เรียนรู้ที่ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ช่วงบ่ายแวะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ซึ่งที่นี่ก็มีศูนย์ 6 ศูนย์ ได้แก่

     • ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
       มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

     • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
       มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ

     • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
       มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

     • ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) 
       มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี

     • ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) 
       มุ่งให้ความช่วยเหลือนักวิจัยและบริษัทต่างๆ ในการนำผลงานการ ค้นพบและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  

       มุ่งให้บริการและปรับภารกิจเืพื่อสังคมความรู้ดิจิทัลแบบเปิด สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอินเทอร์เน็ต เพิ่มคุณค่าการวิจัยการเรียนรู้ ขยายบริการสู่สังคมชนบทและผู้ด้วยโอกาส บันทึกความรู้วิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาไทยให้ปรากฎแก่สาธารณะ

ซึ่งที่นี่เป็นที่ที่เราแวะเข้าไปเรียนรู้กัน ส่วนใหญ่เราก็จะเคยได้ยินแต่ชื่อ NECTEC, BIOTEC แต่คราวนี้ก็มารู้จักกับ STKS กันบ้าง

 เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังเรื่องการจัดการความรู้ของที่นี่ซึ่งก็แตกต่างจากที่อื่น ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กร เพราะที่นี่มีต้นทุนที่ดีคือความรู้ จากงานวิจัยเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่นักวิจัยจะหาเวลามาพูดคุยกันได้ยาก ก็เลยต้องใช้บล็อกเป็นแนวทาง และพัฒนาเรื่องการนำเอางานวิจัยที่ทำมาใส่ไว้ในระบบและมีการตรวจสอบและสามารถนำมาใช้ในการเลื่อนระดับด้วย

อีกเรื่องที่น่าสนใจของที่นี่คือเรื่องการรณรงค์ให้ใช้ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยต้นฉบับให้เสรีภาพในการแจกจ่าย เผยแพร่และปรับปรุง หรือ open source software (OSS) และ free ware และพวกเราก็ได้กันติดไม้ติดมือมาคนละแผ่น 

ตัวอย่างรายการซอฟต์แวร์แนะนำ

ระบบงานเอกสารสื่อนำเสนอ  -  openOffice.org

เว็บบราว์เซอร์ - Mozilla FireFox

สรุปการประชุม - FreeMind, XMind

จัดการคลังภาพ - XnView

ออกแบบตกแต่งผลงานกราฟฟิก - GIMP

PDF Converter - PDFCreator, OpenOffice.org

e-Learnin      - LearnSquare, Moodle

เว็บไซด์   - Joomla, Drupal

Knowledge Community - DokuWiki,

                                          Wordpress

เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการใช้ 2D Barcode มาใช้ โดยมีการพัฒนา เพื่อใ้ห้รองรับการยืม-คืนหนังสือทดแทนการใช้ RFID ที่มีราคาแพง เรื่องนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร เขาว่าอ่านจากมือถือก็ได้ คงต้องเป็นมือถือที่สแกนได้

หน้าตาก็เป็นทำนองนี้แหละ 

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือข้อกำหนดการจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหารเรื่องการเปิดแฟ้มไม่ได้ การจัดหน้าเอกสารที่ผิดพลาด การสืบค้น การเข้าถึง ซึ่งมีทั้งการตั้งชื่อโฟลเดอร์ การตั้งชื่อแฟ้มเอกสาร ข้อกำหนดภาพดิจิตัล ฯลฯ

ขอยกตัวอย่างบางตัวเช่น

การตั้งชื่อโฟลเดอร์

หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อภาษาไทย เนื่องจากซอฟต์แวร์อาจจะแบ่งเป็นรหัสพิเศษที่ไม่สื่อความหลายและไม่รองรับการเข้าถึงของ search engine บางตัว

กรณีมีหลายคำให้เขียนติดกันหมดหรือใช้ - hyphen เ้ชื่อม ไม่ใช้ space หรือ underscore _ เพราะจะสร้างปัญหาเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของ URL และจะมีปัญหาเวลาขีดเส้นใต้ทำให้มองไม่เห็น

ข้อกำหนดเอกสารงานพิมพ์

หน่วยงานควรกำหนดแบบอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของหน่วยงานให้เป็นแบบเดียวกัน       - ระบบที่ต่ำกว่า Windows Me เลือกใช้ฟอนท์ AngsanaUPC หรือฟอนท์ใดๆ ในตระกูล UPC         - ระบบ Windows 2000/XP/VISTA เลือกใช้ ฟอนท์ AngsanaNEW หรือฟอนท์ใดๆ ในตระกูล NEW                                                                  ไม่ต้องกดปุ่ม Enter เมื่อจบบรรทัด แต่ใ้ห้พิมพ์ไปเรื่อยๆ โปรแกรมจะตัดคำให้อัตโนมัติ                      ใ้ห้ความสำคัญกับการทับศัพท์โดยยึดหลัดจากราชบัณฑิตยสถาน                                               เอกสารทุกเอกสารต้องกำหนด Document Properties เพื่อใช้ประกอบการให้ข้อมูลกับ Search Engine และโปรแกรมจัดการห้องสมุดดิจิตัล

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมแวะไปอ่านที่                                                                      http://www.stks.or.th/blog/?p=4984

เราก็ได้ทั้งความรู้และอาหารว่างอย่างเต็มอิ่ม ขอขอบคุณ STKS ที่ให้ความรู้ และ สพบ. (สำนักพัฒนบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่จัดการเรื่องการศึกษาดูงาน มา ณ โอกาสนี้


คำสำคัญ (Tags): #เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 377353เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • ขอบคุณค่ะ ตอนไปก็เลยลืมนึกไปเลย พอจำได้เลาๆ ตอนแวะไปดูประวัติแต่มัวแต่ไปสนใจบ้านที่ อ.บัญชาโชว์แบบ Google earth แหมพลาดไปได้นิ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท