สมมติฐาน (Hypothesis) (ครั้งที่ 6)


Hypothesis......Hypothesis......Hypothesis......

       ในครั้งที่แล้วถ้าจำกันได้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ทฤษฎี (Theory) กันไปแล้ว ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันใน 2 เรื่อง คือ ลักษณะของสมมติฐานและความหมายของสมมติฐานกันครับ

ลักษณะของสมมติฐาน

       ลักษณะของสมมติฐานมีดังนี้ คือ
       ประการแรก สมมติฐานเป็นข้อความที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ทดสอบได้
       ประการที่สอง ข้อความที่เป็นสมมติฐานจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ (ตัวแปร) สองส่วนหรือมากกว่าและมักจะอยู่ในรูปของข้อความ “ถ้า....แล้ว(จะ)เกิด.....”
       ประการที่สาม สมมติฐานยังไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่สังเกตแล้ว แต่เป็นข้อความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จะสามารถทำการสังเกตได้
       ประการที่สี่ สมมติฐานเป็นข้อความหรือสิ่งที่มีลักษณะชั่วคราวเพื่อรอการพิสูจน์ทดสอบ ถ้าพิสูจน์ทดสอบแล้วก็จะหมดสภาพความเป็นสมมติฐานคือกลายเป็นความรู้หรือข้อเท็จจริง

ความหมายของสมมติฐาน
       จากลักษณะของสมมติฐานที่จำแนกให้เห็นจึงสามารถให้ความหมายของสมมติฐานได้ว่า สมมติฐาน คือ ข้อความที่กำหนดเสนอขึ้นเพื่อคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ (ตัวแปร) สองส่วนหรือมากกว่าว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร โดยที่ความสัมพันธ์ที่คาดคะเนนี้สามารถจะทำการพิสูจน์ทดสอบได้  

       เป็นอย่างไรบ้างครับไม่ยากอย่างที่คิดใช่มั้ยครับ

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551) ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย

หมายเลขบันทึก: 379440เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้วสมมุติฐานการวิจัยและสมมุติฐานทางสถิติต่างกันอย่างไรคะ

และควรตั้งสมมุติฐานแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางถึงจะดีคะ

กรุณาหน่อยค่ะ

อรุณี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท