cat
จ.ส.อ. พงษ์ศักดิ์ แมว ทิมโพธิ์ทอง

กรอบแนวคิดของ E-learning


กรอบแนวคิดของE-learning 8 มิติ

กรอบแนวคิดของ E-learning กรอบแนวคิดจะเริ่มต้นที่ตอบคำถามว่า จะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสำหรับการเรียนทั่วโลกได้อย่างไร E-learning เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ ไม่เฉพาะผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้สน ผู้ฝึกอบรม ผู้ดูแลระบบ นักเทคนิค คณะผู้ให้บริการสนับสนุน และสถาบัน ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม จะมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ชั้นเรียนแบบเผชิญหน้ากัน และผู้สอนเป็นนำความรู้มาให้ แต่ E-learning เป็นวิธีการใหม่ที่ในการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนผู้สอน และคณะผู้สนับสนุน ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้าซึ่งกันและกัน รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมจะเป็นแบบระบบปิดในขณะที่ E-learning เป็นแบบระบบเปิด สภาพการเรียนรู้ จะเป็นแบบเปิดมีความยืดหยุ่นและแพร่หลายกรอบแนวความคิดของ E-learning ประกบด้วย 8 มิติ ได้แก่ สถาบันการศึกษา   การจัดการ เทคโนโลยี ด้านการเรียนการสอน จริยธรรม การออกแบหน้าจอ การสนับสนุนแหล่งทรัพยากร และการประเมินผล   ประกอบด้วย

มิติสถาบันการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหน่วยงานการศึกษา และการให้บริการผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน

มิติด้านการจัดการจะแสดงถึงวิธีการดำเนินการจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และกระจายข้อมูลสารสนเทศ

มิติด้านเทคโนโลยี จะตรวจสอบประเด็นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี ของสภาพแวดล้อม E-learning รวมทั้งการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

มิติด้านการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้เรียน สื่อการสอน การออกแบบ องค์กร การจัดการ และกลวิธีการเรียนรู้

มิติด้านจริยธรรม  จะมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลทางสังคมและนโยบาย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความลำเอียง ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน

มิติด้านการออกแบบหน้าจอจะเกี่ยวข้องกับลักษณะในภาพรวมและการใช้โปรแกรม E-learning มิติด้านการออกแบบหน้าจอจะรวมถึงการออกแบบในแต่ละจอภาพ การออกแบบเนื้อหา ตัวนำทาง ความสามารถในการเข้าถึง และการทดสอบ

มิติด้านแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนจะตรวจสอบทรัพยากรและการสนับสนุนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

มิติด้านการประเมินผลจะเป็นการประเมินผลทั้งผู้เรียน และการประเมินผลสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน  

ข้อคิดเห็น              การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น เป็นการการสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง (One Alone) โดยที่ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนออยู่ในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาหลัก ด้วยเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องรูปแบบการเชื่อมโยงเป็นได้ทั้งการเชื่อมโยงข้อความไปสู่เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสื่อภาพ และเสียง การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเอง โดยเลือกลำดับเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ และเรียนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมและสะดวกของตนเอง                 นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการศึกษาอันจะเกิดผลดีในการเรียนการสอน แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมและบริบทของผู้เรียน ความต่างเหล่านี้นับว่าเป็นอุปสรรคนานัปการในการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลในการเรียนอย่างเป็นระบบ  บางครั้งเรามองในภาพรวมของความก้าวหน้า เราให้ความสำคัญ  แต่มีอีกสักมากน้อยเท่าไรที่ยังไม่รับรู้  ยังไม่ยอมรับรู้ นับว่าเป็นเหตุปัจจัยสำคัญของ คนไทย  เพราะผู้เรียนต้องอาศัยการสนับสนุนจากหลาย ๆ อย่าง สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งของการพัฒนาการเรียนรู้ก็คือ

แนวคิดของผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ทั้งใกล้ตัวของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว 

หมายเลขบันทึก: 37818เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท