รายงานการพัฒนาการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด แม่กบ


ชื่อเรื่อง        รายงานการพัฒนาการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกด

                    คำในมาตราตัวสะกด แม่กบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

                    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้รายงาน     นางกุญช์ชญา  ลิ่มมณีธร

หน่วยงาน    โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่

                    การศึกษาสงขลา เขต 2

ปีการศึกษา  2553

บทคัดย่อ

             การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด แม่กบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาการเขียนสะกดคำในมาตรา แม่กบโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาปีการศึกษา 2553ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด แม่กบ จำนวน 3 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียน (Pre-test and Post-test) ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อชุดฝึกเสริมทักษะ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Arithmetic Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1 / E2) 80/80 รวมทั้งทดลองความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มโดยใช้การทดสอบค่าที (Paired Samplet test)   

                                                                                                                             

ผลการศึกษาพบว่า

1.ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด แม่กบมีประสิทธิภาพ 87.65/86.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด  แม่กบ เท่ากับ 12.14 และ 17.25 ตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.94 และ 2.03 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 379016เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก พยายามต่อไปนะค่ะเป็นกำลังใจให้คะ

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจค่ะ

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ ดูจากข้อมูลสถิติเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาผู้เรียนได้จริง ขอให้กำลังใจในการพัฒนาตนเองและผู้เรียนต่อไปนะครับ

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากค่ะ....อยากได้แบบฝึกไปทดลองใช้กับเด็กที่โรงเรียนบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท