ท่าแพ: Sharing the Care


ท่าแพ เป็นอำเภอหนึ่งของสตูล

Sharing the Care เป็นคำขวัญของวัน Palliative Care โลก ๙​ ตุลาคม ๒๕๕๓ ปีนี้ ซึ่งมุ่งเน้น การมีส่วนร่วมของบุคลากรสุขภาพ ครอบครัว ชุมชนในการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย

Sharing the Care ผมเห็นภาพนี้ชัดเจนกว่าการอยู่ในโรงเรียนแพทย์ เมื่อได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการสานสายใยสู่ครอบครัวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของโรงพยาบาลท่าแพ จ. สตูล ที่มีลูกศิษย์ผม นพ. ฮัสมี นุ้ยเด็น เป็นผู้อำนวยการ และมีคุณศุภวรรณ ฤทธิศักดิ์ เป็นเลขานุการโครงการ

ผมกับพี่พยาบาล..คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ ตอบตกลงไปเป็นวิทยากรทันที เพราะอยากไปติดตามงานของตัวเองหลังจากเคยไปเป็นวิทยากรที่รพ.นี้มาเมื่อปี ๒๕๔๗  แต่ตอบปฏฺิเสธที่จะบรรยายทั้งวันเหมือนเดิม เพราะไม่คิดว่าการบรรยายให้เกิดเพียงแรงบันดาลใจ จะขยับอะไรได้มาก

ผมบรรยายกับพี่กานดาวศรีใช้เวลารวมกันประมาณชั่วโมงกว่า ส่วนที่เหลือผมขอให้เป็นการพูดคุยกันในกลุ่มย่อย เพราะทางโรงพยาบาลสามารถประสานงานดึงคนทำงานตัวจริงเสียงจริงที่อยู่ในชุมชนมาร่วมงานได้กว่า  ๘๐ คน ซึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่สหวิชาชีพของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่อนามัย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ผู้นำทางศาสนาทั้งมุสลิมและพุทธ

ประเด็นที่ผมขอให้แต่ละกลุ่มซึ่งแบ่งตามแต่ละตำบล พูดคุยกันมี ๓ ข้อ คือ

๑. ถ้าจะทำให้เกิดการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายที่บ้าน คิดว่าจะมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง

๒. ตนเองจะดำเนินการแก้ปัญหาในข้อ ๑ อย่างไรบ้าง จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง

๓. จากข้อ ๒ ต้องการการสนับสนุนเรื่องอะไร จากหน่วยงานใดบ้าง

ดูบรรยายกาศตอนแบ่งกลุ่มตามตำบลนะครับ

ตำบลท่าแพ มากันมากที่สุด อบอุ่นที่สุด

 

ตำบลสาคร อยู่ไกลสุด แต่มีหน่วยกู้ชีพมาด้วย

 

ตำบลแประ กลุ่มเล็กหน่อย แต่ได้ข้อเสนอดีๆมาก

 


 

ผมอยากนำข้อสรุปของการพูดคุย เท่าที่ผมจำได้มาบันทึกไว้ที่นี่ ส่วนรายละเอียดทางรพ.คงจะส่งมาภายหลัง

๑. คนไข้ที่บ้านขาดคนดูแล

การแก้ปัญหา

  • ต.ท่าแพ กลุ่มอสม. เสนอตัว จะหมุนเวียนจัดเวรกันไปดูแล
  • ต.แประ บอกว่า จะใช้วิธี จิตอาสา ที่ไม่ใช่ อสม.​ เพราะทำโครงการอยู่แล้ว
  • ต.สาคร บอกว่า ใช้ครอบครัวและเพื่อนบ้านก็ได้ เพราะของที่นั่น อยู่กันแบบเครือญาติ

การสนับสนุน

  • แต่ทุกที่ต้องการการสนับสนุนสำคัญเหมือนกัน คือ มีที่ปรึกษา คือ ระบบให้คำปรึกษา ๒๔ ชม.​ ซึ่งทางโรงพยาบาลมีโครงการอยู่แล้ว
  • งบปะมาณสนับสนุนจากอบต.

๒. คนไข้ไม่มีเงินค่าใช้จ่ายในการดูแลที่บ้าน ค่าเดินทางไปรพ.

การแก้ปัญหา

  • จัดระดมทุนทั้งในรูปแบบกองทุนหมู่บ้าน กองทุนมัสยิด การเลี้ยงน้ำชา
  • ประเพณีชุมชนเข้ามาช่วยเจ้าภาพจัดการและรับผิดชอบค่าอาหารตลอด ๓ วันในระหว่างพิธีกรรมช่วงเสียชีวิต โดยครอบครัวคนไข้ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เลย
  • ต.สาคร มีรถฉุกเฉินประจำตำบล เพราะอยู่ไกล ส่วนที่อื่นใช้วิธีตามรถโรงพยาบาล หรือวานเพื่อนบ้าน

การสนับสนุน

  • งบปะมาณสนับสนุนจากอบต.

๓. อสม. เจ้าหน้าทึ่และบุคลากรขาดความรู้ ทักษะ

การแก้ปัญหา

  • สอบถามปรึกษาผู้รู้
  • เข้าอบรมต่างๆเป็นประจำ แต่มีความเห็นว่า การอบรมบางเรื่องถ้าไม่ได้ใช้ก็จะลืมหมด ถ้าใช้วิธี เมื่อมีปัญหา มีคนให้คำแนะนำไปเป็นเรื่องๆน่าจะดีกว่า

    การสนับสนุน

    • การจัดอบรมและระบบพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาจากรพ.
    • รพ.ใหญ่ มื่อส่งตัวคนไข้กลับบ้าน ควรแจ้งรพ.ท่าแพให้ส่งบุคลากรตามไปรับช่วงดูแลที่บ้านต่อ เพื่อแนะนำเรื่องอุปกรณ์ที่ติดตัวมา หรือให้ยาบรรเทาอาการต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องให้รถมาแวะที่รพ.ท่าแพก่อน

    ๔. ขาดยาแก้ปวด ขาดอุปกรณ์ เช่น ถังออกซิเจน

    การแก้ปัญหา

    • ต้องไปรับยาถึงรพ.จังหวัด รพ.หาดใหญ่ รพ. มอ.
    • ซื้อหามาใช้เอง

    การสนับสนุน

    • มียาแก้ปวดชนิดรับประทานในรพ.
    • จัดหาถังออกซิเจน ซึ่งต้องดูปริมาณการใช้ก่อน

    ๕. คนไข้เมื่อมีปัญหาหนักต้องกลับไปมารพ. ต้องเสียเวลารอนาน

    การแก้ปัญหา

    • ต.สาคร ใช้บริการรถฉุกเฉินและนำส่งห้องฉุกเฉินเลย แทนการไปรอที่่ห้องตรวจคนไข้นอก

    การสนับสนุน

    • ควรมีสมุดบันทึกประจำตัว หรือ บันทึกรายละเอียดสภาพของคนไข้ การใช้ยาต่างๆ จากรพ.ที่ส่งคนไข้กลับบ้าน เมื่อไปถึงรพ.อื่นจะได้ให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

    ๖. คนไข้ที่ต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน แพทย์ปิดบังอาการหรือบอกช้า มีเวลาประกอบพิธีกรรมที่บ้านน้อย

    การแก้ปัญหา

    • ผู้นำทางศาสนาไปอ่านพระคัมภีร์ให้ถึงบ้าน
    • รพ.ท่าแพมีผู้นำทางศาสนาเข้าเยี่ยมคนไข้ทุกเดือน

    การสนับสนุน

    • แพทย์ควรแจ้งให้คนไข้และญาติทราบเร็วขึ้น เพื่อให้คนไข้ได้มีโอกาสกลับไปประกอบกิจทางศาสนาที่บ้านได้นานขึ้น

    หลังจากนี้ทางโรงพยาบาลจะเลือกทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยบางเรื่องสามารถทำแบบบูรณาการไปหลายประเด็นโครงการเดียวตามนโยบาลของผอ. บางเรื่องเช่น การดูแลด้ายจิตวิญญาณก็ไม่ต้องลงทุน สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้เลย

    ผมมีสัญญาใจกับรพ.ท่าแพว่าจะช่วยกันไปดำเนินการเรื่องนี้ให้ต่อเนื่อง จริงจัง

    หมายเลขบันทึก: 378304เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2010 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (17)

    ตามมาเชียร์ งาน Palliative care ที่ค่อยๆขยายผลลงสู่พื้นที่เเละลงสู่ชุมชน ขอบคุณบันทึกนี้ค่ะอาจารย์ ที่ทำให้มองเห็นว่า Palliative careในบ้านเรานั้นกำลังก้าวไปข้างหน้าเเละหลายฝ่านร่วมมือร่วมใจกันค่ะ กุ้งสบายดีค่ะอีกไม่กี่วันก็ comeback to Thailand เเล้วค่ะ

    ตามสาวขอนแก่นมาเรียนรู้ ท่าแพ เครือข่ายยาเสพติดของมูลนิธิภูมิพลังเคยไร่วมงานครับ

    • สวัสดีค่ะ อาจารย์
    • จะลองนำแนวทางที่อาจารย์ใช้มาทดลองทำที่โรงบาลป้าแดงดูค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

    P

    • ผมเห็นว่า เมื่อไทยเราขยับเรื่องนี้ลงชุมชน น่าจะไปได้เร็ว เพราะโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขของเราตรงนี้แข็งแรงใช้ได้เลย

    P

    • สวัสดีครับพี่บ่าว
    • ชุมชนเข้มแข็งมากครับที่ท่าแพ

    P

    • ได้ผลเป็นอย่างไร พี่แดงบอกด้วยนะครับ

    ปีหน้าเรยีนเชิญอาจารย์มาเที่ยวแม่สอดอีกครั้งนะครับ

    ปีหน้าเรยีนเชิญอาจารย์มาเที่ยวแม่สอดอีกครั้งนะครับ

    P

    • ไป คงไปอยู่แล้ว แต่จะได้ไปเที่ยวแน่หรือครับ

    เรียนสวัสดีคะอาจารย์ เห็นแล้วอยากลงไปทำให้ถึงชุมชนบ้างจัง แต่ไม่รู้จะสามารถหรือเปล่าคะ

    สิ่งที่ฝันอยากเห็นคือ การทำโครงการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา กับชุมชน โดยใช้ outcome mapping วางแผนและติดตามอย่างเป็นรูปธรรม

    P

    • ผมก็ดีใจ ที่มีโอกาสได้ทำสิ่งที่อยากทำ
    • ในโครงสร้างของสมัชชา palliative care ของประเทศ ผมร่างเรื่องเครือข่ายตติยภูมิลงไปถึงชุมชน ซึ่งจะมีการสนับสนุนงบประมาณให้จัดตั้งขึ้นให้ทั่วประเทศนะครับ เพื่อให้การบริการไร้รอยต่อ (seamless)

    ขอบคุณคะอ่านบันทึกอาจาย์แล้วทำให้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนางาน palliative care ได้อย่างต่อเนื่องทุกบันทึก ทางลำปางกำลังจะจัด

    เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาระบบการดูแลแบบ palliative ในวันที่ 24 สิงหาคม 2553 โดยเชิญทุกโรงพยาบาลในจังหวัดมา

    แลกเปลี่ยนกันเพื่อนำบทเรียนจากโรงพยาบาลอื่นมาพัฒนาโรงพยาบาลตัวเองจะขออนุญาติเอาวิธีการของอาจารย์ไปยกตัวอย่าง

    นะค่ะ

    เบญจมาส ลำปาง

    • ตอนนี้กำลังดำเนินการนำประสบการณ์จากโรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ palliative care จากสปสช. มาลงเป็นบันทึก บล็อกใหม่ เร็วๆนี้นะครับ โปรดติดตามและร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อ แลกเปล่ียนกันครับ
    • อยากจะแนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก gotoknow ไปเลย เพราะเราจะได้ตามความเห็นของเราในบันทึกต่างๆด้วย และอยากชวนให้เขียนประสบการณืมาเล่ากันบ้างนะครับ

    อยู่ในช่วง รวบรวมประสบการณ์ของตัวเองมาเขียนเป็นเรื่องเล่า และให้น้องๆในทีมเขียนเรื่องเล่าประสบการณ์การทำงาน

    palliative ก่อมีงานอื่นมาแทรกเป็นระยะเลยยังไม่เรียบร้อย ถ้าเรียบร้อยจะสมัครเป็นสมาชิก gotoknow นะค่ะ

    เบญจมาส ลำปาง

    • จะรออ่านครับ
    • กรุณาแจ้งผมด้วย จะได้ดำเนินการรวบรวมไว้ใน บันทึกคนทำงาน ที่นี่ ครับ

    เรียนรู้ ดูเรื่องสั้นงาน palliative care สงขลาทางทีวีไทย ชื่นชมทีมการดูแลรักษาที่นี่ค่ะ และให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัวทุกท่าน มา ณ ที่นี้ค่ะ

    สุขสันต์วันแม่ค่ะ

    Ico32

    • ขอบคุณครับเกด
    • เสียดายผมอดดู แต่ได้แผ่นที่ทางรายการส่งมาให้แล้ว
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท