ความดันเกิดขึ้นได้อย่างไร


ไคโตซานลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตเกิดขึ้นได้อย่างไร?
          หัวใจของเราทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ทำให้เกิดความดันโลหิตขึ้นในหลอด
เลือดแดง ความดันโลหิตแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่:
          ความดันโลหิตตัวบน  (systolic blood pressure:SBP)  ซึ่งเป็นความดันโลหิตที่เกิด
ขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
          ความดันโลหิตตัวล่าง (diastolic blood pressure:DBP) ซึ่งเป็นความดันโลหิตที่เกิด
ขึ้นในขณะหัวใจคลายตัวเลือด จะไหลกลับเข้าไปในหัวใจอีกครั้ง
          ค่าความดันโลหิตที่วัดได้คือ แรงดันของเลือดที่ปะทะกับผนังหลอดเลือด  ดังนั้นจึงมี
อีกปัจจัยหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นคือความแข็งแรงของหลอดเลือด  หากผนังของหลอดเลือดมี
ความแข็งมาก ค่าแรงดันของการปะทะก็จะสูง  แต่หากผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นรองรับแรงปะทะ
ได้มาก ค่าแรงดันก็จะต่ำ

   ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร...
          เมื่อได้ค่าความดันโลหิตทั้งสองตัวมาแล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่าค่าที่ได้นั้นสูงหรือ
ต่ำกว่ามาตรฐาน ตารางด้านล่างนี้จะทำให้เราสามารถเปรียบเทียบได้ทันที

 

 


  โรคความดันโลหิตสูงควรรักษาแต่เนิ่นๆ...
          ที่ผ่านมาการรักษาความดันโลหิตสูงจะเริ่มรักษากันจริงจังเมื่อพบว่าความดันโลหิตสูง
อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ถ้าความดันโลหิตสูงเล็กน้อย หลายๆ ท่านทั้งผู้ป่วยและคุณหมอ
ผู้รักษาจะดันทุรังไม่รักษา  จะรอจนกว่าสูงถึงระดับมีความเสี่ยงหรือมีโอกาสเสียชีวิตแน่ถึงเริ่ม
รักษากัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง  120~139/ 85~89 มม.ปรอท  มักจะได้รับ
คำตอบจากคุณหมอว่าความดันโลหิตยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ  แต่จากรายงานล่าสุดของ  The
seven report  of  the  joint national committee on prevention, detection, evaluation
and treatment of high blood pressure (JNC7) ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 พบว่า
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่ากลุ่มเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง  ซึ่งมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงใน
อนาคตมากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่มีความดันโลหิตที่เหมาะสม  ดังนั้น  การรักษานั้นควร
เริ่มตั้งแต่รู้ว่าความดันโลหิตมีทีท่าจะสูงขึ้น

  ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมีอะไรบ้าง...
          เชื้อชาติ   เชื้อชาติมีส่วนสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง ส่วนประเทศไทยพบ
ประชากรเป็นความดันโลหิตสูงประมาณ 15-30%
          พันธุกรรม  ถึงแม้ว่าความดันโลหิตสูงไม่ใช่เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม แต่
พันธุกรรมมีผลต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น พันธุกรรมมีผลต่อน้ำหนักตัวและน้ำ
หนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
          เพศ  ในวัยรุ่นจะพบภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  แต่เมื่ออายุเกิน
50 ปีขึ้นไปจะพบภาวะความดันโลหิตสูงในผู้หญิงมากกว่า เนื่องจากวัยทองทำให้ฮอร์โมนใน
ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการกินยาคุมกำเนิดด้วย
          อายุ พบภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
          ความเครียด ส่งผลต่อระดับของความดันโลหิต
          อาหาร มีผลต่อระดับความดันโลหิตโดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม
หรือเกลือในปริมาณมาก
          น้ำหนัก น้ำหนักที่เกินส่งผลต่อความดันโลหิต ทุก 5 กิโลกรัมที่เพิ่มขึ้นบนตาชั่งหมาย
ถึงความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้น 5 มม.ปรอท
          ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว จึงส่งผลต่อระดับ
ความดันโลหิต
          การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์  บุหรี่ เหล้า  เบียร์ ไวน์  ต่างมีผลต่อความดันโลหิต
ทั้งสิ้น

 

 


  
ความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ...
          คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดว่า  คนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะต้องเป็นผู้สูงอายุหรือมีอาการ
ปวดศีรษะ มึนศีรษะ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นในอายุประมาณ 35 ปี
และไม่มีอาการใดๆ    แต่มักจะตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโรคอื่น
ซึ่งจะมีส่วนน้อยที่อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย    ตึงที่ต้นคอหรือวิงเวียนศีรษะตอนตื่นนอน
พอสายๆ็ ก็จะทุเลาไปเองหรือปวดศีรษะตุบๆ แบบไมเกรน  ในรายที่เป็นนานๆ  หรือความดัน
โลหิตสูงมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชาหรือ
เลือดกำเดาไหล

  ภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงมีอะไรบ้าง...
          หลายๆ คนอาจคิดว่าในเมื่อความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการและผู้ป่วยส่วนใหญ่
ก็รู้สึกสบายดีเฉกเช่นคนปกติทั่วไปไม่เห็นจะต้องวิตกกังวลอะไรเลย  แต่จริงๆ แล้วความดัน
โลหิตสูงจะคอยทำลายชีวิตผู้คนอย่างเงียบๆ ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมลงและเกิด
ความผิดปกติต่ออวัยวะสำคัญด้วยภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ดังนี้:
          หัวใจ ทำให้หัวใจโต หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายและภาวะหัวใจวาย
          สมอง ความจำเสื่อม  สมาธิสั้น  หลอดเลือดสมองตีบหรือแตกจนกลายเป็นอัมพฤกษ์
อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
          ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง  ซึ่งยิ่งจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอีกกลายเป็น
วงจรเลวร้ายที่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
          ตา ทำให้ประสาทตาเสื่อมลง ตาจะมัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้
          หลอดเลือด   เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรืออุดตัน
          นอกจากนี้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคอื่นร่วมด้วย  เช่น  เบาหวาน  ภาวะไขมันใน เลือดสูงหรือการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์จัดก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เร็วขึ้น




 

 

หมายเลขบันทึก: 378844เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • ความดันโลหิตสูง เป็นมากกับผู้ชาย โดยเฉพาะ ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • ต้อง รีบบอกพ่อบ้าน ให้เขียนพินัยกรรม
  • เอ๊ย!!!!ไม่ใช่ รีบบอกให้ ลด ละ เลิก

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะกับบันทึกที่มีประโยชน์...

จะได้ระวังตัวและหมั่นสังเกตทั้งตัวเองและคนรอบข้างด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท