คำไทยแท้


คำไทยแท้

 ลักษณะคำไทยแท้

                ๑. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว   ไม่ว่าจะเป็นคำนาม สรรพนาม  วิเศษณ์  บุพบท  สันธาน อุทาน  ฯลฯ    ซึ่งเรียกว่าภาษาคำโดด  เช่น   ลุง ป้า  น้า  อา  กา  ไก่  ฯลฯ    มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์  เช่น   มะม่วง สะใภ้  ตะวัน  กระโดด มะพร้าว   ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่เกิดจาก

                      ๑.๑  การกร่อนเสียง    คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า    คำแรกจะกร่อนลง  เช่น

                             มะม่วง     มาจาก      หมากม่วง              ตะคร้อ     มาจาก  ต้นคร้อ

                            สะดือ       มาจาก      สายดือ                   มะตูม       มาจาก   หมากตูม

                      ๑.๒  การแทรกเสียง   คือคำ ๒  พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง  เช่น

                             ลูกกระดุม    มาจาก ลูกดุม                     ผักกระถิน     มาจาก            ผักถิน

                             นกกระจอก  มาจาก                นกจอก                  ลูกกระเดือก  มาจาก            ลูกเดือก

                      ๑.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน   เช่น

                             จุ๋มจิ๋ม    -   กระจุ๋มกระจิ๋ม              เดี๋ยว    -    ประเดี๋ยว

                             ท้วง       -    ประท้วง                   ทำ       -    กระทำ

                ๒. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์   ไม่นิยมคำควบกล้ำ และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา  เช่น เชย   สาว   จิก  กัด   ฯลฯ

                ๓. คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป    เพื่อแสดงความหมาย  เช่น   ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว

                ๔. การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป   เช่น

                      ใจน้อย     -     น้อยใจ              กลัวไม่จริง     -     จริงไม่กลัว

                ๕. คำไทยจะใช้รูป   “ไอ”  กับ  “ใอ”   จะไม่ใช้รูป “อัย” เลย    และจะไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้  ฆ  ณ  ฌ ฎ  ฏ ฐ ฑ ฒ  ธ ศ  ษ  ฬ    ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย  คือ  ฆ่า เฆี่ยน  ศึก  ศอก  เศิก  เศร้า  ธ ณ  ฯพณฯ  ใหญ่  หญ้า  เป็นต้น

วิธีสังเกตคำที่เป็นภาษาไทย

                ๑. มักจะเป็นคำโดด และไม่เป็นคำศัพท์  คือ    สามารถรู้ความหมายได้ทันที ได้แก่   คำในวงศ์ญาติ หรือชื่อสิ่งของต่างๆ หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ ที่รู้จักกันทั่วไป  เช่น  พ่อ แม่  ปู่  ตา  กิน  นอน  โต๊ะ  แมว  หมา  แดง  ดำ  ขาว  เป็นต้น   คำมากพยางค์มักมาจากภาษาอื่น  เช่น  สตรี สุนัข  สุกร

                ๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดตัวเดียว   ไม่มีตัวตามและตัวสะกดจะตรงตามมาตรา   คือ

                      แม่กก  สะกดด้วยตัว  ก                 เช่น        เด็ก    นก

                      แม่กง   สะกดด้วยตัว  ง                 เช่น        น้อง    นาง

                      แม่กด  สะกดด้วยตัว  ด                 เช่น        มด      กัด

                      แม่กน  สะกดด้วยตัว  น                 เช่น        คน      เห็น

                      แม่กบ  สะกดด้วยตัว  บ                 เช่น        ดาบ    แลบ

                      แม่กม  สะกดด้วยตัว  ม                 เช่น        ชาม     แถม

                      แม่เกอว สะกดด้วยตัว  ว                เช่น        เร็ว      แมว

                      แม่เกย สะกดด้วยตัว  ย                 เช่น        ตาย     ปุ๋ย

                ๓. ไม่นิยมอักษรควบกล้ำ

                ๔. มีวรรณยุกต์    คำที่มีวรรณยุกต์ต่างกัน   ความหมายจะต่างกันด้วย    เช่น

                      ขา  หมายถึง    อวัยวะส่วนล่าง

                      ข่า  หมายถึง    พืชชนิดหนึ่ง

                      ข้า  หมายถึง    คำแทนชื่อผู้พูด

                ๕. คำภาษาไทยไม่มีตัวการันต์  เช่น    เด็ก  แมว  วิ่ง

                ๖. คำภาษาไทยอาจนำคำสองคำมารวมกันเป็นคำประสม    ทำให้เกิดคำใหม่ได้    เช่น  พ่อ + ตา  =  พ่อตา     ลูก + น้ำ  =  ลูกน้ำ    เป็นต้น

                ๗. คำภาษาไทยจะเขียนด้วยพยัญชนะที่เราเติมขึ้น  ( ฃ  ฅ  ฎ  ด  บ  ฝ  ฟ  อ  ฮ )    เช่น  ฝา  ฟืน  โซ่  เฮฮา   (เว้นแต่คำนั้นแผลงมาจากบาลี  สันสกฤต   เพื่อออกเสียงให้สะดวกขึ้นเท่านั้น)

                ๘. คำภาษาไทยที่ออกเสียง  ไอ   จะประสมด้วย  ใอ  (ไม้ม้วน)  มี  ๒๐  คำ

                ๙. คำภาษาไทยจะไม่ใช้คำที่มีพยัญชนะเหล่านี้  คือ   ฆ  ฌ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ธ  ภ  ศ  ษ  ฬ    เว้นแต่คำบางคำต่อไปนี้ที่เป็นคำไทย  ได้แก่   ฆ่า  เฆี่ยน  ระฆัง  ฆ้อง  ตะเฆ่  ใหญ่  หญ้า  เฒ่า  ณ  ธง  เธอ  สำเภา  ภาย  เศร้า  ศึก  ศอก  ศอ  ศก

                ๑๐. คำไทยแท้ส่วนใหญ่เป็นคำเดียวโดด ๆ แต่มีคำหลายคำที่มีหลายพยางค์เพราะเกิดจาก

                      ๑๐.๑ การกร่อนของเสียง    เมื่อพูดเร็วๆ คำแรกจะกร่อนไป  เช่น

                             หมากม่วง     เป็น    มะม่วง    หมากพร้าว     เป็น    มะพร้าว

                             ต้นขบ          เป็น    ตะขบ       ตัวเข็บ            เป็น    ตะเข็บ

                             สาวใภ้         เป็น    สะใภ้                       ตาวัน             เป็น    ตะวัน

                      ๑๐.๒ การแทรกเสียง    เป็นการแทรกเสียง  อะ   ให้เสียงกลมกลืนกัน   เช่น

                             ลูกดุม     เป็น    ลูกกระดุม      นำจอก     เป็น    นกกระจอก

                      ๑๐.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูล   เช่น

                             เดี๋ยว      เป็น    ประเดี๋ยว        จุ๋มจิ๋ม      เป็น    กระจุ๋มกระจิ๋ม

                             โจน       เป็น    กระโจน          โดด         เป็น    กระโดด

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #รับราชการ
หมายเลขบันทึก: 377619เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ   การนำเอาหลักภาษาไทยมาลงนี่หายากจริง ๆครับ  นับเป็นความขอบคุณมากที่ได้มีผู้นำมาบันทึก  และน่าจะนำมาบันทึกเรื่อย ๆเป็นเรื่องไป  เด็กจะได้เข้ามาเรียนรู้ครับ

รู้สึกว่าเริ่มเข้าใจเยอะขึ้นค่ะ

ดีมากคะมีประโยชน์ด้วย

ดีมากเลยครับ

เหี้ยมากไม่มีไรที่เป็นสาระเลยซักนิดอีดอกเอ๋ย

มนุษย์ ฤดู ศอก เป็นคำไทยแท้ทั้งหมดเลยป่าวคะ

ดีมากครับ เข้าใจขึ้นเยอะเลย

คำว่า โต๊ะ เป็นคำที่มาจากภาษาจีนค่ะ

คำว่า โต๊ะ เป็นคำที่มาจากภาษาจีนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท