว่าตรงนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามีโอกาสขยายตลาดครับ

 

คุณณัฐปภัสร์. – ท้ารัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์มีโครงการอย่างนี้อีก อยากไปไหม

 

คุณสุรินทร์.-  ก็อยากไปครับ เพราะเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ซึ่งการค้าทำธุรกิจการค้ากับต่างประเทศมีอุปสรรคเยอะมาก ถ้าภาครัฐช่วงประคับประคองอย่างนี้ โอกาสที่จะผิดพลาด และประสบความสำเร็จ ก็จะสูงขึ้น

 

 

คุณณัฐปภัสร์. – อาจารย์จีระ ในฐานะที่นำไป  กลุ่มธุรกิจที่ไป ไม่ว่าจะเป็นยางพารา มันสำปะหลัง มีการทำ MOU กันมากน้อยแค่ไหน

 

ศ.ดร.จีระ.-  เขาก็ทำ MOU กันทุกสมาคม อย่างคุณสุรินทร์ ก็ทำกับสมาคมอาหารสัตว์ สมาคมอาหาร โดยก่อนไป กระทรวงพาณิชย์ได้ส่งตัวแทนประสานกับตัวแทนจีนไว้ล่วงหน้าแล้ว  ซึ่งการทำงานไม่ใช่แบบข้าราชการ เป็นแบบ “ทูตวัฒนธรรม” ประสานนักธุรกิจทั้งสองฝ่ายให้มีความใกล้ชิดกัน อย่างญี่ปุ่น หรือ สหรัฐ ก็มีทูตวัฒนธรรม เจรจาทำการค้ากัน และยังเห็นว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีความสำคัญด้านการค้าในอนาคต นอกจากนี้ ทางจีนก็จะเข้ามาสร้างโรงงานไบโอพลาสติกใน จ.กำแพงเพชร  ซึ่งทางคุณสุรินทร์ ยืนยันว่า มีวัตถุดิบเพียงพอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Hard Talk Thailand

ครั้งที่ 4 On Air 28/08/53

ก่อนอื่นต้องขออภัย .. ที่ไม่ได้ “อัพเดท” รายการ “Hard Talk Thailand” ขึ้นเว็บ เพราะคอมพิวเตอร์ที่สถานีโดนไวรัสเล่นงาน ... เพิ่งเยียวยา แก้ไขจนใช้งานได้ครับ ...

สรุป Hard Talk Thailand On Air 28/08/53 อจ.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านสนทนากับ อจ. สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ครับ

ประเด็นแรก รศ.ดร.สมชาย ท่านวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง (19 พ.ค. – ปัจจุบัน) ว่า ภาพรวมสถานการณ์คงจะพัฒนาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา หมายความว่า การแยกขั้วยังคงมีต่อไป เพียงแต่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตรงที่การแยกขั้ว ก่อนหน้านี้นั้น พลังอำนาจอาจห่างกันไม่ไกลนัก พอห่างกันไม่ไกล ก็เกิด “สงครามกลางเมือง” ดังจะเห็นมาตั้งแต่ เม.ย. 52 – เม.ย. และ พ.ค. 53

โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล คิดว่าอำนาจต่อรองไม่แพ้กัน ก็เกิดความรู้สึกว่า ต้องทำอะไรบางอย่าง จึงนำไปสู่สถานการณ์ “โชว์ดาว”

ผลของการโชว์ดาว อย่างน้อยที่สุดก็มีการเปลี่ยนแปลงทาง “ อีเควชั่น ” นั่นก็คือ “สมการของอำนาจ” และ “สมการของอำนาจ” ตอนนี้ รัฐบาลมีความได้เปรียบ เพราะฝ่ายตรงข้ามทำขึ้นนั้น ค่อนข้างลามปรามไปถึงจุดจุดหนึ่ง มีการเผาบ้าน เผาเมือง จุดนี้เองที่รัฐบาลสามารถนำมาเป็นข้ออ้าง นำมาใช้ได้

ทางหนึ่ง ก็คือ ประชาชนจำนวนมาก ที่เป็นกลางเห็นว่า การกระทำดังกล่าวทำให้ประเทศแย่ลงแบบนี้ และเห็นว่าควรมาสู้กันตามแนวทางสันติ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นการเพิ่มความชอบธรรมให้กับรัฐบาล

อีกกรณี การที่มี ส.ส. เพื่อไทยย้ายพรรคกันมากช่วงนี้ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพรรคเพื่อไทยเริ่มมีความไม่เป็นเอกภาพ มีปัญหา และเริ่มอ่อนแอลง

ดูได้จากผลการเลือกซ่อม ส.ส. กทม. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสนามชี้วัดความพึงพอใจของประชาชนต่อพรรคการเมือง

8 หมื่นกว่าคะแนนที่ พท. ได้ ถือว่าไม่น้อย แต่ก็แพ้แก่ ปชป.

ถ้าจะวิเคราะห์ ในอดีต คะแนนนิยม พท. กับ ปชป. สูสีกันมาก แต่การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า มีประชาชนที่เคยผูกพันกับระบบทักษิณ หรือ พลังเงียบ ที่ไม่พอใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง กลับมาเทคะแนนให้ ปชป.

นี่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เพิ่มความชอบธรรมให้กับรัฐบาล และเป็นการลดอำนาจการต่อรองลงไป

อย่างไรก็ตาม อจ.สมชาย ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทย และ บารมีของคุณทักษิณ ยังคงแข็งแรงอยู่

โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน นั้น โดยส่วนตัวคิดว่า คะแนนนิยมของคุณทักษิณ และ พท. ยังมีอยู่ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเทียบกับในอดีต ความนิยม ทั้งต่อคุณทักษิณ และ พรรคเพื่อไทยในอนาคตมีแต่เท่าตัว และลดลง และผมคิดว่าลดลง แต่อาจไม่มาก ซึ่งอาจจะคิดผิดก็ได้ เพราะเกมส์มันยังไม่จบ

ระยะเวลาจากนี้ไป ยังอีกหลายเดือนกว่าจะมีการเลือกตั้ง บวกกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็เป็นตัวช่วยรัฐบาล และรัฐบาลเองก็มีการแก้เกมส์ ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายๆ ด้าน ราคาพืชผลทางการเกษตรที่กระเตื้องขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนจะเรียกคะแนนเสียงเพิ่มให้รัฐบาล ยิ่งถ้ารัฐบาลสามารถสร้างอำนาจ สร้างฐานขึ้นมาได้ โอกาสก็มีมากขึ้น

ผมถึงมองว่า คะแนนเสียงพรรคเพื่อไทยมีแต่เท่าตัว และ ลดลง

ส่วนการเคลื่อนไหวของคุณทักษิณ ต่อแต่นี้ อจ.สมชาย มองว่า จะมีการปรับลดบทบาทลง

Hard Talk Thailand On Air 11/09/53 ก่อนที่สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล (วันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา) เพื่อยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือ และชี้แจงข้อเท็จจริงเหตุการณ์ในพื้นที่ ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวใน รายการ Hard Talk Thailand กับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ ถึงความเป็นอยู่ของครูและบุคคลากรทางการศึกษา ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี) รวมถึงปัญหานักเรียน นักเลง ตีกัน อจ.จีระ ได้หยิบยกกรณีเด็กนักเรียน ม. 6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ถูกคู่อริแทงที่ห้างมาบุญครอง มาพูดคุย โดย คุณชินวรณ์ ชี้แจงว่า ได้ไปเยี่ยมเด็กที่ถูกแทงที่ รพ.ตำรวจ และจากการตรวจสอบ ได้มีการจับกุมนายเม่น มือมีดแล้วตามที่เป็นข่าว โดยให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เหมือนบุคคลโดยทั่วไป ไม่มีการไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ ยังมีการพูดกันเชิงนโยบาย โดยเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน รวมทั้งโรงเรียนในสังกัดเตรียมอุดม หรือ กลุ่มจตุรมิตร ที่มักมีเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อย มาวางนโยบาย และมาตรการ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสมาคมผู้ปกครอง จากการหารือ มีการวางมาตรการเชิงรุก และ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้ว คือ โรงเรียนในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด เราจะทำประวัติ ข้อมูล ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ กองสารวัตรนักเรียน เพื่อดำเนินการต่อไป พร้อมตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งมีหัวหน้าผู้ตรวจระดับ 10 กองสารวัตรนักเรียน โรงเรียน ตำรวจ และสมาคมผู้ปกครอง มาดำเนินการแก้ไข ซึ่งขณะนี้ มาตรการดังกล่าวเริ่มดำเนินการแล้ว อาทิ ตั้งจุดตรวจตามจุดเสี่ยงหลายพื้นที่ ทั้งนี้ คุณชินวรณ์ ยอมรับว่า เหตุการณ์นักเรียนเทพศิรินทร์ถูกแทง เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญของสังคมพอสมควร เพราะเป็นเด็กมัธยม ซึ่งอยู่ในวัยเรียน และเด็กที่ถูกแทงทางผู้ปกครองก็ยืนยันว่า เป็นเด็กเรียน คุณชินวรณ์ ยังบอกด้วยว่า ปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทปัจจุบันกลายเป็นเรื่องซับซ้อน พอสมควร ไม่ใช่เรื่องของสถาบันอย่างเดียว เป็นเรื่องของพฤติกรรมวัยรุ่น เป็นปัญหาทางครอบครัว บางกรณีก็เกี่ยวกับยาเสพติดด้วย ทางกระทรวงจึงมีมาตรการระยะยาวดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควบคู่ไปด้วย สำหรับเหตุการณ์สลด ครูสองสามีภรรยาถูกยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา คุณชินวรณ์ ชี้แจงว่า ได้ลงไปพื้นที่เพื่อปรอบขวัญครอบครัว และบุคลากรการศึกษาในพื้นที่ พร้อมมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวนายวิลาศ เพชรพรหม ครูโรงเรียนบ้านมะนังกาหยี และนางคมขำ เพชรพรหม ครูโรงเรียนบ้านทุ่งโต๊ะดัง ซึ่งทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน ขณะขี่รถจักรยานยนต์นำผักไปส่งที่ตลาดตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จำนวน 1 ล้านบาท และสั่งการให้บรรจุทายาทเป็นครู ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนข้อเรียกร้องของครู และทางสมาพันธ์ครู จากการที่ได้ไปพบครูทั้งหมด 500 คน ก็ได้ยืนยัน และ ชี้แจงถึงนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉย และมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของครู โดยกำชับแผนรักษาความปลอดภัยครู ซึ่งได้มอบนโยบายไว้ตั้งแต่ตอนเปิดภาคเรียน รวมทั้งได้พูดคุยกับแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยแก่ครูให้เข้มข้นขึ้น ทั้งนี้ คุณชินวรณ์ ยอมรับว่า ช่วงหลัง ครูตกเป็นเป้าของผู้ก่อการร้าย ที่จะลอบทำร้ายครู ไม่ว่าจะเป็นช่วงปฏิบัติราชการ และนอกเวลาราชการ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนมาก และตัวแทนครู ท่านนายกฯ ได้มีความกรุณาให้เข้าพบที่ทำเนียบฯ (วันจันทร์ที่ 13 ก.ย.) โดยทางกระทรวง และสมาพันธ์ครูได้ทำกรอบการเจรจาร่วมกัน อาทิ เรื่องของการปูนบำเหน็จ ความดี ความชอบให้กับครูที่เสียชีวิตในพื้นที่เสี่ยงภัย เพิ่มค่าตอบแทนเสี่ยงภัย รวมถึงการเลื่อนวิทยาฐานะพิเศษ ซึ่งทั้งหมด ก็ได้มีการเตรียมการแล้ว ซึ่งจะมีการตกลงกันในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 14 ก.ย. นี้ คุณชินวรณ์ ยืนยันด้วยว่า กลุ่มครู ยังยืนยันที่จะอยู่สอนนักเรียนในพื้นที่ ไม่มีการย้ายออกแต่อย่างใด และพร้อมจะต่อสู้ที่จะรักษาโรงเรียนต่อไป ซึ่งยอมรับว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ล่อแหลม ครูต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลา หากทำกิจกรรมใด นอกเวลาราชการ ก็ต้องประสานกับทหาร ตำรวจทุกครั้ง และทางครูเอง ก็ทราบปัญหา และอุปสรรคเหล่านี้ เพราะพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว ไม่ใช่เป็นโจรธรรมดา เป็นขบวนการก่อการร้าย รัฐบาลจึงมีนโยบายเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งต้องเดินหน้าต่อไป ทำอย่างต่อเนื่อง มีกรรมการยุทธศาสตร์ มีรัฐมนตรีชายแดนใต้ มี ศอ.บต. ขึ้นมา หลังจากถูกยุบไปในรัฐบาลที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ได้มีองค์กรชัดเจนดูแล และกำหนดยุทธศาสตร์ ในส่วนของการศึกษานั้น ได้เพิ่มมาตรการ 2 เรื่อง คือ มีกรรมการยุทธศาสตร์เรื่องการศึกษาชายแดนใต้ และมอบหมายให้มีกองส่วนหน้าของกระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะไปอยู่ในพื้นที่ เพี่อตรวจสอบข้อมูล รายงาน และร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ เป็นเครือข่าย หรือ เรียกว่า กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า อีกประเด็นหนึ่ง อจ. จีระ ได้พูดคุยกับคุณชินวรณ์ ก็คือ ปัญหาเด็กนักเรียนหนีไปเล่นเกมส์ โดยคุณชินวรณ์ ชี้แจงว่า ปัญหาดังกล่าวได้มีมาตรการไว้ตอนเปิดภาคเรียนแล้ว ทั้งพฤติการณ์การหนีเรียนมาเล่นเกมส์ พฤติการณ์ด้านชู้สาว ตลอดจนเรื่องการทะเลาะวิวาท ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่มีต่อเนื่องมานานแล้ว ขณะนี้ ได้มีการตั้งกรรมการ และมีการวิจัย เพื่อหาข้อมูลที่ชัดเจนมาแก้ไขปัญหา โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าตำรวจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการสุ่มตรวจ และจะประชุมคณะกรรมการที่ ครม. เห็นชอบ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสังคมพัฒนามนุษย์ฯ รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรม ที่จะต้องช่วยวางมาตรการควบคุมร้านเกมส์ ซึ่งจะมีการประชุมกันในวันศุกร์นี้ (17 ก.ย.) และยืนยันจะเดินหน้ามาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะไม่ปล่อยให้เป็นไฟไหม้ฟางต่อไป

เปิดใจสุภาพบุรุษทหาร ...“ไม่ใช่แค่ได้เป็น ต้องเป็นให้ได้”

พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ

ปลัดกระทรวงกลาโหม

วันเสาร์ที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา รายการ Hard Talk Thailand คลื่น FM 90.5 กรมการพลังงานทหารออกอากาศประจำทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 – 14.00 น. ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ เชิญ พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม มาพูดคุย ก่อนอำลาชีวิตราชการ

หลังจากทักทาย ดร.จีระ บอกกับ พล.อ.อภิชาต ถึงการเชิญมาพูดคุยในรายการว่า “ประทับใจในความสามารถ และ ความสุขุม ตลอดจนการวางตัวในการเป็นผู้นำทางทหาร” จึงอยากทราบถึงความเป็นสุภาพบุรุษทหารตลอดเวลา ได้รับการฝึกฝนมาจากไหน

พล.อ.อภิชาต บอกว่า “ผมค่อนข้างจะโชคดี ที่ในช่วงชีวิตของการรับราชการ ที่ได้มีโอกาสรับราชราชการในกองทัพบก คือที่กองทัพภาคที่ 1 ซึ่งถือว่า เป็นกองทัพที่มีความสำคัญของกองทัพบก และช่วงนั้น ได้ทำงานช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบของกองกำลังรักษาพระนคร และมาเติบโตในช่วงที่มารับราชการในกองอำนวยการกลาง รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ซึ่งอยู่ในสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด หรือ กองบัญชาการกองทัพไทยในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นอีกระดับหนึ่งของการร่วมรบผสม ในส่วนของกองทัพบกเรียกว่า การปฏิบัติทางยุทธวิธี ที่สุดแล้ว ก็มารับราชการงานด้านนโยบาย ในสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งถือว่าโชคดีของผม ที่ผ่านงานทั้งด้านผู้ปฏิบัติงาน การร่วมรบผสม และผู้ดูแลด้านนโยบาย

อจ.จีระ .- วางแนวชีวิตหลังเกษียณราชการไว้อย่างไร ?

พล.อ.อภิชาต.- โอกาสแรก ขอพักผ่อนกับครอบครัวก่อน ที่ผ่านมาได้ทำงานให้กับทางราชการตลอด ไม่ค่อยได้มีโอกาสอยู่กับครอบครัวเท่าไหร่ ทุ่มเทให้กับงานเสียส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นขอเวลาอยู่กับครอบครัว ดูแลเลี้ยงลูก เลี้ยงหลานไปก่อน

อจ.จีระ .- ผมประทับใจท่านมาก ในการทำงานช่วงเหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย และหลังเหตุการณ์สงบ ทาง ศอฉ. ได้มอบให้ท่านทำงานด้านปรองดอง อยากให้เล่าถึงการทำงาน ว่า ได้ทำอะไรไปบ้าง

พล.อ.อภิชาต.- ตามคำสั่งที่ ศอฉ. ได้ตั้งมารับผิดชอบด้านการเยี่ยวยา พร้อมกับรับผิดชอบด้านการปรองดองไปด้วย ซึ่งเรื่องการเยี่ยวยา ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่มีศักยภาพในการที่เข้าไปดูแล เยียวยา ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้ที่มาชุมนุมกัน มาจากหลากหลายทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ต้องให้ความเป็นธรรามกับเขา และชี้แจงกับเขาให้เข้าใจ โดยเฉพาะผลกระทบกับเขาด้านจิตใจ ซึ่งขณะนี้มีหลายหน่วยงานเข้าไปดูแล ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข (จิตแพทย์) รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีครูเป็นจำนวนมากเข้าร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งเรามองว่า เป็นความไม่เข้าใจของท่านมากกว่า จากการที่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

อจ.จีระ .- การเยียวยาจะทำต่อเนื่องไหม

พล.อ.อภิชาต.- คงต้องทำกันไปเรื่อย ขณะนี้ ทั้งกระทรวงศึกษา กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงมหาดไทย ก็ยังดำเนินการอยู่ กระทรวงยุติธรรมก็มีส่วนร่วม ที่จะเข้ามาดูแล และให้ความเป็นธรรม โดยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายต่อผู้ที่มาชุมนุม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่างๆ

อจ.จีระ .- ถือว่าเป็นข่าวดี หลัง 4 เดือนไปแล้ว ข่าวการทำงานเรื่องการเยียวยา ข่าวการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ดูเหมือนว่าน้อยลงไป และในวันสองวันก็มีข่าวว่าจะมีการเคลื่อนไหวกันอีก ทาง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน. รวมถึงท่านมีส่วนเข้าไปให้ความกระจ่างต่อคนเหล่านั้นอย่างไร

พล.อ.อภิชาต.- ในคณะของเรา ก็มีตัวแทน กอ.รมน. ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเราก็ได้พูดกันในเรื่องนี้ และ กอ.รมน. ก็รับไปดำเนินการชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชน โดย กอ.รมน. ได้จัดชุดปฏิบัติลงพื้นที่ทันทีหลังจากเหตุการณ์ยุติลง ถึงขณะนี้ ทาง กอ.รมน. ก็ยังทำอยู่

อจ.จีระ .- เรื่องปรองดอง ที่ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งขึ้นมา ทั้งชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ และ ชุดของ คุณหมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส รวมถึงท่านคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกฯ ให้เข้ามารับบทเป็นประธานกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้มีการร่วมมือกันหรือไม่ หรือ มีการขอความร่วมมือ หรือ ขอข้อมูลมาบ้างไหม

พล.อ.อภิชาต.- ในส่วนของ ท่านคณิต มีการประสานงานกันตลอด และท่านอยากจะมาพูดคุยกับเราด้วย ในส่วนของ ศอฉ. ซึ่งท่านอยากทราบข้อมูลในการดำเนินการต่างๆ ซึงขณะนี้ ทาง ศอฉ. ได้เตรียมข้อมูลที่จะชี้แจงต่อท่านคณิตแล้ว

ส่วนคณะของท่านอานันท์ อดีตนายกฯ ทาง ศอฉ. มีคนส่งข้อมูลให้ท่านอยู่ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย

อจ.จีระ .- ศอฉ. ตั้งท่านปลัดโดยตำแหน่ง หรือ ตัวบุคคล ?

พล.อ.อภิชาต.- ตั้งโดยตำแหน่งปลัดครับ เมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว ปลัดคนใหม่ ก็เข้ามารับหน้าที่ต่อ

อจ.จีระ .- สนิทกันไหม กับ ปลัดคนใหม่

พล.อ.อภิชาต.- ท่าน พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นเดียวกัน เตรียมทหารรุ่น 8

พล.อ.อภิชาต.- ผมอยากจะเล่าให้ฟัง ในฐานะที่ผมเป็นนักวิชาการ ที่ไปสอนหนังสือ และพบปะกับชาวบ้าน โดยเฉพาะในภาคอีสาน และ ภาคเหนือ ไปก็ไม่มีใครโห่ เพราะผมไม่ใช่นักการเมือง ไปแล้วก็ยกปัญหาให้เขาเห็น ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เหมือนอย่างที่สมัยก่อน กอ.รมน. ลงไป สู้กับคอมมิวนิสต์ ก็มีคนพูดว่า กอ.รมน. ทำงานเข็มแข็ง ทำด้วยจิตวิญญาณ ความรักประเทศ มาระยะหลังๆ และจากการฟังการให้สัมภาษณ์ของท่านอภิชาต ซึ่งผมทำด้านทรัพยากรมนุษย์มา ก็ยังมั่นใจในแนวคิด และการต่อสู้ของท่าน และ กอ.รมน. ซึ่งจะต้องต่อสู้กันทางจิตวิทยา และเหตุผล จึงอยากจะถามถึงภาวะผู้นำ ว่า ได้มีการปลูกฝังไหม และด้วยวิธีใด

พล.อ.อภิชาต.- ในส่วนตัว ได้พยายามทำตลอด ทุกๆ วิถีทางบนพื้นฐาน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในทางปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ว่า ต้องทำอย่างไร อะไรต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ภาระหน้าที่ของทหาร ก็คือ ปกป้องสถาบัน ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เพื่อชาติเกิดความมั่นคง ดังนั้น ในความเป็นผู้นำต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่าง ให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับเรา บนพื้นที่ฐานที่เราต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้าที่จะพูด ในขณะเดียวกันเราต้องดูแลเรื่องสวัสดิการของเขา เพราะบุคลากรของเราค่อนข้างจะขาดแคลนในเรื่องสถานความเป็นอยู่ต่างๆ ซึ่งผู้บัญชาเขาต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผมลงไปดูเขาถึงระดับครอบครัวเขา ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนากำลังคนของเราให้มีความความรู้ ความสามารถ คือสิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้งานของเราสำเร็จลุล่วง

พล.อ.อภิชาต ย้ำด้วยว่า นอกเหนือจากการทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับในความเป็นผู้นำของเรานั้น เขาก็ต้องมีการพัฒนาด้วย และเป็นสิ่งที่เราต้องพยามทำ คือ ทำความเข้าใจกับเขา ซึ่งเขาคงไม่สามารถที่จะเป็นได้อย่างเราทั้งหมด เราเองก็ต้องทำความเข้าใจกับเขา ว่าในสิ่งที่เราทำไป บางครั้งก็ไม่ได้เป็นไปตามที่เราต้องการทั้งหมด เพราะเขาอาจคิดไม่เหมือนเรา อาจเข้าใจ หรือมีความสามารถเท่าเรา ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกัน และให้อภัยกัน

อจ.จีระ .- ท่านอภิชาตได้รับปลูกฝังการเป็นผู้นำจากไหน จากครอบครัว จปร. หรือตัวเราเอง

พล.อ.อภิชาต.- เรียนว่า จากหลายๆ โอกาส จากครอบครัวก็มีส่วน เมื่อเข้าไปอยู่ในระบบของโรงเรียนทหาร เตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย ก็มีการปลูกฝังกัน เผอิญผมได้มีโอกาสไปฝึกการเป็นผู้นำที่เกาหลี พร้อมกับท่านวิษณุ เครืองาม ครั้งหนึ่ง และมีโอกาสไปฝึกที่สวิสส์อีกครั้ง ไปฝึกเรื่องของการดูแลจิตใจตัวเองให้มั่นคง เป็นที่โชคดีที่ได้ไปเรียนสิ่งเหล่านี้มา

อจ.จีระ .- อยากจะเรียน ว่า ในอนาคตถ้าท่านมีเวลา ผมมีหลักสูตรสร้างผู้นำ ล่าสุด ที่ ป.ป.ช. ผมจะไปพูดเรื่อง “ผู้นำกับธรรมาภิบาล” ซึ่งไม่ได้ไปสอนเขา แต่จะไปฝึกให้เขาค้นหาตัวเอง ว่าเกิดมาเพื่ออะไร ทำไปทำไม อย่างนี้ โดยเฉพาะ เรื่องความนิ่งนี่สำคัญ ผู้นำบางคนว๊อกแวกกับสภาพแวดล้อม

พล.อ.อภิชาต.- ครับ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละคนด้วย สภาพแวดล้อม ก็อย่างที่อาจารย์พูด ก็ถูกครับ คือ เราจะต้องควานหาตัวเราเองให้ได้ เราเองมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไง ซึ่งผมเองก็จะพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชาของผมตลอดว่า ในสิ่งที่ผมยึดถือตลอด ก็คือ ต้องรู้จักตัวตนของตัวเอง รู้จักตน รู้จักคน คือ รู้จักคนรอบข้างเป็นยังไง อะไรต่างๆ จะให้อภัยเขาได้อย่างไร และที่สุด ต้องรู้จักงาน งานในภาระหน้าที่ของเรา ซึ่งมันต้องพัฒนาตลอด ทุกคนต้องเรียนรู้ และ พัฒนาตัวเองให้สามารถทำงานได้ และ คติพจน์ของผมก็คือ “ไม่ใช่แค่ได้เป็น ต้องเป็นให้ได้” คือ “ทำงานในหน้าที่ อะไรก็แล้วแต่ ทำแล้วต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทำได้เท่านั้น”

อจ.จีระ .- มีทฤษฎีหนึ่ง ว่า “ผู้นำ ได้รับแต่งตั้งอย่างเดียวไม่พอ”

พล.อ.อภิชาต - ใช่ครับ ต้องได้รับการยอมรับด้วย

อจ.จีระ .- ถ้าจะแนะนำให้สังคม อย่างหลักสูตรที่ วปอ. ก็ดี ที่สถาบันปกเกล้า ก็ดี หรือ ที่อื่นๆ ถ้าจะให้ฝึกผู้นำให้ดีขึ้นท่านจะแนะนำอย่างไร เพราะส่วนใหญ่คนสอนก็จะสอนตามตำราเสียเยอะ

พล.อ.อภิชาต.- ขออนุญาต เรียนท่านอาจารย์อย่างนี้ครับ ผมเชื่อว่าท่านอาจารย์สอนตรงนี้ได้ จากที่ผมจับประเด็น และสังเกตท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็เป็นผู้ทุ่มเทให้กับเรื่องนี้ ผมมองว่า ส่วนหนึ่งการที่จะสอนเรื่องนี้ได้ ต้องรู้จักคน ก็คือ ที่มาของคน สภาพแวดล้อมของคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน เราจะต้องทำความเข้าใจเขา และก็เวลาเราจะถ่ายทอดความเป็นผู้นำให้เขา ก็คงไม่สามารถรับจากเราได้ทั้งหมด แต่เราก็ต้องเข้าใจเขา และให้เขาค่อยๆพัฒนา และให้เขาหาจุดอ่อนของเขาเป็นอย่างไร จุดแข็งเป็นอย่างไร แล้วนำมาเสนอ ในลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่งผมพยายามให้เกิดในสำนักงานปลัดฯ ขณะนี้

อจ.จีระ .- ประเด็นนี้ ผมเรียกว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้” และผมก็ทำอยู่ ไม่ใช่ไปป้อนให้เขาอย่างเดียว ซึ่ง “ทุนมนุษย์” ผมเริ่มที่ธรรมศาสตร์เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว และ ตอนที่ผมไปพูดที่กองทัพอากาศ สมัย พลอากาศเอก ธนนิตย์ เนียมทันต์ (2540 – 2540) และ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก (2548 – 2551) เป็นผู้บัญชาการ ผมสังเกตดูทหารพูดถึงผู้นำ บางครั้งพูดดีกว่าพวกที่สอนตาม NBA ซึ่งไปพูดถึงผู้นำด้านธุรกิจมากเกินไป ความจริงแล้ว ผู้นำอยู่ที่ไหนก็ได้

พล.อ.อภิชาต .- ใช่ครับ ตรงไหนก็สามารถเป็นผู้นำได้

อจ.จีระ .- นอกจากเรื่องปรองดองแล้ว ผมทราบว่า ท่านอภิชาตจะพูดเรื่องผู้นำได้ดี และเวลาผมไปพูด ไม่ว่าจะไปพูดกับหมอ หรือ พวกวิศวะ ผมก็จะใช้ผู้นำทางทหารเป็นตัวอย่างในการสร้างผู้นำ

อจ.จีระ.- บอกด้วยว่า มีอธิการบดีคนหนึ่ง ท่านเสียชีวิตไปแล้ว หมอณัฐ ภมรประวัติ (ศ.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ ) ผมกับท่านเป็นที่ปรึกษาสมัยป๋าเปรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ท่านณัฐ บอกว่า “อะไรเนี่ย เราไปเรียนวิชาอะไรเนี่ย เราไม่เคยเรียนยุทธวิธีของทหารเขาเลย รู้ไหมอาจารย์ ทหารเนี่ย เขาพลาด เขาตายนะ ไอ้นักวิชาการฝอยไปเรื่อย หรือนักธุรกิจเขาพลาด ล้มละลาย เดี๋ยวมันก็กลับมาอีก”

อจ.จีระ.- ย้ำว่า รายการ “Hard Talk Thailand” ของผม ก็อยากให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง โดยเฉพาะเรื่องผู้นำ ถ้าเป็นไปได้ ผมคงจะปรึกษาท่านอภิชาต และอาจจะเอาลูกศิษย์ที่กองทัพอากาศมาคุยกันเพื่อเขียนเป็นแนวให้สังคมในการสร้างผู้นำ โดยเฉพาะผู้นำทางทหารจะพลาดไม่ได้ พลาดถึงตาย

พล.อ.อภิชาต .- เสริมว่า ทางกองทัพอากาศได้พัฒนาเรื่องนี้ (ผู้นำ) ไปเยอะ ตั้งแต่สมัยท่านธนนิตย์ ท่านชลิต และขณะนี้ก็มีการนำหลักสูตรจาก Singapore Air Force ซึ่งเขาจะดูแลคนของเขาตั้งแต่ระดับล่าง ถึงระดับบน และจะมีแผนที่ชัดเจนว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ ไม่ว่า จะผบ.ทอ. ผบ.ทบ. หรือ ผบ.ทร. หรือ ผบ.สูงสุด อะไรต่างๆ ใครเป็นได้ ใครเป็นไม่ได้ ซึ่งขณะนี้ทางกองทัพอากาศก็มีตรงนี้อยู่ ในการคัดเลือกคนเข้ามาเป็นนักบิน

อจ.จีระ. ถามอีกเรื่อง คือ มองการเมืองในอนาคตอย่างไร ในฐานะที่ท่านเห็นการเมือง ทั้งข้างใน และ ข้างนอก

พล.อ.อภิชาต .- โดยส่วนตัว เป็นนักการทหาร จะให้ไปเล่นการเมือง ผมคงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ในความคิดของผม คือ เราคงต้องช่วยกันดูแลการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นั้นคือพื้นฐานของการเมือง ที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้ประชาของเราในเรื่องของประชาธิปไตย และผมคิดว่า เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเล่นการเมือง แต่สามารถทำความเข้าในในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยให้เขาได้รู้ว่า ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เป็นอย่างไร คงไม่ใช่แค่ไปเลือกตั้ง แล้วก็ไปเรียกร้องผลประโยชน์อะไรต่างๆ ตามที่ต้องการแค่นั้น คงไม่ใช่

อจ.จีระ.- ทุกคนต้องช่วยกันอธิบายไช่ไหม ตัวผมเอง ก็มีทฤษฎีอันหนึ่ง คือ ถ้าการศึกษา มันดี คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ประชาธิปไตยมันก็จะง่าย

พล.อ.อภิชาต .- ใช่ครับ

อจ.จีระ.- ท่านมองประเทศไทยในยุคโลกไร้พรมแดนอย่างไร เราเปิดประเทศเร็วไปหรือเหล่า

พล.อ.อภิชาต .- ในส่วนตัว ผมคิดว่า จริงๆ แล้ว เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้ ทางด้านของความมั่นคงในอาเซียนเอง มันก็มีเวทีรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ขณะนี้เวียดนามเป็นเจ้าภาพอยู่ และก็มีการพูดกัน ตั้งแต่ครั้งเราเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่แล้ว ก็มีการพูดกันถึงการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งเวียดนามเขาก็กำลังจะจัดประชุมในเดือนตุลาคม วันที่ (ถ้าจำไม่ผิด) คือ 12 ตุลาคม มีรัฐมนตรีกลาโหมของประเทศคู่เจรจาอีก 8 ประเทศเข้ามาร่วม ตรงนี้ก็มีการพูดกัน มีการเตรียมการกันว่า สิ่งที่จะทำร่วมกันก็คือ อาเซียนต้องไม่กลัวการผลักดัน ขับเคลื่อน และประเทศคู่เจรจานั้น ก็จะเข้ามามีหน้าที่สนับสนุนในสิ่งที่เราต้องการแค่นั้น นอกจากนี้ จะมีการพูดกันในมติของศักยภาพทางกองทัพ ที่เขามีอยู่ มาช่วยดูแลประชาชนในภูมิภาคของเรา

อจ.จีระ.- อาทิ เรื่องภัยธรรมชาติ

พล.อ.อภิชาต .- ใช่ครับ

Hard Talk Thailand FM 90.5 MHz

เปิดม่านอินโดนีเซียดูช่องลงทุน

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ต.ค. ที่ผ่านมา รายการ โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ คุณณัฐปภัสร์  พงษ์ประดิษฐ์  ได้พูดคุยกับ คุณศุภชัย รักพานิชมณี อุปนายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย ถึงการเดินทางไปประเทศเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ร่วมกับคณะกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พร้อมกับสมาคมธุรกิจที่น่าสนใจ อาทิ สมาคมผู้ค้าเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ร่วมเดินทางด้วย

เป็นการคุยต่อเนื่อง ….

.... ต่อเนื่องจากการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับคุณมนตรี พงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมพัฒนาสถาบันการค้า สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อเสาร์ที่แล้ว (25 ก.ย. 53) ซึ่งได้เล่าถึงวัตถุประสงค์การเดินทางไปอินโดนีเซีย

เพื่อ....แลกเปลี่ยนแนวคิด และสร้างความสัมพันธ์เบื้องต้น

เพื่อ....ก้าวไปสู่ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม

เพื่อ....ความเข้มแข็งของนักธุรกิจไทยในอนาคต

ทราบว่า ได้พบปะกับสมาคมการค้าอินโดนีเซียครบถ้วน และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้การค้าของทั้งสองประเทศมีศักยภาพ

สำหรับการคุยกับคุณศุภชัย ทราบว่าได้พบปะกับสมาคมการค้าของอินโดฯ ก็เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของเรา จากการที่ได้คุยแลกเปลี่ยนแนวคิด รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ กับสมาคมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรา อาทิ สมาคมผู้รับเหมาก่อสร้าง สมาคมที่ปรึกษาวิศวกร และ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เกิดความรู้อะไรต่างๆ มากขึ้น และยังเป็นการสร้างเครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน +6

คุณศุภชัยบอกว่า สมาคมฯ ได้ประเมินอินโดฯ เป็นประเทศที่ใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียน  มี GDP (Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ) สูง และปัจจุบันมีโครงการใหญ่ๆ โดยเฉพาะโครงการขั้นพื้นฐาน เกิดขึ้นมาก และยังต้องพัฒนาอีกเยอะ ทำให้สมาชิกของสมาคมฯ มีโอกาสไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น

โดยเฉพาะที่เวียดนาม (ทริปก่อน) ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มนักลงทุนไปลงทุนจำนวนมาก โอกาสที่วิศวกร สถาปนิกไทย หรือ ผู้รับเหมาไทย จะไปทำงานที่เวียดนามก็น่ามีมาก

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นงานภาคราชการ สมาชิกของเราต้องพยายามอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีทั้ง จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนาม โอกาสที่เอกชนไทยจะเข้าไปจึงค่อนข้างยาก

แต่เราก็มองเห็นโอกาส โดยรัฐบาลไทย ซึ่งมีหน่วยงาน “สำนักงานพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน” ซึ่งเป็นหน่วยงานขึ้นกับกระทรวงการคลัง คอยให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนอยู่ ฉะนั้น เวียดนามจึงเป็นอีกลู่ทางที่เรามองเห็น และน่าจะไปลงทุน เพราะยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก

คุณศุภชัย สรุปว่า เท่าที่ไปสัมผัส ทั้งอินโดฯ และ เวียดนาม ยังมีความต้องการด้านที่ปรึกษาฯ มาก เนื่องจากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาก อาทิ ระบบขนส่งมวลชน ถนน สะพาน ระบบระบายน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งเวียดนาม และ อินโดฯ ต้องทำอีกมาก และทราบว่า เขาขาดเรื่องเงินลงทุน

เราจึงอยากให้ภาครัฐช่วยเรา 2 ประเด็น

ประเด็นแรก.. ช่วยหาโอกาส หรือสร้างโอกาสให้กับพวกเรา อาทิ การไปดูงานต่างประเทศ ถ้ารัฐบาลนำไปก็จะมีโอกาสมาก การจะไปเจรจาอะไรต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น

ประเด็นที่สอง..  ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้รัฐบาลสนับสนุนเงินที่จะให้เขากู้ ก็จะทำให้เรามีอำนาจการต่อรองมากขึ้น

ส่วนเรื่องการทำงาน คุณศุภขัย ยืนยัน ว่า ไม่ต้องห่วง วิศวกรไทยก็ดี สถาปนิกไทยก็ดี มีฝีมือ (ยอดเยี่ยม) อยู่แล้วครับ

 

หลายเรื่อง ที่อาจจะยังงงๆ แต่ควรรู้

Hard Talk Thailand รายการของคนรู้จริง รู้ลึก โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษ์ ออกอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางคลื่น FM 90.5

มีหลายประเด็น หลายเรื่อง ที่น่าสนใจ

เริ่มที่ กรณี คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศให้ นายหลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนชาวจีน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปีนี้

ซึ่ง คุณณัฐปภัสร์ ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวบ้านอาจจะงงๆ ทำไมถึงเป็นประเด็นสำคัญ

ศ.ดร.จีระ บอกว่า เป็นประเด็น และเป็นข่าวที่น่าสนใจ เพราะรัฐบาลจีนไม่พอใจอยากมาก

และเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็เป็นมาตรฐานของโลก ถ้าจีนยัง งุบๆ งิบๆ ปิดเรื่องนี้ไว้ใต้พรมคงไม่ได้ ขณะเดียวกัน จีนจะออกมาประท้วงคึกโครมก็ไม่ได้ อาจจะเกิดกระแสต่อต้านในประเทศอย่างรุนแรง และอาจเกิดเสื้อเหลือง เสื้อแดง ประเทศแตกเป็นเสี่ยงๆ ได้

ก็อยากให้คนไทยพิจารณาข่าวนี้ดู ขณะเดียวกัน ที่หยิบยกเรื่องนี้มา ก็อยากกระทุ้งให้จีนปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชน

โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ถ้าไปควบคุมมากๆ วันหนึ่งก็อาจจะทำให้ประเทศแตกเป็นเสี่ยงๆ ได้

ศ.ดร.จีระ บอกว่า นายหลิว วัย 54 ปี เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ขณะนี้ยังถูกจองจำ เขาสู้กับรัฐบาลจีนมาตั้งแต่ปี 2532 ด้วยการเข้าร่วมกับนักศึกษาอดอาหารประท้วงก่อนที่กองทัพจะใช้กำลังสลายผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปีนั้น ขณะนี้เขากำลังรับโทษจำคุกเป็นเวลา 11 ปี หลังถูกตัดสินเมื่อวันคริสต์มาสปีก่อน ในข้อหาพยายามล้มล้างรัฐบาล

เป็นประเด็น เวลานี้หลายฝ่ายจับตา ว่า นายหลิว จะรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในคุกหรือไม่ ?

คุณณัฐปภัสร์ เสริมว่า เวลานี้ นานาประเทศประสานเสียง (ศ.ดร.จีระ ใช้คำว่า เกษมสโมสร) เรียกร้องจีนปล่อยตัว โดย นายแบร์นาร์ด คุชแน รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส เป็นบุคคลสำคัญลำดับแรก ๆ ของโลก ที่แสดงความยินดีที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลมอบรางวัลโนเบลสันติภาพในปีนี้ ให้แก่ นายหลิว

นายเลช วาเลซา อดีตเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวโปแลนด์ กล่าวว่า การมอบรางวัลโนเบลสันติภาพให้แก่ นายหลิว ซึ่งถูกจำคุก เป็นเหมือนสารที่ส่งไปถึงรัฐบาลจีนว่าจะต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐาน

ขณะที่ องค์ดาไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต กล่าวว่า รางวัลนี้เป็นเหมือนเสียงจากประชาคมนานาชาติที่ต้องการให้จีนดำเนินการปฏิรูปการเมือง กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

ล่าสุด ประธานาธิบดีโอบามาออกแถลงการณ์แสดงความยินดีต่อนายหลิว โดยระบุว่า เมื่อปีที่แล้วเขาได้กล่าวไว้ว่ามีคนอีกหลายคนที่เสียสละมากกว่าเขา และหนึ่งในนั้นก็คือนายหลิว ซึ่งผู้นำสหรัฐยกย่องว่าเป็นโฆษกที่มีวาทศิลป์และกล้าหาญในการผลักดันค่านิยมสากลด้วยสันติวิธีและไม่ใช้ความรุนแรง และว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จีนประสบผลคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งยกระดับประชาชนหลายร้อยล้านคนให้พ้นจากภาวะยากจน แต่รางวัลดังกล่าวช่วยเตือนว่า สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกๆ คนควรได้รับการเคารพ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ทางการจีนปล่อยตัวนายหลิวโดยเร็ว

ศ.ดร.จีระ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหานี้ กระทบเรื่องค่าเงินหยวน (ของจีน) ด้วย เพราะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจสัมพันธ์กัน คือ เวลานี้ ทั้งอียู และ อเมริกา ต่างออกมาเรียกร้องให้จีนxปรับค่าเงินหยวนให้แข็ง เพราะเวลานี้มันอ่อนเกินไป แต่จีน เงียบ และไม่ขึ้นค่าเงินหยวน ทำเป็นไม่ได้ยินเสียงเรียกร้องเหล่านั้น ก็เลยไม่ถูกกดดัน ที่เป็นอย่างนั้น เพราะเศรษฐกิจจีนใหญ่มาก และจีนก็ฉลาดเรียนรู้บทเรียนจากญี่ปุ่นที่เคยถูกสหรัฐกดดัน ขณะเดียวกัน จีน และญี่ปุ่น ก็คนละสไตล์กัน

ญี่ปุ่นค่อนข้างจะซูฮกพี่เบิ่ม (สหรัฐ) เพราะเป็นเคยเป็นประเทศที่แพ้สงครามมา และวันนี้ ญี่ปุ่นก็รู้แล้วว่า ตอนนั้นไม่ควรปรับค่าเงินเยนให้สูงเกินไป

ศ.ดร.จีระ บอกด้วยว่า เงินบาทของเราที่แข็งค่า จาก 31 มา 30 และมาถึง 29 นิดๆ นี่ยัง จิ๊บจ้อย ขณะที่เงินเยนปรับค่าขึ้นขณะนั้น มีผลกระทบเท่าตัว

ส่วนสาเหตุที่สหรัฐเรียกร้องให้จีนปรับค่าเงินหยวนขึ้น เพราะค่าเงินหยวนต่ำไป เวลาจีนขายของ ก็ขายได้เยอะ คนอเมริกาก็ชอบสินค้าที่ถูก ก็เลยซื้อกันใหญ่ ก็เกิดดุลการค้า จีนร่ำรวย

ศ.ดร.จีระ ยังบอกด้วยว่า ขณะนี้ มีวิกฤตการเงินซ้อนขึ้นมาอีก คือ วิกฤติค่าเงิน คือ เศรษฐกิจอเมริกาตก ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ต่ำด้วย เพื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า นักธุรกิจสหรัฐก็มีการนำเงินดอลลาร์มาหากำไรต่างประเทศ ล่าสุด มีการนำเงินเข้ามาลงทุน ในประเทศไทย ทั้งซื้อหุ้น และพันธบัตร หวังเก็งกำไร จึงเป็นเหตุให้เงินบาทไทยแข็งเร็ว

สำหรับปัญหา “ค่าเงินบาทแข็งค่า” ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง เดิม ศ.ดร.จีระ จะสนทนาคุยกับ คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ลึกๆ ….

เพราะเงินบาทแข็ง ถือเป็นงานช้างต่อแวดวงธุรกิจ แต่ใครที่มีการดำเนินชีวิตไปตามปกติ ก็คงไม่รู้สึกถึงผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่า เพราะการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ใช้จ่ายเป็นเงินบาทอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นนักธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่ต้องทำการค้ากับต่างประเทศแล้ว ต้องมีความเข้าใจเรื่องนี้ไว้

แต่คุณดุสิต ติดภารกิจสำคัญ ไม่สามารถเข้าสาย (โฟนอิน) กับรายการได้ ศ.ดร.จีระ ก็เลย Hard Talk กับคุณณัฐปภัสร์

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.จีระ ก็ให้มุมมองเกี่ยวกับค่าเงินบาทแข็ง น่าสนใจ ดังนี้ครับ

ทางออก คือ รัฐบาลต้องพยายามให้เงินดอลลาร์ที่ไหลเข้ามา ต้องมีต้นทุนที่แพงขึ้น เช่น ต้องสำรองไว้ที่แบงก์ชาติ (ถ้าจำไม่ผิดเคยทำไว้ 30 เปอร์เซ็นต์) เป็นการเบรก ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออก ก็ควรปรับตัว และยอมรับต่อผลกระทบระยะสั้น เพราะที่ผ่านมา ผู้ส่งออกรวยมาตลอดหลังเศรษฐกิจเกิดฟองสบู่ ขณะเดียวกัน หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ จะต้องหันมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ธุรกิจส่งออกด้วย โดยเฉพาะพัฒนาระบบโรจิสติก และพัฒนาแรงงานให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.จีระ มองว่า ค่าเงินบาทแข็งค่า ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลดี ผู้นำเข้าจะสบาย และ หนี้ต่างประเทศ ที่เป็นดอลลาร์ ก็ลดลงไปเยอะ ขณะเดียวกันเงินสำรองของประเทศที่เป็นดอลลาร์จะน้อยลง

ทั้งนี้ .... เงินบาทแข็งค่าเป็นข่าวมาตลอดสัปดาห์ที่แล้ว มาจนถึงวันนี้ (12 ต.ค.) เป็นวันที่ผู้ส่งออกจับตา คณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการป้องบาทแข็งอย่างไร จะมีการจัดเก็บภาษี หัก ณ ที่จ่าย จากเงินได้ดอกเบี้ย และกำไรจากการขายตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างประเทศหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังคงติดตามสถานการณ์ และภาวะเงินทุนไหลเข้าอย่างใกล้ชิด และที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 ต.ค. จะมีมาตรการหรือ action อย่างไร

นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวจีนคว้าโนเบลสันติภาพ

คณะกรรมการระบุว่า นายหลิว ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในจีนมาอย่างยาวนานโดยไม่ใช้ความรุนแรง จึงสมควรได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเพราะสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

นายหลิว วัย 54 ปี ต่อสู้กับรัฐบาลจีนมาตั้งแต่ปี 2532 ด้วยการเข้าร่วมกับนักศึกษาอดอาหารประท้วงก่อนที่กองทัพจะใช้กำลังสลายผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปีนั้น ขณะนี้เขากำลังรับโทษจำคุกเป็นเวลา 11 ปี หลังถูกตัดสินเมื่อวันคริสต์มาสปีก่อน ในข้อหาพยายามล้มล้างรัฐบาล

ภรรยาของเขาเผยว่า สามีมีกำลังใจดีแม้ว่าสุขภาพไม่ดีนัก เธอได้เยี่ยมเขาครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 7 กันยายน เพื่อน ๆ ของเขาต่างอยากให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมากกว่าตัวเขาเสียอีก เพราะคิดว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในจีน

ขณะที่นานาประเทศประสานเสียงเรียกร้องจีนปล่อยตัว นายหลิว โดย นายแบร์นาร์ด คุชแน รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส เป็นบุคคลสำคัญลำดับแรก ๆ ของโลก ที่แสดงความยินดีที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลมอบรางวัลโนเบลสันติภาพในปีนี้ ให้แก่ นายหลิว เสี่ยวโป นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนที่กำลังถูกจองจำในจีน

เขากล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้แสดงถึงการปกป้องสิทธิมนุษยชนในทุกพื้นที่บนโลก ฝรั่งเศสรู้สึกวิตกหลังจากที่ นายหลิว ถูกจับและได้เรียกร้องรัฐบาลจีนปล่อยตัว เช่นเดียวกับที่เยอรมนี โฆษกรัฐบาลเยอรมันเรียกร้องจีนปล่อยตัว นายหลิว เพื่อให้เดินทางมารับรางวัล และยืนยันว่าจะเดินหน้ากดดันจีนต่อไป

ส่วนที่ไต้หวัน พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านแสดงความยินดีที่ นายหลิว ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องรัฐบาลจีนตอบสนองต่อกระแสเรียกร้องจากประชาคมระหว่างประเทศที่ให้ปล่อยตัว นายหลิว และเคารพในสิทธิที่เขาจะเดินทางมารับรางวัลด้วยตนเอง

พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งสนับสนุนไต้หวันแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน ได้กล่าวหารัฐบาลปัจจุบันที่เป็นมิตรกับรัฐบาลจีนว่าเพิกเฉยต่อกรณี นายหลิว และเตือนว่าจะเป็นอันตรายต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน

ทางด้าน นายเลช วาเลซา อดีตเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวโปแลนด์ กล่าวว่าการมอบรางวัลโนเบลสันติภาพให้แก่ นายหลิว ซึ่งถูกจำคุก เป็นเหมือนสารที่ส่งไปถึงรัฐบาลจีนว่าจะต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐาน ขณะที่ องค์ดาไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต กลาวว่า รางวัลนี้เป็นเหมือนเสียงจากประชาคมนานาชาติที่ต้องการให้จีนดำเนินการปฏิรูปการเมือง กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐ เรียกร้องให้จีนปล่อยตัวนายหลิว

ประธานาธิบดีโอบามาออกแถลงการณ์แสดงความยินดีต่อนายหลิว โดยระบุว่า เมื่อปีที่แล้วเขาได้กล่าวไว้ว่ามีคนอีกหลายคนที่เสียสละมากกว่าเขา และหนึ่งในนั้นก็คือนายหลิว ซึ่งผู้นำสหรัฐยกย่องว่าเป็นโฆษกที่มีวาทศิลป์และกล้าหาญในการผลักดันค่านิยมสากลด้วยสันติวิธีและไม่ใช้ความรุนแรง และว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จีนประสบผลคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งยกระดับประชาชนหลายร้อยล้านคนให้พ้นจากภาวะยากจน แต่รางวัลดังกล่าวช่วยเตือนว่า สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกๆ คนควรได้รับการเคารพ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ทางการจีนปล่อยตัวนายหลิวโดยเร็ว

ด้านนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ก็ออกแถลงการณ์ส่วนตัว เรียกร้องให้ทางการจีนปล่อยตัวนายหลิวเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของคณะกรรมการรางวัลโนเบล ทำให้นายโอบามาตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบาก เพราะต้องรับผิดชอบทั้งหน้าที่ของผู้ได้รับรางวัลโนเบลและความรับผิดชอบทางการทูตที่จะต้องดูแลความสัมพันธ์กับจีน

ถึงเวลาโลกรับรู้ ! สังคมไทยเอาจริงเอาจังกับการต่อต้านการทุจริต

วันเสาร์ที่ 23 ต.ค. ที่ผ่านมา รายการ Hard Talk Thailand ออกอากาศประจำทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 – 16.00 น. คลื่น FM 90.5 กรมการพลังงานทหาร โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณประจักษ์ มะวงศ์สา (ดำเนินรายการแทนคุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ ซึ่งติดภารกิจ) โดยช่วง 2 ( Hard Talk) เชิญ ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ หนึ่งในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มาตอบโจทย์การแก้วิกฤติการทุจริตของชาติ

มีประเด็น และมีกิจกรรมที่น่าสนใจ

แต่ขอเริ่มช่วงแรกก่อน เพราะการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับ คุณประจักษ์ เข้มข้นตั้งแต่เริ่มรายการ ว่าด้วยความสำคัญของ “วันปิยะมหาราช”

ในมุมมองของคุณประจักษ์ วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า ของคนทุกระดับ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส โดยไม่มีการเสียสูญเสียเลือดเนื้อ ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้ และเป็นที่ยกยกของนานาประเทศ

ขณะที่ ศ.ดร.จีระ พูดถึง พระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ใหญ่ๆ 3 เรื่อง

เรื่องแรก คือ เรื่องโลกาภิวัตน์ (ในมุมมองของผู้เขียน หมายถึง ปรากฏการณ์ที่หลอมรวมความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นในทุกมุมส่วนของโลก อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เร่งเร็วขึ้นในทุกระดับของสังคมมนุษย์)

พระองค์ท่าน “โลกาภิวัตน์” ตัวจริง ขนาดนั่งเรือไปอังกฤษ ยังไป ท่านมีโลกทัศน์ (ความคิดเห็นที่บุคคลมีต่อโลก หรือสังคม) กว้าง และเป็นข้อคิด สำหรับคนไทยอยู่แต่ในกะลาครอบ ซึ่งปัจจุบัน บินไปอังกฤษเพียง 10 ชั่วโมง บางคนยังไม่ไป บางคนคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา และบางคนก็ยังไม่รู้ว่า เราอยู่ในโลกไร้พรมแดน (ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ไม่สามารถเป็นอุปสรรคของการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนระหว่างกันอีกต่อไป)

ความที่รัชกาลที่ 5 ท่านมีความคิดที่กว้างไกล จึงนำไปสู่เรื่องที่ 2 คือ “แนวร่วม” ท่านมีแนวร่วมเยอะ แนวร่วมประเทศหนึ่ง คือ รัสเซีย (ถึงตอนนี้ คุณประจักษ์ เสริมว่า รัสเซียมีบทบาทมากครับอาจารย์ ทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ เกรงใจ และไม่กล้าทำอะไรสยามประเทศตอนนั้น) รัสเซียให้เกียรติต่อราชวงศ์จักรี และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาก ทั้งที่อดีตผู้นำรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ และผู้นำบางคนโค่นสถาบันกษัตริย์

เรื่องที่ 3 คือ “วิสัยทัศน์” ของท่าน ศ.ดร.จีระ บอกว่าเป็นเรื่องแปลก ท่านไปได้แนวคิดใหม่ มองกาลไกลถึงอนาคตได้อย่างไร ถ้าเป็นคนในวงการเดียวกันก็พอจะเข้าใจ ว่ามันคืออะไร

ท่าน “ใฝ่รู้” ใช่หรือไม่ ?

ศ.ดร.จีระ ยังยกตัวอย่าง เมื่อวันก่อนไปร่วมประชุม Knowledge Camping กับนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ มี พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ อดีต ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธี ผมพูดเรื่อง “วิสัยทัศน์ของประเทศไทย” ให้เด็กฟัง 3 ชั่วโมง หลังจบรายการ ท่านบอกว่า ที่กองทัพเรือ ผมให้เขาไปทำวิสัยทัศน์มา เขาทำไม่เป็น เขากลับไปเอากฎระเบียบขององค์กรมา แล้วบอกว่า นี่คือ วิสัยทัศน์ และผมก็เชื่อว่าคนไทย จำนวนมากยังให้คำนิยาม “วิสัยทัศน์” ไม่ได้

วิสัยทัศน์ของพระองค์ท่าน คือใฝ่รู้ มองการณ์ไกล ไปเรียนเมืองนอก เอาของใหม่เข้ามา เอารถไฟเข้ามา รวมถึงเรื่องการสื่อสาร สาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐานของประชาชน ท่านวางไว้หมด” ศ.ดร.จีระ ย้ำ และว่า

วิสัยทัศน์ ก็คือ ไม่ว่าใคร หรือ ผู้นำ จะทำอะไรก็แล้วแต่ จะต้องกำหนดทิศทางในอนาคตให้ได้ว่าจะไปทางไหน จึงอยากให้คนไทยใฝ่รู้ คิด ศึกษา ขวนขวาย เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม อย่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

อย่าง รถราง สมัยก่อน ผมยังนึกถึงอยู่เลย ว่ายกเลิกไปทำไม ผมก็แปลกใจ คนไทยก็บ้า มีแต่เขาจะสร้างรถราง แต่ไทยเลิก บอกว่า ทำให้รถยนต์วิ่งไม่สะดวก ก็ที่ยุโรปทำมาก่อนเราตั้งเยอะ เขายังไม่ยกเลิก เขายังเก็บไว้ ผมก็อยากรู้ว่า คนที่ยกเลิกรถรางเป็นใคร คิดอย่างไร

ถึงตอนนี้ คุณประจักษ์ เสริมว่า ผมอาสาหาข้อมูลมาให้ครับ และผมก็ชอบอาจารย์ตรงนี้แหละ ที่ชอบหยิบยกกรณี หรือ เรื่องราวต่างๆ แล้วมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันให้คนไทยได้คิดต่อยอด อย่างกรณี “คลิปฉาว” ของคนในศาลรัฐธรรมนูญเวลานี้

ศ.ดร.จีระ บอกว่า ผมไปโยงกับ นาย Peter Drucker ซึ่งเป็นคนที่แปลก ไม่ได้เรียนเพื่อมาเป็นอาจารย์ ทำงานก่อน แล้วค่อยๆ ไปเรียน เรียนด้วยตัวเองบ้าง แล้ววันดี คืนดี ก็มาทำงาน และความที่ทำงานมาก่อน แกถึงเป็นอาจารย์ที่เก่ง มีลูกศิษย์มากมาย มีคำสอนที่น่าจดจำ และ มีคุณค่า

Peter Drucker สอนไว้ 3 เรื้องที่เกี่ยวข้องกับคลิปฉาว

ท่านบอกว่า ถ้าอยากเป็นคนเก่ง อยากรอคำคำตอบที่ถูกต้อง 1 + 1 = 2 ไม่สำคัญเท่ากับคำถามที่น่าสนใจ

ส่วนอีกประเด็น ไปที่ไหนอย่าเรียนจากตำรา ให้เรียนจากคนฟัง มีอาจารย์ไทยบางคนที่ไม่เคยเรียนจากลูกศิษย์ พอลูกศิษย์คิดแตกต่างกับตัวเอง ก็บอกว่าผิดแล้ว มันต้องให้เป็นไอเดียของเขา

สอดคล้องกับคุณประจักษ์ ที่บอกว่า ต่างประเทศเขาไม่ได้หมกมุ่นสอนแต่ในตำรากันแล้ว

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลิปฉาว ศ.ดร.จีระ บอกว่า ก็ตรงที่มี และมีหลายคำถาม

คำถามแรก กรณีวางถุงเงิน 2 ล้านที่ศาลอาญา เมื่อ 2 ปีที่แล้ว กับ คลิป มีพิรุธ คล้ายๆ

กัน คุณประจักษ์ เสริมว่า เงิน 2 ล้านที่ ศ.ดร.จีระ พูดถึง ก็คือกรณี ถุงขนมกลายเป็นถุงเงิน ที่เป็นข่าวเกรียวกราว

คำถามที่สอง ทำไมเสด็จพี่ (พร้อมพงศ์) รุกลี้รุกลนน่าดู รู้หมดว่ามีคลิป ท่านรู้ได้ไง

คำถามที่สาม คือ ทำไมถึงปลดคุณพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ออกจากเลขาฯศาลรัฐธรรมนูญ อย่างรวดเร็ว และทำไมคุณพสิษฐ์ ถึงบินไปฮ่องกง แล้วจะกลับมาหรือเปล่า

ขณะที่คุณประจักษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า คงจะกลับมาลำบาก เพราะไปปลดเขาแล้ว การจะเรียกมาสอบ มาชี้แจง คงยาก

อีกคำถาม ศ.ดร.จีระ บอกว่า ตอนแถลงข่าว ทำไมมีตุลาการเพียงแค่ 5 คน แสดงความตอนนื้ มี 2 คนไมยุ่งกับคดีนี้ใช่หรือไม่ และทำไมท่านประธานไม่มาแถลงเอง ล้วนเป็นคำถามที่อยากให้คนไทยได้คิดเล่นๆ

กลับมาประเด็นที่ผมจั่วหัวไว้ …

“ถึงเวลาโลกรับรู้ ! สังคมไทยเอาจริงเอาจังกับการต่อต้านการทุจริต”

คุณประจักษ์ Hard Talk กับ ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ หนึ่งในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้อย่างออกรส ออกชาด

คุณประจักษ์ : ก่อนที่จะไปถึงเรื่องที่เกริ่นจั่วหัวไว้ อยากทราบว่า ศาสตราจารย์ภักดีทำอะไรมาก่อนที่จะมาเป็น ป.ป.ช.

ศาสตราจารย์ภักดี : หลังจากได้รับทุน กพ. ไปเรียนต่างประเทศ กลับก็มารับราชการอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขเลย ตั้งแต่ปี 2517 – 2549 รวม 32 ปี ส่วนใหญ่จะอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต่อมา ก็มาเป็นผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองปลัดกระทรวง เป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย และกลับมาเป็นเลขาธิการ อย.ใหม่ ก็วนๆ อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งปี 2549 ก็มาเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คุณประจักษ์ : วันหนึ่งอยู่กระทรวงสาธารณสุข แล้วมาเป็นกรรมการ ป.ป.ช. มีอะไรเชื่อมโยง หรือเกี่ยวโยง สามารถนำมาใช้ได้

ศาสตราจารย์ภักดี : ก็ใช้ได้มากเหมือนกัน ในฐานะที่เราได้รับราชการในตำแหน่งผู้บริหารมาก่อน ก็มองเห็นปัญหา หรือ ความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นขึ้นมาได้ในระบบราชการของเรา มันน่าจะมีปัจจัยอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยบ้าง

โดยเฉพาะที่สำคัญ ตอนที่อยู่กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำงานไว้มาก คือเรื่องของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำให้เรามีคอนเน็คชั่นตรงนั้นอยู่ค่อนข้างมาก พอมาอยู่ที่ ป.ป.ช. ก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องของการต่อต้านการทุจริต

คุณประจักษ์ : ที่ผ่านมา ทาง ป.ป.ช. เรา กับ ป.ป.ช. ต่างประเทศ มีความร่วมมือกันมากน้อยแค่ไหน

ศาสตราจารย์ภักดี : เรามีความร่วมมือ หรือ การติดต่อประสานงานกันหลายระดับ ถ้าเป็นระดับที่มีความร่วมมือโดยตรงระหว่างกันทั้งสองฝ่าย หรือ ที่เรียกว่า “ทวิภาคี” เราก็มีกันหลายประเทศด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ประเทศที่อยู่ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน เราจะทำ MOU ระหว่างกันไว้ ทั้งหมดมี 8 ประเทศด้วยกัน

ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เป็นระดับภูมิภาคเอเปค (APEC) เราก็มีความร่วมมือกันในลักษณะ “พหุภาคี” กับประเทศเขตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสมาชิกของเอเปกทั้งหมด โดยเรามีองค์กรที่อยู่ภายใต้เอเปก เรียกว่า ACT ( ) เป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลความร่วมมือต่อต้านการทุจริตโดยตรง

ขึ้นไป เป็นความร่วมมือระดับสากล เป็นความร่วมมือภายในใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต หรือที่เราเรียกว่า UNCAC หรือ United Nations Convention Against Corruption ซึ่งเป็นอนุสัญญาต่อต้านการทุจริต ปัจจุบันมี 146 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม มีความร่วมมือทั้งในแง่ของกฎหมาย เรื่องของการติดตามเรียกทรัพย์สินคืน รวมถึงความร่วมมือทางด้านวิชาการ รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถต่างๆ

ขณะนี้ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ว่า เป็นปัญหาที่ไม่จำกัดอยู่ในขอบเขตประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นปัญหาข้ามชาติ เป็นอาชญากรรมข้ามชาติชนิดหนึ่ง ต้องมีความร่วมมือระหว่างกัน ไม่เช่นนั้นไม่สามารถดูแลแก้ไขปัญหานี้ได้

คุณประจักษ์ : การทุจริตคอรัปชั่น มีเหมือนกันหมดไหม ไม่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว และ ประเทศที่กำลังพัฒนา

ศาสตราจารย์ภักดี : มีทั้งหมด เพียงแต่ระดับความรุนแรงมีความแตกต่างกันไป และโดยทั่วไป การจะดู หรือ การวัดระดับความรุนแรงของการทุจริตคอรัปชั่น ว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนเพียงไร เขาจะดูจากค่าดัชนี ที่เราเรียกว่า CPI ย่อมาจาก Corruption Perception Index ซึ่ง องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency International (T.I. ) สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดำเนินการ และแต่ละปีจะประกาศออกมา ซึ่งคะแนนตรงนั้น จะมาจากคะแนนเต็ม 10 ถ้าประเทศใดได้คะแนนมาก ก็ถือว่าดี

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้อยู่ในระดับสอบตก CPI หรือคะแนนแค่ 3.4 จากเต็ม 10 อยู่อันดับที่ 84 จาก 180 ประเทศ

คุณประจักษ์ : ไม่ดีใช่ไหมครับ

ศาสตราจารย์ภักดี : ไม่ดีครับ แต่ถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ตอนนี้ สิงคโปร์นำไปโด่งเลย CPI หรือได้คะแนนสูงมาก ถ้าจำไม่ผิดประมาณ 9 ขณะที่มาเลย์ ได้เกือบๆ 5 แต่ไทยก็ยังดีกว่า อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

อย่างไรก็ตาม เราคงพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะว่า เราสอบตก ต้องพัฒนาให้ได้ดีกว่านี้

คุณประจักษ์ : อีกเรื่อง คือ เรื่องการประชุม ป.ป.ช.โลก

ศาสตราจารย์ภักดี : เป็นการประชุมที่สำคัญมาก เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 (International Anti-Corruption Conference) หรือ IACC ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2553 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจะจัดขึ้นทุก 2 ปี เวียนกันไปในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เพื่อให้ประเทศในแต่ละภูมิภาคมีโอกาสเป็นเจ้าภาพ ให้แต่ละประเทศได้แสดงต่อประชาคมโลกทราบว่า ประเทศเหล่านั้นมีความตั้งใจจะต่อสู้กับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น

โดย 2 ปีที่แล้ว จัดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งผู้แทนของแต่ละประเทศมาจากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคเอกชนด้วย ซึ่งแต่ละครั้งมีประมาณ 1,500 – 2,000 คน ครั้งนี้ก็คิดว่าไม่ต่ำกว่า 1,500 คน จาก 135 – 140 ประเทศ และตอนนี้ก็ลงทะเบียนแล้วเกือบ 800 คน จากต่างประเทศ ยังไม่นับคนของเรา

สำหรับในประเทศเรา รัฐบาลซึ่งร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมได้มีนโยบายชัดเจนให้ทุกหน่วยงาน ทั้งที่เป็นราชการ และ รัฐวิสาหกิจส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย โดยสามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียนได้ และไม่คิดเป็นวันลา เพราะถือว่าการประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี ไม่ต้องลงทุนเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ และประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

ขณะที่ภาคเอกชน ทราบว่า ก็ให้ความสำคัญ ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมประชุมด้วย เพราะมีปัญหาเรื่องการเงินเกิดขึ้นมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผลพวงมาจากเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น

คุณประจักษ์ : ธีมหลักๆ ของงาน มีอะไรบ้าง

ศาสตราจารย์ภักดี : ปีนี้ กำหนดหัวข้อหลักเอาไว้ ภายใต้แนวคิด “ฟื้นคืนความเชื่อมั่น: ทั่วโลกโปร่งใสสู้ภัยทุจริต” หรือ Restoring Trust : Global action for transparency

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการ Spiritual Anti-Corruption : The New Challenge และลานกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำไป มีอะไรบ้างที่สำเร็จ บรรลุเป้าหมายเพียงไร และอะไรที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมฟรีทั้ง 4 วัน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของเรา อยากให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานนี้ โดยเฉพาะเยาวชนไทย

คุณประจักษ์ : ตัวแทนของประเทศต่าง เขามั่นใจแค่ไหนกับสถานการณ์บ้านเรา เพราะก่อนหน้ามีกีฬาสีกัน มีผลอะไรไหม

ศาสตราจารย์ภักดี : ก็คงมีผลกระทบบ้าง เพราะช่วงแรกมีการสอบถามเข้ามามากเลย ว่า จบไปแล้วใช่ไหมเรื่องของความไม่สงบอะไรต่างๆ มีปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจไปแล้ว ถึงสถานการณ์จริง ซึ่งตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร เราก็ให้ความมั่นใจเรื่องของความปลอดภัยเต็มที ซึ่งช่วงหลังเขาก็สบายใจ มีผู้ลงทะเบียนเพิ่มขึ้น

คุณประจักษ์ : ประเทศไทยจะได้อะไรจากการปกระชุมครั้งนี้

ศาสตราจารย์ภักดี : อย่างน้อย ก็ 3 อย่าง ประการแรก คือ ผู้เข้าร่วมประชุม จะได้ความรู้ และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่จะนำความรู้ใหม่ๆ มาพูดคุย แลกเปลี่ยน แล้วนำไปใช้ประโยชน์ ในการทำงานต่อไป

ประการต่อมา คือ ต่างประเทศจะทราบถึงเจตนาของไทยว่ามีมากน้อยแค่ไหน ในการรณรงค์ และต่อต้านการทุจริต รวมทั้งฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการพัฒนาส่งเสริมความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต อันส่งผลต่อการยกระดับดัชนีความโปร่งใสของประเทศไทย และ

ประการสุดท้าย จากการที่มีผู้เข้าร่วมจากต่างประเทศจำนวนมาก รวมทั้งผู้ติดตาม ก็จะมีส่วนสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ อาทิ การท่องเที่ยว และโรงแรม รวมถึงสถานที่ช็อปปิ้งต่างๆ ก็จะทำให้ประเทศมีรายได้อีกทางหนึ่ง

คุณประจักษ์ : คำถามสุดท้ายครับ อาจารย์ คิดว่าการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในบ้านเราจะดีขึ้นไหม หรืออย่างไร

ศาสตราจารย์ภักดี : โดยส่วนตัว ผมคิดว่าควรจะดีขึ้น หากว่าเราสามารถทำให้เกิดความตระหนัก และเกิดจิตสำนึกขึ้นมาในผู้คนทุกภาคส่วนสังคมของเรา โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ของเราสำคัญมาก คือ เด็ก และเยาวชน เราต้องปลูกฝังเรื่องจิตสำนักในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต ในเรื่องของการมีคุณธรรม และจริยธรรม ถ้าเราถอย เราไม่มีความหวัง ประเทศ

ชมดอกไม้งามอร่ามรับวันพ่อ ที่ “สวนหลวง ร.๙”

วันเสาร์ที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา รายการ Hard Talk Thailand ออกอากาศประจำทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 – 16.00 น. คลื่น FM 90.5 กรมการพลังงานทหาร โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณณัฐปภัสร์ พงษ์ประดิษฐ์ ดำเนินรายการ

ช่วงแรก.... หลังจากรายงานสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว ก็มีเรื่องเบาๆ ไม่เครียด

คุณณัฐปภัสร์ สัมภาษณ์ คุณหญิงกัญญา หงส์ลดารมภ์ กรรมการบริหาร และเลขานุการ งาน “พรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.๙” ปี 2553 ครั้งที่ 23

ก่อนจะลงในรายละเอียด คุณหญิงกัญญา ได้แสดงความเสียใจต่อพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัด และยังบอกด้วยว่า สวนหลวง ร.๙ หลวง ร.๙ นอกจากจะสถานที่ส่งเสริมวิชาการทางด้านพฤกษศาสตร์ มีการปลูกรวบรวมพรรณไม้ต่างๆ เพื่อการศึกษา เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งปลูกฝังทัศนคติการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้ว...

ยังเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนระบายสู่แหล่งธรรมชาติ ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชานเมืองทางตอนใต้ และ ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ตามพระราชดำริ

“สวนหลวง ร.๙ สร้างขึ้น เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามพระราชดำริ เมื่อคราวเสด็จทอดพระเนตสภาพน้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ เมื่อปี 2523 ก็ให้กรุงเทพมหานครจัดหาพื้นที่ไว้รองรับน้ำ ก่อนจะถ่ายเทสู่แม่น้ำเจ้าพระยา”

ทั้งนี้ ต้นเดือนธันวาคม (1 – 12 ธันวาคม) ของทุกปี จะมีการจัดงานดังกล่าวถึงการจัดงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดสวนหลวง ร.๙ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

ภายในงานฯ จะได้ชมพันธุ์ไม้ที่หาชมได้เฉพาะหน้าหนาว เป็นแสนๆ ต้น และดอกไม้นับร้อยชนิดก็จะบานทั่วสวนหลวง ร.๙ ในช่วงนี้

นอกจากนี้ ภายในงานฯ ยังมีนิทรรศการต้นไม้ มีร้านจำหน่ายต้นไม้ รวมทั้งอุปกรณ์จัดสวนด้วย

ถ้ามีเวลา อย่าลืมหาโอกาสไปเที่ยวนะคะ .. นะครับ งานเริ่มวันที่ 1 ธันวาคม ถึง 12 ธันวาคม

ช่วงที่สอง ... คุณณัฐปภัสร์ Hard Talk กับ คุณชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถึงโรงเรียน นักเรียน และ ครู ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

คุณชินวรณ์ บอกว่า พื้นที่น้ำท่วม ทั้งหมด 33 จังหวัด มีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 1,265 แห่ง (ขณะนั้น) และ 676 แห่งเปิดเทอมไม่ทันวันที่ 1 พ.ย. ต้องเลื่อนออกไปอีก และจากการลงพื้นที่ ทั้งที่โคราช ชัยภูมิ ขอนแก่น อยุธยา ปทุมธานี ยังมีพื้นที่น้ำท่วมสูงมาก จึงให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัดสินใจ ว่าจะเปิดเปิดเทอมได้คราวละ 7 วัน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ในการใช้เส้นทางเป็นสำคัญ ส่วนโรงเรียนที่น้ำไม่ท่วมก็เปิดเทอมตามปกติ

ส่วนมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บอกว่า จากการสำรวจความเสียหายเบื้องต้น พบว่า อาคารโรงเรียน เสียหายประมาณ 400 ล้าน อุปกรณ์การเรียนเสียหาย และชำรุด สูญหาย เสียหายประมาณ 160 กว่าล้าน รวมค่าเสียหายกว่า 500 ล้าน ซึ่งจะให้ผู้บริหารสถานศึกษาสรุป และทำรายงานความเสียหาย เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งงบประมาณดำเนินการฟื้นฟู

แต่เนื่องจากเราไม่สามารถจะรองบประมาณได้ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่เราจะทำ คือ การฟื้นฟูโรงเรียนให้สามารถเปิดเรียนได้ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือนักเรียน และ ผู้ปกครองที่ได้รับความเดือดร้อน อาทิ ผ่อนผัน หรือ งดเว้นการชำระค่าเล่าเรียน

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้คณะกรรมกหารส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค. ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ช่วยเหลือครอบครัวครู โดยเฉพาะบ้านพักครูที่เสียหายด้วย

คุณณัฐปภัสร์ : จากการที่ลงพื้นที่ ครู ต้องการความช่วยเหลืออะไรที่เร่งด่วน

คุณชินวรณ์ : ก็มีถุงยังชีพ ซึ่งทางกระทรวงก็จัดไปให้แล้วเบื้องต้น รวมทั้งเรือ และ ห้องสุขาลอยน้ำ และล่าสุด ก็จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปดูเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ได้ใช้ดำรงชีพเป็นปกติโดยเร็ว

คุณณัฐปภัสร์ : กรณีนักเรียน มีการช่วยเหลืออย่างไร อาทิ ชุดนักเรียน อุปกรณ์เรียน มีการเตรียมให้ความช่วยเหลือหรือไม่

คุณชินวรณ์ : เราเตรียมงบไว้ 167 ล้านสำหรับช่วยเหลือเรื่องดังกล่าว เฉลี่ยต่อคนประมาณ 400 บาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท