จิตติ์ ดวงบุปผาวงค์
พระครูปลัด จิตติชัย จิตติชโย มาตย์วงค์

ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า


สอนเป็นอัศจรรย์คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ผลจริง

ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า

รวบรวมโดย พระครูปลัด จิตติชัย จิตฺติชโย

 คำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมายสอนโดยวิธีการต่างๆ กัน ตามนิสัยสันดานของคนหรือที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า จริต คนมีจริตต่างๆกัน จึงต้องใช้วิธีสอนต่างกัน  ลักษณะคำสอนก็ย่อมต่างกันไปด้วย  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  1. คำสอนปฏิรูป เป็นคำสอนชนิดที่ปฏิรูปคำสอนเดิมของศาสนาพราหมณ์ เช่น การทำบุญ ศาสนาพราหมณ์สอนให้ทำบุญกับพวกพราหมณ์โดยกำเนิด พระพุทธเจ้าสอนว่าการทำบุญควรทำกับพราหมณ์หรือผู้ที่บริสุทธิ์ ผลบุญจึงจะมีมาก
  2. คำสอนปฏิวัติ  เป็นคำสอนประเภทปฏิวัติคำสอนของพวกพราหมณ์เดิมไปอีกทางหนึ่ง แบบกลับหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น คำสอนเดิมของพวกพราหมณ์ตัวเองเกิดมาก็เป็นพราหมณ์หรือคำสอนเดิมว่า  การบำเพ็ญกุศลด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ บันดาลให้ได้ทุกสิ่งทุกประการที่ปรารถนา พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า การทำบุญด้วยการไม่ฆ่า และในขณะเดียวกันให้เป็นคนมีเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั่วไปเป็นมหากุศล
  3. คำสอนที่ตั้งขึ้นมาสอนใหม่  ไม่ใช่คัดค้านหรืออนุโลมตามคำสอนเก่าเป็นเรื่องที่สอนนอกเหนือไปจากหลักศาสนาพราหมณ์เดิม ซึ่งไม่มีคำสอนเช่นนี้ เช่น คำสอนเรื่องอริยสัจ 4, คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น

สำหรับวิธีสอนนั้นพระพุทธองค์ก็ใช้หลายวิธี ตามอุปนิสัยสันดานคนหรือจริตของคนซึ่งพอสรุปได้เป็น 3 ประการ คือ

1.  ทรงสอนให้รู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น 

หมายความว่า ทรงสอนอย่างแจ่มแจ้ง สอนให้เห็นทะลุปรุโปร่ง  สอนให้รู้อย่างละเอียด และสอนสิ่งที่ควรสอนไม่ใช่สอนทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ทรงสอนให้เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์  ไม่สอนให้เกลียดคอยขโมยเขากิน

2.  ทรงสอนอย่างมีเหตุผล ผู้ฟังตรองตามได้

หมายความว่าคำสอนเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามเหตุตามผล ไม่ใช่คำสอนที่พิสูจน์ไม่ได้ เช่น คำสอนเรื่องตัณหา(ความอยาก) ทำให้เกิดทุกข์  ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นว่าเป็นจริงอย่างนั้น เราอยากรู้จึงมาเรียน การเรียนทำให้ไม่สบาย (ทุกข์) การไม่สบายใจอยากเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น

3.  ทรงสอนเป็นอัศจรรย์คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ผลจริง

                ขอยกตัวอย่างเช่น สังคหวัตถุ ใคร่ปฏิบัติตามย่อมได้ผลคือทำให้คนรักใคร่ทั่วไป อาจเรียกว่า ธรรมแห่งความรัก หรือมนต์รักก็ได้ มีการให้หรืออนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน การพูดไพเราะ อ่อนหวาน การช่วยทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น การวางตัวดี ถ้าปฏิบัติได้ครบทุกข้อจะเป็นคนมีเสน่ห์ น่ารัก และคนทั่วไปก็รักด้วย แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ คนก็จะเกลียดทั่วไปเช่นกัน

 

พระพุทธศาสนากับหลักแห่งความเชื่อ

            การศึกษาพุทธปรัชญานั้น จะได้รับประโยชน์และเห็นคุณลักษณะที่ดีเด่นทั้งสมบูรณ์เพียบพร้อมไปด้วยเหตุผล เหมาะสมกับปัญญาชนแล้ว เราควรจะได้ศึกษาหลักแห่งความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเสียก่อน

            รากฐานของศาสนาส่วนใหญ่ในโลกนี้ ล้วนแต่เกิดจาก ความเชื่อถือ ความเคารพ ความนบน้อม และ ความจงรักภักดี ต่อองค์พระศาสดา หรือต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นต้นกำเนิดของศาสนาทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาประเภทเทวนิยม จะขาดความเชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้  เพราะถ้าปราศจากความเชื่อ ความภักดี เป็นต้นแล้วศาสนาก็จะยิ่งสิ้นสูญและหมดความหมายไปทันที

            นอกจากลักษณะสำคัญดังกล่าวแล้ว นักปราชญ์ตะวันตกยังเพ่งเล็งไปถึงการมอบตัวในพระผู้เป็นเจ้าและให้ความเคารพยำเกรงในพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย ศาสนาตามความเข้าใจของฝรั่งทางตะวันตก ยังต้องประกอบด้วยองค์คุณ  4  ประการ อันจะขาดมาได้อีกด้วย คือ

  1. มีหลักความเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก  สร้างมนุษย์และสร้างสรรพสิ่งในโลก
  2. มีหลักความเชื่อว่า  คำสอนต่างๆ      ตลอดทั้งคัมภีร์ทางศาสนามาจากพระผู้เป็นเจ้าเปิดเผยโดยพระผู้เป็นเจ้า  ข้อความในคัมภีร์ที่มีนักบุญ  (Saint)  เขียนขึ้นภายหลังนั้นก็ดลใจให้เขียนโดยพระองค์ท่านตลอดทั้งกฎหมายในสังคมมนุษย์  ก็มาจากพระผู้เป็นเจ้า
  3. มีหลักความเชื่อบางสิ่งบางอย่างเป็นอจินไตย  คือให้เชื่อไปตามหลักคำสอนโดยไม่ต้องพิสูจน์หรือทดสอบด้วยวิชาการหรือเครื่องมือใดๆ    ให้ถือว่าคำสอนนั้นสมบูรณ์แล้วถูกต้องแล้ว  เพราะอานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าจึงเหลือวิสัยของมนุษย์ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้

ที่ว่ามีการยอมมอบตัวกับพระผู้เป็นเจ้า  (Submit  onself  to  the  gob)  คือมอบการกระทำของตนและสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับตนให้แก่พระเจ้าด้วยความจงรักภักดีได้แก่ยอมมอบกายถวายสิทธิเสรีภาพแก่ผู้เป็นเจ้าด้วยสิ้นเชิง

พระพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความเคารพ-นับถือนั้น ถ้าจะศึกษากันถึงรากฐานอันแท้จริงแล้ว จะเห็นว่าขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้

  1. ไม่สอนในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก แต่สอนว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติมีอยู่ตามธรรมชาติและจะดับไปตามธรรมชาติ
  2. มีหลักความเชื่อทางศาสนาและในพระศาสดาเหมือนกัน แต่ต้องมีปัญญาประกอบอยู่ด้วย ดังจะเห็นตัวอย่างในหลักธรรมคำสอนโดยทั่ว ๆ ไป คือเมื่อกล่าวถึงความเชื้อไว้ที่ใดแล้ว จะต้องกล่าวถึงปัญญาไว้นั้นด้วนเสมอ เพื่อป้องกันความเชื่อที่งมงาย
  3. ให้เชื่อกรรม  คือการกระทำของตนเองว่าเป็นสิ่งสำคัญ  คือให้เชื่อว่าความสุขหรือความทุกข์ ความดีหรือความชั่ว ความโง่หรือความฉลาด เป็นต้นเป็นเรื่องของตนเองเราเป็นผู้ทำเอง เป็นผู้รับผลแห่งความดี ความชั่ว ความสุขหรือความทุกข์เอง ไม่มีเทวดา อินทร์พรหมหรือพระผู้เป็นเจ้า ผู้วิเศษคนใดมาดลบันดาลให้
  4. มีหลักความเชื่อว่า พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ ที่เป็นมนุษย์เช่นกับเรา คือ พระพุทธเจ้า ทรงแสวงหา ทรงค้นคว้า ทรงทดลอง ทรงพิสูจน์จนพบกฎแห่งความจริง คือกฎหรือสูตรแห่งความหลุดพ้นจากอำนาจมืดหรืออำนาจป่าเถื่อน คืออวิชาและโมหะ หรือคือความเห็นแก่ตัวจัดและกิเลสตัณหาทั้งหลายและทรงหลุดพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อนโดยประมวลโดยประการทั้งปวงมีแต่ความสะอาดสว่าง สงบภายในจิตใจ โดยประมวลหลักคำสอนของพระองค์ทั้งหมดรวมอยู่ในโอวาท 3 ข้อ คือ      

ก.       ให้เว้นจากความชั่วทุกอย่าง

ข.       ให้ทำความดีทุกอย่าง

ค.       ให้ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส

  1. สอนให้เราพึ่งตนเอง เอาชนะใจตนเอง สร้างคุณงามความดี ความเจริญก้าวหน้าด้วยตัวของตัวเอง ไม่ให้คอยแต่จะคิดพึ่งผู้อื่น ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ในด้านการทำงาน ในด้านการอบรมและฝึกฝนคน  ในด้านการทำความดีเป็นต้น ล้วนเป็นเรื่องของตนเองทั้งสิ้น ที่จะต้องใฝ่ใจ สนใจ และไม่ทอดธุระจะต้องปรบปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้นในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงเตือนพุทธบริษัทเสมอว่า  ตถาคต เป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น (อักขตาโร ตถาคตา) หน้าที่หรือการเดินทางนั้น เป็นเรื่องของพวกเราที่จะต้องทำเองและเลือกเดินเองตามความสมัครใจและตามความสามารถ
  2. สอนไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล  คือไม่ให้เชื่ออะไรโดยปราศจากหลักฐานหรือข้อมูลอันเกิดจากทดลอง การปฏิบัติ และการพิสูจน์จนได้ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องถ่องแท้แล้วจึงให้เชื่อ เพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนในข้อนี้ จะขอนำพระสูตรที่พระองค์ทรงตรัสเตือนทั้งสาวกและบุคคลที่ยังมิได้เป็นสาวกให้มีหลักในเรื่องความเชื่อถือว่าควรจะเชื่อได้อย่างไร และไม่ควรเชื่ออย่างไร พระสูตรที่กล่าวถึงนี้คือ “กาลามสูตร” ซึ่งเราจะได้ศึกษากันเป็นพิเศษ

กาลามสูตร หรือ เกสปุตติยสูตร จากพระไตรปิฎกบาลี ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย เล่มที่ 20 หน้า 241 เป็นต้นไป(ส่วนพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ 31 หน้า 301 เป็นต้นไป)

ความเป็นจริง พระสูตรนี้ เราจะค้นหา “กาลามสูตร” ในภาษาบาลีนั้นไม่พบแน่เพราะในภาษาบาลีใช้ว่า “เกสปุตติยสูตร” แต่ที่เรียกกันและรู้จักกันโดยมากนั้นคือ “กาลามสูตร” เพราะทรงแสดง สูตรนี้แก่ชนชาวกาลามะแห่งวรรณกษัตริย์ ที่ชื่อ  “เกสปุตติยสูตร”  เพราะทรงแสดงที่นิคมชื่อ “เกสปุตติยะ”  อันเป็นถิ่นของชาวกาลามะ

พระสูตรนี้นับว่าเป็นพระสูตรที่ได้รับการกล่าวถึงและการอ้างอิงมากที่สุดทั้งคนไทยและคนต่างประเทศผู้ที่หันมาสนใจพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเนื้อความโดยย่อและเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนนิคมหนึ่ง ชื่อว่า “เกสปุตติยะ”ในแคว้นโกศล ชาวนิคมรู้จักกันดีในนามว่า “ชาวกาลามะ” เมื่อพวกเขาทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาสู่ หมู่บ้านของตน ความที่พวกเขาเคยได้ยินกิตติศัพท์อันงดงามของพระพุทธเจ้าจึงทำให้พวกเขาดีใจ และปรารถนาจะเข้าเฝ้าและทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความเชื่อถือ เมื่อตกลงใจพร้อมกันแล้วจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามปัญหาที่คาอยู่ในใจมานานว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์บางจำพวกที่มาเยี่ยมเยียนเกสปุตตะนิคม” สมณะพราหมณ์เหล่านั้น อธิบายและยกย่องคำสอนของตนเองฝ่ายเดียวเท่านั้นว่า ดีเลิศ ประเสริฐ ควรแก่การเคารพและเชื่อถือ และแล้วดูถูกประณามเหยียดหยาดหลักธรรมคำสอนของสมณะพราหมณ์พวกอื่น  ต่อมาก็มีสมณะพราหมณ์เหล่าอื่นมาอีกสมณะพราหมณ์พวกอื่น ฯลฯ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสำหรับพวกข้าพรองค์นั้นมีความสงสัยและคลางแคลงใจอยู่เสมอในข้อที่ว่า ในบรรดาสมณะ พราหมณ์ผู้น่าเคารพเหล่านั้นพวกไหนหนอกล่าวคำสัตย์จริงและพวกไหนหนอกล่าวคำเท็จ”

ลำดับนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงประธานคำแนะนำที่มีคุณค่าที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด ในประวัติศาสตร์ของนักสอนศาสนาของพระศาสดาองค์หนึ่งที่แม้แต่พวกเราผู้เกิดในสมัยนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์และปรมาณู ทั้งมีวิทยาการเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน แต่เรา เกือบจะไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟังถ้อยคำอันไพเราะละมุนละไมที่เพียบพร้อมด้วยสัจจะ และมีเหตุมีผลจาก คณาจารย์ หรือ ผู้คงแก่เรียนสำนักใดๆ เลย ทั้งๆที่เหตุการณ์ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 2538 ปีแล้ว แต่ก็ยังทันสมัยอยู่เสมอ

“เชิญสดับดูเถิดท่าน พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ชาวกาลามะด้วยน้ำพระทัยที่ประกอบด้วย เมตตาจิตว่า ...” ถูกแล้ว ชาวกาลามะเป็นการสมควรและชอบแล้ว ที่ท่านทั้งหลายจะพึงสงสัย และคลางแคลงใจ เพราะเป็นเรื่องที่ควรสงสัยจริงๆ ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย พวกท่านจงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วถือเป็นแนวทางปฏิบัติเถิดดูก่อนชาวกาลามะ...พวกท่าน

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

:        มา อนุสสเวน

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา

:        มา ปรัมปราย

  1. อย่าปรงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

:        มา อิติกิราย

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือ คัมภีร์

:        มา ปิฎกสัมปทาเนน

  1. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างเหตุผลทางตรรก

:        มา ตักกเหตุ

  1. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน

:        มา นยเหตุ

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองเอาตามแนวเหตุผล

:        มา อาการปริวิตักเกน

  1. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรงกับความเห็นหรือทฤษฏีของตนที่คิดไว้

:        มา ทิฏฐินิชฌานกขันติยา

  1. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะว่า น่าจะเป็นไปได้

:        มา ภัพพรูปตายะ

10.  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

:        มา สมโณ  โน ครูติ

            “ดูก่อนชากาลามะทั้งหลาย แม่เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้จักประจักษ์ด้วยตนเองว่าธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอกุศล ผิดพลาด ชั่วร้ายมีโทษ เป็นทางให้เกิดทุกข์และความเดือดร้อน ทั้งแก่ตนและผู้อื่นโดยส่วนเดียว เมื่อนั้นท่านจงละทิ้งธรรมเหล่านั้นเสีย และเมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นกุศลดีงามไม่มีโทษ เป็นเหตุนำมา ซึ่งความสุขและความเจริญทั้งแก่ตนและผู้อื่นโดยส่วนเดียวเมื่อนั้น ท่านจงยอมรับเอา และปฏิบัติตามธรรมเหล่านั้นเถิด...”

            หลักกาลามาสูตรทั้ง 10 ข้อดังกล่าว สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประทานคำอธิบายเพื่อเป็นแนวทางดังนี้

1.  อย่าเชื่อ เพราะได้ฟังตามกันมา     การได้ยินผู้ใดบอกเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผู้บอกต่อๆกันมา ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ผู้ฟังได้ฟังแล้วยังไม่รู้ด้วยปัญญาของตนเองว่าข้อนั้นเป็นอย่างนั้นได้จริง แต่เห็นเขาพูดกันมา ก็สันนิษฐานเอาว่า ข้อนั้นเห็นจะจริงอย่างนั้น เขาจึงพูดกันมาก ถ้าไม่จริง ที่ไหนเขาจะพูดกันมาก แล้วเชื่อถือตามเขาไปอย่างนี้เรียกว่า เชื่อถือโดยได้ฟัง ตามกันมา

2. อย่าเชื่อถือ โดยลำดับสืบๆกันมา    บรรพบุรุษของเรามี ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น เคยถือลัทธิอย่างใดมาก็ดี คนชาติเดียวกับตน เคยถือลัทธิอย่างใดมาหลายชั่วอายุแล้วก็ดี คนเกิดภายหลังไม่ได้รู้ด้วยปัญญาของตนเองว่า ลัทธินั้นดีควรจะเชื่อถือด้วยเหตุนี้ๆ เป็นแต่นิยม ตามบรรพบุรุษของตน และคนที่ร่วมชาติกับตนเท่านั้นแล้วเชื่อถือไปตามอย่างนี้เรียกว่า ถือโดยลำดับสืบๆกันมา

3. อย่าเชื่อถือ โดยตื่นข่าวเล่าลือ          คนเป็นอันมาก เขาตื่นเต้นนับถืออะไรกัน ก็พลอยตื่นเต้นนับถือไปตามเขาบ้าง เช่นคนตื่นเต้นกันว่า มีผู้วิเศษเกิดขึ้นในที่นั้นๆ ท่านศักดิ์อย่างนั้นๆ เราไม่ได้ไปเห็นตัวผู้วิเศษ และยังไม่ทันเห็นว่าท่านศักดิ์สิทธิ์อย่างไร พลอยตื่นเต้นนับถือไป ตามเขาเท่านั้น อย่างนี้ เรียกว่า เชื่อถือเพราะตื่นข่าวลือ ที่เรียกว่าถือมงคลตื่นข่าว

4. อย่าเชื่อถือ  โดยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ ตำรับตำราใดๆ ที่เขียนเรื่องราวอะไรไว้ทั้งๆ ที่เชื่อถือกันมานานแล้ว หรือที่ได้เขียนขึ้นมาใหม่ การที่ทราบข้อความอันใดอันหนึ่ง จากตำรานั้นแล้ว ไม่ตรึกตรองด้วยปัญญาให้รู้ว่า ผู้แต่งตำรานั้นกล่าวความที่ควรเชื่อถือหรือไม่ ท่านจะกล่าวอะไรไว้ให้ป่วยการ หรือเชื่อถือไปตามตำรับตำราหรือคัมภีร์นั้น เช่นนี้ เรียกว่าเชื่อถือโดยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์

5. อย่าเชื่อถือ โดยการกะหรือเก็งความจริงหรือนึกเดาเอาด้วยเหตุผลทางตรรก  เมื่อได้ยินเขาพูดข้อความหรือเรื่องราวใดๆ  แล้วนึกเอาในใจว่า  คงจะเป็นอย่างนี้ๆแน่  มิได้ใช้ปัญญาสอบสวนหรือพิจารณาแต่ประการใด  เวลาไหน  นึกได้อย่างไร  ก็เชื่อถือไปตามนั้นเช่นนี้  เรียกว่า  ถือโดยเหตุนึกเดาเอา

6. อย่าเชื่อถือ  โดยการอนุมานเอา  หรือการคาดคะเน  การได้ยินเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้ว  ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่เห็นว่าเรื่องนั้นๆเป็นไปได้อย่างนั้นๆ  เรื่องนี้ก็คงเป็นไปได้อย่างนี้แล้วเชื่อถือเอาตามการคาดคะเนโดยเทียบกับเรื่องอื่นเช่นนี้เรียกว่า  เชื่อถือโดยการคาดคะเน

7. อย่าเชื่อถือโดยตรึกตรองอาการ  การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้วยังไม่ทราบว่าเป้นอย่างไร  แต่คิดเห็นว่า  ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า  แล้วเชื่อถือเอาตามความคิดเห็นนั้น  อย่างนี้เรียกว่า  เชื่อถือโดยตรึกตรองตามอาการ

8. อย่าเชื่อถือโดยคิดว่าถูกต้องตรงกับลัทธิ  ความเห็นของตน  ลัทธิของตนเคยถือมาอย่างไรเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งมาผู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งถูกต้องตรงกับลัทธิความเชื่อถือของตนดั้งเดิม  ก็ชอบใจ  พอใจ  แล้วเชื่อตาม  ถือตาม อย่างนี้เรียกว่า  เชื่อถือเพราะเชื่อใจว่า ถูกกันลัทธิของตน

9. อย่าเชื่อถือ  โดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อถือได้  การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดพูดแล้วเห็นว่า  ท่านผู้พูดนี้  ท่านเป็นคนมีสติปัญญาทั้งได้เล่าเรียนศึกษามามาก  ถ้าไม่จริงแล้วที่ไหนท่านจะเชื่อถือและเสื่อมใสในเรื่องนั้นๆ เช่นนี้แล้ว  ก็เชื่อถือไปตาม  ชื่อว่าเชื่อถือโดยคิดว่าผู้พูดควรเชื่อถือได้

10. อย่าเชื่อถือ  โดยคิดว่าสมณะผู้นี้  หรือครูคนนี้เป็นครู เป็นอาจารย์ของเรา  เมื่ออุปัชฌาย์ก็ดี  อาจารย์ก็ดี  สั่งสอนเรา  อบรมเรา  ให้เชื่อถืออย่างไร  ศิษย์ก็มาคิดว่าถ้าข้อนี้ไม่จริง  ที่ไหน  อุปัชฌาย์  อาจารย์ของเรา  ท่านจะเชื่อถือและนำมาสั่งสอนเรา  เรื่องท่านสอนท่านพูดให้เราฟังนั้นต้องถูกต้องแน่และสมควรโดยประการทั้งปวง  แล้วก็ปลงใจเชื่อเช่นนี้เรียกว่าเชื่อถือ  โดยคิดว่าบุคคลผู้นี้เป็นครู-เป็นอาจารย์ของเรา

            ครั้นพระพุทธองค์  ทรงตรัสเหตุหรืออาการที่ไม่ควรเชื่อ  10 อย่างดังกล่าวแล้วจึงตั้งปัญหาถาม  ชาวกาลามะโดยลำดับดังต่อไปนี้

            พระพุทธเจ้า  “...ท่านทั้งหลาย  สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  คือ  ความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นภายในใจของบุคคลแล้ว   ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรืเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์...”

            ชาวกาลามะ “...ความโลภ ความโกรธ  และความหลงนั้นย่อมเกิดขึ้น  เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์โดยส่วนเดียว  พระเจ้าข้า...”

            พระ “...บุคคลผู้มีความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  อันความโลภ-หลง ครอบงำแล้วมีใจอันความโลภ เป็นต้น  ยึดมั่นพันรอบไว้แล้วย่อมเบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิตบ้างถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้บ้าง  ประพฤติผิดในสามี-ภรรยาของผู้อื่นบ้าง  พูดจาโกหกพกลมบ้างชักชวนให้ผู้อื่นประพฤติในความชั่วบ้าง  สิ่งใดเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เป็นไปเพื่อทุกข์-เดือดร้อนแก่ผู้อื่นสิ้นกาลนานผู้ที่โลภ  โกรธ  และหลงครอบงำแล้วชักชวนให้ผู้อื่นประพฤติในสิ่งที่ผิดดังกล่าวมาแล้วนั้น  ข้อนี้จริงหรือไม่...”

            กาลามะ  “...ข้อนี้จริง  พระพุทธเจ้าข้า”

            พระ  “...ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน...โลภ  โกรธ  หลง  ดังกล่าวนั้นเป็นกุศล ( ดี  งาม  ถูกต้อง)  หรือเป็นอกุศล  (ชั่วร้าย  ผิดพลาด)

            กาลามะ “...เป็นอกุศลอย่างเดียว  พระพุทธเจ้าข้า...”

            พระ “...มีโทษหรอไม่มีโทษเล่า....”

            กาลามะ “...มีโทษมาก พระพุทธเจ้าข้า...”

            พระ “...ท่านผู้รู้ผู้ฉลาด ติเตือนหรือสรรเสริญ...”

            กาลามะ “...ท่านผู้รู้พึงติเตียน โดยส่วนเดียว พระเจ้าข้า...”

            พระ “...บุคคลใด ประพฤติปฏิบัติอยู่ในอกุศลเหล่านั้น  เป็นทางนำประโยชน์สุขมาให้ หรือนำความทุกข์ ความเดือดร้อนมาให้เล่า...”

            กาลามะ “..นำความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้ส่วนเดียว พระเจ้าข้า ..”

            เมื่อพระพุทธองค์  ทรงตรัสโทษของความโลภ  ความโกรธและความหลงอย่างนี้แล้วจึงตรัสอานิสงฆ์ ของความไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง เป็นลำดับไปแล้วทรงแนะนำให้ชาวกามาละได้ใช้ปัญญา   พิจารณาให้เห็นจริงด้วยตนเอง  ทั้งทรงสอนให้ดำเนินชีวิตไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องและควรทำ

            ข้อความข้างบนนี้ เป็นข้อความในกาลามะสูตรต้อนต้น  ต่อไปนี้จะนำข้อความในพระสูตรนี้ตอนที่สองมาเสนอเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป

            พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคนที่ทำความชั่วไว้ว่าแตกต่างกันเช่น คนที่มุ่งหน้าทำความดีไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาแก่คนทั่วไป ตลอดทั้งสัตว์ด้วย ไม่คิดก่อเวรภัย ไม่มีจิตใจพยาบาทต่อใครๆ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง คนที่ตั้งอยู่ในความดีดังที่กล่าวมานี้ จะได้เปรียบคนที่ทำชั่วทั้งในด้าน สุขภาพทางกายและจิตใจ นอกจากนั้นคนทำคาวมดี ยังจะได้รับความอุ่นใจในโลกปัจจุบันอีก 4 สถาน คือ

            ความอุ่นในข้อที่ 1 ว่า ถ้าโลกหน้ามีจริงผลแห่งความดี กรรมชั่วมีก็เป็นไปได้ว่า เมื่อตายไปแล้วเราจะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

            ความอุ่นใจข้อที่ 2 ว่า ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมดี กรรมชั่วไม่มี เราก็จะมีความสุขรักษาตนเป็นคนไม่มีเวรภัย ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทุกข์กังวลใจใดๆ ในปัจจุบัน

            ความอุ่นใจข้อที่ 3 ว่า ถ้าบาปหรือความชั่วที่ทำไปได้ชื่อว่าเป็นอันทำ เมื่อเราไม่ได้ตั้งใจทำบาป ให้แก่ใครทุกข์และเดือดร้อนจะมาแตะต้องเราผู้ไม่ทำบาปได้อย่างไร

           ความอุ่นใจข้อที่ 4 ว่า ถ้าบาปที่ทำไปไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำในปัจจุบันเราก็มองเห็นตนเองเป็นคน บริสุทธิ์ทั้งสองส่วน   คือทั้งส่วนที่ไม่ได้ทำบาปและส่วนที่ทำบาปแล้วไม่ชื่อว่าเป็นกระทำ

เป็นที่หน้าสังเกตว่า   การทำความดีหรือความชั่วตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นไม่จำเป็นต้องมีนรกหรือสวรรค์มาเป็นเครื่องขู่หรือเครื่องล่อใจ   แต่ผลแห่งความดีความชั่ว   ในโลกปัจจุบันนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญ   ดังตัวอย่างเรื่องความอุ่นใจ  4  ประการของคนทำดีที่พระพุทธองค์ตรัสกับชาวกาลามะข้างบนนี้   นอกจากนั้นคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นแม้จะตัดความเชื่อเรื่อง   บุญบาปหรือนรกสวรรค์ออกก็ดูเหมือนไม่กระทบกระเทือนต่อคำสอนในพระพุทธศาสนาเลย   เพราะคำสอนพระพุทธศาสนามิได้ฝากไว้กับเรื่องนรกสวรรค์   แต่ทรงมุ่งสอนให้พุทธศาสนิกชน   หลุดพ้นจากลิเกสและกอวงทุกข์เป็นสำคัญเมื่อคนเราทำตนให้หลุดพ้นลิเกสและกองทุกข์ได้แล้ว   เรื่องอื่นๆ   ก็ดูจะไร้ความหมายไป

เมื่อพระพุทธเจ้า   ตรัสแสดงอรรถแห่งธรรมในสูตรนี้จบลงแล้ว   ชาวกาลามะทั้งปวงก็ทูลรับรองว่าบุคคลผู้มีจิตหาภัยต่อผู้ใดมิได้   มีจิตใจสะอาดบริสุทธ์   เขาย่อมได้ความอุ่นใจทั้ง  4   ประการดังกล่าวนั้นในปัจจุบันทันตาเห็นอย่างแน่นอน   แล้วทูลสรรเสริญพระพุทธดำรัส   และแสดงตนเป็นพุทธมามกะว่า

“...ข้าแต่พระสมณะโคดมผู้เจริญ    ธรรมเทศนาของพระองค์ไพเราะยิ่งนักพระองค์ทรงประกาศสัจธรรมหลายประการให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นทางที่ปฏิบัติแจ้งชัดด้วยปัญญา   อุปมาเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ   เปิดของที่ปิด   หรือคนบอกทางให้แก่ผู้คนหลงทาง   หรือ   เหมือนกับบุคคลจุดไฟส่องในที่มืดให้คนผู้มีตาดีได้มองเห็นสิ่งต่างๆ   ...ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย      ขอถึงพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะประจำชีวิตตลอดไป...”

ก่อนจะผ่านกาลามสูตรไป ข้าพเจ้าใคร่แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยในฐานะผู้เป็นมัคคุเทศก์จะนำท่านมาศึกษาและชมความบริสุทธิ์   ความมีสัจจะและความไพเราะแห่งพระพุทธดำรัสและพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา    เพราะถ้าพระองค์และพุทธธรรมไม่บริสุทธิ์   ไม่เป็นสัจจะ   ไม่คงทนต่อการพิสูจน์ทดลองของใครๆ แล้ว  พระพุทธองค์ก็คงจะไม่ตรัสกาลามสูตรอย่างแน่นอน   การที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับชาวกาลามะในเรื่องหลักแห่งความเชื่อดังกล่าวมานั้น   จึงเป็นการประกาศความจริงและยืนยันในความบริสุทธิ์แห่งสัจธรรมที่พระองค์ทรงค้นคว้ามาจริงๆ   ทั้งยังเป็นการท้าทาย   นักคิด   นักค้นคว้าให้หันมาสนใจ   หรือแม้เพื่อการพิสูจน์ทดลอง   ดังตัวอย่าง  บทหนึ่งแห่ง   “ธรรมคุณ  6”   ที่ว่า”จงมาพิสูจน์ดู   (พระธรรมคำสอนของเราซิ)”  ซึ้งได้แก่คำว่า   “ เอหิ   ปัสสิโก”   นั้นเอง

ไม่เพียงเท่าที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น  ในพระสูตรอื่นๆ ยังมีอยู่ไม่น้อย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสกับพระสาวกในเรื่องหลักแห่งความเชื่อนี้ เช่น ในมหาปรินิพพานสูตร พระองค์ทรงตรัสเตือนสาวกว่า...”

“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องราวจากผู้ใด อย่าพึ่งเชื่อ หรือยอมรับว่าถูกต้อง และอย่าพึงคัดค้านพึงสอบสวนใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน...”

พระบาลีตรงนี้จากมหาปรินิพพานสูตร จะขอคัดมาให้ดูสักสองประโยคเพื่อบุคคลที่ชอบ หลักฐานอ้างอิง ดังนี้

“น อภินนฺทิตพฺพํ  อย่าพึงเชื่ออะไรง่ายๆ”

“เนว  ปฏิโกสิตพฺพํ  อย่าพึงปฏิเสธอะไรง่ายๆ”

                                                ฯลฯ

จากหลักฐานที่นำมาอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน หลักพระพุทธศาสนากับหลักความเชื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ทรงเป็นห่วงเป็นใยในพุทธบริษัทในเรื่องความเชื่อนี้อย่างไร  ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ความเชื่อนั้น เป็นบันไดขั้นแรกและสำคัญที่สุดแห่งคนเรานั้นเองด้วยเหตุนี้ การจะศึกษา เรื่องใด หรือการจะดำเนินชีวิตจะให้บรรลุเป้าหมายอย่างไร หารเราได้ศึกษาหลักแห่งความเชื่อ หรือกาลามสูตรนี้แล้วคงจะเป็นประโยชน์หาน้อยไม่ หรืออย่างน้อยก็ทำให้เราทราบถึงพระทัยที่บริสุทธิ์เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาทั้งประกอบด้วยพระปัญญาอันยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ที่พระองค์ทรงเป็นนักเหตุผลจริง ทรงมีพระปรีชาญาณจริงๆ แล้วทรงสอนให้หมู่ชนเป็นคนมีเหตุผล เป็นคนมีปัญญา ไม่ให้เป็นคนเชื่อง่ายหรืองมงายในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล

นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมั่นใจและเชื่อว่า หลักความเชื่อตามแนวแห่งพุทธธรรมดาตามนัยแห่งกาลามสูตรนี้ยังจะนำมาใช้ไดดีและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นผู้นำ หรือปัญญาชนและครูบาอาจารย์ ตลอดทั้งนักศึกษาทั้งหลายด้วยแล้วเห็นควรจะได้แนวทางแห่งการปฏิบัติตนได้อย่างดียิ่งทีเดียว จะได้เป็นเหมือนดวงประทีปส่องทางสว่างแห่งการดำเนินชีวิต ทั้งยังจะได้ช่วยสะกิดเราท่านให้เป็นผู้มีทัศนะและจิตใจกว้างขวาง มีความคิดกว้างหน้า มีวิจารณญาณ มีปัญญา มองเหตุการณ์ หรือเรื่องราวใดๆได้หลายแง่หลายมุม ไม่หลงติด หรือยึดติด ถือในสิ่งใดเรื่องใดไปตามความคิดเห็นของตนเองหรือของกลุ่ม ของคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นค่ายใด ...แต่ประพฤติตนอยู่ในเหตุผลในความสุจริตยุติธรรม ไม่ถือตัวว่าเป็นเลิศหรือสำคัญกว่าใคร ข้าพเจ้าเชื่อว่า โลกของเราคงจะศิวิไลซ์และน่าอยู่อย่างมากทีเดียว…

เพื่อให้การศึกษาเรื่องราวความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจึงใคร่ของเชิญชวนนักศึกษาตรวจสอบหลักฐานทางพระพุทธศาสนาว่า ในการสอนหลักธรรมต่างๆ นั้น เน้นความรู้ขั้นสุดยอดคือ “ปัญญา” นั่นเอง และถือว่าเป็นเครื่องมือขั้นสุดท้ายในการเข้าถึงความจริงอันแท้จริง ซึ่

หมายเลขบันทึก: 377030เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท