เกษียณแล้วไปอยู่อเมริกากันไหม


อาจารย์เดล รัสซาคอฟฟ์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Old age in American, by the numbers' = "ตัว เลขเกี่ยวกับคนสูงอายุในอเมริกา" ในนิวยอร์คไทมส์, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ]

----//----

ผลการศึกษาที่ ทำโดยสำันักงานภาครัฐ 15 แห่งรายงานว่า ประชากรอเมริกันสูงอายุกำลังเพิ่ม... และัเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ [ agingstats.gov ]

คนอเมริกันวัย 65 ตอนนี้หวังได้ว่า จะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีก 18.5 ปี = 83.5 ปี ทว่า... ก็ยังน้อยกว่าอีกหลายๆ ประเทศที่มีอายุเฉลี่ยสูงมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง คิวบา คอสตาริกา ยุโรป และออสเตรเลีย

...

คนอเมริกัน อายุ 65 ปีขึ้นไปมีประมาณ 39 ล้านคนในปี 2008 (พ.ศ. 2551) = 13%, ปี 2030 (พ.ศ. 2573) จะเพิ่มเป็น 72 ล้านคนหรือ 20%

ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพหลังหักค่าเงินเฟ้อออกที่นั่นเพิ่มจากปีละ $9,224 = ฿297,935  ในปี 1992 (พ.ศ. 2535) เป็น $15,081 = ฿487,116 ในปี 2006 หรือ พ.ศ. 2549 หรือเพิ่มจากปีละ 3 แสนบาท เป็น 5 แสนบาท [ คิดที่ 32.3 บาทหรือ ฿/$ ]

...

ค่าใช้จ่าย เหล่านี้มาจากรัฐส่วนหนึ่ง จ่ายเองส่วนหนึ่ง... ส่วนที่คนไข้ต้องจ่ายเอง (out-of-pocket) เพิ่มจาก 12% ในปี 1977 หรือ พ.ศ. 2520 เป็น 28% ในปี 2006 หรือ พ.ศ. 2549

นั่นคือ คนไข้สูงอายุที่นั่นต้องจ่าย (ค่าใช้จ่ายสุขภาพ) เองปีละ 28/100*487,116 = 136,392 บาท

...

โรคหัวใจยัง เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 สำหรับคนอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ มะเร็ง, สโตรค (กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบ-แตก อัมพฤกษ์ อัมพาต), ปอดบวม, และสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

แนวโน้มอย่างหนึ่งที่พบในคนสูงอายุ คือ ซึมเศร้า และฆ่าตัวตายมากขึ้น

... 

ผู้ชายอายุ 85 ปีขึ้นไปที่นั่นฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็น 43 ต่อแสนเทียบกับ 3 ต่อแสน หรือ 14.3 เท่า

ทีนี้มาดูฟันกันบ้าง... คนอายุ 85 ปีขึ้นไปที่นั่นฟันหมดปาก 34% มากกว่าตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป

...

ความหลอ (ไม่ใช่หล่อ) มีความสัมพันธ์กับฐานะ คือ คนจนจะหลอ 42% มากกกว่าค่าเฉลี่ย 23%

คนอเมริกันสูงอายุอ้วนมากประมาณ 1/3 หรือ 32% ในปี 2008 (พ.ศ. 2551)

...

ตอนนี้คน อเมริกันสูงอายุมีค่าใช้จ่ายสุขภาพตกปีละ 1.4 แสนบาท (136,392 บาท)

คนที่นั่นบางคนรู้เรื่องเมืองไทยคงจะอยากถามว่า ประเทศยูทำแบบ "30 บาทรักษาทุกโรค" ได้อย่างไร

...

เอ... แต่ตอนนี้เมืองไทยเลิกเก็บ 30 บาทแล้วไม่ใช่เหรอ, คำแนะนำตอนนี้ คือ ขอให้สะสมทุนทางด้านสุขภาพ เช่น ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ, นอนให้พอ, ระวังน้ำหนักเกิน ฯลฯ ไว้

เนื่องจากถึงแม้ค่ารักษาในไทยตอนนี้จะฟรี ทว่า... ค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ เช่น ค่ารถ ค่าจ้างคนเฝ้าไข้ ฯลฯ ไม่ฟรี และถ้าคนสูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ... ระบบสุขภาพแบบนี้ก็อาจจะรองรับไม่ไหว เช่น คิวรักษาพยาบาลคงจะยาวมากขึ้นเรื่ีอยๆ ฯลฯ

...

ไม่ว่าจะมองใน มุมมองใด... การป้องกันโรค และใส่ใจสุขภาพตั้งแต่ก่อนแก่ดูจะคุ้มค่ามากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

[ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank nytimes;
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 22 กรกฎาคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 377934เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับคุณหมอวัลลภ
  • ผมยังไม่เกษียณง่ายครับแต่ก็ไม่เคยมีความคิดไปอยู่อเมริกา แต่ถ้าใครคิดจะปลีกวิเวกตอนแก่ก็น่าสนใจครับ เพราะส่วนใหญ่มักอยู่ตัวคนเดียว ลูกหลานแยกครอบครัวไปหมด เมืองไทยเวลาไม่สบายลูกหลานเครือญาติมาเยี่ยมอบอุ่นใจ ส่วนอเมริกา แค่ได้ยินเสียงลูกโทรมาถามอาการดีใจจนต้องเอาไปอวดใคร ๆ เมืองไทยนี่แหละดีครับ แม้ระบบสุขภาพบ้านเราอาจยังไม่ทัดเทียม

ขอขอบคุณสำหรับประสบการณ์ตรงครับ... // ผมมองไปอีกมุมหนึ่ง คือ เมืองไทยพออยู่ได้ เนื่องจากสวัสดิการรักษาพยาบาลดีกว่าอเมริกา // ผมเองไม่ได้มีฐานะดี เรื่องไปอยู่อเมริกาลืมไปได้เลย // แถมยังอยากไปกราบพระเจดีย์ ทำให้พอจะอยู่ไทยหรือพม่าได้ อเมริกาไม่อยู่ในไอเดียเลย // ทีนี้เมื่อฐานะไม่ดี... ทำให้ไม่อยากอยู่อเมริกา อยู่เมืองไทยดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นมิติทางวัฒนธรรม-สังคม-ความอบอุ่นใจ-และที่สำคัญ คือ คนอเมริกันมีสวัสดิการรักษาพยาบาลแย่สุดๆ แย่กว่าไทย (ยกเว้นคนที่มีประกันฯ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท