การจัดการองค์ความรู้ KM (15)


คำศัพท์ KM

CoP  และ  CKO  คือ  อะไร ?

     "CoP"  ย่อมาจาก  Comunity  fo Practice  หมายถึง  "การรวมตัวกันของกลุ่มคนหรือชุมชน  ซึ่งมีแรงปรารถนาร่วมกันภายใต้กรอบความรู้ และความรู้เหล่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชน  หรือต่อองค์กร  สมาชิกชุมชนจะทำหน้าที่ดูแลความรู้ด้วยแรงขับจากความรู้สึกเป็นเจ้าของความ รู้นั้น  จึงทำให้วงจรการจัดการความรู้สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยแรง ผลักดันหรือการบังคับจากองค์กร  และที่สำคัญ  ชุมชน/CoP เกิดจากความไว้เนื้อเชื่อใจ  และความสนิทสนมกัน  ไม่ใช่แค่รู้จักกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยน-เรียนรู้อย่างจริงใจ"

     "CKO"  ย่อมาจาก  Chief  Knowledge  Officer  หมายถึง  ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร  ทำหน้าที่จัดการระบบของการจัดการความรู้ในองค์กร  หรือเรียกว่า  "ผู้เอื้อระบบ" (อย่าสับสนกับคำว่า "ผู้เอื้อ"  ของกรมราชทัณฑ์นะค่ะ..คนละอย่างกัน)

 

มาเรียนรู้ถึงคำศัพท์ และความหมายที่เกี่ยวกับ KM เพื่อความเข้าใจร่วมกันก่อน

คำศัพท์ / Word list ความหมาย / Meaningly
Knowledge Management หรือ KM การ จัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Explicit Knowledge ความ รู้ที่มีอยู่อย่างเด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
Tacit Knowledge ความ รู้ซ่อนเร้นในตัวตนบุคคล เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา เป็นเทคนิคเฉพาะตัวที่เกิดจากการประยุกต์ขึ้นใช้เอง อาจมีการจดบันทึกไว้หรือไม่ก็ได้
Knowledge Vision : KV
หรือส่วนหัวของปลาทู ในโมเดลปลาทู
หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ เพื่อให้เรารู้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?”
Knowledge Sharing : KS
หรือส่วนตัวปลา ในโมเดลปลาทู
เป็น ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปสู่การนำความรู้ที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนกัน ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
Knowledge Assets : KA
หรือส่วนหางปลา ในโมเดลปลาทู
เป็น ส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม สังเคระห์ ประมวล “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขั้นตอนของ Knoledge Sharing หรือ ตัวปลา ดังนั้นในส่วนหางปลานี้จะหมายถึงเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึง “ขุมความรู้” ได้โดยง่าย เช่นระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น
KM - โมเดลปลาทู
คำสำคัญ (Tags): #it
หมายเลขบันทึก: 376967เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 06:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท