สรุปบทเรียน ลปรร.PCA NODEสิชล บทเรียนที่ 3 การบริหารเครือข่าย


“หนึ่งเดียวอยู่รอด สุดยอดพีซียู สู่เครือข่ายมหัศจรรย์”

บทเรียนที่ 3 การบริหารเครือข่าย

 “หนึ่งเดียวอยู่รอด สุดยอดพีซียู สู่เครือข่ายมหัศจรรย์”

ถอดบทเรียนจาก คปสอ.อ่าวลึก

โดย คุณสายพิมพ์  คงคุ้ม หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลอ่าวลึก

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 ถึงปัจจุบัน 8 ปี

แนวคิด -การรวบรวมเครือข่าย (รพ.+สอ.)เพื่อความอยู่รอดของบุคลากรสาธารณสุข ในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงทั้งอำเภอ เป็นการปฏิรูประบบการให้บริการแบบเดิมๆ ที่ตั้งรับแต่เพียงใน รพ. โดยการปรับระบบการทำงานใหม่ จากการนำองค์กรของผู้อำนวยการ รพ.และ สาธารณสุขอำเภอ ที่เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้รับบริการ คือ ประชาชนชาวอำเภออ่าวลึกเป็นสำคัญ

กลวิธีดำเนินงาน

- การสร้างความเชื่อมั่นของบุคลากร จากการจับมือกันของผู้นำสูงสุด

- การศึกษาดูงานในพื้นที่ ที่มีระบบบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง

- การจัดระบบที่ปรึกษา หรือ มีพี่เลี้ยงประจำทุก สอ.

- การทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน

- การกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ (PCU)

- การจัดส่งพยาบาลไป สอ./มีระบบพี่เลี้ยง

- การจัดพยาบาลวิชาชีพ ครบทุกสถานีอนามัย

- การเปลี่ยนแปลงระบบบริการในสถานีอนามัย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของเครือข่าย

  1. ระบบคุณภาพ พัฒนาคุณภาพบริการร่วมกันทั้งเครือข่าย
  2. ฐานข้อมูล มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้ข้อมูลร่วมกันกับของ รพ. , ปรับปรุงระบบReferการทำ Family Folder ให้ครอบคลุม , การสรุปข้อมูลผู้ป่วยรายวัน
  3. ระบบบริหาร มีการบริหารทรัพยากรร่วมกัน งบประมาณจัดไว้กองกลางที่โรงพยาบาล ใช้ร่วมกันทั้งเครือข่าย รวมถึง ระบบการรักษาที่มีการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล

นวัตกรรม

-โทรศัพท์ปรึกษา มีศูนย์รับเรื่องปรึกษาและเรื่องส่งต่อจากสถานีอนามัย

 -รถเครือข่าย ทำหน้าที่จัดส่งเอกสาร ยา เวชภัณฑ์ แก่ทุกสถานีอนามัยในอำเภอช่วยลดรายจ่ายของสถานีอนามัย และมีการนำเอกสารต่างๆ รวมถึง ขยะติดเชื้อ วัสดุส่งนึ่ง ส่งกลับ รพ.ทุกวัน

- รถ 3 ล้อเครื่องเพื่อออกหมู่บ้าน

 

ปัจจัยของความสำเร็จ หรือ ตัวขับเคลื่อนให้เกิด “หนึ่งเดียวอยู่รอด สุดยอดพีซียู สู่เครือข่ายมหัศจรรย์”

  1. ผู้นำ  มีภาวะผู้นำ การนำองค์กรที่ชัดเจน มีการวางแผนล่วงหน้าโดยต้องมีแผนสำรองไว้ด้วย
  2. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น พยาบาล สามารถกลับมารับเวรบ่ายได้ที่โรงพยาบาล และมี พี่เลี้ยงไปแทนได้กรณีฉุกเฉิน
  3. การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร ที่อาสาไปทำงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ความก้าวหน้าที่จะได้รับต้องชัดเจน มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  4. การสร้างความศรัทธาแก่ชาวบ้าน ต่อการมารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ การกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ ในPCU ต้องทำได้ใกล้เคียงกับใน รพ.
  5. การประชาสัมพันธ์ โดยจัดมหกรรมแนะนำหน่วยบริการปฐมภูมิ ของทุกสถานีอนามัยร่วมกับ อปท.
  6. วิธีการขับเคลื่อน ให้เกิดสุดยอด PCU คือ ทำให้ PCU ต้องเป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ โดยการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ และพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาล ควบคู่กับการทำงานส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ

สรุป Concept: รวมเครือข่าย รพ./สสอ. ให้เป็นหนึ่งเดียว

- บุคลากรต้องเข้ากันได้ พยาบาลทุกคน สามารถไปอยู่สถานีอนามัยได้มีการหมุนเวียน/ ทดแทนบุคลากรกันได้กับ PCU รอบนอก และการเป็นพี่เลี้ยงที่ดีของเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล

- หัวหน้าพยาบาล เป็นเสมือน CPG ทางใจ ของเจ้าหน้าที่ ความเป็นกันเองกับเจ้าหน้าที่ทุกคน

 

ประเด็นแลกเปลี่ยนจาก CUP เครือข่าย เรื่องกลวิธี การพัฒนาสู่สุดยอด PCU

CUP ท้ายเหมือง

-การขับเคลื่อน คปสอ.

-การให้พยาบาลลงปฏิบัติงานสถานีอนามัยเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะพยาบาลเวชปฏิบัติ

 -การศึกษาดูงานโรงพยาบาล --- Primary Health care—

CUP ฉวาง

-พยาบาลที่สถานีอนามัยควรจบหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติ

-ปรับทัศนคติพยาบาลก่อนลงสถานีอนามัย

-แบ่ง Job งานที่ชัดเจนเมื่อไปอยู่สถานีอนามัย

-ให้โอกาสการเรียนต่อพยาบาลเวชฯ ก่อนบุคคลอื่น

-พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ

-พัฒนา 5 ส  ทั้งเครือข่าย

-การพัฒนาเรื่อง Central Supply

-รถ Mobile

   

CUP หลังสวน   

-เริ่มทำจาก สถานีอนามัยที่มีความพร้อม โดยทำเป็นสถานีอนามัยนำร่อง ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีเพื่อส่งผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่สถานีอนามัย

-เตรียมผู้ป่วย แกนนำ ก่อนส่งต่อ

-สอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นระยะๆ

-การเยี่ยมบ้านร่วมกับทีม ของโรงพยาบาล

CUP สิชล            

 -ใช้ความสมัครใจ (โดยใช้พยาบาลในพื้นที่)

-แชร์เครื่องมือ

- Set แพทย์ออกหมุนเวียนตรวจผู้ป่วย DM, HT

-สร้างแรงจูงใจ/ความมั่นใจให้ผู้ป่วยที่จะไปรับบริการที่ PCU

ข้อเสนอจาก หัวหน้าสถานีอนามัยนาเหนือ อ.อ่าวลึก             

-ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล

-พยาบาลในโรงพยาบาลทุกแห่งมีความสนิทชิดเชื้อกันทุกที่

-พยาบาลใน PCU ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

-โรงพยาบาลโอนงบประมาณให้ตามที่จ่ายจริงจนกว่าสถานีอนามัยจะช่วยเหลือตัวเองได้ จึงปรับเป็นการจ่ายตามหัวประชากร ณ ปัจจุบัน

- PCU มีและใช้ FF ครบถ้วน และใช้วิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 378850เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ มาเรียนรู้การสรุปบทเรียน "รวมเครือข่าย รพ./สสอ. ให้เป็นหนึ่งเดียว"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท